สุณีย์ เหลืองวิจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุณีย์ เหลืองวิจิตร
สุณีย์ ใน พ.ศ. 2561
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 14 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[1]
ถัดไปสุพล ฟองงาม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
พรรคการเมืองมวลชน (2529–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)

นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553

ประวัติ[แก้]

สุณีย์ เหลืองวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายปลิว กับนางแจ่ม เหลืองวิจิตร[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

สุณีย์ เหลืองวิจิตร เคยทำงานเป็นคณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ในตำแหน่ง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

สุณีย์ เหลืองวิจิตร ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในปี พ.ศ. 2551 จนถึงปี พ.ศ. 2553 และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สันติ พร้อมพัฒน์) ในปี พ.ศ. 2551[3]จากนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 73[4]

เธอขึ้นเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ที่จังหวัดพิจิตร

ในปี พ.ศ. 2561 เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[5][6] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร[ลิงก์เสีย]
  3. คำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ ๓๕๓/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร)
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  6. "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  7. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า สุณีย์ เหลืองวิจิตร ถัดไป
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย
(3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 14 กันยายน พ.ศ. 2553)
สุพล ฟองงาม