ภาษามลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามลายู
Bahasa Melayu
بهاس ملايو
ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ
ออกเสียง[ba.ha.sa mə.la.ju]
ประเทศที่มีการพูดติมอร์-เลสเต, บรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)
ชาติพันธุ์
จำนวนผู้พูดภาษาแม่ – 77 ล้านคน  (2550)[1]
ทั้งหมด (ภาษาแม่และภาษาที่สอง): 200–250 ล้านคน (2552)[2]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียนอักษรละติน (อักษรรูมี)
อักษรอาหรับ (อักษรยาวี)[3]

อักษรไทย (ในไทย)
อักษรเรอจัง
อักษรเบรลล์มลายู

ในอดีตใช้อักษรปัลลวะ, อักษรกาวี, อักษรเร็นจง
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน สหประชาชาติ (ใช้ภาษาอินโดนีเซียในภารกิจรักษาสันติภาพสหประชาชาติ)
 ติมอร์-เลสเต (ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาทำงานและภาษาทางการค้ากับประเทศอินโดนีเซีย)[5]
 ไทย (ในฐานะภาษามลายูปัตตานี)
 ฟิลิปปินส์ (ในฐานะภาษาทางการค้ากับมาเลเซียและในบังซาโมโรกับบาลาบัก)
 อินโดนีเซีย
(ภาษามลายูถิ่นมีฐานะเป็นภาษาประจำภูมิภาคในสุมาตราและกาลีมันตัน นอกเหนือจากภาษาอินโดนีเซียที่ใช้เป็นภาษามาตรฐานแห่งชาติ)
 เกาะคริสต์มาส
 หมู่เกาะโคโคส (ในฐานะภาษามลายูโคโคส)
ผู้วางระเบียบสำนักภาษาและวรรณกรรมบรูไน (ในบรูไน);
สถาบันภาษาและวรรณกรรม (ในมาเลเซีย);
สภาภาษามลายูสิงคโปร์ (ในสิงคโปร์);
สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมภาษา (ในอินโดนีเซีย);
สภาภาษาบรูไน–อินโดนีเซีย–มาเลเซีย (ความร่วมมือสามฝ่าย)
รหัสภาษา
ISO 639-1ms
ISO 639-2may (B)
msa (T)
ISO 639-3msaรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
coa – ภาษามลายูโคโคส
ind – ภาษาอินโดนีเซีย
jax – ภาษามลายูจัมบี
kvr – ภาษาเกอรินจี
kxd – ภาษามลายูบรูไน
max – ภาษามลายูโมลุกกะเหนือ
meo – ภาษามลายูเกอดะฮ์
mfa – ภาษามลายูปัตตานี
min – ภาษามีนังกาเบา
mui – ภาษามูซี
xmm – ภาษามลายูมานาโด
zlm – ภาษามลายู (ภาษาปาก)
zmi – ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน
zsm – ภาษามลายูมาเลเซีย
Linguasphere31-MFA-a
ประเทศที่มีผู้พูดภาษามลายู
  ภาษาทางการ
  ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับหรือภาษาทางการค้า
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษามลายู (มลายู: bahasa Melayu, ยาวี: بهاس ملايو, เรอจัง: ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในประเทศบรูไน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย และใช้สื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการในประเทศติมอร์-เลสเตและบางส่วนของประเทศไทย ภาษานี้มีผู้พูด 290 ล้านคน[6] (ประมาณ 260 ล้านคนในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวซึ่งมีมาตรฐานเป็นของตนเองที่เรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย")[7] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวักและกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน

ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) หรือ "ภาษามลายูมาเลเซีย" (Bahasa Melayu Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน

ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูรีเยา (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัซซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม

ไวยากรณ์[แก้]

ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 2 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ

หน่วยคำเติม[แก้]

รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)

ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)

  • ajaran = คำสั่งสอน
  • belajar = กำลังเรียน
  • mengajar = สอน
  • diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน
  • diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน (เกี่ยวกับบางสิ่ง)
  • mempelajari = เรียน (บางอย่าง)
  • dipelajari = กำลังถูกศึกษา
  • pelajar = นักเรียน
  • pengajar = ครู
  • pelajaran = วิชาเรียน
  • pengajaran = บทเรียน
  • pembelajaran = การเรียนรู้
  • terpelajar = ถูกศึกษา
  • berpelajaran = มีการศึกษาดี

หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์

หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง

ชนิดของปัจจัย หน่วยคำเติม ตัวอย่างรากศัพท์ ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรค pe(N)- duduk (นั่ง) penduduk (ประชากร)
ke- hendak (ต้องการ) kehendak (ความต้องการ)
อาคม -el- tunjuk (ชี้) telunjuk (คำสั่ง)
-em- kelut (ยุ่งเหยิง) kemelut (วิกฤติ)
-er- gigi (ฟัน) gerigi (toothed blade)
ปัจจัย -an bangun (ยืน) bangunan (ตึก)
อุปสรรค+ปัจจัย ke-...-an raja (กษัตริย์) kerajaan (ราชอาณาจักร/ราชการ/รัฐบาล)
pe(N)-...-an kerja (ทำงาน) pekerjaan (อาชีพ)

หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง

ชนิดของปัจจัย หน่วยคำเติม ตัวอย่างรากศัพท์ ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรค be(R)- ajar (สอน) belajar (เรียน) - Intransitive
me(N)- tolong (ช่วย) menolong (ช่วย) - Active transitive
di- ambil (นำไป) diambil (ถูกนำไป) - Passive transitive
mempe(R)- kemas (เป็นลำดับ) memperkemas (จัดเรียงต่อไป)
dipe(R)- dalam (ลึก) diperdalam (ลึกลงไป)
te(R)- makan (กิน) termakan (ถูกกินทันทีทันใด)
ปัจจัย -kan letak (เก็บ) letakkan (เก็บ) - คำสั่ง
-i jauh (ไกล) jauhi (หลีกเลี่ยง) - คำสั่ง
อุปสรรค+ปัจจัย be(R)-...-an pasang (ซ่อม) berpasangan (ถูกซ่อม)
be(R)-...-kan tajuk (หัวข้อ) bertajukkan (ถูกตั้งหัวข้อ)
me(N)-...-kan pasti (แน่นอน) memastikan (มั่นใจ)
me(N)-...-i teman (companion) menemani (to accompany)
mempe(R)-...-kan guna (ใช้) mempergunakan (to misuse, to utilise)
mempe(R)-...-i ajar (teach) mempelajari (to study)
ke-...-an hilang (หายไป) kehilangan (หาย)
di-...-i sakit (เจ็บ) disakiti (เจ็บปวด)
di-...-kan benar (ถูก) dibenarkan (ถูกอนุญาต)
dipe(R)-...-kan kenal (จำได้) diperkenalkan (ถูกแนะนำ)

หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง:

ชนิดของปัจจัย Affix ตัวอย่างรากศัพท์ ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรค te(R)- kenal (รู้จัก) terkenal (มีชื่อเสียง)
se- bijak (ฉลาด) sebijak (ฉลาดเท่ากับ)
อาคม -el- serak (disperse) selerak (messy)
-em- cerlang (radiant bright) cemerlang (bright, excellent)
-er- sabut (husk) serabut (ยุ่งเหยิง)
อุปสรรค+ปัจจัย ke-...-an barat (ตะวันตก) kebaratan (ทำให้เป็นทั่วไป)

ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro-

คำประสม[แก้]

คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih " รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น เรารักคุณ

การซ้ำคำ[แก้]

การซ้ำคำในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย

ลักษณนาม[แก้]

ภาษามลายูมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกอล

คำหน้าที่[แก้]

มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่น ๆ

คำปฏิเสธ[แก้]

คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายูมี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์

ประธาน คำปฏิเสธ การบ่งชี้
Lelaki yang berjalan dengan Fazila itu
(เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซีลา)
bukan
(ไม่ใช่)
teman lelakinya
(แฟนของหล่อน)
Surat itu
(จดหมายฉบับนั้น)
bukan
(ไม่ได้)
daripada teman penanya di Perancis
(มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส)
Pelajar-pelajar itu
(นักเรียนเหล่านั้น)
tidak
(ไม่)
mengikuti peraturan sekolah
(เชื่อฟังกฎของโรงเรียน)
Penguasaan Bahasa Melayunya
(คำสั่งของเขาในภาษามลายู)
tidak
(ไม่)
sempurna
(สมบูรณ์)

คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง

ประธาน การปฏิเสธ การทำนาย ความขัดแย้ง
Karangannya
(เรียงความของเขา)
bukan
(ไม่)
baik sangat,
(ดีมาก)
tetapi dia mendapat markah yang baik
(แต่เขาได้คะแนนดี)
Kilang itu
(โรงงาน)
bukan
(ไม่)
menghasilkan kereta Kancil,
(ผลิตรถ Kancil )
sebaliknya menghasilkan Proton Wira
(แต่ผลิต Proton Wira แทน)

เพศทางไวยากรณ์[แก้]

โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย)

การทำให้เป็นพหูพจน์[แก้]

โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang ,คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์

นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามลายู

คำกริยา[แก้]

ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา

การเรียงลำดับคำ[แก้]

โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย

คำยืม[แก้]

ภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนา) ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีนบางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษ โดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค

ตัวอย่างคำศัพท์[แก้]

  • stesen สเตเซน =สถานี
  • tandas ตันดัซ = ห้องน้ำ
  • restoran เรซโตรัน = ภัตตาคาร
  • lapangan terbang ลาปางัน เตอร์บัง = ท่าอากาศยาน
  • taman ตามัน = สวนสาธารณะ
  • pergi, tiba/sampai เปอร์ฆี, ตีบา/ซัมปัย = ไป, ถึง
  • saya/aku ซายา/อากู = ผม, ฉัน
  • dia ดียา = เขาผู้หญิง/เขาผู้ชาย
  • ia อียา = มัน (คน)
  • mereka, dia orang เมอเรกา, ดียา โอรัง = เขาทั้งหลาย
  • terima kasih เตอรีมา กาซิฮ์ = ขอบคุณ
  • hari ini ฮารี อีนี = วันนี้
  • besok เบโซะ = พรุ่งนี้
  • malam ini มาลัม อีนี = คืนนี้
  • semalam/kelmarin เซอมาลัม/เกิลมาริน = เมื่อวานนี้
  • pelancong เปอลันจง = นักท่องเที่ยว
  • tutup ตูตุป = ปิด
  • buka บูกา = เปิด
  • baik บัยอ์ = ดี
  • jahat ฌาฮัต = เลว
  • betul เบอตุล = ถูก
  • salah ซาละฮ์ = ผิด
  • sarapan ซาราปัน = อาหารเช้า
  • makan tengah hari มากัน เตองะฮ์ ฮารี = อาหารเที่ยง
  • mahal มาฮัล = แพง
  • murah มูระฮ์ = ถูก
  • panas ปานัซ = ร้อน
  • sejuk เซอฌุ = หนาว
  • makan malam มากัน มาลัม = อาหารเย็น
  • kertas pembalut เกอร์ตัซ เปิมบาลุต = กระดาษห่อของ
  • sikat ซีกัต = หวี
  • pembersih เปิมเบอร์ซิฮ์ = ผงซักฟอก
  • tas ตัซ = กระเป๋าเดินทาง
  • sampul surat ซัมปุล ซูรัต = ซองจดหมาย
  • hadiah ฮาดียะฮ์ = ของขวัญ
  • topi โตปี = หมวก
  • geretan เฆเรตัน = ไฟแช็ก
  • jarum ฌารุม = เข็มเย็บผ้า
  • syampu ชัมปู = แชมพูสระผม
  • kasut กาซุต = รองเท้า
  • sabun ซาบุน = สบู่
  • berus gigi เบอรุซ ฆีฆี = แปรงสีฟัน
  • ubat gigi อูบัต ฆีฆี = ยาสีฟัน
  • payung ปายุง = ร่ม
  • darah ดาระฮ์ = เลือด
  • lukis ลูกิส = วาด
  • buk/buku บูกู = หนังสือ

อิทธิพลของภาษามลายูในภาษาไทย[แก้]

ภาษามลายูมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
  2. Uli, Kozok (10 March 2012). "How many people speak Indonesian". University of Hawaii at Manoa. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012. James T. Collins (Bahasa Sanskerta dan Bahasa Melayu, Jakarta: KPG 2009) gives a conservative estimate of approximately 200 million, and a maximum estimate of 250 million speakers of Malay (Collins 2009, p. 17).
  3. "Kedah MB defends use of Jawi on signboards". The Star. 26 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2012.
  4. "Languages of ASEAN". สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
  5. "East Timor Languages". www.easttimorgovernment.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2018.
  6. 10 ล้านคนในมาเลเซีย, 5 ล้านคนในอินโดนีเซียในฐานะ "ภาษามลายู" บวกกับอีก 260 ล้านคนในฐานะ "ภาษาอินโดนีเซีย" และอื่น ๆ
  7. Wardhana, Dian Eka Chandra (2021). "Indonesian as the Language of ASEAN During the New Life Behavior Change 2021". Journal of Social Work and Science Education. 1 (3): 266–280. doi:10.52690/jswse.v1i3.114. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
  8. Ekkalak Max (2016-05-01). ""ปั้นเหน่ง" คำมลายูในราชสำนักสยาม" (Blog post). สืบค้นเมื่อ 2019-08-30.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]