ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์
ปราสาทแห่งความฝันอันมหัศจรรย์ ค.ศ. 2023 | |
ที่ตั้ง | ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต, เพนนีส์เบย์, เกาะลันเตา, ฮ่องกง |
---|---|
พิกัด | 22°18′48″N 114°02′36″E / 22.31333°N 114.04333°E |
สถานะ | เปิดบริการ |
เปิดกิจการ | 12 กันยายน 2005 |
เจ้าของ | ดิสนีย์พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ (เดอะวอลต์ดิสนีย์) |
ผู้ดำเนินการ | ฮ่องกงอินเตอร์เนชันธีมพาร์กส์ |
รูปแบบ | เทพนิยาย การผจญภัย อเมริกา อนาคต และตัวละครดิสนีย์ |
คำขวัญ | สถานที่ที่มีความสุขที่สุดในโลก จงเชื่อในเวทมนตร์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ | |||||||||||||||
ทางเข้าของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 香港迪士尼樂園 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 香港迪士尼乐园 | ||||||||||||||
|
ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ (จีน: 香港迪士尼樂園; อังกฤษ: Hong Kong Disneyland) เป็นสวนสนุกที่ตั้งอยู่บนเพนนีส์เบย์ เกาะลันเตา ในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์รีสอร์ต เจ้าของคือฮ่องกงอินเตอร์เนชันแนลธีมพาร์ก ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เปิดให้เข้าชมเมื่อ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2548 ดิสนีย์พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากชาวจีน จึงออกแบบให้มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมจีน ออกแบบการวางโครงสร้างต่าง ๆ ตามหลักของฮวงจุ้ย[1]
พาร์กประกอบไปด้วย 7 พื้นที่ คือ เมนสตรีท, สหรัฐ, แฟนตาซีแลนด์, แอดเวนเจอร์แลนด์, ทูมอร์โรว์แลนด์, กริซลีกัลช์, มิสติกพอยต์ และทอยสตอรี่แลนด์ สวนสนุกมีพากษ์เป็นภาษาจีนกลาง จีนกวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ
แผนผังสวนสนุกและเครื่องเล่น
[แก้]เมนสตรีท ยูเอสเอ
[แก้]อาคารของถนนสายหลักนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเมนสตรีท ยูเอสเอ (Main Street, U.S.A.) ในดิสนีย์แลนด์ โดยทั้งหมดเกือบจะเหมือนกับอาคารในแอนะไฮม์ เช่นเดียวกับสวนสนุกดิสนีย์อื่น ๆ เมนสตรีท ยูเอสเอ ของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ทำหน้าที่เป็นทางเข้าสวนสนุก แผนเดิมมีร้านอาหารอยู่ใต้สถานีรถไฟ แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ การตกแต่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1890–1910
แม้ว่าจะคล้ายกับถนนสายหลักของแอนะไฮม์มาก แต่รูปแบบได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผู้อพยพชาวยุโรป พลาซ่าอินน์มีการออกแบบภายนอกเหมือนกันกับในดิสนีย์แลนด์ เลียนแบบร้านอาหารจีนคลาสสิกที่สร้างขึ้นโดยคู่รักชาวอเมริกันผู้มั่งคั่งที่หลงใหลในวัฒนธรรมจีน ร้านอาหารอีกแห่งคือ มาร์เก็ตเฮาส์เบเกอรี ชวนให้นึกถึงร้านเบเกอรีที่ก่อตั้งโดยปาตีซีเยชาวเวียนนา ซึ่งนำขนมหวานที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกมาจากราชสำนักออสเตรีย
ถนนสายหลักในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์แตกต่างจากถนนสายหลักในสวนสนุกอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่สร้างจากไม้แทนที่จะเป็นหิน ไม่มีรถรางที่ใช้ม้าลาก สุดถนนสายหลักคือปราสาทแห่งความฝันอันมหัศจรรย์ ได้รับการสร้างใหม่ในปี ค.ศ. 2020 โดยมีความสูงเป็นสองเท่าของปราสาทเจ้าหญิงนิทราก่อนหน้านี้ โดยโหนดจะรวมเข้ากับสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหญิง 13 พระองค์[2]
แอดเวนเจอร์แลนด์
[แก้]แอดเวนเจอร์แลนด์ (Adventureland) ของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสวนสนุกของดิสนีย์ทั้งหมด มีพื้นที่เกาะขนาดใหญ่เป็นที่ตั้งของบ้านต้นไม้ของทาร์ซาน (Tarzan's Treehouse) ซึ่งล้อมรอบด้วยจังเกิลครูซ (ล่องเรือจังเกิลริเวอร์) - เหมือนกับแม่น้ำแห่งอเมริกาในพื้นที่ธีมฟรอนเทียร์แลนด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้แอดเวนเจอร์แลนด์ยังเป็นสถานที่จัดการแสดง "เฟลติวัลออฟเดอไลออนคิง" (Festival of the Lion King) อีกด้วย การแสดงเวทีที่สร้างบรรยากาศใหม่ "โมอาน่า: อะโฮมคัมมิงเซเลบเบรชัน" (Moana: a Homecoming Celebration) เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 ณ จังเกิลจังชัน สถานที่จัดงานกลางแจ้งแห่งใหม่ โดยเป็นส่วนแรกของการขยายในระยะเวลาหลายปีที่เปิดเผยต่อสาธารณะ[3][4]
แฟนตาซีแลนด์
[แก้]แฟนตาซีแลนด์ (Fantasyland) มีปราสาทแห่งความฝันอันมหัศจรรย์ (เดิมชื่อปราสาทเจ้าหญิงนิทรา) เป็นสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นหลายแห่งที่สร้างจากภาพยนตร์ของดิสนีย์ เช่น การผจญภัยของวินนีเดอะพูห์ (The Many Adventures of Winnie the Pooh), ดัมโบเดอะฟายอิงเอเลเฟนต์ (Dumbo the Flying Elephant), อิตส์อะสมอลเวิลด์ (It's a Small World) และม้าหมุนของซินเดอเรลล่า (Cinderella's Carousel) นอกจากนี้ยังมีแฟนตาซีการ์เดนส์ (Fantasy Gardens) ที่สามารถพบกับตัวละครดิสนีย์ในคอสตูมได้ และป่าแห่งเทพนิยาย (Fairy Tale Forest)
ทูมอร์โรว์แลนด์
[แก้]ทูมอร์โรว์แลนด์ (Tomorrowland) ที่ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ได้รับการตกแต่งในรูปแบบสเปซพอร์ต ซึ่งเน้นไปที่การตกแต่งแบบเมทัลลิก โดดเด่นด้วยสีน้ำเงินและสีม่วง นับตั้งแต่เปิดสวนสนุก ก็มีการเพิ่มเครื่องเล่นที่ไม่เหมือนที่อื่นในทูมอร์โรว์แลนด์ของฮ่องกง เช่น ออโตเปีย (Autopia) และการเผชิญหน้าของสติทช์ (Stitch Encounter) เครื่องเล่นมาร์เวลแห่งแรกในสวนสนุกดิสนีย์ ประสบการณ์ไอรอนแมน (The Iron Man Experience) เปิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2017 ดินแดนแห่งนี้ยังมีบัซไลต์เยียร์แอสโตรบลาสเตอร์ส (Buzz Lightyear Astro Blasters) ในวันเปิดทำการด้วย แต่ถูกแทนที่ด้วยแอนท์-แมน และ เดอะวอสพ์: นาโนแบตเทิล! (Ant-Man and The Wasp: Nano Battle!) ซึ่งเปิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2019
ทอยสตอรี่แลนด์
[แก้]ทอยสตอรีแลนด์ (Toy Story Land) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 เป็นดินแดนรูปแบบใหม่แห่งแรกนับตั้งแต่เปิดฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ในปี ค.ศ. 2005 ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสวนสนุก ด้านหลังแฟนตาซีแลนด์ ทอยสตอรีแลนด์ใช้ไม้ไผ่ทำหน้าที่เป็นใบหญ้าขนาดยักษ์ล้อมรอบพื้นที่ เป็นดินแดนตัวละครจากภาพยนตร์ ทอย สตอรี่ เช่น วูดี้, เร็กซ์, และลักโซ จูเนียร์
ทอยสตอรีแลนด์ทำการตลาดโดยสวนสนุกในชื่อ "เอเชียเอ็กซ์คลูซีฟ" ในบางครั้งในชื่อทอยสตอรีเพลย์แลนด์ ซึ่งสถานที่เพียงแห่งเดียวนั้นตั้งอยู่ที่วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์พาร์ก ในเมืองมาร์น-ลา-วัลเล ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากทอยสตอรีแลนด์ได้รับความนิยมอย่างมากในสวนสนุกแห่งนี้ จึงสร้างแพร่หลายมากขึ้น คือในดิสนีย์ฮอลลีวูดสตูดิโอส์ในออร์แลนโดเปิดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 และอีกที่หนึ่งในเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์
กริซลีกัลช์
[แก้]เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ดินแดนแห่งนี้มีความคล้ายกับฟรอนเทียร์แลนด์ และคริตเตอร์คันทรี ดินแดนที่ชวนให้นึกถึงเมืองเหมืองแร่ร้างที่เรียกว่า "กริซลีกัลช์" (Grizzly Gulch) ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาและป่าไม้ โครงสร้างที่อยู่ตรงกลางคือรถเหมืองรันอะเวย์บิกกริซลีเมาเทน (Big Grizzly Mountain Runaway Mine Cars) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากกริซลีพีกในดิสนีย์แคลิฟอร์เนียแอดเวนเจอร์ เมืองนี้ถูกกำหนดให้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1888 ซึ่งเป็นวันที่โชคดีที่สุดของเดือนที่โชคดีที่สุดของปีที่โชคดีที่สุด โดยนักสำรวจที่ต้องการค้นหาทองคำ
มิสติกพอยต์
[แก้]มิสติกพอยต์ (Mystic Point) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เป็นดินแดนรูปแบบใหม่ในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สุดท้ายที่เปิดในส่วนขยายปัจจุบันของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1909 ณ ด่านหน้าของนักผจญภัยที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1896 ในป่าฝนที่หนาแน่นและไม่คุ้นเคย รายล้อมไปด้วยพลังลึกลับและเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นที่ตั้งคฤหาสน์มิสติก ซึ่งเป็นบ้านของลอร์ดเฮนรี มิสติก นักเดินทางและนักผจญภัยรอบโลก และอัลเบิร์ต ลิงจอมซนของเขา
เวิร์ดออฟโฟรเซน
[แก้]ดินแดนที่อยู่ด้านหลังแฟนตาซีแลนด์ จะมีเครื่องเล่นสองแบบในธีมภาพยนตร์ ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ เวิร์ดออฟโฟรเซน (Frozen World of Frozen) มีฉากอยู่ในอาณาจักรเอเรนเดล ดินแดนนี้จะมีเครื่องเล่น 2 เครื่องเล่น ได้แก่ รถไฟเหาะสำหรับครอบครัวรูปแบบเลื่อนซึ่งมีชื่อว่ารถเลื่อนเลื่อนของพเนจรโอเกน (Wandering Oaken's Slide Sleighs) และเครื่องเล่นโฟรเซนดาร์กไรด์ (Frozen dark ride) ที่คล้ายกับ โฟรเซนเอฟเวอร์อาฟเตอร์ (Frozen Ever After) ที่เอ็ปคอต เดิมมีกำหนดเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2020 แต่เลื่อนไปเป็นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
พื้นที่ในอนาคต
[แก้]สตาร์กเอ็กซ์โป
[แก้]เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 มีการประกาศว่าบางส่วนในทูมอร์โรว์แลนด์จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ธีมมาร์เวล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายครั้งใหญ่ในระยะเวลาหกปี ส่วนขยายนี้จะได้เห็นจากการแทนที่บัซไลต์เยียร์แอสโตรบลาสเตอร์ส ด้วยเครื่องเล่นที่มีแอนต์-แมน และวอสป์ ซึ่งมีชื่อว่า "แอนท์-แมน และ เดอะวอสพ์: นาโนแบตเทิล!"[5] สำหรับปี ค.ศ. 2019 และการก่อสร้างบนออโตเปียเดิม รวมไปถึงเครื่องเล่นใหม่ "อเวนเจอร์ควินเจ็ต" (Avengers Quinjet) อิงจากแฟรนไชส์ของอเวนเจอร์สที่จะแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2024
นักท่องเที่ยว
[แก้]อันดับ
ทั่วโลก |
ปี | นักท่องเที่ยว | การเปลี่ยนแปลง | % เปลี่ยน |
---|---|---|---|---|
16 | 2006 | 5,200,000[6] | ||
21 | 2007 | 4,150,000[7] | −1,050,000 | –20.1 |
18 | 2008 | 4,500,000[8] | +350,000 | +8.4 |
17 | 2009 | 4,600,000[9] | +100,000 | +2.2 |
16 | 2010 | 5,200,000[10] | +600,000 | +13 |
15 | 2011 | 5,900,000[10] | +700,000 | +13.5 |
14 | 2012 | 6,700,000[11] | +800,000 | +13.6 |
14 | 2013 | 7,400,000 [11] | +700,000 | +10.4 |
15 | 2014 | 7,600,000[12] | +200,000 | +2.7 |
19 | 2015 | 6,800,000[13] | –800,000 | –9.3 |
17 | 2016 | 6,100,000[14] | –700,000 | –10.3 |
18 | 2017 | 6,200,000[15] | +100,000 | +1.6 |
16 | 2018 | 6,700,000[16] | +500,000 | +8.1 |
21 | 2019 | 5,695,000[17] | –1,005,000 | –15.7 |
22 | 2020 | 1,700,000[18] | –3,995,000 | –70.1 |
33 | 2021 | 2,800,000[19] | +1,100,000 | +64.7 |
34 | 2022 | 3,400,000[20] | +600,000 | +21.4 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hong Kong Disneyland Feng Shui Secrets and Facts – The Disneyland Report – Disney News and Disney Secrets". The Disneyland Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 3 October 2010.
- ↑ Nov 20, Joey Inigo |; Articles, 2020 |-Featured; Disneyland | 0, Hong Kong (2020-11-20). "CLOSER LOOK: Hong Kong Disneyland officially unveils new Castle of Magical Dreams". MouseInfo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-15.
- ↑ Barnes, Brooks (2016-11-22). "Hong Kong Disneyland, Seeking Return to Profit, Plans $1.4 Billion Upgrade". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.
- ↑ "Hong Kong Disneyland in line for a $1.4-billion expansion, adding a 'Frozen' themed land in a bid to boost growth". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-11-22.
- ↑ "Ant-Man and the Wasp: Nano Battle! Coming to Hong Kong Disneyland in 2019".
- ↑ "TEA/ERA 2006 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2007. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
- ↑ "TEA/AECOM 2007 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
- ↑ "TEA/AECOM 2008 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 March 2013. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
- ↑ "TEA/AECOM 2009 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 June 2010. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
- ↑ 10.0 10.1 "TEA/AECOM 2011 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
- ↑ 11.0 11.1 "TEA/AECOM 2013 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 June 2014. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
- ↑ "TEA/AECOM 2014 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2015. p. 7. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
- ↑ "TEA/AECOM 2015 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
- ↑ "TEA/AECOM 2016 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
- ↑ "Hong Kong Disneyland Reports Record Number of International Guests Amid Growth in Overall Attendance". news-en.hongkongdisneyland.com. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
- ↑ "TEA/AECOM 2018 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ "TEA/AECOM 2019 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.
- ↑ "TEA/AECOM 2020 Global Attractions Attendance Report" (PDF). 15 October 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2021.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-28. สืบค้นเมื่อ 2023-07-05.