ราชมังคลากีฬาสถาน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาพถ่ายภายในราชมังคลากีฬาสถาน ในกรกฎาคม พ.ศ. 2550 | |
ที่ตั้ง | ศูนย์กีฬาหัวหมาก แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|---|
ขนส่งมวลชน | สถานี กกท. (กำลังก่อสร้าง) |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ความจุ | 51,560 ที่นั่ง (หลังปรับปรุง) 65,000 ที่นั่ง (เป็นม้านั่งและติดตั้งเก้าอี้บางส่วน ในช่วงการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปี 2541) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2531–2541 |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2541 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2565 |
สถาปนิก | รังสรรค์ ต่อสุวรรณ |
การใช้งาน | |
เอเชียนเกมส์ 1998 กีฬาแห่งชาติ 2543 ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 เอเชียนคัพ 2007 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2559 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2560 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 |
ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] โดยเป็นสนามกลางหรือสนามหลัก (Main Stadium) ของศูนย์กีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามได้รับการออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์ 51,522 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้พับทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย[2]
ประวัติ
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบด้วยกับโครงการจัดสร้างสนามกีฬาที่หัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ตามที่องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.) นำเสนอมา แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีงบประมาณ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการ กกท.คนแรก เสนอของบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสนามกีฬากลาง ขนาดความจุ 80,000 ที่นั่ง ภายในศูนย์กีฬาหัวหมาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติร่วมกับสนามศุภชลาศัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบ[3] โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ออกแบบ และทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดจ้าง บริษัท สยามซีเท็ค จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2531 จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 630 ล้านบาท
ต่อมาในระยะที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าให้ความร่วมมือตกแต่งรายละเอียด ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และระบบไฟส่องสว่าง ระบบเสียงเพิ่มเติม การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา พร้อมราวกันตก โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้รับจ้าง รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท แต่ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ตามนโยบายลดค่าใช้จ่ายของนายสุขวิช รังสิตพล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13
และระยะที่ 3 ในช่วงก่อนเปิดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13[4] ประมาณ 1 เดือน คือ การจัดทำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และตัวอักษรแสดงชื่อสนามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อติดตั้งบนกำแพงส่วนนอกอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง การตกแต่งบริเวณส่วนที่ประทับ และส่วนที่นั่งประธาน รวมทั้งการทาสีภายในบางส่วน ตลอดถึงงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยรวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท
หลังจากแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นแล้ว มีการปรับปรุงต่อเติม ที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่างๆ ของ กกท.โดยรอบใต้ถุนอัฒจันทร์ ทำให้ยอดงบประมาณการก่อสร้างสนามแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท[5] ซึ่งในปัจจุบัน ใช้รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลทีมชาติไทย หรือสโมสรฟุตบอลของไทย กับฟุตบอลทีมต่างชาติ หรือสโมสรฟุตบอลจากต่างประเทศเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, ลีดส์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา และเชลซี เป็นต้น[6]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]กีฬา
[แก้]- 6 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
- 9 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32
- 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[7]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[8]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[9]
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[10]
- 6 และ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004
- 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[11]
- 8–21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดการแข่งขัน และการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย เอเชียนคัพ ครั้งที่ 14
- 8 และ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[12]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยพรีเมียร์ลีก ออลสตาร์ พบ เชลซี[13]
- 14–16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – เรซ ออฟ แชมเปียนส์ 2012
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[14]
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[15]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[16]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ บาร์เซโลนา[17]
- 10 และ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014
- 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยแลนด์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[18]
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ทรู ออลสตาร์ พบ ลิเวอร์พูล[19]
- 3 และ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ
- 14 และ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45
- 8 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
- 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563 – ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2020
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 – ฟุตบอลกระชับมิตร THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบ ลิเวอร์พูล[20]
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – ฟุตบอลไดกิ้น ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบ ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด[21]
การแข่งขันฟุตบอลระดับทีมชาติ
[แก้]วันที่ | ทีม 1 | ผล | ทีม 2 | รายการ |
---|---|---|---|---|
9 พฤศจิกายน 2561 | ติมอร์-เลสเต | 0–7 | ไทย | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 |
17 พฤศจิกายน 2561 | ไทย | 4–2 | อินโดนีเซีย | |
25 พฤศจิกายน 2561 | ไทย | 3–0 | สิงคโปร์ | |
5 ธันวาคม 2561 | ไทย | 2–2 | มาเลเซีย | |
16 พฤศจิกายน 2566 | ไทย | 1–2 | จีน | ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 |
26 มีนาคม 2567 | ไทย | 0–3 | เกาหลีใต้ | |
11 มิถุนายน 2567 | ไทย | 3-1 | สิงคโปร์ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คอนเสิร์ต
[แก้]- 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ โดย คาราบาว
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – บี-เดย์ โดย เบเกอรี่มิวสิก
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – เทศกาลดนตรีกรุงเทพ (Bangkok Music Festival) โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 – ร่ำไรคอนเสิร์ต โดย อัสนี-วสันต์
- 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – เอสเอ็มทาวน์ไลฟว์’08 โดย เอสเอ็มทาวน์
- 6 เมษายน พ.ศ. 2553 – โชว์คิงเอ็ม
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม โดย บอดี้สแลม
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 7–8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – เทศกาลฤดูร้อนกรุงเทพฯ (Bangkok Summer Festival)
- 7 เมษายน พ.ศ. 2555 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก 2012
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – เดอะบอร์นดิสเวย์บอลทัวร์ (Lady Gaga The Born This Way Ball Live in Bangkok) โดย เลดีกากา
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – วันเอเชียทัวร์ 2012 เอ็มเคานท์ดาวน์สไมล์ไทยแลนด์ (One Asia Tour 2012 M Countdown Smile Thailand)
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เสียงจริงตัวจริง เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ประกอบด้วยเจนนิเฟอร์ คิ้ม, โจอี้ บอย, สหรัถ สังคปรีชา, อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และลูกทีมอีก 59 คน
- 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เอ็มบีซีโคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 – ซูเปอร์จอยนท์ คอนเสิร์ต อินไทยแลนด์
- 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – คอนเสิร์ต 40 ปี เสก โลโซ (40 แต่รู้สึกเหมือน 14)
- 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 – วันไดเรกชัน ออนเดอะโรดอะเกนทัวร์
- 7 เมษายน พ.ศ. 2560 – อะเฮดฟูลออฟดรีมส์ทัวร์ โดย โคลด์เพลย์
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้ โดย จีนี่ เรคคอร์ด
- 9–10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 – BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน โดย บอดี้สแลม สังกัดจีนี่ เรคคอร์ด
- 6–7 เมษายน พ.ศ. 2562 – BTS World Tour LOVE YOURSELF (บีทีเอส เวิลด์ทัวร์ เลิฟยัวร์เซล์ฟ) โดย BTS
- 28 เมษายน พ.ศ. 2562 – Ed Sheeran Divide World Tour 2019 โดย เอ็ด ชีแรน
- 15–16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ออกโทป๊อบ 2022[22]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – มารูนไฟฟ์ เวิลด์ทัวร์ 2022[23]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2566 – งานประกาศผลรางวัลโกลเดนดิสก์อะวอดส์ 2023[24]
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2566 – แฮร์รี สไตลส์ เลิฟ ออน ทัวร์ 2023[25]
- 27–28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – แบล็กพิงก์ บอร์นพิงก์เวิลด์ทัวร์ 2023 ENCORE IN BANGKOK[26]
- 8–9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – Jay Chou Carnival World Tour 2023 IN BANGKOK
- 23-24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – SEVENTEEN TOUR ‘FOLLOW’ TO BANGKOK
- 2 มกราคม พ.ศ. 2567 – งานประกาศผลรางวัลSeoul Music Awards 2024[27]
- 3–4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – โคลด์เพลย์ มิวสิกออฟเดอะสเฟียส์เวิลด์ทัวร์ 2024[28][29]
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – เอ็ด ชีแรน '+ - = ÷ x' ทัวร์ 2024[30]
- 30–31 มีนาคม พ.ศ. 2567 – บรูโน มาส์ ไลฟ์ IN BANGKOK 2024[31][32]
- 4 พฤษภาคม 2567 – BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] IN BANGKOK
- 22–23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – NCT DREAM WORLD TOUR THE DREAM SHOW 3 IN BANGKOK
- 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 – SEVENTEEN [RIGHT HERE] WORLD TOUR IN BANGKOK
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2568 – COCKTAIL Ever Live
คอนเสิร์ตที่ยกเลิกการแสดง
[แก้]- 15–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – GOT7 2020 WORLD TOUR ‘KEEP SPINNING’ IN BANGKOK ในวันที่ 15–16 ก.พ. 2563 (เนื่องด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้จัดและต้นสังกัดได้ประกาศยกเลิกการแสดง)
- พ.ศ. 2566 – จัสทิส เวิลด์ ทัวร์ โดย จัสติน บีเบอร์ (เดิมกำหนดจัดในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[33] แต่ได้เลื่อนการแสดงออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพของบีเบอร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้จัดได้มีการแจ้งยกเลิกการแสดง)[34]
กิจกรรมทางการเมือง
[แก้]- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร (แดงทั้งแผ่นดินสัญจร)
- 19 – 20, 24 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – รัฐ (ถูก) ประหาร โดย ศาลรัฐธรรมนูญ และ หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้คนไทยเป็นตัวประกัน (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ)
การเดินทาง
[แก้]รถไฟฟ้า
[แก้]บริเวณถนนรามคำแหง มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยมีกำหนดเปิดใน พ.ศ. 2570 ซึ่งมีสถานีใกล้เคียงกับราชมังคลากีฬาสถาน 2 สถานี ดังนี้
บริการ | สถานี | สาย |
---|---|---|
รถไฟฟ้ามหานคร | สถานีกกท. | สายสีส้ม |
สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง |
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]สาย | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|
22 | เซ็นทรัลพระราม 3 | แฮปปี้แลนด์ |
36ก | สวนสยาม | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
60 | สวนสยาม | ปากคลองตลาด |
69 (2-13) | ตลาดท่าอิฐ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
69E (2-18E) | ตลาดท่าอิฐ | แยกลำสาลี |
71 รถธรรมดา | สวนสยาม (รถ ขสมก.)
ตลาดปัฐวิกรณ์ (รถมินิบัส) |
วัดธาตุทอง |
71 (1-39) รถปรับอากาศ | สวนสยาม | ตลาดคลองเตย |
92 รถธรรมดา | พัฒนาการ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
92 (1-41) รถปรับอากาศ | เคหะร่มเกล้า | แฮปปี้แลนด์ |
93 | หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง | ท่าน้ำสี่พระยา |
113 | ตลาดมีนบุรี | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) |
115 | สวนสยาม | สีลม |
122 | แฮปปี้แลนด์ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) |
137 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | ถนนรัชดาภิเษก |
168 | อู่สวนสยาม | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
173 (4-27E) | เคหะธนบุรี | แฮปปี้แลนด์ |
182 | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | สวนจตุจักร |
3-21 (207) | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก |
501 | ตลาดมีนบุรี | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) |
545 | ท่าน้ำนนทบุรี | พัฒนาการ |
1-50 | เคหะร่มเกล้า | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
3-32 | สำโรง | สวนสยาม |
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ป้ายชื่อและตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกที่บริเวณด้านหน้าสนาม
-
อัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา
-
ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว (เมื่อเดือนตุลาคม 2554)
-
อัฒจันทร์ฝั่งป้ายไฟแสดงคะแนน
-
อัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง
ดูเพิ่ม
[แก้]- ศูนย์กีฬาหัวหมาก
- อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
- กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stadiums in Thailand เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Stadium.
- ↑ Asia 101 ทวีปของเรา: อ่างยักษ์แห่งวงการฟุตบอล, โกลดอตคอม, 10 พฤศจิกายน 2556.
- ↑ กว่าจะเป็น 3 สนามหลักของเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 นิตยสารผู้จัดการ (ธันวาคม 2541)
- ↑ http://www.ryt9.com/s/pry/163357
- ↑ ราชมังคลากีฬาสถาน โฉมใหม่สู่ "อินเตอร์" เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวมติชนออนไลน์ จากเว็บบอร์ดไทยแลนด์สู้สู้
- ↑ ราชมังคลากีฬาสถาน เก็บถาวร 2009-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การกีฬาแห่งประเทศไทย
- ↑ "Matchdetails from Thailand XI - Liverpool played on Thursday 19 July 2001 - LFChistory - Stats galore for Liverpool FC!". www.lfchistory.net.
- ↑ ไฮไลท์เต็ม ทีมชาติไทย VS แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (อุ่นเครื่อง ปี 2001), สืบค้นเมื่อ 2023-06-29
- ↑ "ลิเวอร์พูลไทยแลนด์2003 | ลิเวอร์พูล VS ไทยแลนด์ พ.ศ. 2546 (15 ปีที่แล้ว) Full Match ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ใครเป็นแฟนหงส์ แฟนทีมชาติไทย น่าจะถูกใจ ควรแชร์เก็บไว้ชมนะ... | By บรรเจิดเริ่ดสะแมนแตน | Facebook". www.facebook.com.
- ↑ "Thailand - Real Madrid C.F. 1-2 - Played 10. august 2003 - Real Madrid Fan Community". www.realmadrid.dk.
- ↑ "'ซีดาน-โด้'นำทัพชุดขาวกระทุ้งไทยปิดทัวร์เอเชีย". mgronline.com. 2005-07-29.
- ↑ ""หงส์" ยังไร้ชัย!! โดนแฟนผียิงพา "ไทย" ไล่เจ๊า 1-1". mgronline.com. 2009-07-22.
- ↑ "เชลซีขนชุดใหญ่เยือนไทย". www.thairath.co.th. 2011-07-19.
- ↑ "แมนยูมาไทย ปิยะพงษ์ รับ เซอร์ไพรส์ เอาชนะได้ 1-0". kapook.com. 2013-07-14.
- ↑ "เชลซีมาไทย มูรินโญ่-แลมพาร์ด-เทอร์รี่ นำทัพสิงโตน้ำเงินคราม". kapook.com. 2013-07-12.
- ↑ "เปิดกำหนดการ ลิเวอร์พูลมาไทย ดวลแข้งทีมชาติ 28 ก.ค.นี้". kapook.com. 2013-07-26.
- ↑ ""เมสซี" นำทัพบาร์ซาถล่มไทย 7-1". mgronline.com. 2013-08-07.
- ↑ THAITICKETMAJOR. "Official Ticket | The Singha Chelsea fc Celebration Match Thailand All Star vs. Chelsea FC". THAITICKETMAJOR (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.facebook.com/Posttoday (2015-06-03). "ทุ่ม 100ล้าน"หงส์แดง"มาไทย". posttoday.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ แดงเดือดในไทย จำหน่ายบัตร 2 เม.ย นี้ เคาะราคา 5,000-25,000 บาท
- ↑ "เคาะ ราชมังคลากีฬาสถาน เตะไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "จัดเต็มสีสันในคอนเสิร์ต OCTOPOP 2022 สาดความสนุกกันแบบ POP!". trueid.net.
- ↑ "Maroon 5 กลับมาหาชาวไทยครั้งที่ 6 ในคอนเสิร์ตที่ราชมังฯ 10 ธ.ค. นี้". www.sanook.com/music.
- ↑ "37th Golden Disc Awards Announces Ceremony Date And Details". Soompi (ภาษาอังกฤษ). 2022-11-14.
- ↑ "Harry Styles เตรียมจัดคอนเสิร์ตใหญ่ในไทยที่ราชมังฯ 11 มี.ค. 2023". www.sanook.com/music.
- ↑ "BLACKPINK คอนเสิร์ต ENCORE มาแน่ 27-28 พ.ค. นี้ ที่ราชมังฯ". www.sanook.com/music.
- ↑ "สรุปผลรางวัล Seoul Music Awards ครั้งที่ 33 NCT DREAM คว้า Grand Award ซี-นุนิว และ เจมีไนน์-โฟร์ท คว้า Thai Best Artist Award". THE STANDARD. 2024-01-03.
- ↑ "Coldplay announce concert dates in Singapore, the Philippines, and Thailand for 2024 'Music Of The Spheres' world tour". Bandwagon (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-12.
- ↑ ""COLDPLAY" ประกาศเพิ่มรอบโชว์ราชมังรอบใหม่ เจอกัน 4 ก.พ. 67 พร้อมประกาศตนเป็นคอนเสิร์ตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์". mgronline.com. 2023-06-25.
- ↑ "Ed Sheeran Live in Bangkok 2024 ราชมังฯ 10 ก.พ. 64 บัตร 12,000-1,800 บาท". www.sanook.com/music. 2023-10-20.
- ↑ "คอนเสิร์ตใหญ่แห่งปี "บรูโน่ มาร์ส" กลับมาเจอแฟนชาวไทย 30 มี.ค. ราชมังคลากีฬาสถาน". https://www.tnnthailand.com. 2024-01-10.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
- ↑ ""บรูโน่ มาร์ส"เพิ่มรอบ 2 แฟนๆ เจอกัน 31 มี.ค. นี้ จำหน่ายบัตรรอบใหม่ 31 ม.ค. นี้ ที่ thaiticketmajor.com". mgronline.com. 2024-01-26.
- ↑ THAITICKETMAJOR. "Official Ticket | JUSTIN BIEBER JUSTICE WORLD TOUR BANGKOK". THAITICKETMAJOR (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-27.
- ↑ "เลื่อนโชว์ไทยไปปีหน้า!! 'จัสติน บีเบอร์' แจ้งพักทัวร์ที่เหลือของปีนี้ถึงต้นปีหน้าจากปัญหาสุขภาพ". tnnthailand.com. 2022-10-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ราชมังคลากีฬาสถาน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์