ซูเปอร์จิ๋ว
ซูเปอร์จิ๋ว | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | Super10 |
ประเภท | วาไรตี้โชว์/โชว์ความสามารถ |
สร้างโดย | บริษัท ภาษร โปรดั๊กชั่น จำกัด |
พัฒนาโดย | บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด |
พิธีกร | วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ |
กรรมการ | |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | ซูเปอร์จิ๋ว สตูดิโอ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 60 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย |
|
ออกอากาศ | 4 พฤษภาคม 2534 – ปัจจุบัน |
ซูเปอร์จิ๋ว เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทปกิณกะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย[1] เดิมออกอากาศในวันเสาร์และวันอาทิตย์เวลาเช้า ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และโมเดิร์นไนน์ทีวี ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 – 27 กันยายน พ.ศ. 2558 ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2560 ซูเปอร์จิ๋วได้เปลี่ยนชื่อเป็น ซูเปอร์เท็น พร้อมกับปรับรูปแบบเป็นการให้เด็กแสดงความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแลกกับความฝันที่ต้องการ และย้ายมาออกอากาศวันเสาร์เวลาเย็น ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน ต่อมาเพิ่มรูปแบบเป็น ซูเปอร์ซิกซ์ตี้ (3 มีนาคม – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561) และ ซูเปอร์ฮันเดรด (6 มกราคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน) เป็นการแสดงความสามารถของผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปตามลำดับ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลาเย็น
รายการในกลุ่มซูเปอร์จิ๋วทั้ง 3 รายการมี ซุป - วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ เป็นพิธีกรเพียงผู้เดียวตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]อาจารย์กรรณิกา ธรรมเกษร ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัท ภาษร โปรดั๊กชั่น จำกัด เป็นผู้ชักชวนวิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันรายการทีวีวาที ประเภทการโต้วาทีอุดมศึกษาในปีที่ 1 ที่ภาษร โปรดั๊กชั่น เป็นผู้ผลิต[2] ให้มาเป็นพิธีกรรายการ ซูเปอร์จิ๋ว รายการใหม่ที่ภาษร โปรดั๊กชั่น สร้างขึ้นเนื่องจากต้องการทำรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก โดยกรรณิกานำกำไรจากรายการทีวีวาทีมาหมุนให้รายการอื่น ๆ ที่ตนผลิต รวมถึงซูเปอร์จิ๋ว แต่เนื่องจากการบริหารผิดพลาดทำให้ภาษร โปรดั๊กชั่น ประสบปัญหาขาดทุนในที่สุด และมีปัญหามากขึ้นจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[3] วิวัฒน์จึงแยกตัวออกมาก่อตั้ง บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด และรับโอนลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตต่อจากภาษร โปรดั๊กชั่น และในเวลาต่อมาได้ผลิตรายการอื่น เพื่อออกอากาศในสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เช่น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ทีวี เป็นต้น
รูปแบบของรายการ
[แก้]ซูเปอร์จิ๋ว เป็นรายการโชว์ความสามารถของเด็กในรูปแบบของตัวเอง และรับของรางวัลไป ต่อมา ได้เริ่มมีภารกิจท้าทายทั้งในสตูดิโอ และนอกสถานที่ ซึ่งจะเป็นการทำภารกิจแบบกลุ่ม โดยเป็นตัวแทนจากโรงเรียนในชั้นประถมศึกษา และจะมีช่วงของ แก๊งขี้เกียจ (กลุ่มที่มีการแต่งตัวแบบสัตว์ประหลาด นำโดย ปัญจพล เพชรเกษม[4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]) โดยแก๊งนี้จะไปตามโรงเรียนในชั้นประถมศึกษาต่าง ๆ ด้วยตนเอง และนำภารกิจไปท้าทายเด็ก ซึ่งถ้าหากภารกิจสำเร็จ แก๊งขี้เกียจจะประกาศยอมแพ้และร้องไห้ แต่หากภารกิจไม่สำเร็จ แก๊งขี้เกียจจะพูดเยาะเย้ยแกมหัวเราะใส่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 วิวัฒน์ได้ปรับรูปแบบรายการซูเปอร์จิ๋วเป็น ซูเปอร์เท็น เพื่อเพิ่มพื้นที่แสดงความสามารถให้กับเด็กมากขึ้น เน้นเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ ส่งต่อพลังบวก ในรูปแบบการแสดงความสามารถ[5] ซึ่งต่อมาได้เพิ่มรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ดังนี้
- ซูเปอร์เท็น อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว (การแสดงความสามารถของเด็กระหว่าง 1 - 13 ปี)
- ซูเปอร์ซิกส์ตี้ อัจฉริยะพันธุ์เก๋า (การแสดงความสามารถของผู้สูงอายุที่มีอายุใกล้ 60 ปี กับ 60 ปีขึ้นไป)
- ซูเปอร์ฮันเดรท อัจฉริยะเกินร้อย (การแสดงความสามารถของคนที่มีอายุเกิน 14 ปีขึ้นไป และมีความสามารถเกินร้อย (โดยถูกพัฒนามาจากรูปแบบของซูเปอร์ซิกส์ตี้))
โดยรูปแบบจะเป็นการแสดงความสามารถของตนเอง และมีกติกาจากทางรายการ โดยจะเป็นการเพิ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับความสามารถที่แสดงในครั้งนั้น ในรูปแบบของปัญหา อุปสรรค สิ่งกีดขวาง โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าภายในเวลาที่จำกัด หรือ ให้ผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามชิงไหวชิงพริบกับคณะกรรมการของรายการ จากนั้น เมื่อโชว์ความสามารถเสร็จสิ้น หากได้รับการลงมติจากคณะกรรมการให้ผ่านตั้งแต่ 2 เสียงขึ้นไปจากคณะกรรมการ 3 คน รายการจะมอบความฝันให้กับผู้เข้าแข่งขันตามที่แจ้งรายการไว้ ซึ่งจะเป็นสิ่งของและเงิน โดยรูปแบบการทำภารกิจของซูเปอร์เท็นนี้ ถูกนำมาใช้ทั้งซูเปอร์ซิกส์ตี้ กับ ซูเปอร์ฮันเดรท (มีบางเทป ที่คณะกรรมการของรายการได้เข้ามาร่วมทำภารกิจด้วย)
ในรูปแบบแรกของซูเปอร์เท็น หลังจบการแข่งขันในช่วงก่อนสิ้นปี คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกเด็กจำนวน 30 คนให้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านร่วมโหวตให้กับสุดยอดอัจฉริยะพันธุ์จิ๋วที่ชื่นชอบเป็น 10 คนสุดท้าย ซึ่งจะได้เป็นแชมป์ร่วมกัน โดยจะประกาศผลเด็กอัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว 10 สุดท้ายเป็นรายการพิเศษหลังจบการแสดงความสามารถของเด็กคนที่ 30 ของแต่ละฤดูกาล และมีเทปพิเศษเป็นการโชว์ความสามารถในรอบฉลองแชมป์ (ในรูปแบบของซูเปอร์ซิกส์ตี้ กับ ซูเปอร์ฮันเดรท ไม่มีรอบรองชนะเลิศและการฉลองแชมป์) ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะมีการยกเลิกรอบรองชนะเลิศและการฉลองแชมป์ และเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการแสดงความสามารถในลักษณะสัมมาอาชีพของตนเอง โดยยังคงมีกติกาเพิ่มภารกิจและเวลาที่จำกัด จึงทำให้มีผู้มัครเข้าแข่งขันเพื่อออกรายการอย่างต่อเนื่อง
การออกอากาศ
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]- SUPER10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 - 18.00 น. ทางช่อง Workpoint หมายเลข 23, ทางช่อง Youtube ช่อง Workpoint Official และ SUPERJEEW OFFICIAL
- SUPER100 อัจฉริยะเกินร้อย ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 - 18.00 น. ทางช่อง Workpoint หมายเลข 23, ทางช่อง Youtube ช่อง Workpoint Official และ SUPERJEEW OFFICIAL
อดีต
[แก้]- SUPER60 อัจฉริยะพันธุ์เก๋า ซึ่งสามารถชมย้อนหลัง ทาง Youtube ช่อง Workpoint Official และ SUPERJEEW OFFICIAL
- ซูเปอร์จิ๋ว เดิมออกออกอากาศ ทุกวัน อาทิตย์ เวลา 07.00 - 08.00 น. (2547 - 30 ธันวาคม 2550) / ทุกวัน เสาร์ - อาทิตย์ 07.00 - 07.30 น. (5 มกราคม 2551 - 27 กันยายน 2558) ช่อง 9 เอ็มคอมเอชดี / ทุกวัน เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 - 09.00 น (3 ตุลาคม 2558 - 25 กันยายน 2559) / ทุกวัน เสาร์ - อาทิตย์ 07.00 - 07.30 น. (1 ตุลาคม 2559 - 31 ธันวาคม 2559) ช่องเวิร์คพอยท์
ผู้ดำเนินรายการ / กรรมการ
[แก้]พิธีกร
- วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ (พี่ซุป)
กรรมการหลัก (ปัจจุบัน)
- รสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ)
- เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (พี่หอย)
- กพล ทองพลับ (พี่ป๋อง)
- เจริญพร อ่อนละม้าย (พี่โก๊ะ)
- ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร (พี่โต๋)
กรรมการเฉพาะกิจ
- จิรศักดิ์ ปานพุ่ม (แทนเจริญพร อ่อนละม้าย, กพล ทองพลับ และ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร)
- มณีนุช เสมรสุต (แทนรสสุคนธ์ กองเกตุ)
กรรมการรับเชิญ
- ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร
- สมชาย เข็มกลัด
- ยุทธนา บุญอ้อม
- กรภพ จันทร์เจริญ
- วรชาติ ธรรมวิจินต์
- ชินวุฒ อินทรคูสิน
- นลิน โฮเลอร์
- ศรราม เทพพิทักษ์
- ศิริพร อยู่ยอด
- เท่ง เถิดเทิง
- ชลาทิศ ตันติวุฒิ
อดีตกรรมการหลัก
รางวัล
[แก้]รายการโทรทัศน์
[แก้]รายชื่อรางวัล | ครั้งที่/ปี | รายการ | ประเภทรางวัล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ | ครั้งที่ 27 (2556) | รายการซูเปอร์จิ๋ว | รางวัลรายการเด็กและเยาวชนดีเด่น | [6] |
ครั้งที่ 34 (2562) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รางวัลรายการเยาวชนดีเด่น | [7] | |
รางวัลนาฏราช | ครั้งที่ 9 (2560) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รางวัลรายการเด็กยอดเยี่ยม | |
ครั้งที่ 11 (2562) | รายการ Super100 อัจฉริยะเกินร้อย | รางวัลวาไรตี้ยอดเยี่ยม | ||
ครั้งที่ 12 (2563) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รางวัลรายการเด็กยอดเยี่ยม | ||
รายการ Super100 อัจฉริยะเกินร้อย | รางวัลวาไรตี้ยอดเยี่ยม | |||
ครั้งที่ 13 (2564) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รางวัลรายการเด็กยอดเยี่ยม | ||
ครั้งที่ 14 (2565) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รายการสำหรับเยาวชนยอดเยี่ยม | ||
รางวัลทีวีสีขาว | ครั้งที่ 1 (2561) | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รายการสำหรับเด็กดีเด่น | |
รางวัลเพรส อวอร์ด เณศไอยรา | ประจำปี 2562 | รายการ Super10 อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว | รางวัลสร้างสรรค์เด็กและเยาวชนดีเด่น | |
รางวัลคุรุสภา | ประจำปี 2566 | บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด | ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ |
รางวัลรายการออนไลน์
[แก้]รายชื่อรางวัล | ครั้งที่/ปี | รายการ | ประเภทรางวัล |
---|---|---|---|
รางวัล Thailand Zocial Awards | ครั้งที่ 9 (2021) | Super10 ซูเปอร์เท็น | Best Content Performance on Social Media |
ครั้งที่ 10 (2022) | |||
ครั้งที่ 11 (2023) |
การซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในต่างประเทศ
[แก้]หลังจากปรับรูปแบบรายการซูเปอร์จิ๋วเป็นซูเปอร์เท็นแล้ว รายการได้รับความนิยมค่อนข้างมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้มีการถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในแบบฉบับของประเทศนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป คือ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม รวมถึงมีการซื้อเทปรายการไปฉายพร้อมพากย์เสียงทับในประเทศไต้หวันอีกด้วย[5]
ชื่อประเทศ | ชื่อรายการ | สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | จำนวนการออกอากาศ | สถานะ |
---|---|---|---|---|
![]() |
Super 10 Indonesia | Rajawali Televisi (RTV) | 1 ฤดูกาล | ยุติการออกอากาศ |
![]() |
SIÊU TÀI NĂNG NHÍ TẬP 10 | HTV7 | 4 ฤดูกาล | กำลังออกอากาศ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุธีภัทรกุล, กฤตพล (10 เมษายน 2022). "เช็กอายุ "รายการโทรทัศน์" ไทย อยู่มานานแค่ไหนแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ลุงเปิ้ล…ภาพไม่เหมือน". เดลินิวส์. 9 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
รายการทีวีวาที “โต้วาทีอุดมศึกษา” ของคุณกรรณิกา ธรรมเกษร ลุงเปิ้ลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แชมป์ของปีที่ 2 (ปีแรกเป็นของ พี่ซุป-วิวัฒน์ วงศ์ภัทรฐิติ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- ↑ "วาไรตี้ทุกข์ ของ กรรณิกา ธรรมเกษร (2)". ชีวจิต. 18 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
- ↑ superjeew mon (12 ตุลาคม 2020). "SUPER100 | ตลกไม่ออก มิ้ว หัวหน้าแก๊งขี้เกียจ วิกฤตชีวิต เบาหวานพรากตา". ซูเปอร์จิ๋ว. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
- ↑ 5.0 5.1 วงศ์ภัทรฐิติ, วิวัฒน์ (20 กุมภาพันธ์ 2024). "ความฝัน ความสุข และพลังแห่งการส่งต่อ ของ "พี่ซุป ซูเปอร์จิ๋ว"". คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ (Interview). สัมภาษณ์โดย อลิษา รุจิวิพัฒน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
- ↑ "อั้ม-นุ่นคว้าดารานำชาย-หญิงโทรทัศน์ทองคำ". สนุก.คอม. 23 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
รางวัลรายการเด็กและเยาวชนดีเด่น ได้แก่ รายการซูเปอร์จิ๋ว โดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี
- ↑ "รางวัลโทรทัศน์ทองคำ แม่ย้อยนอนมา ใหม่ เจริญปุระ คว้านำหญิงดีเด่น". ข่าวสด. 29 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.
รางวัลรายการเยาวชนดีเด่น ได้แก่รายการซูเปอร์เท็น ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายการโทรทัศน์ช่อง 9
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2534
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการโทรทัศน์ไทยสำหรับเด็กในคริสต์ทศวรรษ 1990
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการโทรทัศน์ไทยสำหรับเด็กในคริสต์ทศวรรษ 2000
- รายการโทรทัศน์ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์ไทยสำหรับเด็กในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
- รายการโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์ทีวี
- รายการปกิณกะทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการโทรทัศน์ไทยสำหรับเด็กในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับเด็ก