ศูนย์กีฬาหัวหมาก
![]() | |
![]() | |
ที่อยู่ | 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ![]() |
---|---|
สนามกีฬาหลัก | ราชมังคลากีฬาสถาน ความจุ: 51,552 ที่นั่ง |
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก |
ระบบขนส่งมวลชน | ![]() |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
เปิดใช้งาน | พ.ศ. 2509 (อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก) พ.ศ. 2541 (ราชมังคลากีฬาสถาน) |
ผู้เช่า | |
ศูนย์กีฬาหัวหมาก (อังกฤษ: Hua Mak Sports Complex) เป็นศูนย์กีฬาหลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย ภายในประกอบด้วยอาคารหลายหลัง และสนามที่สำคัญในสนามกีฬานี้มีอยู่ 2 แห่ง คือราชมังคลากีฬาสถาน และอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ตั้งอยู่เลขที่ 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ติดกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก
อาคารสถานที่ภายในบริเวณ[แก้]

ราชมังคลากีฬาสถาน[แก้]
ราชมังคลากีฬาสถาน (Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ
ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ภายหลังจากติดตั้งเก้าอี้เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2007 และกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ปัจจุบันมีเก้าอี้ทั้งสิ้น 49,722 ที่นั่ง (เป็นเก้าอี้ VIP จำนวน 172 ที่นั่ง) ทำให้ความจุสนามลดลงจากเดิม 65,000 คน และมีเก้าอี้เพียง 18,527 ที่นั่ง และภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานขนาด 105x68 เมตร, ลู่วิ่ง, ลานกรีฑา, มีจอวิดีโอสกอร์บอร์ด 1 ตัว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทย และเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้ง และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น[1]
อินดอร์สเตเดียม[แก้]
อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬากิตติขจร เป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[2] ความจุของผู้เข้าชมภายในอาคารได้จำนวน 10,000 - 15,000 คน แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงอาคาร ทำให้ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ลดลงเหลือจำนวน 6,000 ที่นั่ง
อาคารอื่น ๆ[แก้]
- อาคารเวโลโดรม สำหรับแข่งจักรยาน ความจุ 700 ที่นั่ง
- สนามยิงปืน ความจุ 6,000 ที่นั่ง
- สระว่ายน้ำ และสระกระโดด ความจุ 15,000 คน
- อาคารบริการสนามเทนนิส
- ศูนย์ฝึกกีฬาเพื่อการแข่งขัน
- ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม
- อาคารที่ทำการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย
- ที่พักนักกีฬา รวมทั้งหมด 500 เตียง
- ห้องสมุด (การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)
ดูเพิ่ม[แก้]
- กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ข้อมูลจากเว็บไซต์การกีฬาแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลโดยสังเขปของราชมังคลากีฬาสถาน เก็บถาวร 2007-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- World Stadiums
- ข้อมูลสนามจาก FIFA เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ราชมังคลากีฬาสถาน โฉมใหม่สู่ "อินเตอร์" เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวมติชนออนไลน์ จากเว็บบอร์ดไทยแลนด์สู้สู้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศูนย์กีฬาหัวหมาก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′24″N 100°37′24″E / 13.75653°N 100.62339°E