ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
ธีรรัตน์ ใน พ.ศ. 2565
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 323 วัน)
ก่อนหน้าตนเอง
เขตเลือกตั้งเขตลาดกระบัง
คะแนนเสียง34,749 (40.36%)
กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 153 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (44 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนพรตพิทยพยัต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยวูลลองกอง
Central Queensland University
อาชีพนักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ44.8 ล้านบาท

ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ (เกิด 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) ชื่อเล่น อิ่ม เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย

ธีรรัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และชนะเลือกตั้งอีกสองครั้งใน พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2566 ซึ่งครั้งนี้เธอเป็นสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครจากพรรคเพื่อไทยเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในสภาผู้แทนราษฎรชุดดังกล่าว ปัจจุบันเป็นประธานกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมดิจิทัลเพื่อเศรษกิจเเละสังคม

ประวัติ[แก้]

ธีรรัตน์เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายวิบูล สำเร็จวาณิชย์ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตลาดกระบัง (พ.ศ. 2518) และนางทองดี สำเร็จวาณิชย์ มีพี่น้อง 8 คน

ธีรรัตน์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง (University of Wollongong), Master of International Business และปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเซนทรัลควีนส์แลนด์ (Central Queensland University), Professional Doctorate สาขา Education (Transdisciplinary Studies) ประเทศออสเตรเลีย[1]

งานการเมือง[แก้]

ก่อนเข้าสู่วงการการเมือง เธอเคยทำงานอยู่แผนกพัฒนาบุคลากร ฝ่ายยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้แก่ผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกสิกรไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในเขตเลือกตั้งที่ 20 (เขตลาดกระบัง) อันเป็นฐานเสียงของครอบครัว โดยสามารถเอาชนะนางสลวยเลิศ กิมสูนจันทร์ ภรรยานายมงคล กิมสูนจันทร์ อดีต สส. และสมาชิกบ้านเลขที่ 109 จากพรรคประชาธิปัตย์ไปได้

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ธีรรัตน์ลงสมัครรับเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียง 34,749 คะแนน เอาชนะนายชุมพล หลักคำ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลเพียง 4 คะแนน ธีรรัตน์จึงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครเพียงคนเดียวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ที่มาจากพรรคเพื่อไทย ขณะที่ สส. กทม. คนอื่น ๆ ในสภาชุดนี้ มาจากพรรคก้าวไกลทั้งหมด[2] ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[3], ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎร[4] และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[5] ตามลำดับ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

เธอเคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. มติชน, หยดน้ำตาส.ส.สาวกลางมหาอุทกภัย "มันคือความตื้นตันใจ ไม่ใช่ความอ่อนแอ อาจดีกว่าคนไม่มีน้ำตา"
  2. "ตั้งรัฐบาล66:ธีรรัตน์ เพื่อไทย หนึ่งเดียวในสนามกทม. เฉือนก้าวไกล 4 คะแนน". โพสต์ทูเดย์. 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "นายกฯ เซ็นตั้งทีมวิปรัฐบาล "อดิศร" นั่งประธาน". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "เปิดชื่อ ประธานกรรมาธิการ 35 คณะ ชัยธวัช แจงเหตุ ก้าวไกล ไม่ได้เก้าอี้ตามเป้า". โพสต์ทูเดย์. 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". ทีเอ็นเอ็น 16. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]