อานันท์ ปันยารชุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานันท์ ปันยารชุน
อานันท์ ใน พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
(1 ปี 20 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองเสนาะ อูนากูล
เภา สารสิน
มีชัย ฤชุพันธุ์
ก่อนหน้าสุนทร คงสมพงษ์
(หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)
ถัดไปสุจินดา คราประยูร
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 105 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองเภา สารสิน
เกษม สุวรรณกุล
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
ก่อนหน้ามีชัย ฤชุพันธุ์
(รักษาการ)
ถัดไปชวน หลีกภัย
ปลัดกระทรวงต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม พ.ศ. 2518 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2520
(1 ปี 212 วัน)
นายกสภามหาวิทยาลัยรังสิต
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์
บุตร
  • นันดา
  • ดารณี
บุพการี
ญาติรักษ์ ปันยารชุน (พี่ชาย)
ลายมือชื่อ

อานันท์ ปันยารชุน ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ.ว. ภ.ป.ร. ๓ (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475) เป็นนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 18 อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐ และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริหารรัฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2540 ทูตสันถวไมตรีของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประจำประเทศไทย ทั้งนี้ อานันท์เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรกที่เกิดหลังเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1]

ประวัติ[แก้]

อานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 12 คน[2] ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ชาวไทยเชื้อสายมอญ กับคุณหญิงปฤกษ์ ปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) ชาวไทยเชื้อสายจีน[3][4] (แคะ)[5] ซึ่งตัวเขาเองมีเชื้อสายจีนมาจากยายซึ่งใช้แซ่เล่า (จีน: ; หลิว)[6]

อานันท์ ปันยารชุนมีพี่น้องดังนี้

  1. พันตรี รักษ์ ปันยารชุน
  2. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา
  3. ปฤถา วัชราภัย
  4. กุนตี พิชเยนทรโยธิน
  5. กุศะ ปันยารชุน
  6. หม่อมจิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา
  7. ดุษฎี โอสถานนท์
  8. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน
  9. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา
  10. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา
  11. ชัช ปันยารชุน

อานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ [7] และหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ

  • นันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ บุตรพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง)
  • ดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ อดีตกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย[8] (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ บุตร ศ.ดร.นาวาเอก เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์[9] ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ ท่านผู้หญิงสมศรี)

การศึกษาและการทำงาน[แก้]

อานันท์จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลวิชคอจเลจ (Dulwich College) และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2498

หลังจบการศึกษา อานันท์เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา สหรัฐ และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 อานันท์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2518 อานันท์ ถูกปลดจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำคณะทูตถาวรสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก โดยให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศสหรัฐเพียงตำแหน่งเดียว[10]ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2518[11]ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ [12]ในรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร

จากนั้นถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2522

อานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

บทบาททางการเมือง[แก้]

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[แก้]

อานันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534[13] ถึง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์เช่นกัน ทั้งเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐ ผลจากการเลือกให้นายอานันท์เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในตอนนั้นช่วยให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนแรกที่เกิดภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภารกิจหลักของรัฐบาลนายอานันท์ในสมัยแรก คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ได้นำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ และมีภาพพจน์ที่ดี มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

การบริหารประเทศของนายอานันท์ ภายใต้คำสั่งของคณะรสช. ทำให้รัฐบาล รสช ได้รับได้สืบทอดอำนาจได้

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคสามัคคีธรรมได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด จำนวน 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคกลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ เป็นหนึ่งในบัญชีดำ ผู้ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด

พรรคร่วมเสียงข้างมาก ซึ่งประกอบด้วยพรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ พลเอกสุจินดาเคยประกาศว่า จะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกล่าวในเวลาต่อมาว่า จำเป็นต้อง "เสียสัตย์เพื่อชาติ" โกหกประชาชนอย่างหน้าด้านๆ

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ทำให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรง มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ท้องสนามหลวงเพิ่มขึ้นจนถึงห้าแสนคน จนนำมาสู่การใช้กำลังปะทะ และปราบปรามในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรง พลเอกสุจินดาประกาศลาออกจากตำแหน่ง ฝ่ายพรรคร่วมเสียงข้างมาก ร่วมกันสนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้วนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ได้ตัดสินใจเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทนที่จะเป็นพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นรัฐมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 20

พ.ศ. 2551 อานันท์ได้รับการติดต่อจาก พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ให้เข้าร่วมแผนการณ์ล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่อยู่ระหว่างรอเสนอต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และให้อานันท์ ปันยารชุนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน[14]

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ[แก้]

อานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามารับหน้าที่ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หลังการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [15]

ความเห็นทางการเมือง[แก้]

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549[แก้]

อานันท์สนับสนุนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เขาเป็นนักวิจารณ์พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นเวลาหลายปีก่อนรัฐประหาร และเขาโทษทักษิณว่าเป็นต้นเหตุ เขายังเกรงว่า คณะรัฐประหารจะล้มเหลวและทักษิณจะกลับคืน อานันท์อ้างว่า ประชาชนตอบรับรัฐประหารอย่างดีและการห้ามการคัดค้านหรือกิจกรรมทางการเมืองของคณะรัฐประหารจะไม่อยู่นาน เขายังประหลาดใจต่อการประณามของนานาประเทศต่อรัฐประหาร[16]

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[แก้]

อานันท์ยืนยันว่าประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยมาโดยตลอด แต่คนไทยหลอกตัวเองว่ามี ตนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารแต่เข้าใจว่ามีความจำเป็น ตนเห็นว่าความชอบธรรมไม่สำคัญเท่ากับทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง เชื่อว่าหากรัฐบาลยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ทหารก็คงไม่ออกมารัฐประหาร เขากล่าวว่า อยากเห็นธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตย ตนเชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบเดียวของประชาธิปไตย ต้องมีค่านิยมประชาธิปไตย องค์กรถ่วงดุล ระบบตุลาการที่เที่ยงธรรมและสิทธิแสดงความคิดเห็นด้วย[17]

เมื่อถูกถามว่า รัฐประหารจะนำไปสู่สังคมที่ดี มีคุณค่าประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งหรือไม่ เขาตอบว่า "เท่าที่ผมอ่านหนังสือพิมพ์ เขาบอกมันจะมีเลือกตั้ง" เขาเห็นว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยได้ทำทุกวิถีทางในการจัดการกับปัญหาแล้ว แต่ช่องทางมันตันหมด เขาไม่ตอบว่าเห็นด้วยกับรัฐประหารหรือไม่ แต่บอกว่ารัฐประหารไม่จำเป็นต้องไม่ดีเสียหมด เขากล่าวว่า ต้องระวังไม่ให้สังคมกลับไปสู่จุดก่อนเกิดรัฐประหาร เพราะประชาชนจะถามว่า ทำไมทหารยังเข้ามาเหมือนเดิม[17]

สมาชิกคณะมนตรีไตรภาคี[แก้]

อานันท์ ปันยารชุน เป็นสมาชิกคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2554-2557 ตัวแทนประเทศไทย[18][19][20]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

นายกองใหญ่
อานันท์ ปันยารชุน
รับใช้กองอาสารักษาดินแดน
ชั้นยศ นายกองใหญ่

อานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน ในฐานะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าของผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2513 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดีเด่นทางการทูต ชั้นที่ 1
  •  อินโดนีเซีย :
    • พ.ศ. 2514 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวแห่งการบริการ ชั้นอุตมา
  •  เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2533 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดอลากูรอน ชั้นที่ 2

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อยู่กับเผด็จการ อานันท์ ปันยารชุน เล่าคืนรัฐประหาร ผมไม่แทงคุณข้างหลัง ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565
  2. Biography of Anand Panyarachun (อังกฤษ)
  3. PAVING THE WAY[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
  4. PROUD TO BE MON SAYS FORMER THAI PM เก็บถาวร 2007-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  5. "นรฤทธิ์ โชติกเสถียร ทายาทคนใหม่ของอาคเนย์ฯ" (Press release). นิตยสารผู้จัดการ. August 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
  6. [泰国] 洪林, 黎道纲主编 (2006). 泰国华侨华人研究. 香港社会科学出版社有限公司. p. 185. ISBN 962-620-127-4.
  7. พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  8. ข้อมูลบุคคล อานันท์ ปันยารชุน[ลิงก์เสีย]
  9. แต่งงานชีวิตคู่สมรส
  10. รชุน ถูกปลดจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำคณะทูตถาวรสหประชาชาติ
  11. เอกอัครราชทูตประจำประเทศสหรัฐเพียงตำแหน่งเดียว
  12. ได้รับแต่งตั้งเป็น เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายอานันท์ ปันยารชุน)
  14. 08BANGKOK2619 U.S. Embassy Bangkok. 3 September 2008. wikileaks.
  15. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  16. The Nation, Our coup is different: Anand, 29 September 2006
  17. 17.0 17.1 เมื่อ "ภิญโญ " ถาม "อานันท์ " คุณเห็นด้วยกับรัฐประหารครั้งนี้แค่ไหน? (ชมคลิป)
  18. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2554" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
  19. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  20. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2557" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
  21. "ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2017-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๙๑, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๓๕, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
  • วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย, ออลบุ๊คส์พับลิสชิ่ง, 2549 ISBN 974-94553-9-8

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]

  • กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์, “ความล้มเหลวในการสถาปนาหลักการ ‘นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง’: กรณีนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน 2.” ใน ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล และคงกฤช ไตรยวงค์ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7 ความกลัว ความหวัง จินตนาการเปลี่ยนแปลง. น. 165-191. ม.ป.ท., 2557.
  • Nishizaki, Yoshinori. “Birds of a Feather: Anand Panyarachun, Elite Families and Network Monarchy in Thailand.” Journal of Southeast Asian Studies 51, 1-2 (June 2020) : 197-242.
ก่อนหน้า อานันท์ ปันยารชุน ถัดไป
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรีไทย
(2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535)
พลเอก สุจินดา คราประยูร
พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีไทย
(10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535)
ชวน หลีกภัย