ชิงช้าสวรรค์ (รายการโทรทัศน์)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชิงช้าสวรรค์ | |
---|---|
ประเภท | ประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
พิธีกร |
|
กรรมการ | สลา คุณวุฒิ (2547–2559, 2565–ปัจจุบัน) ชุติเดช ทองอยู่ (2547–2559, 2565) จักรวาร เสาธงยุติธรรม (2565–ปัจจุบัน)[1] สุรินทร์ เมทะนี (2555-2557, 2566–ปัจจุบัน)[6] |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | ลาวดำเนินทราย[7] |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 13 |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | โมเดิร์นไนน์ทีวี ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[2][3][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[1] – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ไมค์ทองคำ |
ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เริ่มแรกเป็นรายการปกิณกะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเต็มรูปแบบ รายการได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ในปี พ.ศ. 2558 ก่อนจะสิ้นสุดยุคแรกในปีต่อมา และได้กลับมาออกอากาศใหม่ในปี พ.ศ. 2565
ประวัติ
[แก้]ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยช่วงแรกมีพิธีกร คือ โน้ต เชิญยิ้ม, แอน - สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ และส้มเช้ง สามช่า[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สิเรียมได้ลาออกจากการเป็นพิธีกร โดยมี จุ๋ย - วรัทยา นิลคูหา ทำหน้าที่แทน[4][5] และในปี พ.ศ. 2558 ได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[8] โดยออกอากาศจนถึง พ.ศ. 2559 เป็นอันสิ้นสุดยุคแรก[3]
ในปี พ.ศ. 2565 รายการได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อ ชิงช้าสวรรค์ 2022 โดยมี แพนเค้ก - เขมนิจ จามิกรณ์ เป็นพิธีกรคู่กับโน้ต นอกจากนี้ จักรวาร เสาธงยุติธรรม ยังเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา ร่วมกับ สลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ซึ่งเป็นกรรมการมาตั้งแต่รายการยุคแรกอีกด้วย[1] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2566 จะมีการเปลี่ยนกรรมการจากชุติเดชเป็น สุรินทร์ เมทะนี[6] และในปี พ.ศ. 2567 มีการเปลี่ยนพิธีกรจากโน้ตเป็น ป๋อ - ณัฐวุฒิ สกิดใจ[9]
พิธีกร
[แก้]- โน้ต เชิญยิ้ม (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)
- ส้มเช้ง สามช่า (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
- สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552) สิเรียมได้ลาออกจากการเป็นพิธีกร
- วรัทยา นิลคูหา (9 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
- เขมนิจ จามิกรณ์ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
- สุดารัตน์ บุตรพรม (21 มกราคม พ.ศ. 2566)
- ณัฐวุฒิ สกิดใจ (5 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
รูปแบบรายการ
[แก้]ชิงช้าสวรรค์ มีรูปแบบรายการที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานวัด[7] โดยในระยะแรกเป็นรายการปกิณกะ ประกอบด้วยช่วงสัมภาษณ์ การให้คะแนนร้านอาหาร ละครสั้น และการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา โดยคู่แรกที่ทำการแข่งขันคือ โรงเรียนราชินีบูรณะ พบกับ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ[2] ต่อมาจึงปรับรูปแบบเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเป็นหลัก[10]
ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์
[แก้]การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในรายการชิงช้าสวรรค์ยุคแรก แบ่งการแข่งขันเป็นฤดู มีทั้งหมด 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว, ฤดูฝน และฤดูร้อน[11] ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงและวงดนตรีลูกทุ่งจำนวน 3 คนในรอบการแข่งขันประจำฤดู[12] และเพิ่มเป็น 7 คนในรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์[13] โดยนอกจากสลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ที่เป็นคณะกรรมการมาตั้งแต่ปีแรก[12] ยังมีศิลปินลูกทุ่งและครูเพลงสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น แดน บุรีรัมย์[12][13], ลพ บุรีรัตน์[13], ชลธี ธารทอง[13], ประยงค์ ชื่นเย็น[13], ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี[10], วสุ ห้าวหาญ[10], และหนู มิเตอร์[10] เป็นต้น
เมื่อแข่งขันครบสามฤดู แชมป์และรองแชมป์ประจำฤดูจะเข้ามาแข่งขันรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ (รองแชมป์ประจำฤดูสามารถเข้าร่วมรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ได้ ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป)[11] โดยในปี พ.ศ. 2548–2558 แข่งกันใน 3 ประเภทเพลง คือ เพลงช้า เพลงเร็ว และเพลงถนัด[11] ทีมที่มีคะแนนรวมทุกประเภทเพลงสูงสุด จะได้ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งออกแบบโดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์[14]
ในช่วงปีแรกผู้ชนะรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ จะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 100,000 บาท และตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ดิสนี่ย์แลนด์ ฮ่องกง 40 ที่นั่ง[11] ปีต่อ ๆ มา ผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษามูลค่า 1,000,000 บาท[10]
โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถาบันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการประกวดยุคแรก โดยครองถ้วยแชมป์ออฟเดอะแชมป์ของรายการมากที่สุด คือ 3 สมัย[15] รองลงมาคือ โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้แชมป์ออฟเดอะแชมป์ 2 สมัย[16] อันดับสามคือ โรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ 3 สมัย[17] นอกจากนี้ พิชิตชัย ศรีเครือ นักร้องนำของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนจ่านกร้องในการครองแชมป์สองสมัยแรก ยังเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกด้วย[18]
พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
[แก้]การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในชิงช้าสวรรค์ 2022 ได้ปรับรูปแบบการประกวดในรอบคัดเลือก เป็นการตระเวนไปตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยรับสมัครพร้อมคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันใน 5 จังหวัดของแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่, ขอนแก่น, ชลบุรี, ปทุมธานี และนครศรีธรรมราช[19] เพื่อคัดเลือกวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา 20 ทีม เข้าแข่งขันในรอบการออกอากาศของรายการ[1] ทีมที่ชนะการประกวดจะครองถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท[1] โดยทีมที่ชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชียงกลมวิทยา[20]
ต่อมา ชิงช้าสวรรค์ 2023 ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับการเปิดตัว 16 โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบเปิดวง โดยได้มีการถ่ายทำการจับฉลากจับคู่การแข่งขันในรอบเปิดวงของทั้ง 16 ทีม ใน Episode ที่ 1 โดยโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบชิงชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา ซึ่งผลสรุปออกมาว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สามารถคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท
ช่วงของรายการในอดีต
[แก้]นอกจากการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาแล้ว ครั้งเมื่อรายการยังมีรูปแบบเป็นปกิณกะ ยังประกอบด้วยช่วงต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น
- เต๊นท์ของแปลก – รวมเรื่องราวพิศวงทั่วไทย[2]
- แวะหลังวิก – สัมภาษณ์แขกรับเชิญ[2]
- แผงเทป – นำเสนอศิลปินที่ได้รับความนิยม โดยมีสินเจริญ บราเธอร์สร่วมเป็นพิธีกรเฉพาะช่วงนี้[2]
- ร้านอร่อยร้อยเหรียญ – การแข่งขันทำอาหารจานเดียวให้คณะกรรมการและผู้ชมในห้องส่งตัดสิน[2]
- เรื่องสั้นตลาดสด – ซิทคอมสั้น ซึ่งในระยะแรกนำแสดงโดยส้มเช้ง สามช่า, แอนนี่ บรู๊ค และ นก - วนิดา แสงสุข[2] ต่อมา หมู - พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ ได้เข้ามาแสดงแทนในบทของนก และ ปุยฝ้าย - ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล แสดงแทนในบทที่ใกล้เคียงกับแอนนี่[21]
- เสียงดีมีค่าเทอม – การประกวดร้องเพลงของนักเรียนระดับประถมศึกษา[22]
- ชิงช้าสวรรค์ประถมคอนเทสต์ – การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพร้อมหางเครื่องระดับประถมศึกษา[23][24]
- ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป – การประกวดร้องเพลงของตัวแทนประจำตำบล ซึ่งต่อมาได้แยกออกเป็นอีกหนึ่งรายการ[10][25]
- ชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชันย์ – การประกวดวงดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์ ระดับมัธยมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพพร้อมหางเครื่อง[26] ชิงถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 500,000 บาท[10]
- โอ้โฮบางกอก – เป็นช่วงที่ติดตามเบื้องหลังของโรงเรียนก่อนทำการแข่งขันในรายการของสัปดาห์นั้น ๆ หรือ ในบางครั้งอาจจะบุกไปถึงโรงเรียน เพื่อติดตามเส้นทางการแข่งขันที่ผ่านมา และเบื้องหลังการซ้อมในโรงเรียน ก่อนทำการแข่งขันในรอบสำคัญ เช่น รอบชิงแชมป์ฤดู และ รอบ Champ of the Champ รวมถึงการจับฉลากการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังมีการเก็บภาพบรรยากาศติดตามการเดินทางท่องเที่ยวฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ซึ่งเป็น 1 ในของรางวัลของรายการสำหรับโรงเรียนที่ชนะ Champ of The Champ ตั้งแต่ปี 2-6 โดยใช้ชื่อช่วงพิเศษว่า โอ้โฮฮ่องกง
- ตะลุยหลังเต็นท์ – เป็นช่วงที่เพิ่มขึ้นมาในชิงช้าสวรรค์ 2024 เฉพาะที่ออกอากาศในวันเสาร์ มีรูปแบบเหมือนกับช่วง โอ้โฮบางกอก ทุกประการ
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ประจำฤดู รองแชมป์ประจำฤดู แชมป์ออฟเดอะแชมป์ และรองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์
[แก้]ปี | ฤดู | แชมป์ประจำฤดู | รองแชมป์ประจำฤดู | รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ | แชมป์ออฟเดอะแชมป์ |
---|---|---|---|---|---|
ปีที่ 1
(2547/2548) |
หนาว | โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก | โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา จ.ตรัง |
โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โรงเรียนพิไกรวิทยา จ.กำแพงเพชร |
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก |
ร้อน | โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา | โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ จ.สมุทรปราการ | |||
ฝน | โรงเรียนพิไกรวิทยา จ.กำแพงเพชร | โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จ.กำแพงเพชร โรงเรียนวาปีปทุม จ.มหาสารคาม | |||
ปีที่ 2
(2549/2550) |
หนาว | โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สมุทรปราการ | โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา |
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก |
ร้อน | โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา | โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ กรุงเทพฯ | |||
ฝน | โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก | โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม | |||
ปีที่ 3
(2550/2551) |
หนาว | โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา | โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย | โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา |
โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย |
ร้อน | โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม | โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จ.กำแพงเพชร | |||
ฝน | โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพฯ | โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ | |||
ปีที่ 4
(2551/2552) |
ร้อน | โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก | โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง | โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา |
โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม |
ฝน | โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม | โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จ.พัทลุง | |||
หนาว | โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา | โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย | |||
ปีที่ 5
(2552/2553) |
ฝน | โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี | โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ | โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ |
โรงเรียนอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ |
หนาว | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ | โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา | |||
ร้อน | โรงเรียนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช | โรงเรียนอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ | |||
ปีที่ 6
(2553/2554) |
ฝน | โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฏร์ธานี | โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จ.นครศรีธรรมราช | โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จ.สงขลา |
โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี |
ร้อน | โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา | โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จ.สงขลา | |||
หนาว | โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น | โรงเรียนบึงกาฬ จ.บึงกาฬ | |||
ปีที่ 7
(2555/2556) |
ร้อน | โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ จ.กาญจนบุรี | โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม | โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี จ.สมุทรปราการ |
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก |
ฝน | โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา | โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จ.ชัยภูมิ | |||
หนาว | โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก | โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี จ.สมุทรปราการ | |||
ปีที่ 8
(2556/2557) |
ฝน | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จ.นนทบุรี | โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จ.เชียงใหม่ | โรงเรียนทุ่งทรายวิทยาจ.กำแพงเพชร โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จ.นนทบุรี |
โรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา |
หนาว | โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม | โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จ.ชัยภูมิ | |||
ร้อน | โรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา | โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา | |||
ปีที่ 9
(2557/2558) |
ฝน | โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี | โรงเรียนเซิมพิทยาคม จ.หนองคาย | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง |
โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี |
หนาว | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี จ.นนทบุรี | โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการ | |||
ร้อน | โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ | |||
ปี | รอบรองชนะเลิศ | รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ | แชมป์ออฟเดอะแชมป์ | ||
ปีที่ 10
(2559) |
โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ปทุมธานี (แชมป์สายัณห์ สัญญา) โรงเรียนสันกำแพง จ.เชียงใหม่ (แชมป์ตั๊กแตน ชลดา) โรงเรียนกันตังพิทยากร จ.ตรัง (แชมป์สุนารี ราชสีมา) |
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี จ.นนทบุรี (แชมป์คัฑลียา มารศรี) | โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี (แชมป์ยอดรัก สลักใจ) | ||
โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จ.ตาก (แชมป์พุ่มพวง ดวงจันทร์) วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จ.อ่างทอง (แชมป์ชาย เมืองสิงห์) โรงเรียนผดุงนารี จ.มหาสารคาม (แชมป์ศิรินทรา นิยากร) | |||||
2022
(2565) |
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จ.กาญจนบุรี |
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ โรงเรียนเชียงกลมวิทยา จ.เลย |
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ | ||
2023
(2566) |
โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยพัทลุง จ.พัทลุง โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จ.สระบุรี |
โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพฯ | โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา | ||
2024
(2567) |
โรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนปทุมวิไล จ.ปทุมธานี |
โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ |
โรงเรียนสังขะ จ.สุรินทร์ |
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองแชมป์ ชิงช้าสวรรค์ประถมคอนเทสต์
[แก้]ปี | รองชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | แชมป์ | ||
---|---|---|---|---|---|
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชันย์
[แก้]ปี | รองชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | แชมป์ | ||
---|---|---|---|---|---|
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]รายการย่อย
[แก้]เวิร์คพอยท์ได้สร้างรายการโทรทัศน์ที่มีองค์ประกอบมาจากรายการชิงช้าสวรรค์ เช่น ไมค์ทองคำ, ไมค์ทองคำเด็ก, ไมค์ทองคำ หมอลำฝังเพชร, ไมค์หมดหนี้ และเพชรตัดเพชร เป็นต้น[3]
นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ตัวรายการชิงช้าสวรรค์เองก็มีการสร้างรายการย่อย "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ชิงช้าสวรรค์ โอทอป") ซึ่งเดิมเป็นช่วงหนึ่งของรายการหลัก[25] แต่ต่อมาได้แยกจัดเป็นอีกหนึ่งรายการ โดยเป็นการประกวดร้องเพลงของตัวแทนประจำตำบล พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นประจำตำบลนั้น ๆ โดยมีศิลปินลูกทุ่งสลับสับเปลี่ยนเป็นกรรมการในทุกสัปดาห์[27]
ในปี พ.ศ. 2566 ชิงช้าสวรรค์มีสร้างรายการย่อยอีก 1 รายการ คือ "ชิงช้าสวรรค์ ร้องคู่สิบ" โดยนำนักร้องนำจากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์ มาเป็นผู้เข้าแข่งขัน ร้องเพลงร่วมกับศิลปินมืออาชีพจำนวน 10 คน โดยมีกติกาคล้ายกับรายการนักร้องสองไมค์ นั่นคือคะแนนจะมาจากสลา คุณวุฒิ ซึ่งเป็นกรรมการหลัก และศิลปินอีก 9 คนที่ไม่ได้ร่วมร้องเพลงกับผู้เข้าแข่งขันในแต่ละรอบ ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป จะได้รับทุนการศึกษาสะสมรอบละ 3,000 บาท (หรือได้รับโบนัสเป็น 5,000 บาท หากได้คะแนนเต็ม 10 คะแนนในรอบนั้น ๆ) และได้แข่งขันต่อไปในแต่ละรอบ จนกระทั่งครบ 10 คน นั่นคือมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาสูงสุดที่ 50,000 บาท และหลังจากผ่านทั้ง 10 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับประกาศนียบัตรจากสลา พร้อมลายมือชื่อจากสลาและศิลปินทั้ง 10 คน[28]
ชิงช้าสวรรค์ ไอดอล
[แก้]ในปี พ.ศ. 2566 รายการชิงช้าสวรรค์ได้เปิดตัววงเกิร์ลกรุปแนวลูกทุ่ง ในชื่อว่า "ชิงช้าสวรรค์ ไอดอล" โดยมีสมาชิกจำนวน 5 คน (ต่อมาลดเหลือ 4 คน) จากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์จำนวน 4 โรงเรียน[29]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. 2548 สาขารายการปกิณกะดีเด่น[30]
- รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ โดย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ประจำปี พ.ศ. 2557 ประเภทผู้ดำเนินรายการหญิงผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น (วรัทยา นิลคูหา)[31]
ข้อวิจารณ์
[แก้]แม้ชิงช้าสวรรค์ในยุคแรกจะสร้างกระแสวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา แต่บรรณวัชรจากคมชัดลึกวิจารณ์ว่าการประกวดวงดังกล่าวทำให้แต่ละโรงเรียนทุ่มงบประมาณจำนวนมากกับการสร้างวงดนตรี ทำให้วงดนตรีลูกทุ่งที่เข้ามาประกวดดูเป็นวงในอุดมคติมากเกินไป และผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่งก็อาจใช้โอกาสนี้ในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง มากกว่าส่งเสริมให้เยาวชนมีใจรักเพลงลูกทุ่งอย่างแท้จริง[32]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้บริหารโรงเรียนแห่งหนึ่งร้องเรียนกับทางเวิร์คพอยท์ในประเด็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมต่อสถาบันของตน[13][33] และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนวิจารณ์ว่า รายการจงใจใช้ความเศร้าของผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อสร้างความนิยมของตัวรายการเอง ขณะเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ก็ได้มีการวิจารณ์ถึงการทำหน้าที่พิธีกรของโน้ต เชิญยิ้ม ด้วย[34]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "ที่สุดของการรอคอย กับรายการแห่งตำนาน 'ชิงช้าสวรรค์ 2022' ประเดิมตอนแรก 16 ก.ค.นี้". workpointTODAY.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "รายการ ชิงช้าสวรรค์ เทปแรก เสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2547 เวลา 16.00-18.00 น. โมเดิร์น ไนน์". ryt9.com.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Key Success เวิร์คพอยท์ ยังไงๆ Contents ก็ต้อง is King แต่ต้อง Create หน่อย". Marketeer Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-19.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "เมื่อพิธีกร'ลาออกจากรายการฟ้าผ่า'". คมชัดลึกออนไลน์. 2012-10-10.
- ↑ 5.0 5.1 ""สิเรียม"โผล่แจง"พายัพ"แค่ผู้ใหญ่ที่นับถือ". คมชัดลึกออนไลน์. 2010-03-27.
- ↑ 6.0 6.1 "เปิดชื่อกรรมการตัดสิน "ชิงช้าสวรรค์ 2023" ใครส้มหล่นนั่งแท่นแทน "ครูเทียม"". ดาราเดลี่. 2023-01-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 "กว่าชิงช้าสวรรค์จะกลับมาหมุนอีกครั้งบนหน้าจอ". THE MODERNIST.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ช่องดิจิตอลเรียกรายการกลับสังกัด!! ใครเจ๊ง ใครรุ่ง??". www.thairath.co.th. 2015-03-21.
- ↑ "โน้ต เชิญยิ้ม เปิดแชต ป๋อ ขออนุญาตรับไม้ต่อพิธีกร ชิงช้าสวรรค์ ส่งกำลังใจ บอกเหมาะสม !". กระปุก.คอม. 30 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 ประสิทธิผลของรายการชิงช้าสวรรค์ลูกทุ่งโอทอป – วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "เซอร์ไพรส์ ถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปี 3 อ. เฉลิมชัย อุบเงียบ เผยที่มาครั้งแรก". ryt9.com.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 "รายการ ชิงช้าสวรรค์ ออกอากาศวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2548 16.00 — 18.00 น. โมเดิร์น ไนน์". ryt9.com.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "นักเรียน ร.ร.บัวใหญ่ ไหว้ขอความเป็นธรรม วอน "เวิร์คพ้อยท์" ตรวจสอบ "ชิงช้าสวรรค์" ตัดสินไม่โปร่งใส". mgronline.com. 2012-03-07.
- ↑ "ตระการตา ที่มาถ้วยพระราชทานฯ - อ.เฉลิมชัย เผยโฉมใน "ชิงช้าสวรรค์"". ryt9.com.
- ↑ พิษณุโลกฮอตนิวส์ (2016-06-17). "วงโยธวาทิตจ่านกร้อง แสดงรอบสื่อมวลชน ก่อนเดินทางไปโชว์ที่สิงคโปร์". Phitsanulok Hotnews.
- ↑ ""พี่ตูน"ร่วมแจมแสงสุดท้ายวงดนตรีแชมป์ชิงช้าสวรรค์(คลิป)". www.newtv.co.th. 2017-11-16.
- ↑ "รอบรั้ว "โรงเรียนบัวใหญ่" สุดยอดรร.แห่งวงดนตรีลูกทุ่งเมืองโคราช คว้าหลายแชมป์ชิงช้าสวรรค์". Korat Start Up. 2016-06-24.
- ↑ 'ตุ้ม จ่านกร้อง' ตื่นเต้นถ่ายมิวสิควิดีโอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "'เวิร์คพอยท์' เปิดเวทีการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง ระดับมัธยมศึกษาอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ 'ชิงช้าสวรรค์". workpointTODAY.
- ↑ matichon (2022-11-26). "#ชิงช้าสวรรค์2022 ขึ้นที่ 1 เทรนด์ทวิต แห่ให้กำลังใจ 'ยุพราชฯ' ไม่ได้แชมป์แต่ครองใจมหาชน". มติชนออนไลน์.
- ↑ "3 ดาราหญิงชิงช้าสวรรค์ ดาวที่ค่อยๆ หายไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
- ↑ "ช่วง “เสียงดี มีค่าเทอม” ทำ แอน,โน้ต,ส้ม อึ้ง 3 เด็กเก่งงัดลูกคอ 9". ryt9.com.
- ↑ "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์" ฝน ปลื้มแก้มปริ!! เด็กน้อยเอาเพลง". ryt9.com.
- ↑ "เชิญชวนร่วมเป็นกำลังใจเยาวชนชาวหัวหิน ในการแข่งขันชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ รายการชิงช้าสวรรค์". www.huahin.go.th.
- ↑ 25.0 25.1 "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" อวดของดี &เสียงเด่น ต.แหลมใหญ่ ท้าดวล". ryt9.com.
- ↑ "แถลงข่าวประกวดชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชัน". www.sanook.com/news.
- ↑ "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" มันส์แน่นอน!! ต.ศรีกะอาง ปะทะ ต.บางพุทรา". ryt9.com.
- ↑ "'ร้องคู่สิบ' เปิดเส้นทางสู่การเป็น 'ศิลปินมืออาชีพ' ให้เยาวชน จากเวที 'ชิงช้าสวรรค์' ได้ร้องเพลงประกบคู่กับ 'ศิลปินชื่อดัง'". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ PJNinetySeven (2023-05-19), "ชิงช้าสวรรค์ Idol และเรื่องชวนคาดเดา | LodiCap Quick Talk w/ Nited Idols", LodiCap Podcast, สปอติฟาย, สืบค้นเมื่อ 2023-05-26
- ↑ "เคน-จอย คว้าดารานำดีเด่น โทรทัศน์ทองคำ". www.sanook.com/movie.
- ↑ "ภาพข่าว: ช่อง1 เวิร์คพอยท์ และจุ๋ย วรัทยา รับรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปี". ryt9.com.
- ↑ "คมเคียวคมปากกา - ชิงช้าสวรรค์...เพื่อใคร?". คมชัดลึกออนไลน์. 2009-11-18.
- ↑ ""เวิร์คพ้อยท์" เฉย "ชิงช้าสวรรค์" ถูกร้องตัดสินไม่เป็นธรรม". mgronline.com. 2012-03-30.
- ↑ "ประเด็นฮอตในโซเชียลมีเดียรอบสัปดาห์ - มหาเศรษฐีฮ่องกงประกาศหาคู่ให้ลูกสาว และ เบเกิ้ล เฮด สุดฮิตในวัยรุ่นญี่ปุ่น - ThaiPublica". thaipublica.org. 2012-09-30.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2024
- ชิงช้าสวรรค์ (รายการโทรทัศน์)
- เพลงลูกทุ่ง
- การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
- รายการโทรทัศน์ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
- รายการโทรทัศน์โดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2547
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2559
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ถูกนำกลับคืนมาหลังจากถูกยกเลิก
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2565
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2020