สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมนเชสเตอร์ซิตี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
ฉายา
  • ซิตีเซนส์[1][2]
  • เรือใบสีฟ้า (ภาษาไทย)
ชื่อย่อเเมนเชสเตอร์ชิตี
ก่อตั้ง1880; 144 ปีที่แล้ว (1880) ในชื่อ เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน)
1887; 137 ปีที่แล้ว (1887) ในชื่อ สโมสรฟุตบอลอาร์ดวิก
16 เมษายน 1894; 129 ปีก่อน (1894-04-16) ในชื่อ แมนเชสเตอร์ซิตี[a]
สนามสนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์
Ground ความจุ53,400 ที่นั่ง[3]
เจ้าของซิตีฟุตบอลกรุป
ประธานค็อลดูน อัลมุบาร็อก
ผู้จัดการเปป กวาร์ดิโอลา
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 1 (ชนะเลิศ)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Manchester City Football Club) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แมนซิตี เป็นสโมสรฟุตบอลของประเทศอังกฤษที่ตั้งอยู่ ณ เมืองแมนเชสเตอร์ ปัจจุบันแข่งขันในพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1880 ในชื่อ เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอาร์ดวิก ใน ค.ศ. 1887 และเปลี่ยนชื่อเป็นแมนเชสเตอร์ซิตีใน ค.ศ. 1894 มีสนามเหย้าคือสนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมือง โดยสโมสรใช้งานสนามแห่งนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. 2003 หลังจากที่เคยใช้สนามเมนโรดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 สโมสรใช้สีฟ้าเป็นชุดเหย้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1894[4] แมนเชสเตอร์ซิตีชนะเลิศการแข่งขันลีกสูงสุด 9 สมัย, เอฟเอคัพ 7 สมัย, ลีกคัพ 8 สมัย, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 6 สมัย, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 สมัย, ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 1 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 1 สมัย

แมนเชสเตอร์ซิตีเข้าร่วมฟุตบอลลีกครั้งแรกใน ค.ศ. 1892 และคว้าถ้วยรางวัลแรกด้วยการชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพในปี 1904 ช่วงเวลาที่สโมสรเริ่มประสบความสำเร็จคือทศวรรษ 1960 ซึ่งสโมสรชนะเลิศทั้งลีก, ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ, เอฟเอคัพ และลีกคัพภายใต้การคุมทีมของโจ เมอร์เซอร์และมัลคอม อัลลิซัน สโมสรเริ่มเข้าสู่ช่วงตกต่ำหลังจากที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพปี 1981 โดยเคยตกชั้นจนถึงลีกระดับที่สามมาแล้ว พวกเขาเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดได้ในฤดูกาล 2001–02 และได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกมาตั้งแต่ฤดูกาล 2002–03

แมนเชสเตอร์ซิตีได้รับการลงทุนทางการเงินจำนวนมากทั้งในด้านทีมงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หลังจากที่ชีคมานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน เข้าครอบครองกิจการผ่านอาบูดาบียูไนเต็ดกรุป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008[5] สิ่งนี้เริ่มต้นยุคใหม่แห่งความสำเร็จอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยสโมสรคว้าแชมป์เอฟเอคัพใน ค.ศ. 2011 และแชมป์พรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2012 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ทั้งสองรายการเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ตามด้วยแชมป์ลีกอีกครั้งใน ค.ศ. 2014 ภายใต้การคุมทีมของเปป กวาร์ดิโอลา แมนเชสเตอร์ซิตีประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2018 และกลายเป็นทีมเดียวในประวัติศาสตร์การแข่งขันที่เก็บได้ 100 คะแนนในฤดูกาลเดียว ในฤดูกาล 2018–19 พวกเขาคว้าแชมป์ 4 รายการ คว้าแชมป์ในประเทศทุกรายการ และกลายเป็นทีมฟุตบอลชายของอังกฤษทีมแรกที่คว้าเทรเบิลแชมป์ในประเทศ[6] ตามด้วยแชมป์พรีเมียร์ลีก 3 สมัยติดต่อกันในฤดูกาล 2020–21, 2021–22 และ 2022–23; ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่สาม, สี่ และห้าในยุคของกวาร์ดิโอลา ใน ค.ศ. 2023 พวกเขากลายเป็นสโมสรที่สองของอังกฤษที่คว้าเทรเบิลแชมป์ระดับทวีป ซึ่งรวมถึงการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกครั้งแรก และสโมสรมีค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่าสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2022–23[7]

แมนเชสเตอร์ซิตีได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับหนึ่งโดยดีลอยท์ฟุตบอลมันนีลีก เมื่อจบฤดูกาล 2021–22 ทำให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีรายได้สูงที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าประมาณ 731 ล้านยูโร[8] ใน ค.ศ. 2022 ฟอบส์ ประเมินว่าสโมสรมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 6 ของโลกกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9][10] แมนเชสเตอร์ซิตี้มีเจ้าของคือซิตีฟุตบอลกรุป บริษัทโฮลดิ้งในอังกฤษมูลค่า 3.73 พันล้านปอนด์ (4.8 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019[11][12]

ประวัติ

ก่อตั้งทีม และย้ายสู่เมนโรด (1880–1920)

Fifteen men posing across three rows. Eleven of the men are wearing a football kit with a Maltese Cross on the breast. The other four are wearing suits and top hats.
ผู้เล่นชุดแรกของสโมสรแมนเชสเตอร์ซืตีใน ค.ศ. 1884
A group of thirteen men, eleven in association football attire typical of the early twentieth century and two in suits. A trophy sits in front of them
ผู้เล่นของสโมสรชุดที่ชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 1904

สโมสรก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1880 โดยกลุ่มสมาชิกของคริสตจักรเซนต์มาร์กแห่งอังกฤษ เวสต์กอร์ตัน โดยที่มาในการก่อตั้งนั้นเกิดจากการที่บาทหลวงในโบสถ์ต้องการแก้ปัญหาชุมชม เนื่องด้วยมีวัยรุ่นและผู้ใหญ่จำนวนมากที่ติดสุราและเป็นโรคพิษสุรารวมทั้งมีปัญหาอาชญากรรมในท้องถิ่นเนื่องจากปัญหาการว่างงาน จึงต้องการตั้งทีมฟุตบอลเพื่อช่วยส่งเสริมให้ประชาชนหันมาออกกำลังกาย[13] เดิมทีนั้นสโมสรก่อตั้งในชื่อ เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน) ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอาร์ดวิก ใน ค.ศ. 1887 และกลายมาเป็น แมนเชสเตอร์ซิตี อย่างในปัจจุบันใน ค.ศ. 1894

การแข่งขันอย่างเป็นทางการของสโมสรเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 พบกับทีมคริสตจักรจากแม็คเคิลสฟิลต์ ซึ่งสมาชิกคริสตจักร เซนต์มากส์ แพ้ไป 1–2[14] จากนั้นจึงเริ่มมีการจดทะเบียนเป็นสโมสรอาชีพและมีการจัดตั้งกลุ่มผู้เล่นอย่างเป็นทางการ

สโมสรชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันสองใน ค.ศ. 1899 และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในสมัยนั้นอย่างดิวิชันหนึ่ง ก่อนจะชนะเลิศถ้วยรางวัลแรกในประวัติศาสตร์ในถ้วยเอฟเอคัพ เอาชนะโบลตันวอนเดอเรอส์ 1–0 ในรอบชิงชนะเลิศ 23 เมษายน ค.ศ. 1904 และพวกเขาเกือบจะทำสถิติชนะเลิศฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วยได้ในฤดูกาลเดียวกัน ทว่าพวกเขากับพลาดแชมป์ลีกในช่วงท้ายไปอย่างน่าเสียดาย[15] แต่พวกเขาก็ถือเป็นสโมสรแรกในเมืองแมนเชสเตอร์ที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลอย่างเป็นทางการ[16]

สโมสรประสบปัญหาการเงินอย่างหนักในฤดูกาลต่อมา นำไปสู่การปล่อยตัวผู้เล่นทีมชุดใหญ่ถึง 17 คน รวมถึงกัปตันทีมอย่าง บิลลี เมเรดิท ซึ่งย้ายข้ามฟากไปร่วมสโมสรคู่อริอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[17] เหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในสนามไฮด์โรด ค.ศ. 1920 นำไปสู่การย้ายไปยังสนามเหย้าแห่งใหม่ซึ่งก็คือ เมนโรด ใน ค.ศ. 1923[18]

แชมป์ลีกสูงสุด, ตกชั้น และแชมป์ฟุตบอลถ้วย (1930–76)

ในทศวรรษถัดมา สโมสรเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพได้อีกสองครั้ง แพ้ต่อเอฟเวอร์ตันใน ค.ศ. 1933 ก่อนจะคว้าแชมป์โดยชนะพอร์ตสมัทในปีต่อมา ซึ่งในฤดูกาลนั้นสโมสรยังสร้างสถิติสำคัญในการมีจำนวนผู้ชมในสนามสูงสุด 84,569 ราย ในการแข่งขันเอฟเอคัพรอบที่ 6 ที่พบกับสโตกซิตี โดยถือเป็นสถิติสูงสุดยาวนานมาจนถึง ค.ศ. 2016[19] ต่อมา สโมสรชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันหนึ่งเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1936–37 แต่พวกเขากลับต้องตกชั้นในฤดูกาลต่อมา แม้จะทำสถิติเป็นทีมที่ยิงประตูมากที่สุดในลีกประจำฤดูกาลนั้น[20] และทีมก็มีผลงานไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้น กระทั่ง 20 ปีต่อมา แมนเชสเตอร์ซิติกลับมาชิงชนะเลิศเอฟเอคัพได้อีกสองครั้ง และเช่นเดียวกับในช่วงทศวรรษ 1930 พวกเขาแพ้ในการชิงชนะเลิศครั้งแรกต่อนิวคาสเซิลใน ค.ศ. 1955 ก่อนจะคว้าแชมป์ได้ในครั้งถัดมาใน ค.ศ. 1956 ชนะเบอร์มิงแฮมซิตีในนัดชิงชนะเลิศ 3–1 โดยมีเหตุการณ์น่าสนใจคือ แบร์ท เทราท์มันน์ ผู้รักษาประตูคนสำคัญลงเล่นจนจบการแข่งขันแม้จะได้รับการกระทบกระเทือนที่คออย่างรุนแรง แต่เขากลับไม่รู้ตัวแต่อย่างใด[21]

แมนเชสเตอร์ซิตีต้องตกชั้นสู่ดิวิชันสองใน ค.ศ. 1953 และยังสร้างสถิติที่ไม่น่าจดจำคือการมีผู้ชมน้อยที่สุดเพียง 8,015 รายในนัดที่พบกับ วินดันทาวน์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1965[22] โจ เมอร์เซอร์ อดีตปีกชื่อดังชาวอังกฤษได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมในช่วงฤดูร้อน และมีมัลคอล์ม อัลลิสันเป็นผู้ช่วย (ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 1971) ก่อนจะพาสโมสรคว้าแชมป์ฟุตบอลดิวิชันสองได้เป็นครั้งที่สองรวมถึงทำการเซ็นสัญญากับผู้เล่นคนสำคัญอย่าง ไมค์ ซัมเมอร์บี และ โคลิน เบลล์[23] ถัดมาในฤดูกาล 1967–68 สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่ง ได้เป็นครั้งที่สองโดยคว้าแชมป์ไปในนัดสุดท้ายของฤดูกาลซึ่งชนะนิวคาสเซิล 4–3 และยังทำให้คู่อริอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เพียงรองแชมป์[24] ความสำเร็จยังคงตามมาอย่างต่อเนื่อง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกครั้งใน ค.ศ. 1969 ก่อนจะคว้าถ้วยยุโรปรายการแรกจากการชนะยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ เอาชนะทีมกูร์ญิกซับแชจากโปแลนด์ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศที่กรุงเวียนนา และยังคว้าแชมป์ลีกคัพได้ในปีนั้น ถือเป็นสโมสรที่สองของอังกฤษที่ชนะเลิศการแข่งขันรายการยุโรป และชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในประเทศได้ภายในฤดูกาลเดียวกัน[25]

แมนเชสเตอร์ซิตียังรักษามาตรฐานการเล่นได้อย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1970 โดยจบฤดูกาลในลีกด้วยรองแชมป์อีกสองครั้งซึ่งมีแต้มตามหลังทีมแชมป์เพียงคะแนนเดียวทั้งสองครั้ง รวมทั้งเข้าชิงชนะเลิศลีกคัพได้อีกครั้งใน ค.ศ. 1974 แต่แพ้วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์[26] และในฤดูกาลนั้นยังมีหนึ่งในการแข่งขันสำคัญที่อยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ คือการพบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 1973–74 โดยในนัดนั้นยูไนเต็ดซึ่งอยู่ในยุคตกต่ำต้องการชัยชนะเพื่อหนีการตกชั้น ผลปรากฏว่า เดนิส ลอว์ อดีตผู้เล่นของยูไนเต็ดเป็นผู้ทำประตูชัยให้ซิตีเอาชนะไป 1–0 ส่งผลให้ยูไนเต็ดตกชั้นสู่ฟุตบอลดิวิชันสอง[27] แมนเชสเตอร์ซิตีประสบความสำเร็จอีกครั้งในลีกคัพ ค.ศ. 1976 เอาชนะนิวคาสเซิลในรอบชิงชนะเลิศ 2–1[28]

ตกต่ำ (1979–96)

แมนเชสเตอร์ซิตีต้องเข้าสู่ความตกต่ำครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา มัลคอล์ม อัลลิสัน กลับมาคุมทีมเป็นครั้งที่สองใน ค.ศ. 1979 แต่ทำผลงานย่ำแย่ และยังล้มเหลวในการลงทุนซื้อตัวผู้เล่น โดยเซ็นสัญญากับผู้เล่นราคาแพงอย่าง สตีฟ เดลีย์ กองกลางชาวอังกฤษซึ่งไม่เข้ากับระบบทีม ทำให้อัลลิสันต้องลาทีมไป และถูกแทนที่โดย จอห์น บอนด์ ซึ่งพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพใน ค.ศ. 1981 แต่แพ้ทอตนัมฮอตสเปอร์ในนัดแข่งใหม่ และพวกเขามีช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์โดยตกชั้นถึงสองครั้ง (ฤดูกาล 1983 และ 1987) ส่งผลให้สโมสรต้องลงไปแข่งขันในลีกระดับสาม (ฟุตบอลลีกวันในปัจจุบัน) แต่สามารถกลับสู่ลีกสูงสุดได้ใน ค.ศ. 1989 และมีผลงานที่พัฒนาขึ้นจนจบในอันดับห้าสองฤดูกาลติดต่อกันใน ค.ศ. 1991 และ 1992 ภายใต้การคุมทีมของปีเตอร์ รีด[29] แต่โชคชะตาก็ดูเหมือนจะเล่นตลกกับพวกเขาอีกครั้ง โดยแม้ว่าซิตีจะเป็นหนึ่งในสโมสรผู้ร่วมก่อตั้งพรีเมียร์ลีกซึ่งเป็นการแข่งขันลีกสูงสุดที่เปลี่ยนชื่อมาจากฟุตบอลดิวิชันหนึ่ง พวกเขากลับมีผลงานที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ หลังจากนั้น โดยหลังจบอันดับเก้าในฤดูกาลแรก พวกเขากลายเป็นเพียงทีมท้ายตารางและตกชั้นใน ค.ศ. 1996 และหลังจากเล่นในลีกสองอยู่สองฤดูกาล พวกเขาสร้างสถิติย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสรอีกครั้ง ด้วยการมีคะแนนในฤดูกาลน้อยที่สุดตั้งแต่ลงแข่งขันฟุตบอลลีก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสองสโมสรของทวีปยุโรปที่เคยชนะการแข่งขันถ้วยยุโรป แต่ต้องตกชั้นลงไปเล่นในลีกระดับสามของประเทศ ต่อจากสโมสรมักเดเบิร์กในเยอรมนี[30]

ฟื้นตัว (2000–07)

เดวิด เบิร์นชไตน์ นักธุรกิจชาวอังกฤษเข้ามาบริหารสโมสรในฐานะเจ้าของทีมคนใหม่ สโมสรมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น และภายใต้การคุมทีมของ โจ รอยล์ อดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ สโมสรเลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่นสองได้อีกครั้งจากการเอาชนะจิลลิงงัม รวมถึงการทำผลงานยอดเยี่ยมจนเลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ กระนั้น นี่ถือเป็นข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าสโมสรที่กำลังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวไม่อาจอยู่รอดในลีกสูงสุดของฟุตบอลยุโรปได้อย่างมั่นคง แมนเชสเตอร์ซิตีต้องตกชั้นอีกครั้งใน ค.ศ. 2001 ทว่านั่นก็เป็นการตกชั้นครั้งสุดท้ายของสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน เควิน คีแกนพาทีมเลื่อนชั้นกลับมาได้อีกครั้งในฐานะผู้ชนะการแข่งขันดิวิชันหนึ่ง (ลีกระดับสองในขณะนั้น)[b] ในฤดูกาล 2001–02 รวมทั้งสร้างสถิติใหม่มากมายให้แก่สโมสรทั้งการทำคะแนนมากที่สุดในฟุตบอลลีก และการทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล[31]

สโมสรลงเล่นที่สนามเมนโรดเป็นฤดูกาลสุดท้ายในฤดูกาล 2002–03 ซึ่งในฤดูกาลนั้นยังมีการแข่งขันนัดสำคัญโดยแมนเชสเตอร์ซิตีเปิดสนามเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไป 3–1 ยุติช่วงเวลา 13 ปีติดต่อกันที่พวกเขาไม่ชนะในดาร์บีแมนเชสเตอร์[32] สโมสรผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลยุโรปเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี และย้ายสู่สนามแห่งใหม่ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ แต่ในช่วงสี่ฤดูกาลแรกที่สนามแห่งใหม่ พวกเขาทำได้เพียงประคองตัวจบอันดับกลางตารางเท่านั้น สเวน-เยอราน เอริกซอน ผู้จัดการทีมชาวสวีเดนเข้ามาคุมทีมใน ค.ศ. 2007 ก่อนจะถูกปลด และแทนที่ด้วย มาร์ก ฮิวส์ ในปีต่อมา

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และยุคทองของสโมสร (2008–ปัจจุบัน)

สโมสรกลับไปประสบปัญหาการเงินอีกครั้ง เป็นเหตุพิจารณาให้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเข้าซื้อกิจการและดำรงตำแหน่งประธานสโมสร แต่เนื่องจากปัญหาคดีความทางการเมืองของทักษิณทำให้การบริหารสโมสรต้องหยุดชะงัก[33] กลุ่มทุนอาบูดาบีได้ซื้อสโมสรต่อด้วยมูลค่า 210 ล้านปอนด์ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหนึ่งในทีมมหาเศรษฐีแห่งวงการฟุตบอลยุโรปมานับแต่นั้น ในฤดูกาล 2008–09 สโมสรทำการเซ็นสัญญากับผู้เล่นค่าตัวแพงอย่าง โรบินยู จากเรอัลมาดริดด้วยราคา 32.5 ล้านปอนด์ แต่ผลงานของสโมสรยังไม่เป็นที่ประทับใจนักแม้จะผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศถ้วยยูฟ่าคัพ[34] ทำให้ทีมทำการลงทุนครั้งใหญ่ด้วยจำนวนเงินกว่า 100 ล้านปอนด์ ซึ่งแลกมาด้วยผู้เล่นชื่อดังได้แก่ แกเร็ท แบร์รี, โรเก ซานตา ครูซ, โกโล ตูเร, เอ็มมานูเอล อาเดบายอร์, การ์โลส เตเบซ และ โจเลียน เลสคอตต์[35] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 ฮิวส์ถูกแทนที่โดย โรแบร์โต มันชีนี ซึ่งพาทีมจบอันดับห้าในพรีเมียร์ลีกได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก[36]

ภายใต้การคุมทีมของมันชินี สโมสรก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในสโมสรชั้นนำของอังกฤษ พวกเขาเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพใน ค.ศ. 2011 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี และเอาชนะสโตกซิตี 1–0 และยังชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบรองชนะเลิศ[37] คว้าแชมป์เอฟเอคัพสมัยที่ห้า และยังเป็นการกลับมาชนะเลิศถ้วยรางวัลครั้งแรกในรอบกว่า 35 ปี นับตั้งแต่ได้แชมป์ลีกคัพใน ค.ศ. 1976 รวมทั้งได้สิทธิ์ผ่านเข้าไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1968[38] โดยจบฤดูกาล 2010–11 ด้วยอันดับสามในพรีเมียร์ลีก

แฟนบอลในสนามเอติฮัดสเตเดียม ลงมาเฉลิมฉลองหลังทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2011–12 ซึ่งเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดในรอบกว่า 44 ปี

ในฤดูกาล 2011–12 แมนเชสเตอร์ซิตีทำผลงานได้ยอดเยี่ยม รวมถึงการบุกไปชนะสเปอร์ 5–1 และบุกไปชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ถึงโอล์ดแทรฟฟอร์ด 6–1 และได้ลุ้นแชมป์กับยูไนเต็ดถึงช่วงท้ายฤดูกาล กระทั่งวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายของการแข่งขัน ทั้งคู่มีคะแนนเท่ากันคือ 86 คะแนน แต่ผลต่างของประตูได้เสียของแมนเชสเตอร์ซิตีดีกว่า โดยแมนเชสเตอร์ซิตีพบกับควีนปาร์คแรนเจอส์ ที่เอติฮัดสเตเดียม ขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดออกไปเยือนซันเดอร์แลนด์ ซึ่งทั้งคู่ต่างต้องการชัยชนะ หากยูไนเต็ดชนะ และซิตีทำได้แค่เสมอหรือแพ้ ยูไนเต็ดจะคว้าแชมป์ทันที ปรากฏว่ายูไนเต็ดเอาชนะซันเดอร์แลนด์ไปได้ 1–0 และในเกมที่ซิตีพบกับควีนปาร์คแรนเจอส์นั้น พวกเขาตามหลังอยู่ 1–2 กระทั่งช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ซิตีพลิกกลับขึ้นมานำในนาทีที่ 91 และ 94 อย่างปาฏิหาริย์จากประตูของกองหน้าคนสำคัญ เซร์ฆิโอ อาเกวโร ช่วยทีมชนะ 3–2 คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกไปครองหลังจากรอคอยแชมป์ลีกสูงสุดมานานกว่า 44 ปี[39] แต่ในฤดูกาล 2012–13 แมนเชสเตอร์ซิตีไม่ได้แชมป์อะไรเลย โดยทำได้เพียงรองแชมป์พรีเมียร์ลีก และตกรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นปีที่สองติดต่อกัน อีกทั้งเมื่อเข้าชิงเอฟเอคัพกับวีแกนแอธเลติกซึ่งตกชั้นในฤดูกาลนั้น ก็กลับเป็นฝ่ายแพ้ไป 0–1 กอปรกับการที่มันชินีมีปัญหากับผู้บริหาร จึงเป็นชนวนให้ผู้บริหารปลดมันชีนีออกจากตำแหน่ง[40] และแทนที่ด้วย มานูเอล เปเลกรินิ ซึ่งพาทีมคว้าแชมป์ลีกคัพและพรีเมียร์ลีกได้ในฤดูกาล 2013–14 แต่ผลงานไม่เป็นที่ประทับใจในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้เขาถูกปลดเมื่อจบฤดูกาล 2015–16 แม้จะพาทีมคว้าแชมป์ลีพคัพได้อีกครั้ง[41]

ยุคของกวาร์ดิโอลา (2016–ปัจจุบัน)

เปป กวาร์ดิโอลา เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร[42][43]

เปป กวาร์ดิโอลา ผู้จัดการทีมชื่อดังซึ่งประสบความสำเร็จกับบาร์เซโลนาและไบเอิร์นมิวนิกได้รับการแต่งตั้งในฤดูกาล 2016–17 และถือเป็นช่วงเวลาที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด[44][45] โดยคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2017–18 พร้อมทำสถิติเป็นทีมแชมป์ที่มีคะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ 100 คะแนน[46] รวมทั้งสร้างสถิติพรีเมียร์ลีกอีกมากมาย และยังคว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพ ด้วยการเอาชนะอาร์เซนอล 3–0 นอกจากนี้ เซร์ฆิโอ อาเกวโร ยังกลายเป็นผู้ทำประตูสูงที่สุดตลอดกาลของสโมสร[47]

ฤดูกาล 2018–19 ถือเป็นฤดูกาลที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์[48] กวาร์ดิโอลา พาทีมคว้าสามถ้วยรางวัลหลักได้แก่ พรีเมียร์ลีก, ลีกคัพ และเอฟเอคัพ ถือเป็นครั้งแรกที่สโมสรสามารถป้องกันแชมป์ลีกได้ และยังเป็นทีมฟุตบอลชายทีมแรกของอังกฤษที่ชนะเลิศการแข่งขันภายในประเทศได้สามรายการในฤดูกาลเดียวกัน (ทริปเปิลแชมป์) ก่อนที่สโมสรจะได้รับโทษแบนห้ามลงแข่งขันในฟุตบอลยุโรปเป็นเวลาสองฤดูกาลจากการละเมิด ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์[c] อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ยื่นคำร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา และพ้นจากข้อกล่าวหารวมถึงการได้ลดจำนวนเงินค่าปรับจาก 30 ล้านยูโร เหลือ 10 ล้านยูโร[49][50]

แมนเชสเตอร์ซิตีไม่ประสบความสำเร็จในการป้องกันแชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2019–20 โดยเสียแชมป์ให้แก่ลิเวอร์พูล แต่พวกเขายังป้องกันแชมป์อีเอฟแอลคัพได้เป็นปีที่สามติดต่อกัน ชนะแอสตันวิลลา 2–1[51] ถัดมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 สโมสรประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมการแข่งขันเดอะซูเปอร์ลีก ร่วมกับสโมสรชั้นนำในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคานอำนาจกับสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทว่าแผนดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากแฟนบอล, สปอนเซอร์, สโมสรชั้นนำบางสโมสร และรัฐบาลอังกฤษ รวมถึง บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และผู้จัดการทีม เปบ กวาร์ดิโอลา[52][53] ส่งผลให้สโมสรต้องประกาศยกเลิกแผนดังกล่าวในอีก 48 ชั่วโมงต่อมาร่วมกับสโมสรชั้นนำของอังกฤษอีกห้าสโมสร[54]

สโมสรจบฤดูกาล 2020–21 ด้วยการกลับมาครองแชมป์พรีเมียร์ลีก ถือเป็นแชมป์ครั้งที่สามในรอบสี่ฤดูกาล[55] โดยมีคะแนนมากกว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 12 คะแนนคว้าแชมป์ได้ในขณะที่เหลือการแข่งขันอีกสามนัด[56] และคว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพสี่สมัยติดต่อกัน ชนะสเปอร์ 1–0 ส่งผลให้ เปป กวาร์ดิโอลาเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร[57] พวกเขายังเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรกแต่แพ้เชลซี 0–1 ที่สนามอิชตาดียูดูดราเกา[58] ต่อมาในฤดูกาล 2021–22 สโมสรทำการลงทุนครั้งใหญ่อีกครั้งด้วยการเซ็นสัญญากับ แจ็ก กรีลิช ด้วยค่าตัวสถิติสโมสร 100 ล้านปอนด์[59] และยังเป็นสถิติการซื้อตัวที่แพงที่สุดของสโมสรในอังกฤษ[60] และแม้จะตกรอบฟุตบอลถ้วยทุกรายการ แต่สโมสรสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้อีกครั้ง ถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 8 และยังเป็นการคว้าแชมป์ได้ถึง 4 จาก 5 ฤดูกาลหลังสุด[61]

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 พรีเมียร์ลีกได้ออกแถลงการณ์ว่า แมนเชสเตอร์ซิตีได้ละเมิดกฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์มากกว่า 100 ครั้งนับตั้งแต่ฤดูกาล 2009–2018 หลังจากมีการสอบสวนเชิงลึกมายาวนานกว่าสี่ปีซึ่งเรื่องนี้ได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย โดยหากสโมสรมีความผิดจริง อาจได้รับโทษด้วยการตัดคะแนนในลีกหรืออาจถึงขั้นถูกตัดออกจากการแข่งขันลีกสูงสุด[62] ต่อมา สโมสรคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2022–23 ได้อีกครั้ง ถือเป็นแชมป์ครั้งที่ 5 ในรอบ 7 ฤดูกาลที่กวาร์ดิโอลาคุมทีม และเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่เก้า[63] ตามด้วยการคว้าแชมป์เอฟเอคัพสมัยที่ 7 ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2023 จากการชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยผลประตู 2–1 และคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะอินเตอร์มิลานสนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์คด้วยผลประตู 1–0 โดยเส้นทางก่อนหน้านั้นพวกเขาเอาชนะทีมเต็งแชมป์อย่างไบเอิร์นมิวนิกและเรอัลมาดริด สโมสรทำสถิติเป็นทีมที่สองของอังกฤษที่คว้าเทรเบิลแชมป์ระดับทวีป[64]

ในฤดูกาล 2023–24 แมนเชสเตอร์ซิตีคว้าแชมป์ยูฟ่าซูเปอร์คัพเป็นสมัยแรก ด้วยการเอาชนะจุดโทษเซบิยาหลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 1–1 ต่อมา สโมสรคว้าแชมปฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกเป็นสมัยแรก ภายหลังเอาชนะฟลูมิเนนเซแชมป์โกปาลิเบร์ตาโดเรสในรอบชิงชนะเลิศวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2023 ด้วยผลประตู 4–0

ประวัติการแข่งขันฟุตบอลลีก

  • 1892–1899 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1899–1902 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1902–1903 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1903–1909 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1909–1910 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1910–1926 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1926–1928 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1928–1938 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1938–1947 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1947–1950 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1950–1951 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1951–1963 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1963–1966 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1966–1983 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1983–1985 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1985–1987 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1987–1989 ดิวิชันสอง (L2)
  • 1989–1992 ดิวิชันหนึ่ง (L1)
  • 1992–1996 พรีเมียร์ลีก (L1)
  • 1996–1998 ดิวิชันหนึ่ง (L2)
  • 1998–1999 ดิวิชันสอง (L3)
  • 1999–2000 ดิวิชันหนึ่ง (L2)
  • 2000–2001 พรีเมียร์ลีก (L1)
  • 2001–2002 ดิวิชันหนึ่ง (L2)
  • 2002–ปัจจุบัน พรีเมียร์ลีก (L1)

L1 = ลีกสูงสุด; L2 = ลีกระดับสอง; L3 = ลีกระดับสาม

ตราสโมสรและสี

เครื่องบินของสายการบินเอทิฮัดลายแมนเชสเตอร์ซิตี ซึ่งเอทิฮัดเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรมาตั้งแต่ ค.ศ. 2009

แมนเชสเตอร์ซิตีเคยเปลี่ยนรูปแบบตราสโมสรมาสามครั้งก่อนที่จะใช้ตราสัญลักษณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์แรกเริ่มเปิดตัวใน ค.ศ. 1970 การออกแบบมีที่มาจากเอกสารของสโมสรที่ปรากฏใน ค.ศ. 1960 โดยตราเป็นรูปวงกลมและมีลักษณะคล้ายตราในปัจจุบัน โดยมีชือสโมสรอยู่ภายในวงกลม ต่อมาใน ค.ศ. 1972 ด้านล่างของตราสโมสรมีการเพิ่มรูปดอกกุหลาบสีแดงซึ่งสื่อถึงการเป็นสัญลักษณ์ของมณฑลแลงคาสเชอร์

ในบางโอกาสที่แมนเชสเตอร์ซิตีลงแข่งขันฟุตบอลถ้วยรอบชิงชนะเลิศ สโมสรจะใช้ชุดแข่งขันพิเศษ คือสวมเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ของเมืองแมนเชสเตอร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจในการเป็นตัวแทนของเมืองในการแข่งขันรายการสำคัญ โดยเริ่มธรรมเนียมปฏิบัตินี้มาตั้งแต่สมัยที่ชุดแข่งขันของพวกเขายังไม่มีตราสโมสรปรากฏบนเสื้อ[65] สโมสรได้ละเว้นการปฏิบัติตามธรรมเนียมเป็นครั้งแรกในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 2011 เมื่อพวกเขาเปลี่ยนไปใส่เสื้อซึ่งเป็นตราสโมสรตามปกติ แต่มีการนำตราสัญลักษณ์ของเมืองแมนเชสเตอร์ไปรวมกับแถบสีขาวดำในหมายเลขเสื้อด้านหลังของผู้เล่นแทน[66]

มีการเปลี่ยนแปลงตราสโมสรอีกครั้งใน ค.ศ. 1997 เนื่องจากตราแบบเดิมไม่สามารถจดทะเบียนรับรองเครื่องหมายการค้าได้ โดยตราสโมสรในครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากตราอาร์มของเมืองแมนเชสเตอร์ และยังมีการเพิ่มรูปโล่ลงไปหน้ารูปนกอินทรีสีทอง ซึ่งนกอินทรีเป็นสัญลักษณ์ของเมืองแมนเชสเตอร์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1958 เพื่อสื่อถึงการเติบโตทางอุตสาหกรรมการบินของเมือง แต่ในปัจจุบันเมืองแมนเชสเตอร์ได้เลิกใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวแล้ว โดยภายในโล่ของตราสโมสรนั้นมีรูปเรือใบอยู่ด้านบนของตราซึ่งเป็นตัวแทนของคลองเรือเมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester Ship Canal) ซึ่งเชื่อมระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์และทะเลไอริช และแถบสีขาวซึ่งมีลักษณะเป็นแนวทแยงสามเส้นนั้นหมายถึงแม่น้ำหลักสามสายในแมนเชสเตอร์ ได้แก่: แม่น้ำเออร์เวลล์, แม่น้ำเอิร์ก และ แม่น้ำเมดล็อก ด้านล่างของตราสโมสรจะปรากฏคำขวัญว่า "Superbia in Proelio" หรือ "Pride in Battle" ในภาษาละติน และยังประดับด้วยดาวสีทองสามดวงอยู่ด้านบนสุดของตรา

ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2015 สโมสรได้ประกาศว่ามีแนวคิดที่จะออกแบบตราสโมสรใหม่อีกครั้งหลังจากที่ได้รับเสียงวิจารณ์จากแฟน ๆ ว่าไม่พอใจกับตราสัญลักษณ์ที่ใช้อยู่[67] และหลังจากหารือกัน สโมสรได้แถลงในเดือนต่อมาว่าจะมีการเปิดตัวตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยจะยังคงยึดรูปแบบเดิมคือใช้วงกลมเป็นหลัก แต่ครั้งนี้จะมีการเพิ่มความคลาสสิกมากขึ้น[68] และตราสัญลักษณ์ใหม่นี้เปิดตัวในเดือนธันวาคม 2015[69] โดยยังยึดรูปแบบวงกลมเป็นหลัก มีรูปเรือใบและดอกไม้สีแดงของแลงคาสเชอร์อยู่ด้านในเช่นเดิม และมีตัวเลข "1894" ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของตรา ซึ่งตัวเลข 1894 นี้หมายถึงปี ค.ศ. ที่สโมสรเปลี่ยนชื่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ซิตี และสโมสรได้ใช้ตราสัญลักษณ์นี้มาถึงปัจจุบัน

สีชุดเหย้าประจำสโมสรคือ สีฟ้า และ สีขาว ในขณะที่ชุดทีมเยือนแบบดั้งเดิมของสโมสรนั้นมีทั้งสีแดงและสีดำ (ใช้มาตั้งแต่ช่วงทษวรรษ 1960) อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงสีของชุดทีมเยือนหลายครั้งตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่มาในการใช้สีฟ้าเป็นสีประจำสโมสรนั้นไม่แน่ชัด แม้จะมีหลักฐานบางแหล่งอ้างว่าสโมสรเริ่มสวมชุดสีฟ้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1892 หรืออาจจะก่อนหน้านั้น แต่ในหนังสือ Famous Football Clubs – Manchester City ซึ่งตีพิมพ์ในทศวรรษ 1940 และได้รับความเชื่อถือมากกว่าระบุว่า เดิมที เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน) สวมชุดแข่งสีดำและสีแดงสด (Scarlet) ในช่วงก่อตั้ง ต่อมาใน ค.ศ. 1884 สโมสรใช้ชุดสีดำซึ่งมีตรารูปกางเขนสีขาวบนเสื้อสื่อถึงการเป็นตัวแทนของคริสตจักร ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าใน ค.ศ. 1894 และใช้สีฟ้าเป็นสีประจำมาถึงทุกวันนี้[70] และชุดทีมเยือนซึ่งเป็นสีดำและสีแดงนั้นมาจากแนวคิดของ มัลคอล์ม อัลลิสัน ผู้ช่วยผู้จัดการทีมในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากสีประจำสโมสรเอซีมิลาน สโมสรดังแห่งอิตาลี โดยอัลลิสันต้องการสร้างความฮึกเหิมให้แก่ผู้เล่นเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จอย่างเอซีมิลาน และวิธีของอัลลิสันได้ผล เมื่อแมนเชสเตอร์ซิตีชนะเลิศเอฟเอคัพในฤดูกาล 196970 หลังจากที่สโมสรห่างหายความสำเร็จยาวนาน ตามด้วยการชนะเลิศลีกคัพและยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ แม้สีแดงและสีดำจะสื่อถึงอารมณ์ที่ตรงข้ามกับสีฟ้าซึ่งเป็นสีหลักของสโมสร และหลายปีที่ผ่านมาสโมสรมีการเปลี่ยนสีเสื้อทีมเยือนหลายครั้งนอกเหนือจากสีดำและแดง เช่น สีขาว, สีม่วง และสีน้ำเงิน

ชุดแข่งขัน และผู้สนับสนุนบนเสื้อ

ผู้สนับสนุนบนเสื้อ

ช่วงปี ผู้ผลิตชุดแข่งขัน ผู้สนับสนุนบนเสื้อ (อก) ผู้สนับสนุนนเสื้อ (แขน)
1974–1982 อัมโบร ไม่มี ไม่มี
1982–1984 ซ้าบ
1984–1987 ฟิลิปส์
1987–1997 Brother
1997–1999 Kappa
1999–2002 เลอ ค็อก สปอร์ทิฟ Eidos
2002–2003 First Advice
2003–2004 รีบอค
2004–2007 โทมัส คุก
2007–2009 เลอ ค็อก สปอร์ทิฟ
2009–2013 อัมโบร สายการบินเอทิฮัด
2013–2017 ไนกี้
2017–2019 เน็กเซ็น ไทร์
2019– พูมา

ผู้ผลิตชุดแข่ง

บริษัท ช่วงปี วันที่ประกาศ ช่วงเวลา มูลค่า
อัมโบร
2009–2013
4 มิถุนายน 2009
2009–2019 2.5 ล้านปอนด์ต่อปี[71]
ไนกี้
2013–2019
4 พฤษภาคม 2012
2013–2019 20 ล้านปอนด์ต่อปี[72]
พูมา
2019–2029
28 กุมภาพันธ์ 2019
2019–2029 65 ล้านปอนด์ต่อปี[73]

สนามแข่ง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์หรือที่รู้จักในชื่อสนามกีฬาเอทิฮัดมีความจุ 53,000 ที่นั่ง (เปลี่ยนชื่อตั้งแต่ปี 2011 ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน) อยู่ในสัญญาเช่า 200 ปีจากสภาเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นสนามเหย้าของสโมสรตั้งแต่ปลายฤดูกาล 2002–03 เมื่อสโมสรย้ายจากสนามเมนโรด[74] โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านปอนด์เพื่อแปลงพื้นที่เป็นสนามฟุตบอล สนามถูกเพิ่มที่นั่งอีกชั้นหนึ่งรอบ ๆ และสร้างอัฒจันทร์ทิศเหนือขึ้นใหม่ นัดแรกที่สโมสรลงเล่นในสนามแห่งใหม่นี้ คือการชนะบาร์เซโลนาในการแข่งขันกระชับมิตร 2–1 ต่อมาผู้บริหารทำการเพิ่มที่นั่งจำนวน 7,000 ที่นั่งบนอัฒจันทร์ฝั่งใต้เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ทันเวลาสำหรับการเริ่มต้นฤดูกาล 2015–16 ความจุปัจจุบันอยู่ที่ 55,097 อัฒจันทร์ทางทิศเหนือในชั้นที่สามได้รับการอนุมัติการวางแผนและคาดว่าจะเริ่มดำเนินการภายในปี 2017 โดยเมื่อปรับปรุงเสร็จ จะขยายความจุของสนามเป็น 61,000 ที่นั่ง[75] ในปัจจุบัน สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ ถือเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าในพรีเมียร์ลีก และเป็นอันดับสิบในสหราชอาณาจักร[76]

ระหว่าง ค.ศ. 1880 ถึง 1887 สโมสรได้ย้ายสนามเหย้ามากถึง 5 แห่ง เนื่องจากเหตุผลด้านสภาพที่ตั้งและการเงินที่ยังไม่แน่นอนนัก ก่อนจะใช้ สนามไฮด์โรด (Hyde Rode) เป็นเวลากว่า 36 ฤดูกาล[77] ก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นผลให้แมนเชสเตอร์ซิตีต้องย้ายสู่สนามเมนโรดใน ค.ศ. 1923 ซึ่งสนามเมนโรดเคยมีฉายาว่าเป็น "เวมบลีย์แห่งภาคเหนือ" เนื่องจากความสวยและบรรยากาศในสนาม

การสนับสนุน และ คู่แข่ง

แฟนบอลของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตีในฤดูกาล 2011

นับตั้งแต่ย้ายมาที่สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ ผู้เข้าชมเฉลี่ยของแมนเชสเตอร์ซิตี้ติดหกอันดับแรกในอังกฤษเป็นประจำทุกฤดูกาล โดยมีค่าเฉลี่ยเกิน 40,000 คน แม้แต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เมื่อสโมสรตกชั้นสองครั้งในสามฤดูกาลและเล่นในระดับที่สามของฟุตบอลอังกฤษ (รวมถึงในดิวิชั่น 2 ซึ่งตอนนี้คือฟุตบอลลีกวัน) จำนวนผู้เข้าชมเกมในบ้านก็ยังสูงอยู่ที่ 30,000 คน จากผลการสำรวจดำเนินการโดยแมนเชสเตอร์ซิตีในปี 2005 ประมาณการฐานแฟนบอลของสโมสรมีประมาณ 886,000 ในสหราชอาณาจักรและรวมกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก กลุ่มแฟนบอลของสโมสรเรียกตัวเองว่ากลุ่ม Manchester City F.C. Supporters Club ก่อตั้งใน ค.ศ. 1949 และมีการใช้เพลง "บลูมูน"[78] เป็นเพลงประจำสโมสร แม้จะมีเนื้อหาและความหมายเพลงที่เศร้า แต่แฟนบอลยังนิยมเพลงดังกล่าวเนื่องจากเหมาะที่จะใช้ในโอกาสยกย่องและสรรเสริญ[79]

แมนเชสเตอร์ซิตีมีทีมคู่แข่งร่วมเมือง คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่มีที่มาในการเป็นคู่แข่งแตกต่างกับสโมสรฟุตบอลร่วมเมืองทีมอื่น ๆ เช่น เมืองกลาสโกว์ (เรนเจอส์กับเซลติก) ที่มีความแตกต่างในด้านการเมืองและศาสนา ส่วนในกรณีของแมนเชสเตอร์ซิตีและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดนั้น มีเหตุมาจากในสมัยก่อนโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกเกิดความยากลำบากในการเดินทางไปมาหาสู่กัน แม้ทุกวันนี้จะเดินทางได้ด้วยความสะดวกสบายแล้ว แต่ก็สายเกินไปที่จะกลับมาญาติดีต่อกันได้ อีกประการหนึ่ง คือ แฟนบอลชาวอังกฤษของซิตีส่วนมากอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนแฟนของยูไนเต็ดมีไม่น้อยที่อยู่เมืองอื่นด้วย

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แมนเชสเตอร์ซิตีได้พัฒนาความเป็นอริกับลิเวอร์พูลมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[80] โดยในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2013–14 แมนซิตีคว้าแชมป์ในนัดสุดท้ายของการแข่งขันโดยมีคะแนนมากกว่าลิเวอร์พูลเพียงสองคะแนน[81] ในปีต่อมาแมนซิตีเอาชนะลิเวอร์พูลในฟุตบอลลีกคัพ ฤดูกาล 2015–16 ในการดวลจุดโทษ และช่วงหลายฤดูกาลที่ผ่านมา การต่อสู้แย่งความสำเร็จของทั้งสองทีมเข้มข้นขึ้น เนื่องด้วยลิเวอร์พูลที่คุมทีมโดย เยือร์เกิน คล็อพ ผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน เป็นทีมที่แย่งความสำเร็จกับแมนเชสเตอร์ซิตีโดยตรง โดยทั้งสองทีมต่างขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด โดยทั้งคู่พบกันในฟุตบอลยุโรปเป็นครั้งแรกในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2017–18 ซึ่งลิเวอร์พูลเอาชนะซิตีไปด้วยผลประตูรวม 5–1[82] และในฤดูกาล 2018–19 แมนเชสเตอร์ซิตีได้แชมป์พรีเมียร์ลีกโดยมีคะแนนเหนือกว่าลิเวอร์พูลเพียงคะแนนเดียวซึ่งต้องตัดสินกันถึงนัดสุดท้ายอีกครั้ง ทั้งคู่มีคะแนนรวม 98 และ 97 คะแนนซึ่งเป็นคะแนนที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามและสี่ในยุคพรีเมียร์ลีก[83] แต่ซิตีก็เสียแชมป์ให้แก่ลิเวอร์พูลในปีต่อมาซึ่งทำคะแนนไปถึง 99 คะแนนซึ่งมากกว่าซิตีที่ได้รองแชมป์ถึง 18 คะแนน (99 คะแนนของลิเวอร์พูลถือเป็นสถิติอันดับสองของพรีเมียร์ลีก ต่อจาก 100 คะแนนที่ซิตีทำได้ในฤดูกาล 2017–18) ต่อมาในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22 แมนซิตีคว้าแชมป์ไปครองและเป็นอีกครั้งที่พวกเขามีคะแนนมากกว่าลิเวอร์พูลเพียงหนึ่งคะแนน (93–92)

การเผชิญกันของสองผู้จัดการทีมอย่างเปบ กวาร์ดิโอลา และ คล็อพ ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งคู่ได้รับการยกย่องให้เป็นสองสุดยอดผู้จัดการทีมของโลก และเคยเผชิญหน้ากันในแดร์คลัสซิคเคอร์เมื่อครั้งที่ยังคุมทีมอยู่ในบุนเดิสลีกา[84] กวาร์ดิโอลาเคยกล่าวว่าลิเวอร์พูลถือเป็น "คู่อริที่งดงาม" และมองว่าลิเวอร์พูลภายใต้การคุมทีมของคล็อพเป็นทีมคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่เขาเคยเผชิญหน้าในฐานะผู้จัดการทีม[85] ทั้งคู่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้ฝึกสอนฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่าประจำปี 2019 ซึ่งคล็อพได้รับรางวัล[86][87] จากผลสำรวจในปี 2019 แฟนบอลของแมนเชสเตอร์ซิตีส่วนใหญ่ระบุให้ลิเวอร์พูลก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งแทนที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[88] แม้บรรยากาศจะไม่ดุเดือดเท่าดาร์บีแมนเชสเตอร์ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่ามาก

สโมสรอื่น ๆ ที่เป็นอริกับแมนเชสเตอร์ซิตีได้แก่ เชลซี, โบลตันวอนเดอเรอส์, โอลดัมแอทเลติก รวมถึง สต็อคพอร์ทเคาน์ตี

ฐานะการเงินและการเป็นเจ้าของ

ค็อลดูน อัลมุบาร็อก ประธานสโมสรคนปัจจุบัน

แต่เดิม บริษัท แมนเชสเตอร์ ซิตี จำกัด ( Manchester City Limited ) เป็นเจ้าของ สโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี ( Manchester City FC ) ซึ่งมีส่วนแบ่งหุ้นมากถึง 54 ล้านหุ้น ต่อมา ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ประกาศขายหุ้นในช่วง ค.ศ. 2006 เนื่องจากประสบปัญหาการเงินกอปรกับผลงานที่ไม่ดีของทีม ก่อนที่จะตกลงขายให้แก่ UK Sports Investments Limited (UKSIL) ซึ่งบริหารโดย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย UKSIL ได้ยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการเพื่อซื้อหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนหลายพันราย

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1995 หุ้นของสโมสรมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ พลัส ( PLUS ) ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ของกรุงลอนดอน โดยมีบริษัทมากถึง 222 บริษัทจดทะเบียนซื้อขายกันในตลาดนี้รวมถึงสโมสรชื่อดังอย่าง อาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีก และกลาสโกว์เรนเจอส์ ในสกอตติชพรีเมียร์ชิป ภายหลังการเข้าซื้อหุ้นของ UKSIL ส่งผลให้ทักษิณกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวน 75 เปอร์เซ็นต์ และได้นำสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตีออกจากตลาดหลักทรัพย์ใน ค.ศ. 2007[89] ก่อนจะจดทะเบียนเป็นบริษัทเอกชนจำกัด และในเวลาต่อมา ทักษิณสามารถรวบรวมหุ้นได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และขจัดผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ เพื่อเปิดทางให้ UKSIL เป็นผู้ถือครองหุ้นทั้งหมด ก่อนที่ตนเองจะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสโมสร และแต่งตั้งบุตรสองคนคือ พินทองทา และ พานทองแท้ เข้ามาร่วมบริหารในฐานะผู้อำนวยการร่วม และ จอห์น วอร์เดิล ประธานสโมสรคนก่อนหน้าได้ถูกลดบทบาทลงมา แต่ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฝ่ายบริหาร และหลังจากร่วมงานกันได้หนึ่งปี วอร์เดิลได้ลาออกใน ค.ศ. 2008 หลังจากสโมสรแต่งตั้ง แกร์รี่ คุก อดีตผู้บริการของไนกี้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร[90]

ทักษิณอนุมัติเงินซื้อนักเตะให้แก่ สเวน-เยอราน เอริกซอน ผู้จัดการทีมในขณะนั้นเป็นจำนวนเงินถึง 30 ล้านปอนด์[91][92] ซึ่งเป็นสถิติใหม่ของสโมสร โดยก่อนหน้านั้นสโมสรถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีการใช้เงินซื้อขายนักเตะต่ำ เนื่องจากผลงานที่ไม่สม่ำเสมอในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทว่าการบริหารสโมสรของทักษิณต้องประสบปัญหาใหญ่ในเวลาต่อมา สืบเนื่องจากปัญหาด้านคดีความทางการเมืองของเขา นำไปสู่การขายทีมให้แก่กลุ่มนายทุนจาก Abu Dhabi United Group Investment and Development Limited ในอาบูดาบีซึ่งเป็นมหาเศรษฐีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การซื้อขายมีการประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงเช้าของวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2008 ซึ่งตรงกับวันสุดท้ายของตลาดซื้อขายนักเตะ นำไปสู่การเปิดตัวผู้เล่นอย่าง โรบินยู จากเรอัลมาดริดด้วยค่าตัว 32.5 ล้านปอนด์ ซึ่งต้องแย่งตัวกับเชลซี[93] นับตั้งแต่นั้น แมนเชสเตอร์ซิตีได้ยกระดับทีมขึ้นมาเป็นหนึ่งในสโมสรชั้นนำของโลกด้วยการลงทุนมหาศาลในตลาดซื้อขายนักเตะ และยังติดอันดับหนึ่งในสโมสรที่ร่ำรวยที่สุด และมีมูลค่าทีมสูงที่สุดในโลกเป็นประจำจากการจัดอันดับทุกปี[94][95]

สถิติสำคัญ

ภาพรวม

  • ชนะในลีกด้วยผลประตูมากที่สุด – 11–3 พบลินคอล์น ซิตี (23 มีนาคม 1895)[96]
  • ชนะในเอฟเอคัพด้วยผลประตูมากที่สุด – 12–0 พบลิเวอร์พูลสแตนลีย์ (4 ตุลาคม 1890)[97]
  • ชนะการแข่งขันถ้วยยุโรปด้วยผลประตูมากที่สุด – 7–0 พบชัลเคอ 04 (12 มีนาคม 2019, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบ 16 ทีมสุดท้ายนัดที่สอง)[98]
  • สถิติผู้ชมในสนามมากที่สุด – 84,569 พบสโตกซิตี (3 มีนาคม 1934)[99]
  • นักเตะที่ลงสนามในลีกมากที่สุด – อลัน โอ๊คส์, 561 นัด (1958–76)[100]
  • นักเตะที่ลงสนามทุกรายการมากที่สุด – อลัน โอ๊คส์, 676 นัด (1958–76)[101]
  • นักเตะที่ทำประตูรวมมากที่สุดในทุกรายการ – เซร์ฆิโอ อาเกวโร, 260 ประตู (2011–21)[102]
  • สถิติการซื้อนักเตะที่แพงที่สุด – แจ็ก กรีลิช, 100 ล้านปอนด์ จากแอสตันวิลลา (ฤดูกาล 2021–22)[103]
  • สถิติการขายนักเตะที่แพงที่สุด – ลีร็อย ซาเน, 54.8 ล้านปอนด์ ย้ายไปไบเอิร์นมิวนิก (กรกฎาคม 2020)[104]

สถิติในพรีเมียร์ลีก

ผู้เล่นแมนเชสเตอร์ซิตีในฤดูกาล 2017–18

จากการชนะเลิศพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2017–18 แมนเชสเตอร์ซิตีได้สร้างสถิติใหม่ในพรีเมียร์ลีกมากมายได้แก่:[105][106]

  • เป็นทีมที่ทำคะแนนสูงที่สุด (100 คะแนน)[107]
  • เป็นทีมที่เก็บคะแนนจากเกมเยือนได้มากที่สุด (50 คะแนน)
  • เป็นทีมแชมป์ที่มีคะแนนทิ้งห่างทีมอันดับสองมากที่สุด (19 คะแนน)[108]
  • เป็นทีมที่ชนะมากที่สุด (32 นัด)
  • ชนะเกมเยือนมากที่สุด (16 นัด)
  • ยิงประตูมากที่สุด (106 ลูก)
  • มีผลต่างประตูได้เสียมากที่สุด (+79)
  • ชนะติดต่อกันมากที่สุด (18 นัด)

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2023[109]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF อังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์ (รองกัปตัน)
3 DF โปรตุเกส รูแบน ดียัช (กัปตันที่ 3)
4 MF อังกฤษ แคลวิน ฟิลลิปส์
5 DF อังกฤษ จอห์น สโตนส์
6 DF เนเธอร์แลนด์ นาตัน อาเก
8 MF โครเอเชีย มาเตออ กอวาชิช
9 FW นอร์เวย์ อาลิง โฮลัน
10 MF อังกฤษ แจ็ก กรีลิช
11 FW เบลเยียม เฌเรมี โดกูว์
13 GK สหรัฐ แซ็ก สเตฟเฟิน
16 MF สเปน โรดริ (กัปตันที่ 4)
17 MF เบลเยียม เกฟิน เดอ เบรยเนอ (กัปตัน)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK เยอรมนี ชเต็ฟฟัน ออร์เทกา
19 FW อาร์เจนตินา ฆูเลียน อัลบาเรซ
20 FW โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา
21 DF สเปน เซร์ฆิโอ โกเมซ
24 DF โครเอเชีย ย็อชกอ กวาร์ดิออล
25 DF สวิตเซอร์แลนด์ มานูเอ็ล อาคันจี
27 MF โปรตุเกส มาเตวช์ นูนึช
31 GK บราซิล แอแดร์ซง
33 GK อังกฤษ สกอตต์ คาร์สัน
47 MF อังกฤษ ฟิล โฟเดน
82 DF อังกฤษ ริโค ลูวิส

ผู้เล่นที่ปล่อยยืม

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ทีมงานประจำสโมสร

ตำแหน่ง รายชื่อ
ผู้จัดการทีม สเปน เปป กวาร์ดีโอลา
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม/โค้ช ฮวน มานูเอล ลีโย่
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม โรดอลโฟ บอร์เรลล์
โค้ชผู้รักษาประตู ริชาร์ด ไรต์
โค้ชฟิตเนส สเปน โคเซ่ กาเบโย่
หัวหน้าแพลตเลนอะแคเดมี อังกฤษ มาร์ค อเลน
ผู้จัดการทีมอะแคเดมี อังกฤษ สกอตต์ เซลลาร์ส

อดีตผู้จัดการทีมที่มีชื่อเสียง

โรแบร์โต มันชีนี ผู้จัดการทีมซึ่งพาสโมสรชนะเลิศฟุตบอลลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบ 44 ปี[110][111]

เกียรติประวัติ

แมนเชสเตอร์ซิตี เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับห้าในวงการฟุตบอลอังกฤษ (ในแง่จำนวนถ้วยรางวัล) โดยชนะเลิศการแข่งขันในประเทศ 30 รายการ ถ้วยรางวัลแรกของสโมสรคือการชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 1904[112] และชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในฤดูกาล 1936–37 ตามมาด้วยการชนะเลิศถ้วยการกุศลแชริตีชีลด์สมัยแรกในเดือนสิงหาคม 1937[113] ก่อนจะชนะเลิศลีกคัพและรายการยุโรปครั้งแรกในฤดูกาล 1969–70 ซึ่งยังถือเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรคว้าสองถ้วยรางวัลได้ในฤดูกาลเดียว[114]

ในฤดูกาล 2018–19 แมนเชสเตอร์ซิตีเป็นสโมสรแรกของอังกฤษที่ชนะเลิศการแข่งขันภายในประเทศได้ทุกรายการในฤดูกาลเดียวกัน (พรีเมียร์ลีก, เอฟเอคัพ, ลีกคัพ และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์)[115]

การชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ในฤดูกาล 1969–70 ถือเป็นความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในรายการยุโรปของสโมสรมาถึงปัจจุบัน[116] สโมสรผ่านเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกครั้งแรกในฤดูกาล 2020–21 แมนเชสเตอร์ซิตียังเป็นหนึ่งในสองสโมสรร่วมกับเลสเตอร์ซิตี ที่ชนะเลิศฟุตบอลลีกระดับสองของอังกฤษมากที่สุด 7 สมัย[117] ชนะเลิศครั้งแรกในฤดูกาล 1898–99 และล่าสุดในฤดูกาล 2001–02

อังกฤษ ระดับประเทศ

  • ลีกวัน (ลีกระดับสาม)
    • ชนะเลิศ (1): เพลย์ออฟ 1998–99
  • เอฟเอคัพ
    • ชนะเลิศ (7): 1903–04, 1933–34, 1955–56, 1968–69, 2010–11, 2018–19, 2022–23

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

ระดับโลก

หมายเหตุ

  1. On 16 April 1894, the name was changed to Manchester City
  2. นับตั้งแต่ ค.ศ. 1992 พรีเมียร์ลีกกลายเป็นลีกระดับสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ ส่วนฟุตบอลดิวิชันหนึ่งและดิวิชันสองกลายเป็นลีกระดับสองและสามแทน และนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 ฟุตบอลดิวิชันหนึ่งกลายเป็นแชมเปียนชิปและดิวิชันสองกลายเป็นลีกวัน
  3. "ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์" คือกฎที่สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูฟ่า บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้บรรดาสโมสรใหญ่ซึ่งมีฐานะการเงินที่ดีไม่สามารถเอาเปรียบสโมสรฟุตบอลเล็ก ๆ ที่ไม่มีทุนทรัพย์ในการสร้างทีมได้ โดยทุกสโมสรห้ามใช้จ่ายเกินฐานะของตัวเอง หากฝ่าฝืนกฎ จะถูกลงโทษด้วยการปรับ และตัดสิทธิ์ห้ามลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และยูโรปาลีก

อ้างอิง

  1. "Cityzens at Home". ManCity.com. Manchester City FC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  2. "Cityzens". ManCity.com. Manchester City FC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2023. สืบค้นเมื่อ 16 May 2023.
  3. "Visiting the Etihad Stadium". mancity.com. Manchester City FC. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
  4. "Manchester City - Historical Football Kits". Historicalkits. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
  5. "Manchester City's £200m training complex officially opens". BBC Sport. 8 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2020. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
  6. Bullin, Matt (18 May 2019). "Man City win treble – how impressive is that achievement?". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
  7. UEFA.com. "Club coefficients | UEFA rankings". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Deloitte Football Money League 2023 (rankings for the 2021–22 season)". www2.deloitte.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2014. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022.
  9. "The World's Most Valuable Soccer Teams 2022: Real Madrid, Worth $5.1 Billion, Is Back On Top". Forbes. สืบค้นเมื่อ 8 April 2023.
  10. Ozanian, Mike (12 April 2021). "The World's Most Valuable Soccer Teams: Barcelona Edges Real Madrid To Land At No. 1 For First Time". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
  11. "City Football Group Limited – Company number 08355862". Companies House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
  12. "Manchester City investment from US breaks global sports valuation". BBC News. 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 November 2019.
  13. 1967-, James, Gary (2006). Manchester City : the complete record : every game, every scorer, every player and every attendance, memorable matches, complete history, pen pictures, manager profiles, appearance records. Derby: Breedon.
  14. Devlin, Mike (2015-04-15). Manchester City: The Secret History of a Club That Has No History (ภาษาอังกฤษ). Amberley Publishing Limited. ISBN 978-1-4456-4811-8.
  15. James, Manchester City – The Complete Record, p32
  16. James, Manchester City – The Complete Record, p32
  17. "al-'Abbas ibn al-Ahnaf: [The Eye's Greatest Delight]", Baghdad, Harvard University Press, pp. 65–65, 2013-11-30, สืบค้นเมื่อ 2021-12-06
  18. "Maine Road through the ages" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2003-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  19. "Tottenham Hotspur 0-1 Bayer 04 Leverkusen". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  20. "England 1937/38". www.rsssf.com.
  21. Rowlands, Trautmann – The Biography, pp. 178–184
  22. Ward, The Manchester City Story, p. 57
  23. Penney, Manchester City – The Mercer-Allison Years, pp. 27–36
  24. Penney, Manchester City – The Mercer-Allison Years, pp. 37–56
  25. "KryssTal : Football (Multiple Trophies)". www.krysstal.com.
  26. James, Manchester City – The Complete Record, pp. 410–420
  27. Ward, The Manchester City Story, p. 70
  28. "Manchester City History". Manchester City FC (ภาษาอังกฤษ).
  29. James, Manchester City – The Complete Record, p. 68
  30. "FEATURE | The sleeping giants of 3. Liga". Get German Football News.
  31. Manchester City – The Complete Record, p. 265
  32. "สำเนาที่เก็บถาวร". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  33. "Thaksin Shinawatra's crisis ends Manchester City's European dream". www.telegraph.co.uk.
  34. "Manchester City 10 years on: Timeline since the Abu Dhabi takeover". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  35. "Lescott completes Man City move" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  36. "2009/10 Season Review". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  37. "Man City 1-0 Man Utd" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  38. "Manchester City 1-0 Tottenham" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  39. สุดดราม่า! เรือหักอกผีทดเจ็บซิวแชมป์ลีก จาก เก็บถาวร 2012-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผู้จัดการออนไลน์
  40. "Poor relationships cost Mancini job". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  41. "Guardiola to succeed Pellegrini". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  42. Jackson, Elliott (2021-04-26). "Gary Neville argues Pep Guardiola is the "greatest manager of all time"". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Pep Guardiola might be 'greatest manager of all time', says Gary Neville". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-26.
  44. Maltby, Matt (2021-12-01). "Pep Guardiola breaks another Prem record after securing 150th Man City win". mirror (ภาษาอังกฤษ).
  45. "Pep Guardiola at Manchester City: Stats and milestones". www.mancity.com (ภาษาอังกฤษ).
  46. "Which records have Man City broken in 2017/18?". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  47. "Sergio Agüero enters Manchester City record books after helping sink Napoli". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2017-11-01.
  48. "How big a feat is Man City's treble?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  49. "Man City showed Uefa 'blatant disregard'". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  50. "Mansour's payments and a U-turn by Uefa: key Manchester City findings | David Conn". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-29.
  51. "Match report: Carabao Cup Final". www.efl.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  52. "European Super League Q&A - what happens next?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  53. Brennan, Stuart (2021-04-20). "Guardiola opposed European Super League plan to increase congested fixture list". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
  54. "ESL cannot now proceed - Agnelli". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  55. Edgar, Bill. "The numbers behind Manchester City's 28-game unbeaten run" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
  56. "Man City win title after Man Utd defeat". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
  57. "Guardiola signs two-year Man City deal". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
  58. Staff, FourFourTwo (2021-04-29). "Manchester City's record in the Champions League under Pep Guardiola". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
  59. Goldman, James (2021-08-05). "Manchester City complete British record £100million Jack Grealish transfer". Metro (ภาษาอังกฤษ).
  60. Siddall, Harry. "Official: Jack Grealish Completes British-Record £100 Million Move From Aston Villa To Man City". Sports Illustrated Manchester City News, Analysis and More (ภาษาอังกฤษ).
  61. "Manchester City crowned Premier League champions after 3-2 win over Aston Villa – live reaction!". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-22.
  62. "Man City charged with breaking financial rules". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  63. "Manchester City crowned 2022-23 Premier League champions". ProSoccerTalk | NBC Sports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-05-22.
  64. UEFA.com (2023-06-10). "Man City win Champions League: Rodri goal secures victory against Inter and completes treble | UEFA Champions League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  65. David Clayton, Everything Under the Blue Moon (Mainstream Publishing, 2002), 21
  66. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  67. Editorial, MCFC. "City's new badge is here!". www.mancity.com (ภาษาอังกฤษ).
  68. "Manchester City to design new badge following consultation with fans". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-11-24.
  69. "Manchester City unveil new club crest before home game against Sunderland". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-12-26.
  70. James, Manchester: The Greatest City pp. 14–15
  71. "Man City sign Umbro deal | TheBusinessDesk.com". North West (ภาษาอังกฤษ). 2009-06-04.
  72. Ducker, James (2019-02-28). "Manchester City sign new 10-year kit deal with Puma worth £650 million". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  73. "Manchester City replaces Nike with Puma in kit deal". BBC News. 28 February 2019.
  74. "สำเนาที่เก็บถาวร". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-31. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  75. "Manchester City seek stadium expansion to hold 61,000". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  76. https://web.archive.org/web/20150906045556/http://www.premierleague.com/content/dam/premierleague/site-content/News/publications/handbooks/premier-league-handbook-2015-16.pdf
  77. Inglis, The Football Grounds of Great Britain, p62
  78. "MCFC Songs - Manchester City, Man City - Bluemoon-MCFC". bluemoon-mcfc.co.uk.
  79. Parkes-Nield, Christopher. "Blue Moon: City fan anthem". www.mancity.com (ภาษาอังกฤษ).
  80. "Eleven moments that made Liverpool-Manchester City the biggest rivalry in English football". FootballFanCast.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-06.
  81. "2013/14 Season Review: Man City deny Liverpool". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  82. Magee, Will (2018-04-11). "Was Sane offside against Liverpool? The disallowed goal explained". inews.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
  83. "Man City come from behind at Brighton to clinch title". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-11-07.
  84. Wilson, Paul (2016-12-30). "Pep Guardiola says he learned from Jürgen Klopp and praises attacking style". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-11-07.
  85. Browning, Oliver (2019-09-20). "Pep Guardiola says Liverpool are the strongest opponents he's ever faced as a manager". GiveMeSport (ภาษาอังกฤษ).
  86. Gorst, Paul (2019-09-26). "Klopp hails 'exceptional' Guardiola as his greatest ever rival". Liverpool Echo (ภาษาอังกฤษ).
  87. 161385360554578 (2019-09-24). "Ex-Man City star questions why Klopp was named Coach of the Year over Guardiola". talkSPORT (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  88. "The top five rivals of English football's top 92 clubs have been revealed". GiveMeSport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-08-27.
  89. "Thaksin completes Man City buyout" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  90. "Former chairman Wardle resigns from City". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2008-07-09.
  91. "Eriksson continues Man City spending". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  92. "FIFA.com - Bojinov joins Man City". web.archive.org. 2007-08-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  93. "Man City beat Chelsea to Robinho" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  94. "Top 10 Richest Football Clubs In The World | 2022 Ranking". SportsBrowser (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-10-29.
  95. Ozanian, Mike. "World's Most Valuable Sports Teams 2021". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  96. James, Manchester City – The Complete Record, p. 509
  97. James, Manchester City – The Complete Record, p. 511
  98. UEFA.com (2019-03-12). "Manchester City 7-0 Schalke: Champions League at a glance". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  99. James, Manchester City – The Complete Record, p524
  100. James, Manchester City – The Complete Record, p. 155
  101. James, Manchester City – The Complete Record, p. 155
  102. "Sergio Aguero | Man City Striker Profiles | Manchester City FC". web.archive.org. 2018-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  103. "'Dream come true': Jack Grealish seals record £100m Manchester City move". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-05.
  104. "Sane signs five-year deal at Bayern". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  105. "Man City win Premier League title". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  106. Smith, Matthew (2018-05-14). "Every record Manchester City broke in 2017-18 Premier League season". Mail Online.
  107. "Man City's five Premier League titles -- ranked!". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-12.
  108. "Have we found a record this Man City team will struggle to break?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  109. "Squads: Mens' team". Manchester City F.C. สืบค้นเมื่อ 3 July 2019.
  110. Batte, Kathryn (2020-04-11). "Mancini says title win with City is his best managerial achievement". Mail Online.
  111. "Roberto Mancini Manager Profile | Premier League". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  112. "F A Cup Final 1904". web.archive.org. 2009-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  113. "Manchester City History". Manchester City FC (ภาษาอังกฤษ).
  114. "Manchester City History". Manchester City FC (ภาษาอังกฤษ).
  115. "How big a feat is Man City's treble?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-06.
  116. "European Cup Winners Cup final highlights: City 2-1 Gornik Zabrze". www.mancity.com (ภาษาอังกฤษ).
  117. "England - List of Second Division Champions". www.rsssf.com.

บรรณานุกรม

  • Buckley, Andy; Burgess, Richard (2000). Blue Moon Rising: The Fall and Rise of Manchester City. Bury: Milo. ISBN 0-9530847-4-4.
  • Gardner, Peter (1970). The Manchester City Football Book No. 2. London: Stanley Paul. ISBN 0-09-103280-6.
  • Inglis, Simon (1987). The Football Grounds of Great Britain (2nd ed.). London: Collins Willow. ISBN 0-00-218249-1.
  • James, Gary (2002). Manchester: The Greatest City. Polar Publishing. ISBN 1-899538-09-7.
  • James, Gary (2005). The Official Manchester City Hall of Fame. Hamlyn. ISBN 0-600-61282-1.
  • James, Gary (2006). Manchester City – The Complete Record. Derby: Breedon. ISBN 1-85983-512-0.
  • James, Gary (2008). Manchester – A Football History. Halifax: James Ward. ISBN 978-0-9558127-0-5.
  • Penney, Ian (2008). Manchester City: The Mercer-Allison Years. Derby: Breedon. ISBN 978-1-85983-608-8.
  • Rowlands, Alan (2005). Trautmann: The Biography. Derby: Breedon. ISBN 1-85983-491-4.
  • Tossell, David (2008). Big Mal: The High Life and Hard Times of Malcolm Allison, Football Legend. Edinburgh: Mainstream. ISBN 978-1-84596-478-8.
  • Wallace, David (2007). Century City – Manchester City Football Club 1957/58. Leigh: King of the Kippax. ISBN 978-0-9557056-0-1.
  • Ward, Andrew (1984). The Manchester City Story. Derby: Breedon. ISBN 0-907969-05-4.

แหล่งข้อมูลอื่น