ยกสยามปี 1
ยกสยามปี 1 | |
ออกอากาศ | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 7 มกราคม พ.ศ. 2552 |
สถานีโทรทัศน์ | โมเดิร์นไนน์ทีวี |
ผู้ดำเนินรายการ | ปัญญา นิรันดร์กุล |
ผลิตโดย | บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) |
ยกสยาม เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ที่เน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัด ถ่ายทอดผ่านเกมได้อย่างสนุกสนาน ออกอากาศตั้งแต่ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.30 - 18.55 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 18.30 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล โดยปีสองของรายการ ดูที่ ยกสยามปี 2
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานแผ่นประกาศนียบัตรจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ม.ว.ก. [1] เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม
กติกาการแข่งขัน
กติกาทั่วไป
การแข่งขันแบ่งเป็น 19 สาย สายละ 4 ทีม แต่ละรอบ จะแข่งรอบละ 2 จังหวัด จังหวัดหนึ่งจะมีตัวแทน 10 ท่าน ซึ่งมีอาชีพแตกต่างกัน โดยมีหัวหน้าทีมเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนั้นๆ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยเป็นคำถามแบบตัวเลือกสองข้อ (ก และ ข) โดยพิธีกรจะให้เวลาปรึกษาในทีม 1 นาที เมื่อหมดเวลา หัวหน้าทีมจะยกป้ายคำตอบก่อน แล้วลูกทีมจึงยกป้ายคำตอบพร้อมกัน ทีมใดทำคะแนนได้ถึง 5 ข้อก่อน (สายที่ 1-9) หรือ 3 ข้อก่อน (สายที่ 10 เป็นต้นไป) จะเป็นผู้ชนะ เจอ กับอีก 2 จังหวัดที่แข่งขันกัน ชนะ พบกับทีมชนะ เพื่อหาทีมชนะของแต่ละสาย เข้ารอบที่ 1 รอบชิงสาย จนกระทั่งมีทีมชนะเพียงทีมเดียวเข้าชิงเงินรางวัล 10 ล้านบาท
การยกป้ายคำตอบ
การยกป้ายคำตอบในเกมจะมีสองลักษณะ คือ การยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีม คือการที่ทีมจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบเหมือนกันทั้งทีมทั้งจังหวัด หากปรากฏว่าเป็นคำตอบที่ผิดจะต้องตกรอบไปทั้งทีมทั้งจังหวัด แต่ตั้งแต่คู่ระหว่างสุโขทัยและนนทบุรีในรอบที่ 2 เป็นต้นไป ถ้าตอบเหมือนกันหมดทั้ง 20 คน และตอบถูกก็จะเข้ารอบไปทั้ง 2 จังหวัด และการยกป้ายคำตอบแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการยกป้ายคำตอบคละกันระหว่าง ก และ ข หากทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกมากที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะได้คะแนนไป และทีมจังหวัดที่มีป้ายคำตอบถูกน้อยที่สุดทีมจังหวัดนั้นจะไม่ได้คะแนนไป หรือถ้าจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งหรือทั้ง 2 จังหวัดยกป้ายคำตอบของทีมจังหวัดตัวเองต่างกันซึ่งป้ายคำตอบเหมือนกันทั้ง 2 จังหวัดด้วย จะได้คะแนนทีมละ 1 คะแนน ถือว่าเสมอเท่ากัน ไม่ว่าทีมจังหวัดจะยกป้ายคำตอบถูกมากหรือน้อย แต่ถ้าทั้ง 2 ทีมจังหวัดมีคะแนน 5 คะแนน (สายที่ 1-9) หรือ 3 คะแนน (สายที่ 10 เป็นต้นไป) เท่ากันทั้ง 2 ทีมจังหวัด จะต้องเล่นเกมตอบคำถามตัดสินในข้อต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทีมจังหวัดที่ชนะเข้ารอบต่อไปได้ หรือตกรอบทั้ง 2 จังหวัด หรือเข้ารอบทั้ง 2 จังหวัด
รอบที่ 3
จะใช้การแข่งขันทั้งหมด 3 ชุด โดยกติกาอื่นๆ ยังคงเดิม ถ้าจังหวัดใดทำคะแนนได้ 2 ชุดใน 3 ชุดก่อนก็จะเข้าสู่รอบที่ 4 ในกรณีที่ต้องเล่นชุดตัดสิน จะต้องเล่นเกมตอบคำถามตัดสินทีละข้อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ทีมจังหวัดที่ชนะเข้ารอบต่อไปได้
รอบที่ 4
มีทีมเข้ารอบทั้งหมด 5 ทีม โดยจะแข่งแบบพบกันหมด ทีมละ 4 นัด โดยกติกาทีมใดได้ 5 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะจะได้ 1 คะแนน ส่วนผู้แพ้จะไม่มีคะแนน เมื่อแข่งครบทีมละ 4 นัด ทีมที่มีคะแนนรวมมากเป็นอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 จะเข้าไปชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ
จะมีทั้งหมด 3 ยก แต่ละยกจะมีกติกาที่แตกต่างกัน โดยยกที่ 1 และยกที่ 2 ผู้ชนะจะได้ 1 คะแนน ส่วนในยกที่ 3 ผู้ชนะจะได้ 2 คะแนน เมื่อแข่งครบ 3 ยกจังหวัดที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ในกรณีที่เสมอกัน 2 ต่อ 2 คะแนนจะมียกตัดสิน
ยกที่ 1
ยกที่ 1 เป็นการแข่งแบบเล่นเดี่ยว โดยเริ่มแรกพิธีกรจะเกริ่นนำก่อนเข้าสู่คำถาม จากนั้นจังหวัดจะต้องส่งตัวแทนมาตอบคำถามทีละคนภายในเวลา 30 วินาที จากนั้นจึงเข้าสู่คำถาม โดยตัวแทนจะมีเวลา 30 วินาทีในการตัดสินใจตอบ ใครตอบผิดก็จะโดนคัดออก จนเหลือคนสุดท้ายคือหัวหน้าทีม จังหวัดใดที่สมาชิกในทีมต้องออกจากการแข่งขันหมดก่อนจะเป็นผู้แพ้
ยกที่ 2
ยกที่ 2 เป็นการแข่งระหว่างหัวหน้าทีมกับลูกทีม 1 ต่อ 9 การตอบคำถามเหมือนยกที่ 1 โดยหัวหน้าทีมเป็นผู้เลือกลูกทีมฝั่งตรงข้ามขึ้นมาตอบคำถาม ถ้าหัวหน้าทีมตอบถูก และลูกทีมฝั่งตรงข้ามตอบผิด จะถือว่าหัวหน้าสามารถปราบได้ แต่ถ้าหัวหน้าทีมตอบผิดเกมจะยุติทันที และนับจำนวนคนที่หัวหน้าทีมปราบได้ ทีมไหนที่หัวหน้าทีมปราบได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะในยกนี้
ยกที่ 3
ยกที่ 3 ใช้กติกาแบบดั้งเดิมของรายการ แข่งขันแบบ 10 ต่อ 10 แต่รูปแบบที่แตกต่างออกไปคือ จะปรึกษาหารือกันไม่ได้ พิธีกรให้เวลา 10 วินาที เมื่อพิธีกรสั่งยกจะยกพร้อมกันทั้งหมด ทีมใดทำถึง 10 คะแนนก่อนจะเป็นผู้ชนะในยกนี้
ผลการแข่งขัน
รอบแรก
หมายเหตุ: x ตอบผิดทั้งหมด 10 คน ตกรอบ
รอบที่ 2
หมายเหตุ: x ตอบผิดทั้งหมด 10 คน ตกรอบ รอบที่ 3
|