พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 293 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ปดิพัทธ์ สันติภาดา
ก่อนหน้าสุชาติ ตันเจริญ
ศุภชัย โพธิ์สุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(16 ปี 122 วัน)
ก่อนหน้าสฤษฏ์ อึ้งอภินันท์
เขตเลือกตั้ง
  • เขต 2 (2550 – 2554)
  • เขต 5 (2554 – 2566)
  • เขต 7 (2566 – ปัจจุบัน)
คะแนนเสียง31,588 (33.96%)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(1 ปี 170 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551—ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ไทยรักไทย (2543—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นนักการเมืองชาวไทย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 4 สมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของนายเพชร และนางสมนา เชื้อเมืองพาน มีน้องชาย 1 คน สำเร็จการศึกษาเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้[1] วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม วิทยาลัยบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สมรสกับนางสาวธัญพิชชา ตรีวิชาพรรณ (หลังสมรสเปลี่ยนชื่อเป็น นางสาวพิชชา เชื้อเมืองพาน) มีบุตร 1 คน นางสาวพิชชา เชื้อเมืองพาน จบการศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ MIB ที่ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ตระกูล ตรีวิชาพรรณ ประกอบกิจการโรงงานผลิตเครื่องประดับทองคำ ค้าเพชรพลอยแท้และเครื่องประดับเงิน ย่านเจริญกรุงกว่า 60 ปี โดยคุณปู่เป็นชาวจีน

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เคยดำรงตำแหน่งนายกองค์กรนักศึกษาแม่โจ้ และ เคยดำรงตำแหน่ง นายกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยภาคเหนือ และมีบทบาทในการนำผู้ชุมนุมเข้ากรุงเทพ เพื่อออกมาต้าน นาย สนธิ ลิ้มทองกุล[2]

งานการเมือง[แก้]

อดีตเคยดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเคยเป็นที่ปรึกษา รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 77 พรรคไทยรักไทย ไม่ได้รับเลือกตั้งในคราวแรก แต่ต่อมาได้รับเลื่อนขึ้นมาแทนพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ที่ลาออกในปี พ.ศ. 2546[3] ต่อมาปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดเชียงราย พรรคพลังประชาชน ได้รับการเลือกตั้ง และปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย

อนึ่งในปี พ.ศ. 2553 เกิดกรณีหวิดวางมวยกับนายปลอดประสพ สุรัสวดี เนื่องจากนายปลอดประสพแถลงแผนปรองดองโดยไม่ผ่านที่ประชุมพรรค แต่ได้มีการปรับความเข้าใจกันในภายหลัง[4]

ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชุมนุมที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน

ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้เสนอชื่อพิเชษฐ์ให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยไม่มีผู้เสนอชื่ออื่นเพิ่มเติม เขาจึงได้เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ 6 วรรค 3[5][6]

งานกรรมาธิการ

กรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2546

กรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554

กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 กรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566

กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 - พ.ศ.2565

กรรมาธิการวิสามัญสัตวบาลปศุสัตว์ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2564

ประธานอนุกรรมาธิการติดตามการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งประเทศไทย สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2564

กรรมาธิการวิสามัญศึกษาพิจารณาสถานบันเทิงครบวงจร สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2564 - ศึกษารูปแบบประเทศสิงคโปร์

กรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2564 (พิจารณางบประมาณปี 2565) กรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2565 (พิจารณางบประมาณปี 2566)

กรรมาธิการวิสามัญคาร์บอนเครดิต สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2565

อนุกรรมาธิการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โดรนและชลยานไร้คนขับเพื่อการพัฒนา สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2565

กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงปี พ.ศ.2558 สภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  2. เปิดโปงเบื้องหลังแกนนำม็อบ “ยุทธ ตู้เย็น”
  3. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28.
  4. "ปลอด"รับหวิดวางมวย "พิเชษฐ์"บอกเคลียร์แล้ว โฆษกปชป.เผยไม่มีเจรจาลับ "โต้ง"ยันวงหารือไม่มีชื่อเจ.
  5. "ไม่พลิกโผ ปดิพัทธ์ นั่งรองประธานสภา คนที่ 1-พิเชษฐ์ นั่งรองฯ คนที่ 2". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ประธาน-รองประธานสภา’
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]