พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ
คู่สมรสลดาวัลย์ เจริญประเสริฐ

พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1] พรรคเพื่อไทย ต่อมาย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[2]

ประวัติ[แก้]

พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ หรือฉายา"เสี่ยลาว" เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายคิม แซ่จึง กับนางสู่ขิม แซ่อึ้ง สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางลดาวัลย์ เจริญประเสริฐ (สกุลเดิม แซ่ชิ) มีบุตร 3 คน คือ นายสิทธิพงษ์ เจริญประเสริฐ นางสาวสุดารัตน์ เจริญประเสริฐ และนายวุฒิชัย เจริญประเสริฐ

การทำงาน[แก้]

พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ประกอบธุรกิจโรงสีข้าวในจังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (ส.อบจ.) ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อจากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ในการจัดตั้งรัฐบาลนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3][4] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 36[6]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 15[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และต่อมาในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. ‘เสี่ยลาว’ ทิ้งเพื่อไทย ซบ พปชร. ยัน คดีความใน ป.ป.ช. ไม่ใช่เงื่อนไขต่อรอง
  3. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  4. "พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  8. ‘เสี่ยลาว’ ย้ายขั้วอีก ชิ่งเพื่อไทย ซบ”พปชร.” คาดปมโกดังที่ศรีสะเกษ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗