ประวิตร วงษ์สุวรรณ

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประวิตร ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
รักษาการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
(0 ปี 37 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา[a]
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(9 ปี 2 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 314 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปประยุทธ์ จันทร์โอชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 341 วัน)
หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
(3 ปี 297 วัน)
ก่อนหน้าอุตตม สาวนายน
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
(0 ปี 365 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ถัดไปพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ

11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2563–ปัจจุบัน)
บุพการี
  • พลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ (บิดา)
  • สายสนี วงษ์สุวรรณ (มารดา)
ญาติ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2512–2548
ยศ พลเอก
หน่วยกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
บังคับบัญชา กองทัพบก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
สงครามกลางเมืองลาว

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ชื่อเดิม ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ[1] ชื่อเล่น ป้อม เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เคยดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี[a],รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[2] ได้ชื่อว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มแยกบูรพาพยัคฆ์และกลุ่ม 3 ป.

ชีวิตและการงาน

ชีวิตช่วงต้นและการรับราชการทหาร

ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับเจมส์ แมตทิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เดอะเพนตากอน ณ วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ พ.ศ. 2561

ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนโตของ พลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีโอที และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ[3]

เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในปี พ.ศ. 2505 จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2521 เข้าศึกษาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556

เขาถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือคนส่วนใหญ่ที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบกสองนาย คือ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

งานการเมือง

ประวิตรเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2551 ปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552

ปลาย พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหา[4] ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

เขาเป็นที่ทราบกันว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มทหารที่เรียกลำลองกันว่า"บูรพาพยัคฆ์" ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจาก ร.21 รอ. กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2551 จนถึง 2554 กล่าวว่าตลอดอาชีพของประวิตร เขาให้คำปรึกษาแก่พลเอกประยุทธ์และช่วยให้เขาได้เลื่อนขั้น

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] เขายังเป็นประธานคณะกรรมการอีกกว่า 50 คณะ[6]

ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ พลเอกประวิตรได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรค[7]

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่างพลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ในพรรคพลังประชารัฐ[8] ไม่นานหลังจากนั้นพรรคมีการปรับภาพลักษณ์ของพลเอกประวิตรให้เป็นนายทหารประชาธิปไตย เข้าถึงได้กับทุกกลุ่ม[9] เดือนมกราคมปีถัดมา พลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[10] ขณะเดียวกันพลเอกประวิตรกล่าวว่าพร้อมจะเป็นนายกรัฐมนตรี และระบุว่าตนยังมีความสัมพันธ์อันดีกับพลเอกประยุทธ์และพลเอกอนุพงษ์ในฐานะพี่น้อง แม้จะมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันก็ตาม[11]

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 พลเอกประวิตรได้พบกับภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มราษฎร เขากล่าวกับเธอว่าจะไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก[12] เดือนถัดมาเขาสมัครเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่ง และเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยเพียงคนเดียวของพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. สมัยแรก และเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อคนเดียวของ พปชร.

รับราชการทหาร

  • พ.ศ. 2512 : ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
  • พ.ศ. 2514 : ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2517 : ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2519 : นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย[13]

ใน พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[14]

ใน พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[15]

ราชการสงคราม

ในปีพ.ศ. 2513 พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในยศ"ร้อยตรี"ขณะนั้น ได้อาสาสมัครไปราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ในหน่วยกองพลทหารอาสาสมัคร ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดสื่อสาร กรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร[16]

กรณีอื้อฉาว

กรณีไม่เปิดเผยนาฬิกาหรู

การยกมือขึ้นบังแดดของพลเอก ประวิตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างรอถ่ายรูปกับคณะรัฐมนตรีใหม่ "ประยุทธ์ 5" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามว่าเหตุใด นาฬิกาเรือนโตยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) จำนวน 9 เรือน จึงไม่ปรากฏอยู่ในประเภท "ทรัพย์สินอื่น" ที่มีราคามากกว่าสองแสนบาท ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ของพลเอก ประวิตร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ปี 2557[17]

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเอกสารแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอก ประวิตร ที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 นั้น พบว่าพลเอก ประวิตร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 87,373,757.62 บาท ประกอบด้วยเงินในบัญชี 53 ล้านบาท เงินลงทุน 7 ล้านบาท ที่ดิน 17 ล้านบาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท และรถโฟล์คสวาเก้น (Volkswagen) ครอบครองปี 2543 และไม่พบว่ามีการยื่นชี้แจงในส่วนของบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเกิน 2 แสนบาทไว้ โดยคาดว่านาฬิกาประดับข้อมือของพลเอก ประวิตร น่าจะเป็นยี่ห้อริชาร์ดมิลล์ (Richard Mille) รุ่น RM 029 ตัวเรือนทำด้วยแพลทินัม ส่วนสายเป็นยางอย่างดี มีจุดเด่นอยู่ตรงตัวเลขวันที่ขนาดใหญ่ สนนราคา 111,492.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.6 ล้านบาท ขณะที่แหวนเพชรก็น่าจะอยู่ที่ราว 5 กะรัตขึ้นไป โดยมูลค่าในตลาดของเพชรเริ่มต้นที่ 4–7 ล้านบาท[18]

สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กล้าปลดพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่า เนื่องจากเขาเป็นมือประสานสิบทิศรู้จักคนในวงการนักการเมืองและทหารตำรวจอย่างกว้างขวาง[19]

การวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีอื่น ๆ

พลเอก ประวิตร แสดงความคิดเห็นภายหลังเหตุเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 ว่า "คนจีนเป็นเป็นคนนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวเขา เขาทำของเขาเอง เขาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เราจะให้ไปเรียกความเชื่อมั่นได้อย่างไร" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ[20]

หลังเหตุการณ์โจมตีโรงแรมที่ไนโรบี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการโจมตีโรงแรมดุสิตดีทูในเครือดุสิตธานีโดยกลุ่มติดอาวุธ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ประวิทย์ให้สัมภาษณ์ว่า มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มติดอาวุธโจมตีนั้นอาจเกิดจากการที่อาหารในโรงแรมอร่อย ส่งผลให้มีผู้ไม่พอใจในความคิดเห็นดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ[22] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 – ซิฟเวิลแอคเชิน ยูนิท ไซเทเชิน[30]
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม[30]
  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก)[30]
  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2548 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[31]
  •  ลาว :
    • พ.ศ. 2553 – เหรียญชัยมิตรภาพ[32]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยุติปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามมติของศาลรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นรักษาการแทน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  2. สดเกาะติดผลการเลือกตั้ง 2566 กำหนดอนาคตชาติ ด้วยอำนาจประชาชน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑๐ ง หน้า ๑๑, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
  4. ฉายานักการเมืองปี 53
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
  6. "Prawit moved to 'ease work'". Bangkok Post. 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 18 August 2018.
  7. ไทยรัฐ (27 มิถุนายน 2563). "เปิดรายชื่อ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ ใต้การนำของ "ลุงป้อม"". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
  9. "เลือกตั้ง 2566 : เบื้องหลัง "จดหมายเปิดใจ" และ "ลุงป้อมเปิดอกคุยสื่อ"". BBC News ไทย. 2023-04-12.
  10. "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
  11. "เสิร์ฟอะไรบ้าง เมนูโต๊ะจีน 3 ล้าน งานระดมทุน 'พลังประชารัฐ'". workpointTODAY.
  12. ""บิ๊กป้อม" คุยกับ "น้องมายด์ แกนนำราษฎร" อารมณ์ดี เซลฟี่คู่ บอกจะไม่มีรัฐประหารอีก". pptvhd36.com.
  13. "คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่132/2553 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย<" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  14. "ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-24.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[ลิงก์เสีย]
  16. ผู้บังคับหมวดสื่อสาร กรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร (เสือดำ ผลัดที่ 2) อดีตทหารเสือราชินี นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 6 จปร. 17 ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ประดับเปลวระเบิด จากการปฏิบัติหน้าที่ในสาธารณรัฐเวียดนาม
  17. ประวิตรมีทรัพย์เท่าไร ถึงใส่นาฬิกาเรือนละหลายล้านบาทได้, BBC Thailand, 6 ธันวาคม 2017
  18. อ้าง “บิ๊กป้อม” ยืมแหวนเพชรแม่มาใส่ ส่วนนาฬิกาหรูนักธุรกิจเพื่อนรักให้ยืมมา, Mgr Online, 10 ธ.ค. 2560
  19. ประวิตร วงษ์สุวรรณ: อนาคต “พี่ใหญ่” วัย 72
  20. เรือล่มภูเก็ต: สื่อทางการจีนไม่พอใจคำพูด ประวิตร ที่ว่า "เขาทำของเขาเอง"
  21. สื่อนอกอึ้ง ‘ประวิตร’ บอกกลุ่มติดอาวุธโจมตีรร.ดุสิตในเคนยา อาจเพราะอาหารอร่อย
  22. "พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ March 21, 2021.
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๓ กันยายน ๒๕๑๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๑๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
  30. 30.0 30.1 30.2 ร้อยเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบาที่ 3 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2517
  31. Ministry of Defence Singapore .COMMANDER-IN-CHIEF OF THE ROYAL THAI ARMY RECEIVES PRESTIGIOUS MILITARY AWARD
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข หน้า 14, 5 พฤศจิกายน 2553

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ประวิตร วงษ์สุวรรณ ถัดไป
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง
(ครม. 61 และ 62)

(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ภูมิธรรม เวชยชัย
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ปานปรีย์ พหิทธานุกร
อนุทิน ชาญวีรกูล
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548)
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
พลโท พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
แม่ทัพภาคที่ 1
(พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546)
พลโท ไพศาล กตัญญู