บ้านเลขที่ 111

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านเลขที่ 111 เป็นคำศัพท์ทางการเมืองไทย ที่ใช้เรียกอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จำนวน 111 คน ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งกระทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

รายนามอดีตคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย[แก้]

มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย
ประเภทองค์การนอกภาครัฐ
ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทย
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551; 15 ปีก่อน (2551-05-01)
ผู้ก่อตั้งอดีตนักการเมืองสังกัดพรรคไทยรักไทย
ถัดไปพรรคเพื่อไทย
พรรคภูมิใจไทย (บางส่วน)
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลัก
อดีตนักการเมือง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มบ้านเลขที่ 111 ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ เพื่อก่อตั้ง มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย [1]โดยมีวัตถุประสงค์ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตอบแทนแก่สังคมและประชาชน ที่เคยมอบความไว้วางใจแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าว ให้ปฏิบัติภารกิจบริหารประเทศ ในฐานะรัฐมนตรี คณะที่ 54, 55 ของไทย และในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ชุดที่ 21, 22 ของไทย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[ต้องการอ้างอิง]

คณะกรรมการมูลนิธิ[แก้]

คณะกรรมการในวาระเริ่มแรก[แก้]

การจัดการมูลนิธิในวาระเริ่มแรก มีคณะกรรมการดำเนินงาน 11 คน คือ[2]

คณะกรรมการดำเนินการ[แก้]

ตามความในเอกสาร ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ทะเบียนเลขที่ 1712

วัตถุประสงค์[แก้]

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมโครงการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์
  2. ดําเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมและ สนับสนุนการศึกษา การกีฬา การสาธารณสุข การบรรเทาสาธารณภัย และอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ต่อสังคมและส่วนรวม
  3. ศึกษา ค้นคว้า เสนอยุทธศาสตร์ กําหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนา ประเทศในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การต่งประเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
  4. ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือ ดําเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์ของเครือข่ายชุมชนและพัฒนาอย่างบูรณาการ ให้เกิดกระบวนการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง นําไปสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม และแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้ตามมาตรฐานสากล
  6. ไม่ดําเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประการใด

กิจกรรม[แก้]

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 วิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขาธิการมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 ไทยรักไทย ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอรับเงินบริจาคจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีการเปิดครัว “รวมใจช่วยภัยน้ำท่วม” ในการปรุงอาการแจกจ่ายผู้ประสบภัยวันละไม่น้อยกว่า 1 พันห่อ โดยมีการแนบรูปภาพกิจกรรมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิมาเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจของสภาด้วย โดยทางประธานสภาได้ส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดหาและจัดส่งสิ่งของอุปโภคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มี ไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เป็นประธานไปพิจารณา

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฏรในขณะนั้น ได้ทำพิธีมอบเงินบริจาคจำนวน 5 แสนบาท ให้แก่วิชิต และมอบเงิน 1 แสนบาทให้ศูนย์พักพิงผู้ปะสบอุทกภัย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[3]

24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ อดีต สส.แพร่ พร้อมด้วย สุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต สส.นครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ได้ร่วมกันนำตู้ไฟนับถอยหลังการพ้นจากถูกตัดสิทธิ์ 5 ปีของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ภายใต้ชื่อ “5 ปี วันนั้นถึงวันนี้ บ้านเลขที่ 111” ที่บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 โดยตู้ไฟมีภาพของสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ทั้งหมดเรียงตามลำดับอักษรพร้อมมีข้อความ จำนวน 7 วัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะถอยหลังไปเรื่อยๆจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พร้อมด้วยป้ายภาพสมาชิกบ้านเลขที่ 111

ทศพรกล่าวว่า เนื่องในโอกาสจะครบ 5 ปีที่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 จะพ้นจากการถูกเว้นวรรคทางการเมือง ตนจึงได้คิดโครงการตั้งตู้ไฟดังกล่าวขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ที่สมาชิกพรรคไทยรักไทยถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการปฏิวัติรัฐประหาร อีกทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังพิพากษาในลักษณะรับลูกด้วย พวกตนยืนยันไม่คิดจะแก้แค้น และยินดีจะให้อภัย เพียงแต่ขอให้คนที่กระทำการรู้สึกผิดและสำนึกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง เพราะที่ผ่านประเทศชาติเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ตนขอฝากไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้น และไม่สนับสนุนการปฏิวัติรัฐประหารอีก ซึ่งหากทำได้ทหารก็คงไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมได้อีกต่อไป และขอเรียกร้องไปยังกองทัพไม่ควรทำการปฏิวัติรัฐประหารอีกต่อไป นอกจากนี้ตนจะนำตู้ไฟดังกล่าวไปตั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ และกองทัพบก เพื่อเตือนสติถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา[4]

บทบาททางการเมืองในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์[แก้]

ในช่วงก่อน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 มีข่าวลือเรื่องการมีสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ร่วมจัดสรรผู้สมัคร สส. สัดส่วนของพรรค เมื่อผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซึ่งก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น นอมินี ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร แต่กลับมีเรื่องพิพาทกับผู้สื่อข่าว จนเกิดวาทกรรมต่อสื่อมวลชนว่า “เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ”[5]

บทบาททางการเมืองหลังครบกำหนดโทษ[แก้]

หลังครบกำหนด สมาชิกพรรคส่วนใหญ่ได้เข้าสังกัด พรรคเพื่อไทย เพื่อเตรียมพร้อมในการลงสมัครเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557 ส่วนหนึ่งย้ายไปเข้าสังกัด พรรคภูมิใจไทย โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากบิดาของตน

อ้างอิง[แก้]

  1. มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้ารับการอบรม[ลิงก์เสีย] จากประชาไทเว็บบอร์ด
  2. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
  3. "แฉบ้านเลขที่ 111 ขอเงินสภา 5 แสนทำกิจกรรมช่วยน้ำท่วม ติดรูป "ทักษิณ" หรา". mgronline.com. 2011-11-24.
  4. "'111'ตั้งตู้ไฟเคาท์ดาวน์ปลดล็อคกลางสภา". komchadluek. 2012-05-24.
  5. "คำต่อคำ : "หมัก" โชว์ภาวะผู้นำ! ถูกสื่อซักลั่นคำ "เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ"". mgronline.com. 2007-11-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]