กฤษณา สีหลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษณา สีหลักษณ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
องอาจ คล้ามไพบูลย์
ถัดไปนลินี ทวีสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)

กฤษณา สีหลักษณ์ (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย

ประวัติ[แก้]

กฤษณา สีหลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายสุนันท์ สีหลักษณ์ (อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์)[2] กับนางถนอมขวัญ สีหลักษณ์ สำเร็จการศึกษาด้านการบัญชี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]

การทำงาน[แก้]

กฤษณา สีหลักษณ์ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองระดับชาติ โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 14 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับการเลือกตั้ง[5]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี[แก้]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[6][7] ทำหน้าที่กำกับดูแลงานกรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย[8] ต่อมาได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งในการปรับคณะรัฐมนตรี เดือนมกราคม พ.ศ. 2555[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กฤษณา สีหลักษณ์จาก ไทยรัฐ
  2. ยิ่งลักษณ์ เป็นปธ.พระราชทานเพลิง ‘สุนันท์ สีหลักษณ์’ ที่อุตรดิตถ์
  3. รัฐสภาไทย
  4. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  5. ผลการเลือกตั้ง ส.ส. อุตรดิตถ์ 'เพื่อไทย' แลนสไลด์ 3 เขต
  6. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  7. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว! คณะรัฐมนตรี "ปู1″". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  8. "ครม.แบ่งงานรองนายก"เฉลิมดูยธ.-กฤษฎีกา-สตช. /กิตติรัตน์คุมศก./ยงยุทธ งานปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-22.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า กฤษณา สีหลักษณ์ ถัดไป
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
องอาจ คล้ามไพบูลย์

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555)
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
นลินี ทวีสิน
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล