ข้ามไปเนื้อหา

วิทยสัประยุทธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยสัประยุทธ์
ประเภทเกมโชว์
พิธีกรณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ความยาวตอน55 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 5
ออกอากาศ5 มีนาคม พ.ศ. 2554 –
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิทยสัประยุทธ์ เป็นรายการเกมโชว์ที่ริเริ่มขึ้นโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ[ต้องการอ้างอิง] เป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกอากาศคืนวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 และออกอากาศครั้งสุดท้ายวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดำเนินรายการโดย ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ เดิมออกอากาศในเวลา 20.20-21.15 น. แต่ใน พ.ศ. 2555 ได้ย้ายเวลาออกอากาศเป็น 18.00-18.55 น.

รูปแบบรายการ

[แก้]

รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยทางรายการจะกำหนดโจทย์ให้แต่ละทีมประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จะนำมาแก้ไข พร้อมทั้งนำเสนอระบบการทำงานของอุปกรณ์นั้นให้กับคณะกรรมการ

  • ปีที่ 1 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 สาย ได้แก่ สายภูผา (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สายแผ่นดิน (ภาคกลางและภาคตะวันออก) และสายมหาสมุทร (ภาคใต้และภาคตะวันออก) ซึ่งแต่ละสายจะมีโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม เพื่อหาแชมป์ประจำสาย โดยแชมป์และรองแชมป์ในแต่ละสาย รวมถึงโรงเรียนที่มีคะแนนสูงสุดของทั้ง 3 สาย 2 โรงเรียนมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ
  • ปีที่ 2 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 สาย โดยได้เพิ่มมาอีก 1 สายคือ สายแผ่นฟ้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) แต่ในแต่ละสายจะมีโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขันเหลือเพียง 8 ทีม โดยจะแตกต่างจากปีที่ 1 คือ จะมีเพียงแชมป์และรองแชมป์ในแต่ละสายเท่านั้น ที่จะมีมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ และคณะกรรมการจะเพิ่มมาอีก 1 ท่าน คือ ผู้เชียวชาญในแต่ละสาขาตามที่โจทย์กำหนดในแต่ละสัปดาห์ โดยของสายภูผาและสายแผ่นฟ้าการถ่ายทำในช่วงที่ประดิษฐ์อุปกรณ์การแข่งขันจะเปลี่ยนจากในห้องส่งไปถ่ายทำที่โรงเรียนแทน และตั้งแต่รอบชิงแชมป์ประจำสายแผ่นฟ้าเป็นต้นไปก็กลับมาถ่ายที่ห้องส่งตามเดิม แต่มีการถอดรหัสเพื่อรับโจทย์ด้วย โดยให้ใช้เวลา 6 ชั่วโมงในการถอดรหัสและการประดิษฐ์ ในรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ ในการแข่งขันเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด จำนวน 4 คู่ 8 โรงเรียน โรงเรียนที่ชนะจะได้รับ 1 คะแนน ส่วนที่โรงเรียนที่แพ้นั้นจะได้รับคะแนน 0 คะแนน โรงเรียนใดที่มีคะแนนสะสมมากกว่า 2 อันดับแรกไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่อันดับ 3 และ 4 ไปแข่งขันในรอบชิงอันดับ
ปี สาย แชมป์ประจำสาย รองแชมป์ประจำสาย รองแชมป์ระดับประเทศ แชมป์ระดับประเทศ
ปีที่ 1
(พ.ศ. 2554)
สายภูผา โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
สายแผ่นดิน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี
สายมหาสมุทร โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
ปีที่ 2
(พ.ศ. 2555)
สายภูผา โรงเรียนปัว จ.น่าน โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จ.สุโขทัย โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น
สายแผ่นฟ้า โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โครงการ วมว. มทส.) จ.นครราชสีมา โรงเรียน ศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น
สายมหาสมุทร โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จ.ระยอง
สายแผ่นดิน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จ.เพชรบุรี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม

16 อันดับการสัประยุทธ์

[แก้]
อันดับ โจทย์
16 ถล่มตึกด้วยประทัด
หย่อนลูกไฟข้ามกำแพง
15 เหลาดินสอ 1,000 แท่งแข่งกับเวลา
14 ทลายกำแพงกระป๋องระยะไกลด้วยกระดาษ 1 แผ่น
13 หยุดไถลใกล้หน้าผา
12 ใช้หนังยางตัดของ
11 อาม่ายกรถ
10 จุดพลุระยะไกลด้วยไฟจากไม้ขีด
9 เรือกะละมัง พลังน้ำแข็งแห้ง
8 ส่งเสบียงขึ้นตึก
7 ส่งธิดาช้างเก็บมะพร้าว
6 แยกหมูเป็ดไก่
5 ลากรถด้วยไฟ
4 ย้ายถังน้ำมันด้วยเชือก
3 ขนภูเขาแก้ว ขึ้นเขาลงห้วย
2 ดิ่งพสุธาจากตึก 6 ชั้น
1 ใช้ลม ชกมวย

คณะกรรมการ

[แก้]
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด บัณฑิตโครงการ พสวท.และ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (5 มีนาคม 2554 - 23 กุมภาพันธ์ 2556)
  • ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช บัณฑิตโครงการ พสวท.รองผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2 เมษายน 2554 - 23 กุมภาพันธ์ 2556)
  • ดร.วิฑูร ชื่นวชิรศิริ บัณฑิตโครงการ พสวท.และ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (10 มีนาคม 2554 - 11 มิถุนายน 2554)
  • อ.ราม ติวารี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (5 มีนาคม 2554)
  • อ.สติยา ลังการ์พินธุ์ บัณฑิตโครงการ พสวท.และหัวหน้าโครงการบริหารโครงการพิเศษ สสวท. (10 กันยายน 2554 - 24 กันยายน 2554)
  • ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (17 มีนาคม 2555 - 31 มีนาคม 2555 )
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (สิงหาคม - 8 กันยายน 2555)
  • ดร.วรการ นียากร บัณฑิตในโครงการ พสวท. อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (15 กันยายน 2555)

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • รางวัลชนะเลิศประเภทสาขาเกมโชว์ยอดเยี่ยม จาก เวที ASIAN TELEVISION AWARDS 2011 ครั้งที่ 16 ประจำปี 2554 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรางวัลรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น จากชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2554 ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์[1]
  • รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 สาขารางวัลรายการส่งเสริมความรู้และการศึกษามณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม[2]
  • รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขารางวัลรายการเด็กยอดเยี่ยม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  2. ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]