อรุณี ชำนาญยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรุณี ชำนาญยา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพะเยา เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(12 ปี 337 วัน)
ถัดไปธรรมนัส พรหมเผ่า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

อรุณี ชำนาญยา (ชื่อเล่น : หน่อง) นักการเมืองสตรีชาวไทย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ติดต่อกัน 4 สมัย

ประวัติ[แก้]

อรุณี ชำนาญยา เป็นบุตรของนายบุญธรรม และนางบัวแก้ว ชำนาญยา ซึ่งเป็นเกษตรกรใน จ.พะเยา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้[1] เข้าสู่การเมืองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.พะเยา เขตเลือกตั้งที่ 1 อรุณีเป็นหนึ่งสมาชิกในสังกัดกลุ่มวังบัวบาน

เป็นแกนนำในการล่ารายชื่อ ส.ส.145 คนจาก 6 พรรคร่วมรัฐบาล เพื่อยื่นถอดถอนนางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โดยให้เหตุผลว่ามีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ จากกรณีนำผู้ติดตามเข้าไปในห้องประชุมรัฐสภาระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาล วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และได้เข้าร่วมชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถานในงานแดงทั้งแผ่นดินสัญจร

เป็นผู้ประสานงานร่วมกับนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นแกนนำพาขบวนชาวบ้านเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ เพื่อต่อต้านการชุนนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ก่อนการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ ในช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ นางสาวอรุณี ชำนาญยา ยังเป็นหนึ่งในบรรดานักการเมืองพรรคไทยรักไทย ที่รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ในพื้นที่ จ.พะเยา เนื่องจากไม่ได้มาจากแนวทางประชาธิปไตยและมีเนื้อหาสาระที่เป็นคุณกับระบอบเผด็จการ

อรุณี ชำนาญยา เคยนำตัว มินตรา โสรส ผู้ที่เคยถูก กวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข ทำร้ายร่างกาย โดยใช้กำลังกระชากศีรษะ ในเหตุการณ์วันที่ 13 เม.ย.2552 ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า เหตุการณ์สงกรานต์เลือด มาแถลงข่าวที่ห้องแถลงข่าว หลังการปราศัยที่รัฐสภา[2] โดย พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช ได้ฟ้องหมิ่นประมาทอรุณี ชำนาญยา และ สมคิด บางไธสงจากการปราศัยและแถลงข่าวในครั้งนี้

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์ อรุณี ชำนาญยา ในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เนื่องจากเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดพะเยา

อรุณี ชำนาญยา ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2554

อรุณีลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพะเยาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

อรุณี ชำนาญยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา มาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  2. “เพื่อแม้ว” พาสาวเสื้อแดงโผล่แถลงสื่อ อ้างถูกทำร้าย เจอซักถ่มน้ำลายใส่ก่อน กลับว้ากสื่อ
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑