ชิงร้อยชิงล้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิงร้อยชิงล้าน
เป็นที่รู้จักกันในชื่อชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท
ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต
ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก
ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์
ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว
ชิงร้อย เดอะสตอรี่
ประเภทเกมโชว์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2566)
วาไรตี้โชว์
สร้างโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เสนอโดยศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
แสดงนำเท่ง เถิดเทิง
โหน่ง ชะชะช่า
แจ๊ส สปุ๊กนิก
มงคล สะอาดบุญญพัฒน์
บอล เชิญยิ้ม
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอช่อง 7 สี (2533 - 2540)
สตูดิโอกรุงเทพฯ (2541 - 2549)
เวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549 - 2566)
ความยาวตอน45 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 (2533 - 2540 / 2549 - 2554)
ททบ.5 (2541 - 2548)
ช่อง 3 (2541 / 2555 - 2558)
ช่องเวิร์คพอยท์ (2558 - 2566)
ออกอากาศ17 มกราคม พ.ศ. 2533 –
31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ประเภทเกมโชว์และวาไรตี้โชว์ ที่ออกอากาศบนหน้าจอโทรทัศน์ยาวนานที่สุด โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทางช่องเวิร์คพอยท์ ผลิตโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ประวัติ[แก้]

ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2533 ทางช่อง 7 สี โดยรูปแบบรายการเป็นรายการรูปแบบเกมโชว์ที่คัดผู้เข้าแข่งขันแบบคู่เพื่อที่จะลุ้นในรอบชิงล้าน และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมและตัวรายการ รวมไปถึงระยะเวลาการออกอากาศตามยุคสมัยความนิยม

ชื่อรายการ[แก้]

ชิงร้อยชิงล้าน (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2536)[แก้]

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบแรก เป็นรายการรูปแบบเกมโชว์ โดยจุดเด่นคือผู้เล่นในเกมจะเล่นเป็นคู่ คู่ละ 2 คน โดยรอบเกมในแต่ละช่วงจะมี ชิงบ๊วย, ชิงดำ และ ชิงล้าน โดยเกมที่ค่อนข้างเป็นภาพจำมากที่สุดก็คือเกมรอบ ชิงดำ ที่ผู้เล่นทั้ง 2 คนในทีมจะต้องช่วยกันตอบคำถาม โดยจะต้องผลัดกันตอบ ซึ่งหากคิดคำตอบที่จะตอบไม่ได้ จะต้องพูดว่า ชิงร้อยชิงล้าน ซึ่งกลายมาเป็นวลีสุดฮิตว่า ถ้าหากว่าคิดไม่ออกบอกชิงร้อยชิงล้าน นอกจากนี้ได้ปรับรูปแบบเกมในรายการตั้งแต่ รอบชิงบ๊วยที่จากเดิมจะมีคลิปวิดีโอคำใบ้ปริศนาทั้ง 2 มาเป็นทายตัวปริศนาซึ่งได้นำ หม่ำ จ๊กมก มาเป็นตัวปริศนาประจำรายการ, รอบชิงดำปรับปรุงเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันและทายใจ, รอบชิงล้านที่ปรับเปลี่ยนจากเกมทายใจผู้เล่นจำนวน 4 ข้อ มาเป็นการเปิดป้ายหาเลข 0 ทั้ง 6 แทน

ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537) / ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2536 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (ท็อปซีเคร็ท) และ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (ครั้งหนึ่งในชีวิต)

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 2 เป็นการปรับปรุงรูปแบบเกมรายการใหม่ทั้งหมด จุดเด่นคือเกม จริงหรือไม่ คำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความลับของดาราผู้เข้าแข่งขัน ในช่วงแรกจะมีผู้เล่นด้วยกันถึง 2 คู่ 4 คน ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นผู้เล่นเป็น 2 ทีม ทีมละ 3 คน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งรูปแบบของเนื้อหารายการยังคงเหมือนเดิม แต่จะมีจุดเพิ่มเติมคือเน้นไปทางนำเสนอประโยชน์เพื่อเป็นอุทาหรณ์และให้แง่คิดแก่ผู้ชม พร้อมทั้งสร้างเสียงหัวเราะให้กับนักแสดงร่วมรายการอย่างหม่ำ จ๊กมก และ เอ็ดดี้ ผีน่ารัก

ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 3 เป็นการปรับรูปแบบรายการครั้งใหญ่ ตั้งแต่ขยายเวลาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง, ฉากรายการที่กว้างยิ่งขึ้น, รูปแบบเกมของรายการที่ได้ถูกเพิ่มมาใหม่ ทั้งเกมทายดาราปริศนา หรือในชื่อ ยังจำได้ไหม และช่วงสะสมเงินรางวัลในท้ายช่วงของรายการ รวมไปถึงการแจกเงินรางวัลในรายการที่มากยิ่งขึ้น ส่วนผู้เข้าแข่งขันได้ปรับปรุงจากทีมละ 3 คนเป็น คู่ละ 3 คู่ ในส่วนรอบเกมจากรูปแบบเก่าตั้งแต่จริงหรือไม่ และ ชิงดำ ได้นำกลับอีกครั้ง แต่ภายหลังไปเน้นจริงหรือไม่เป็นหลัก

ในส่วนนักแสดงร่วมรายการได้เพิ่มเท่ง เถิดเทิง มาเป็นนักแสดงสมทบร่วมกับหม่ำ จ๊กมก เมื่อปี พ.ศ. 2540

ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2551) / ชิงร้อยชิงล้าน (พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 (ชะชะช่า) และวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (ชิงร้อยชิงล้าน)

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 4 เป็นการปรับปรุงรูปแบบรายการอีกครั้ง ตั้งแต่ขยายฉากรายการที่ให้ใหญ่และอลังการยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เพิ่ม แก๊งสามช่า กลุ่มนักแสดงตลกที่เป็นนักแสดงร่วมประจำรายการ

ในรูปแบบแรกของเกมในรายการยังคงใช้รูปแบบของ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม บางส่วน แต่ได้มีการปรับปรุงรอบคำถามจริงหรือไม่ โดยปรับเพิ่มจากเดิมเป็นทายคำถามเกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันมาเพิ่มเป็นทายแก๊งสามช่าว่าสามารถทำได้หรือไม่จากผู้กล้าแก๊งสามช่า จนกระทั่งปีถัดไป พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับรูปแบบรายการ ซึ่งได้เพิ่มละครช่วงสามช่าและมีช่วงเกมที่ปรับเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่ ทำได้หรือไม่ได้ จาก ผู้กล้าท้าแก๊งสามช่า, ใครกันหนอของสามช่ารับเชิญ

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2545 ได้ปรับรูปแบบใหม่ให้ฉากใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและได้มีการปรับปรุงรูปแบบเนื้อหารายการตามช่วงเวลา จนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้กลับไปใช้ชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน แต่รูปแบบเนื้อหารายการยังคงเดิม และปรับเปลี่ยนรูปแบบช่วงเกมต่างๆ หลังละครสามช่า

ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบพิเศษ เป็นการฉลองครบรอบ 10 ปีของชิงร้อยชิงล้านและครบรอบ 20 ปี ในวงการพิธีกรของมยุรา เศวตศิลา โดยจะมีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนพิธีกรชายทุกๆ เทป ในส่วนรูปแบบของรายการยังคงเป็นชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เหมือนเดิม

ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 5 เป็นครั้งแรกที่มีการนำรายการมาออกอากาศในเวลากลางวัน ในช่วงแรกของการออกาอากาศยังคงใช้องค์ประกอบของ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ต่อมาได้มีการปรับปรุงเนื้อหารายการให้เน้นวาไรตี้โชว์มากขึ้น และลดส่วนในการแจกเงินรางวัลให้กับแขกรับเชิญในรายการ

อย่างไรก็ตามก็ได้มีการปรับเปลี่ยนพิธีกรหญิงเนื่องจาก มยุรา เศวตศิลา ได้ถอนตัวออกไป โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิธีกรหญิงรับเชิญมาหมุนเวียนกันทุกๆ เทป จนกระทั่งได้ วรัทยา นิลคูหา มาเป็นพิธีกรหญิงประจำรายการ

ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2566)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 6 เป็นการนำชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ มาปรับปรุงใหม่ โดยปรับปรุงฉากรายการและปรับรูปแบบเนื้อหาละครสามช่าให้มีความยาวมากขึ้น รวมไปถึงเพิ่มนักแสดงสมทบและรับเชิญจากละคร 3 ช่า พร้อมทั้งมีช่วงเกมท้ายรายการ

อย่างไรก็ตามได้มีการปรับปรุงรายการทั้งรูปแบบรายการ, พิธีกรและนักแสดงประจำรายการ รวมถึงความยาวและเวลาการออกอากาศ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้เปลี่ยนพิธีกรชายมาเป็น ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ในส่วนของพิธีกรหญิงได้ถูกลดออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับเปลี่ยนนักแสดงประจำรายการนำโดย แจ๊ส สปุ๊กนิก, บอล เชิญยิ้ม และ นาย มงคล ซึ่งเข้ามาแทน หม่ำ จ๊กมก, ส้มเช้ง สามช่า และ พัน พลุแตก ที่ถอนตัวจากนักแสดงประจำรายการ

ชิงร้อย เดอะสตอรี่ (พ.ศ. 2566)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มีนาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชิงร้อยชิงล้านรูปแบบที่ 7 เป็นการปรับรูปแบบเนื้อหารายการครั้งใหญ่ โดยปรับปรุงเนื้อหาของละครสามช่ามาเป็นละครจำลองชีวิตเหตุการณ์ของแขกรับเชิญที่มาในรายการ[1] ซึ่งต่อยอดมาจาก ชิงร้อยชิงล้าน เดอะบิ๊ก ที่เคยออกอากาศเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม และ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565[2] และเป็นครั้งแรกที่ไม่มีช่วงแข่งเกมในเนื้อหาของรายการ รวมทั้งชื่อรายการได้ตัดคำว่า "ชิงล้าน" ออก

ผู้ดำเนินรายการ[แก้]

พิธีกรและผู้ร่วมดำเนินรายการ[แก้]

พิธีกรรับเชิญ[แก้]

การออกอากาศ[แก้]

ชิงร้อยชิงล้านได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดังต่อไปนี้

  • ช่อง 7 (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540, 4 มกราคม พ.ศ. 2549 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
  • ช่อง 3 (7 มกราคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541, 1 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
  • ช่อง 5 (7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548)
  • ช่องเวิร์คพอยท์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 31 ธันวาคม พ.ศ 2566)

ระยะเวลาออกอากาศ[แก้]

ระยะเวลาออกอากาศของ ชิงร้อยชิงล้าน
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วันออกอากาศ เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 พุธ 22:00 - 23:00 น. 17 มกราคม 2533 - 15 กันยายน พ.ศ. 2536
22 กันยายน 2536 - 8 มิถุนายน 2537
15 มิถุนายน 2537 - 27 ธันวาคม 2538
22:15 - 00:10 น. 3 มกราคม 2539 - 31 ธันวาคม 2540
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 22:00 - 24:00 น. 7 มกราคม - 25 กุมภาพันธ์ 2541
4 มีนาคม - 30 กันยายน 2541
สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 7 ตุลาคม 2541 - 2543
22:00 - 23:45 น. 2543 - 2544
22:20 - 00:05 น. 2544 - 2545
22:10 - 23:40 น. 2545 - 2547
22:10 - 24:00 น. 2547 - 28 ธันวาคม 2548
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 22:25 - 00:20 น. 11 มกราคม 2549 - 30 มกราคม 2551
22:30 - 00:25 น. 6 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม 2551
2 เมษายน 2551 - 1 เมษายน 2552
อังคาร 7 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2552
22:35 - 00:25 น. 12 พฤษภาคม 2552 - 26 เมษายน 2554
22:40 - 00:30 น. 3 พฤษภาคม - 25 ตุลาคม 2554
22:20 - 00:10 น. 1 พฤศจิกายน - 27 ธันวาคม 2554
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อาทิตย์ 15:00 - 17:00 น. 1 มกราคม 2555 - 8 มิถุนายน 2557
14:45 - 16:45 น. 15 - 29 มิถุนายน 2557
15:00 - 17:00 น. 6 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2557
14:45 - 16:30 น. 7 กันยายน 2557 - 28 มิถุนายน 2558
ช่องเวิร์คพอยท์ 14:30 - 17:00 น. 5 กรกฎาคม 2558
14:30 - 16:40 น. 12 กรกฎาคม - 4 ตุลาคม 2558
14:30 - 16:45 น. 10 มกราคม - 3 เมษายน 2559
14:45 - 17:00 น. 10 เมษายน 2559 - 28 พฤษภาคม 2560
21:15 - 23:30 น. 4 - 11 มิถุนายน 2560
21:15 - 22:45 น. 18 - 25 มิถุนายน 2560
14:45 - 17:00 น. 2 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2560
14:30 - 16:00 น. 7 มกราคม 2561 - 2 มิถุนายน 2562
14:15 - 15:45 น. 9 มิถุนายน 2562 - 27 ธันวาคม 2563
14:30 - 16:00 น. 3 มกราคม 2564 - 2 มกราคม 2565
15:00 - 16:00 น. 9 มกราคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

ชื่องานที่มอบรางวัล ประเภทรางวัล ผู้ที่ได้รับรางวัล / รายการที่ได้รับรางวัล วัน / ปีที่ได้รับรางวัล
WYNE BERG ACADEMY โล่ประกาศเกียรติคุณพิธีกรยอดเยี่ยม ปัญญา นิรันดร์กุล 9 ธันวาคม 2533 [4]
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 10 ประจำปี 2533 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 4 มกราคม 2534 [5]
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2534 รายการประเภทเกมโชว์ดีเด่น 18 มกราคม 2535
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2535 ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น ปัญญา นิรันดร์กุล 22 มกราคม 2536
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 13 ประจำปี 2536 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ท็อปซีเคร็ท (TOP SECRET) 21 มกราคม 2537
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 14 ประจำปี 2537 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น มยุรา เศวตศิลา 13 มกราคม 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1994 เกมโชว์ยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 17 มกราคม 2538
พิธีกรหญิงในใจผู้ฟัง มยุรา เศวตศิลา
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2537 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น 20 มกราคม 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1995 เกมโชว์ยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต (ONCE) 2538
รางวัล VOTE AWARDS 1996 รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (SUPERGAME) 2539
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 16 ประจำปี 2539 รายการแข่งขันชิงรางวัลดีเด่น 17 มกราคม 2540
ASIAN TELEVISION AWARDS ’ 99 HIGHLY COMMENDED รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า (CHA CHA CHA) 2542
รางวัลเทพทอง บุคคลดีเด่นด้านวิทยุโทรทัศน์ ไม่ทราบวันที่ได้รับรางวัล
รางวัล TOP AWARDS 2000 พิธีกรหญิงยอดเยี่ยม 22 ธันวาคม 2543
ASIAN TELEVISION AWARDS 2002 HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST ENTERTAINMEMT PROGRAMME 4 ธันวาคม 2545
รางวัล TOP AWARDS 2004 เกมโชว์ยอดเยี่ยม 15 กุมภาพันธ์ 2548 [5]
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2006 รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม มยุรา เศวตศิลา 22 ธันวาคม 2549
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า
รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2007 ผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรชายยอดนิยม ปัญญา นิรันดร์กุล 28 กุมภาพันธ์ 2550
รางวัลผลโหวตสูงสุดประเภทพิธีกรหญิงยอดนิยม มยุรา เศวตศิลา
ผลโหวตสูงสุดประเภทรายการยอดนิยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า
รางวัล TOP AWARDS 2008 เกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 27 มกราคม 2552 [6]
รางวัล TOP AWARDS 2009 22 มกราคม 2553
พิธีกรยอดเยี่ยม ปัญญา นิรันดร์กุล
รางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2552 STAR ENTERTAINMENT AWARDS 2009 สาขาโทรทัศน์ รางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 9 พฤษภาคม 2553
สาขาโทรทัศน์ รางวัลพิธีกรและดำเนินรายการหญิงยอดเยี่ยม มยุรา เศวตศิลา
รางวัล TOP AWARDS 2010 ภาคบันเทิง รายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม รายการ ชิงร้อยชิงล้าน 28 มกราคม 2554
รางวัล "พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ปี 2555 รางวัลพิธีกรผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น ปัญญา นิรันดร์กุล 30 สิงหาคม 2555
ASIAN TELEVISION AWARDS 2012 HIGHLY COMMENDED ประเภท BEST COMEDY PROGRAMME รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์เดย์ 6 ธันวาคม 2555
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25 ประจำปี 2555 ผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่นเมขลามหานิยมแห่งปี มยุรา เศวตศิลา 4 พฤษภาคม 2556 [7]
ASIAN TELEVISION AWARDS 2013 รางวัล WINNER BEST ENTERTAIANMENT PRESENTER / HOST ปัญญา นิรันดร์กุล 5 ธันวาคม 2556
รางวัล Maya Awards 2020 (มายามหาชน ประจำปี 2563) พิธีกรชายดีเด่น ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ 20 ตุลาคม 2563 [8]

กระแสตอบรับของรายการ[แก้]

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13 - 21 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้าน ร้อยละ 20.3 [9]

รายการย่อย[แก้]

ชิงร้อยชิงล้าน ฮามหัศจรรย์วันหยุด หรือ ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด
รายการที่ออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นการนำรวมไฮไลท์ของละครสามช่าและช่วงการแสดงจากคำถามในช่วง 3 ช่ารับเชิญ, แข่งเกมแก๊งสามช่า ในส่วนของผู้ดำเนินรายการ ช่วงแรกจะนำแก๊งสามช่าทั้ง 4 คนมาเป็นผู้ดำเนินรายการ จนเมื่อปีพ.ศ. 2550 เหลือเพียงแค่ โหน่ง ชะชะช่า และ ส้มเช้ง สามช่า ที่เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7) เวลา 10.00 - 11.00 น.
ชิงร้อยชิงล้าน ฮาฮอลิเดย์
รายการที่ออกอากาศในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในรูปแบบแรกยังคงใช้รวมไฮไลท์เช่นเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด แต่ว่าเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงเนื้อหารายการกลายมาเป็นละครสามช่าตอนพิเศษที่ฉายในเฉพาะวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งมีความยาวมากกว่าละครสามช่าในรายการหลัก และเพิ่มผู้ดำเนินรายการอีกคือ ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน และ พัน พลุแตก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3) และ ช่องเวิร์คพอยท์ เวลา 10.00 - 11.00 น.

รายการพิเศษ[แก้]

ชิงล้านชิง 100 ล้าน
ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550[10] เป็นรายการพิเศษที่ได้รับความร่วมมือกับทรูมูฟซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการพิเศษนี้ โดยคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่มาจากผู้ชมทางบ้านของลูกค้าของทรูมูฟทั้ง 100 คน จากการจับรายชื่อสัปดาห์ละ 20 คน เพื่อมาร่วมเล่นเกมในรายการพิเศษ เพื่อลุ้นทองคำมูลค่า 100 ล้านบาท
ชิงร้อยชิงล้าน บันทึกความทรงจำ
ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 และ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นรายการพิเศษ ถวายความอาลัยในช่วงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นการนำเสนอไฮไลท์ต่างๆ ของชิงร้อยชิงล้านตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เนื้อหาของรายการและรูปแบบเกมที่ปรากฏในแต่ละยุค[11]
ชิงร้อยชิงล้าน Star Memories
ออกอากาศเมื่อวันที่ 12 และ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นรายการพิเศษ ถวายความอาลัยในช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื้อหามีแนวทางคล้ายกับ ชิงร้อยชิงล้าน บันทึกความทรงจำ แต่จะเน้นไฮไลท์ของแขกรับเชิญที่เคยร่วมแข่งขันในรายการตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วง Grand opening star ของผู้เข้าแข่งขันเทปแรกในยุคต่างๆ, ช่วงมาเต็มพิกัด เรื่องราวกลุ่มแขกรับเชิญต่างๆ ที่มาในรายการ, ช่วงบันทึกร้อยเรื่องราว รวมเรื่องราวของดารารับเชิญหรือพิธีกรที่เกิดขึ้นในรายการ และช่วงอลังการงานผู้กล้า ที่นำเสนอเรื่องราวของผู้กล้าที่นำโชว์สุดอลังการมาท้าแก๊งสามช่า[12]
ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว ครบรอบ 32 ปี ชิงร้อยชิงล้าน
ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นเทปพิเศษของชิงร้อยชิงล้าน ที่เล่าย้อนความเป็นมาของแก๊งสามช่ารุ่นปัจจุบัน ซึ่งเทปดังกล่าว ได้มีข่าวลือว่าเป็นเทปที่ทางรายการ เตรียมไว้ออกอากาศเป็นเทปสุดท้าย ซึ่งภายหลังทางเวิร์คพอยท์ได้เปิดเผยว่า “จะยังคงมีการออกอากาศของรายการชิงร้อยชิงล้านต่อไป โดยปกติแล้วทางรายการจะมีการปรับปรุงรูปแบบรายการไปตามปกติอยู่แล้ว ขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะยุติรายการตามกระแสข่าวแต่อย่างใด แต่จะมีการปรับใหญ่ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา”[13]

ส่วนที่เกี่ยวข้อง[แก้]

20 ปี แก๊ง 3 ช่า
ขบวนการ 3 ช่า

การซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในต่างประเทศ[แก้]

ชิงร้อยชิงล้านเป็นรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในไทยและต่างประเทศ ทำให้มีการถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในแบบฉบับของประเทศนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ไป คือ เวียดนาม และ อินโดนีเซีย

ชื่อประเทศ ชื่อรายการ สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ จำนวนการออกอากาศ สถานะ
เวียดนาม เวียดนาม Kỳ Tài Thách Đấu Wow Wow Wow HTV7 4 ฤดูกาล ยุติการออกอากาศ
อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย Cring Cring Wow Wow Wow SCTV 1 ฤดูกาล / 4 ตอน

อ้างอิง[แก้]

  1. ‘ชิงร้อย THE STORY’ ประเดิมความฮาผ่านตำนาน ‘เชิญยิ้ม’ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
  2. แก๊งสามช่าส่ง BIG SURPRISE กับเรื่องราวของแขกรับเชิญสุดบิ๊ก ‘วงคาราบาว’ ใน ‘ชิงร้อย ชิงล้าน THE BIG’ 21 ธ.ค.นี้
  3. ก่อนหน้านี้เป็นพิธีกรรับเชิญในชิงร้อยชิงล้าน ซันไซน์เดย์ เทปวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555, 23 มิถุนายน 2556, 23 กุมภาพันธ์ 2557, 4 พฤษภาคม 2557 และ 1 มิถุนายน 2557
  4. "WYNE BERG ACADEMY" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  5. 5.0 5.1 watchlakorn,ชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง 11 มกราคม 2554, วันที่สืบค้น 10 เมษายน 2559 จาก www.watchlakorn.in
  6. ท็อปอวอร์ด 2008
  7. ประกาศผลรางวัลเมขลา ครั้งที่ 25
  8. "สรุปผลรางวัล MAYA AWARDS 2020 เวทีแห่งเกียรติยศคนบันเทิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  9. "โจ๋กรุงเทใจ "ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด" สุดยอดความนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-31.
  10. ปัญญา ย้ำ! อย่าพลาดวินาทีสำคัญ “ชิงล้าน ลุ้นชิง 100 ล้านกับทรูมูฟ”
  11. ชิงร้อย ชิงล้าน เปิดบันทึกแห่งความทรงจำ กับความสำเร็จที่ผ่านมา ตลอด 18 ปี
  12. ร่วมถวายอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ในชิงร้อย ชิงล้าน Star Memories ตอนที่ 2
  13. ‘เวิร์คพอยท์’แจงแล้วปมข่าวลือสะพัด ‘ชิงร้อยชิงล้าน’จ่อปิดตำนานความฮา 31 ปี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]