อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | สนามกีฬาหัวหมาก ถนนรามคำแหง แขวงห้วหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท) |
ความจุ | 10,000 - 15,000 (ก่อนติดตั้งเก้าอี้) 6,000 (หลังจากติดตั้งเก้าอี้) [1] |
ขนาดสนาม | 41 x 49.50 เมตร |
การก่อสร้าง | |
สถาปนิก | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2509 |
ผู้ใช้งาน | |
ฟุตซอลทีมชาติไทย เอเชียนเกมส์ 1998 กีฬาแห่งชาติ 2543 อาเซ็มยูธเกมส์ ครั้งที่ 1 เอเชียนอินดอร์เกมส์ 2005 เอเชียนมาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2009 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2014 มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2015 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2015 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016 วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013 วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2014 วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2015 วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2016(รอบสุดท้าย) อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 |
อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก (อังกฤษ: Hua Mark Indoor Stadium) เป็นสนามกีฬาในร่ม โดยใช้เป็นสนามสำรอง ตั้งอยู่ภายในสนามกีฬาหัวหมาก สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ เช่น มวยสากล, บาสเก็ตบอล, ฟุตซอล และ วอลเลย์บอล และใช้เป็นสนามสำหรับการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 ที่ กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ
ประวัติ[แก้]
อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬากิตติขจร ตั้งตามนามสกุลของ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่อรองรับการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[2]
การออกแบบ[แก้]
เดิมความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคารได้จำนวน 10,000 - 15,000 คน แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงอาคาร ทำให้ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) ได้จำนวน 6,000 ที่นั่ง เพื่อรองรับการจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 พื้นที่ตรงกลางอาคาร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 41 เมตร x 49.50 เมตร มีลักษณะเป็นรูปวงรี ปูพื้นด้วยไม้ปาเก้ ภายในเป็นสนามบาสเกตบอล
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
กีฬา[แก้]
- การแข่งขันมวยสากลอาชีพ ชิงแชมป์โลก (จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 17 ครั้ง โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เมื่อชาติชาย เชี่ยวน้อย ชิงแชมป์โลกกับ วอลเตอร์ แมคโกแวน และครั้งล่าสุด อำนาจ เกษตรพัฒนา ป้องกันแชมป์โลกกับ จอห์นเรียล คาซิเมโร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558[3] )
- การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008 (สัปดาห์ที่ 3 กลุ่ม G) ระหว่างวันที่ 4 - 6 กรกฎาคม 2551
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2013 (สัปดาห์ที่ 3 กลุ่ม L) ระหว่างวันที่ 16 - 18 สิงหาคม 2556
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2014 (สัปดาห์ที่ 3 กลุ่ม G) ระหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2557
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2015 (สัปดาห์ที่ 1 กลุ่ม A) ระหว่างวันที่ 3 - 5 กรกฎาคม 2558
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2016 (รอบชิงชนะเลิศ) ระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2559
- วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2017 (สัปดาห์ที่ 3 กลุ่ม H) ระหว่างวันที่ 21 - 23 กรกฎาคม 2560
- การแข่งขัน วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก
- วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2018 (สัปดาห์ที่ 3 กลุ่มที่ 11) ระหว่างวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม 2561
- 6 ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 - การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
- 2 และ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันอาเซ็มยูธเกมส์ ครั้งที่ 1[4]
- 12 ถึง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันเอเชียนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 1
- 1 ถึง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันเอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1
- วันที่ 1 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 (ครั้งที่ 7)
- วันที่ 20 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - การแข่งขันฟุตซอลผู้พิการทางสมองชิงแชมป์โลก 2015 (ครั้งที่ 4)
- วันที่ 29 สิงหาคม และ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - การแข่งขันชกมวยไทยไฟต์
คอนเสิร์ต[แก้]

- 19 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - ปึ๊กกกก.....เต๋อ โดย เต๋อ - เรวัต พุทธินันทน์
- 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 - เบื๊อก โดย อัสนี-วสันต์
- 1 เมษายน พ.ศ. 2532 - ตามหาฟักทอง โดย อัสนี-วสันต์
- 22 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - ซิกัมซ้า โดย อัสนี-วสันต์
- 29 กันยายน พ.ศ. 2534 - พายุสายฟ้า ระลอกสอง (THUNDER STORM CONCERT version 2) โดย ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง
- 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต โดย ไฮ-ร็อก, หรั่ง ร็อคเคสตร้า, หิน เหล็ก ไฟ
- 14 พฤษภาคม - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 - ธ.ธง กับ ธ.เธอ (นั่นแหละ) โดย เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์
- 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 - Vitalogy Tour โดย เพิร์ลแจม
- 6 เมษายน พ.ศ. 2539 - Pepsi-Teenelegy Concert Waab-Z
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 - คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ โดย คาราบาว
- 3 เมษายน พ.ศ. 2542 - PEPSI THE X-VENTURE CONCERT
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2542 - WHITE SPY POWER CONCERT คอนเสิร์ตพลังสีขาว ต่อต้านยาเสพติด
- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 - RS.MEETING CONCERT TEENLENIUM รวมพลังสนุกยุคใหม่
- 19 มกราคม พ.ศ. 2544 - The Celebration Concert โดย รวมศิลปินอาร์เอส
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 - GSM 2 WATTS ZODIAC CONCERT โดย รวมศิลปินอาร์เอส
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 - Songs from the West Coast Tour โดย เอลตัน จอห์น
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2544 - RS MEETING CONCERT STAR MISSION มันส์หลุดโลก โดย รวมศิลปินอาร์เอส
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - D2B GOODTIME THANKS CONCERT FOR FRIENDS โดย ดีทูบี
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 - D2B THE MIRACLE CONCERT โดยดีทูบี
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - เวทีนี้ยังมีพี่เลี้ยง โดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง (เดิมกำหนดจัด 24 กรกฎาคม[5])
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - เก็บตะวัน A Tribute to อิทธิ พลางกูร โดย อิทธิ พลางกูร
- 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - SEEFA DEEP BLUE CONCERT
- 20 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - Bodyslam Save My Life Concert โดย บอดี้สแลม
- 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - WE R ONE CONCERT PECK AOF ICE โดย เป๊ก ผลิตโชค, อ๊อฟ ปองศักดิ์ และไอซ์ ศรัณยู
- 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - GOLF MIKE GET READY CONCERT โดย กอล์ฟ-ไมค์
- 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - WONDER GIRLS LIVE IN BANGKOK 2009 โดย วันเดอร์เกิลส์
- 21 มีนาคม พ.ศ. 2552 - Make Dreams Real
- 27 มีนาคม พ.ศ. 2553 - Berryz Kobo First Live in Bangkok 2010
- 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - [V] The Richman Toy อ๊อดทะลุเป้า คอนเสิร์ตกลางแจ้ง แต่แสดงในร่ม โดย เดอะริชแมนทอย
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - KAMIKAZE WAVE CONCERT LIVE IN BANGKOK 2010 โดย กลุ่มศิลปินจากกามิกาเซ่
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553 - โอทู วัน คอนเสิร์ต โดย พาราด็อกซ์, เคลียร์, อินสติงต์, โนมอร์เทียร์, สวีตมัลเล็ต, เรโทรส, กะลา, บอดี้สแลม
- 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553 - Krungsri The First 3D Concert - Victory of The Winners
- 25 กันยายน พ.ศ. 2553 - Aucifer 10th Anniversary Live In Bangkok 2010
- 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - คอนเสิร์ต x2 ลูกทุ่งซุปเปอร์คอนเสิร์ต [6]
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 - คอนเสิร์ตพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ 25 ปี (มีหวัง) โดย ปู - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - บรรลุนิติภาวะ 21 ปี ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ โดย ป้าง - นครินทร์ กิ่งศักดิ์
- 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 - 2016 BTS LIVE <花樣年華 on stage : epilogue> in Bangkok โดย บังทันบอยส์
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 2017 KIM JAE JOONG ASIA TOUR in BANGKOK 'The REBIRTH of J' แจจุง
- 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 - 2017 LABANOON CONCERT เปิดกล่อง โดย วงลาบานูน
รายการโทรทัศน์[แก้]
- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 4 พ.ศ. 2551
- 27 เมษายน - คอนเสิร์ตประกาศผล
- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 พ.ศ. 2553
- 2 พฤษภาคม - คอนเสิร์ตประกาศผล
- ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 1 พ.ศ. 2547
- 7 สิงหาคม - คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 7
- 14 สิงหาคม - คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 8
- 21 สิงหาคม - คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 9 (รอบชิงชนะเลิศ)
- ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 4 พ.ศ. 2550
- 15 กันยายน - คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 13 (รอบการกุศล)
- The Best Of All Thailand เลขระทึกโลก พ.ศ. 2561
- 3 - 4 มีนาคม - เกมโชว์
การประกวด[แก้]
- 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - Miss Grand International 2014
- 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - Miss Grand Thailand 2015
- 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - Miss Grand International 2015
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - Miss Grand Thailand 2016
การเลือกตั้ง[แก้]
- 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - การเลือกตั้งนายกและสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
อื่นๆ[แก้]
- 7 กันยายน พ.ศ. 2562 - งานเทศกาลกีฬาบางกอก๔๘ และงานวัด๔๘ จัดโดย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ปรับโฉมใหม่รับศึกฟุตซอลชิงแชมป์โลก". สยามสปอร์ต.
- ↑ @ เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ชื่อเดิมมหาวิทยาลัย
- ↑ "เนรมิตอินดอร์ฯจัดศึก 'อำนาจ-คาซิเมโร'". ไทยรัฐ.
- ↑ "1st ASEM Youth Games 2005 (ฺBangkok)". Organization of Asian countries and European countries.
- ↑ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เอ็มไทยดอตคอม
- ↑ จากไทยทิคเกตมาสเตอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′27″N 100°37′24″E / 13.75750°N 100.62333°E
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ข้อมูลรายละเอียดสนามกีฬา (ไทย)
- [1] (ไทย)