ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566
วันที่5 สิงหาคม 2566
18:00[1]
สนามราชมังคลากีฬาสถาน, เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
นิติพงษ์ เสลานนท์[2]
ผู้ตัดสินต่อพงษ์ สมสิงห์ (ไทย)
ผู้ชม10,824 คน
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
29 °C (84 °F)
ความชื้นสัมพัทธ์ 72%
2565
2567

ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 (หรือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ตามชื่อผู้สนับสนุน)[3] เป็นการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งที่ 7 เป็นการพบกันระหว่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก และช้าง เอฟเอคัพ ในฤดูกาลที่ผ่านมา กับทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมรองชนะเลิศของทั้ง 2 รายการดังกล่าว ในฐานะทีมรองชนะเลิศของรีโว่ ไทยลีก โดยบุรีรัมย์ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 4 ต่อจากปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2565 โดยในปีที่แล้ว พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ไป 2–3 ขณะที่ทรูแบงค็อกเข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้เป็นครั้งแรก โดยไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 นี้ จะแข่งขันในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566[4] ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร[5]

สนามแข่งขัน[แก้]

สนามราชมังคลากีฬาสถานในปี 2550

การแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งนี้ จะแข่งขันกันที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นสนามแห่งที่ 6 ที่ใช้จัดการแข่งขันรายการนี้ ต่อจากสนามศุภชลาศัย, สนามกีฬากองทัพบก, ธันเดอร์โดมสเตเดียม, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 และนับเป็นการแข่งขันรายการนี้ในกรุงเทพมหานครครั้งแรกในรอบ 3 ปี[5]

ปัจจุบันสนามราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย และเคยเป็นสนามหลักในเอเชียนเกมส์ 1998 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

ภูมิหลัง[แก้]

สโมสร การเข้ารอบ การแข่งขันครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาคือชนะเลิศ)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 และช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 3 (2561, 2562, 2565)
ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด รองชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 และช้าง เอฟเอคัพ 2565–66 ไม่เคย

การถ่ายทอดสด[แก้]

  1. PPTV HD 36[1]

การแข่งขัน[แก้]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
รายชื่อผู้เล่น:
GK 1 ไทย ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
RB 15 ไทย นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (กัปตัน) Substituted off in the 79 นาที 79'
CB 11 มาเลเซีย ดียง กูลส์
CB 3 ไทย พรรษา เหมวิบูลย์ Substituted off in the 46 นาที 46'
LB 5 ไทย ธีราทร บุญมาทัน Substituted off in the 90+4 นาที 90+4'
DM 6 ไทย พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
DM 20 เซอร์เบีย โกรัน เคาซิช
RM 2 ไทย ศศลักษณ์ ไหประโคน
AM 9 ไทย ศุภชัย ใจเด็ด
LM 10 อาเซอร์ไบจาน รามีล ชีดาห์เยฟ
CF 26 กินี ลอนซานา ดูมบูยา
ผู้เล่นสำรอง:
GK 59 ไทย นพพล ละครพล
DF 14 ไทย ชิติพัทธ์ แทนกลาง
DF 25 ไทย สุพร ปีนะกาตาโพธิ์ Substituted on in the 79 minute 79'
DF 49 ไทย ปิยวัฒน์ เปตรา
DF 92 เกาหลีใต้ คิม มิน-ฮย็อก Substituted on in the 46 minute 46'
MF 4 ไทย ลีออน เจมส์
MF 8 ไทย รัตนากร ใหม่คามิ Substituted on in the 90+4 minute 90+4'
FW 29 ไทย อาทิตย์ บุตรจินดา
FW 77 ไทย ปริพรรห์ วงษา
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
ญี่ปุ่น มาซาตาดะ อิชิอิ
รายชื่อผู้เล่น:
GK 1 ไทย ปฏิวัติ คำไหม
RB 6 ไทย นิติพงษ์ เสลานนท์
CB 26 ไทย สุพรรณ ทองสงค์
CB 3 บราซิล อีเวร์ตง (กัปตัน) โดนใบเหลือง ใน 33 นาที 33'
LB 2 ไทย พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา Substituted off in the 87 นาที 87'
CM 28 ไทย ทศวรรษ ลิ้มวรรณเสถียร Substituted off in the 83 นาที 83'
DM 39 ไทย ปกเกล้า อนันต์ Substituted off in the 87 นาที 87'
CM 18 ไทย ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ โดนใบเหลือง ใน 22 นาที 22'
RF 11 ไทย รุ่งรัฐ ภูมิจันทึก Substituted off in the 87 นาที 87'
CF 29 บราซิล วิลเลี่ยน Goal 8'
LF 93 รัฐปาเลสไตน์ มะห์มูด อีด Goal 50' โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54' Substituted off in the 74 นาที 74'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 34 ไทย วรุฒ เมฆมุสิก
DF 4 ไทย มานูเอล บีร์
DF 5 ไทย พุทธินันท์ วรรณศรี
DF 24 ไทย วันชัย จารุนงคราญ Substituted on in the 74 minute 74'
DF 96 ไทย บุญทวี เทพวงค์ Substituted on in the 87 minute 87'
MF 8 ไทย วิศรุต อิ่มอุระ Substituted on in the 87 minute 87'
MF 17 ไทย ทัศนพงศ์ หมวดดารักษ์ Substituted on in the 83 minute 83'
MF 30 ไทย รัชนาท อรัญไพโรจน์
FW 20 ไทย ชนานันท์ ป้อมบุปผา Substituted on in the 87 minute 87'
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
ไทย ธชตวัน ศรีปาน

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ไทย ธเนศ ชูชื่น
ไทย ราเชนทร์ ศรีชัย
ผู้ตัดสินที่สี่:
ไทย วิศเวศ สังข์นคร
ผู้ช่วย วีเออาร์:
ไทย กชภูมิ มีศรีเดชา
ไทย อภิชิต โนพวน

กติกาการแข่งขัน

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกโทษ หากยังเสมอกันในเวลา
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดได้ห้าคนในสามเวลา

สถิติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พีพีทีวี ยิงสด ฟุตบอล ไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-14. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Man of the match of the Daikin Thailand Champions Cup 2023 (in Thai)". facebook.com – True Bangkok United. 5 August 2023.
  3. "ไดกิ้นแชมเปี้ยนคัพ 2566-2567 บุรีรัมย์ดวลทรูแบงค็อก". แนวหน้า. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ไทยลีก เตะ 11 เดือน เปิดฉากฤดูกาล 2566-67 เดือนสิงหาคม". พีพีทีวี ออนไลน์. พีพีทีวี. 2023-06-07. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "เคาะ ราชมังคลากีฬาสถาน เตะไทยแลนด์ แชมเปี้ยน คัพ 2023". พีพีทีวี. 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)