เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ถัดไป | เกษม จาติกวณิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2449 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2529 |
คู่สมรส | ประนอม ลิมปสวัสดิ์ |
พลอากาศโท เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร[1] เป็นอดีตเจ้ากรมการช่างทหารอากาศ อดีตที่ปรึกษากองทัพอากาศ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทเดินอากาศไทย และ หนึ่งในผู้เริ่มการบริษัท การบินไทย
การทำงาน
[แก้]พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปสวัสดิ์ สำเร็การศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ จากนั้นจึงกลับมารับราชการเป็นทหารอากาศในตำแหน่งประจำกรมอากาศยาน เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการช่างทหารอากาศ เป็นประธานกรรมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ[2] เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในปี พ.ศ. 2519[3] หลังการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 ได้ถูกรัฐประหารอีกครั้งโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เช่นเดียวกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ ๓๙ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ – ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗