เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาอัครมหาเสนา
(สังข์)
สมุหพระกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2367
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์)
ถัดไปเจ้าพระยามหาเสนา (น้อย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เสียชีวิตพ.ศ. 2370
บุพการี
  • เจ้าขุนทอง (บิดา)
  • เจ้าคุณทองอยู่ (มารดา)

เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) เป็นสมุหพระกลาโหมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) เป็นบุตรของเจ้าขุนทองและเจ้าคุณทองอยู่พระพี่นางของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีน้องสาว 1 คน คือ หงส์ เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 1[1]

เจ้าพระยาอัครมหาเสนา เดิมรับราชการในตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก จนมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาพระคลัง (กร) เสนาบดีกรมท่าถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย​จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงษ์ (สังข์) เป็นเจ้าพระยาพระคลัง ว่าราชการกรมท่าแทน[2] ต่อมาเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ถึงแก่กรรม จึงทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (สังข์) เปนเจ้าพระยาอัครมหาเสนา สมุหพระกลาโหมแทน[3]

ในวันงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) ได้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทกับเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) รัชกาลที่ 2 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นตระลาการชำระความในครั้งนี้[4]

หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) หรือนายหันแตร ได้บันทึกถึงอุปนิสัยของเจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) ไว้ว่า[5]

"...ในเย็นวันที่ 5 มกราคม พวกเราได้ไปพบเจ้าพระยามหาเสนา หรือ กลาโหม ซึ่งเป็นเสนาบดีที่ 2 ของไทย... ท่านผู้นี้เป็นคนสูงอายุ กะประมาณเกือบ 70 ปี เป็นคนสุภาพ อารมณ์ดีที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยพบมา..."

เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2370 ไม่มีบุตรธิดา

อ้างอิง[แก้]

  1. "ราชินิกุล". ชมรมสายสกุลบุนนาค. 8 มิถุนายน 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021.
  2. "พระราชพงษาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร-รัชกาลที่-๒/๗-การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก". วชิรญาณ. 8 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021.
  3. ค (8 มิถุนายน 2019). "การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021.
  4. กันตพงศ์ ก้อนนาค (8 มิถุนายน 2019). "ขุนนางใหญ่วิวาทชกตีกันนัวสมัยร.2 ศึกชั้นเจ้าพระยา ว่ากันว่าเป็นอุบาทว์ต่อบ้านเมือง". ชมรมสายสกุลบุนนาค. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021.
  5. "ตอนที่ 134 : เมืองไทยในสมัยต้นรัชกาลที่ 3". dek-d. 5 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021.