นักร้องสองไมค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักร้องสองไมค์
ประเภทประกวดร้องเพลง
สร้างโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เสนอโดยศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนฤดูกาล2 (ฤดูกาล)
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23
ออกอากาศ23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 (ซีซั่น 1)
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ซีซั่น 2)

นักร้องสองไมค์ เป็นรายการประกวดร้องเพลง ที่เปิดโอกาสให้บุคคลไม่จำกัดเพศและอายุ การศึกษา และอาชีพ เข้ามาร่วมร้องเพลงกับศิลปินชื่อดังของประเทศในทุก ๆ แนวเพลง ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ โดยออกอากาศมาแล้ว 2 ซีซั่น

รูปแบบรายการ[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องร้องเพลงร่วมกับศิลปินทั่วประเทศทุก ๆ แนวเพลง จำนวน 10 ชุด ชุดละ 3 คน รวม 30 คน โดยที่ศิลปินจะเตรียมเพลงมาให้ผู้เข้าแข่งขัน หากผู้เข้าแข่งขันสามารถผ่านด่านศิลปินได้ทั้ง 30 คน จะได้รับถ้วยรางวัลจากรายการนักร้องสองไมค์กลับบ้านไป[1]

ซีซั่นที่ 1[แก้]

ในแต่ละรอบ กรรมการและศิลปินที่ร่วมร้องเพลงกับผู้เข้าแข่งขันจะมีคะแนนให้คนละ 10 คะแนน รวม 3 คน เป็นคะแนนสูงสุด 30 คะแนน หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนน 23-29 คะแนน จะถือว่า "ผ่าน" ได้รับเงินรางวัลสะสมรอบละ 5,000 บาท และได้แข่งขันต่อ แต่หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนน 30 คะแนนเต็ม จะถือว่า "แจ็คพอตแตก" จะได้รับเงินรางวัลในรอบนั้น 50,000 บาท และยังได้แข่งขันต่อเช่นกัน[2]

ซีซั่นที่ 2[แก้]

เป็นรูปแบบการแข่งขันที่เรียกว่า "คูณสาม" จะมีหัวหน้าคณะกรรมการ คือ หนึ่ง - จักรวาร เสาธงยุติธรรม มาเป็นกรรมการตัดสินหลักทั้งซีซั่น โดยคะแนนจะมาจากคะแนนของหนึ่งและศิลปิน 2 ท่านที่ไม่ได้ร่วมร้องเพลงกับผู้เข้าแข่งขันในแต่ละรอบภายในศิลปินชุดเดียวกัน รวม 10 คะแนน ซึ่งหลังจบ 1 ชุด หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนน 23-29 คะแนน จะถือว่า "ผ่าน" ได้รับเงินรางวัลสะสมรอบละ 10,000 บาท และได้แข่งขันต่อ แต่หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนน 30 คะแนนเต็ม จะถือว่า "แจ็คพอตแตก" จะได้รับเงินรางวัลในรอบนั้น 40,000 บาท (มาจากเงินรางวัลสะสม 10,000 บาทเดิม บวกกับเงินรางวัลโบนัสอีก 30,000 บาท) และยังได้แข่งขันต่อเช่นกัน[3]

พิธีกร[แก้]

พิธีกร ฤดูกาล
1 2
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์

กรรมการ[แก้]

กรรมการ ฤดูกาล
1 2
เท่ง เถิดเทิง
สลา คุณวุฒิ
หนู มิเตอร์
เพชร สหรัตน์
จักรวาร เสาธงยุติธรรม

อ้างอิง[แก้]

  1. "เสน่ห์ที่แตกต่าง". ไทยรัฐ. 1 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ตระกูล "ไมค์" ใครเลิศสุด!!!". เฟซบุ๊ก. 15 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "นักร้องสองไมค์ Season 2 | EP.01 | 24 พ.ค. 63 Full EP". ยูทูบ. 24 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]