เวทีทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เวทีทอง เวทีเธอ)
เวทีทอง
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยแจ๊ส ชวนชื่น (พ.ศ. 2559 – 2565)
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา (พ.ศ. 2562 – 2565)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล
ประภาส ชลศรานนท์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอ ช่อง 7 สี
สตูดิโอกรุงเทพ
เวิร์คพอยท์ สตูดิโอ
ความยาวตอน60 นาที (พ.ศ. 2559, พ.ศ. 2561 - 2565)
75 นาที (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560)
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์ (2559 - 2565)
ระบบภาพ576p (ความคมชัดมาตรฐาน)
ระบบเสียงสเตอริโอ
ออกอากาศครั้งแรก14 ตุลาคม พ.ศ. 2532
ออกอากาศ14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 –
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ทางช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทางช่อง 5 เมื่อวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้ผลิตรายการใหม่ รายการตู้ซ่อนเงินขึ้นมาแทน

ตั้งแต่วันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางช่องเวิร์คพอยท์[1][2] ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 13:00 - 14:00 น.[3] ก่อนเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยช่องเวิร์คพอยท์ได้นำรายการใหม่ Game Room ห้องชนเกม 20 กุมภาพันธ์ 2565 จนถึงวันที่ 29 มกราคม 2566 ได้นำละครซิทคอมใหม่ เจ๊ไฝยอดนักสืบ มาออกอากาศแทน

ประวัติ[แก้]

รายการเวทีทองออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพ,ดารา,ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านสมัครเล่นที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หลังวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษา ซึ่งรายการมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง[ต้องการอ้างอิง] โดยมีการเปลี่ยนชื่อรายการด้วย ดังนี้

ชื่อ ช่วงปี ระยะเวลาของชื่อรายการ ออกอากาศ หมายเหตุ
เวทีทอง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 4 ปี 7 เดือน 14 วัน ช่อง 7 ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" จนถึง พ.ศ. 2547 และใช้อีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 และกลับมาใช้อีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2562 จนถึง พ.ศ. 2565
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 2 ปี 8 เดือน 27 วัน ช่อง 5
20 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 13 มกราคม พ.ศ. 2550 1 ปี 4 เดือน 24 วัน
1 กันยายน พ.ศ. 2562 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 2 ปี 5 เดือน 12 วัน ช่องเวิร์คพอยท์
เวทีทอง เนเวอร์ดาย (NEVER DIE) 4 มิถุนายน พ.ศ. 2537 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 3 ปี 11 เดือน 26 วัน ช่อง 7
ช่อง 3
เวทีทอง เมจิก (MAGIC) 6 มิถุนายน พ.ศ. 2541 - 27 เมษายน พ.ศ. 2545 3 ปี 10 เดือน 21 วัน
ช่อง 5
เวทีทอง ซิกส์ทีน (16TH) 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2548 1 ปี 6 เดือน 6 วัน
เวทีทอง เวทีเธอ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 3 ปี 7 เดือน 15 วัน ช่องเวิร์คพอยท์ รายการ "เวทีทอง" กลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ" หลังจากที่ห่างหายไปถึง 8 ปี 11 เดือน 28 วัน
ภายหลังจากยุคเวทีทองในยุคที่ กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ และ หม่ำ - เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา เป็นพิธีกรผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุคดีเจแอนดี้ เขมพิมุก และ ดีเจภูมิ ภูมิใจ ตั้งสง่า นั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ ด้วยองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น.[ต้องการอ้างอิง] แต่ในปี พ.ศ. 2559 ช่องเวิร์คพอยท์ได้ผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้งการนำเวทีทองกลับมาทำใหม่ในชื่อ "เวทีทอง เวทีเธอ"[2] ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ดำเนินรายการโดย เสนาหอย - เกียรติศักดิ์ อุดมนาค และ แจ๊ส - ผดุง ทรงแสง[5] ก่อนที่จะเปลี่ยนพิธีกรอีกครั้งจากเสนาหอยเป็น อุล - ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และเปลี่ยนชื่อรายการกลับมาเป็น "เวทีทอง" อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ผู้ดำเนินรายการ[แก้]

ชื่อ ชื่อในวงการ ช่วงปี ระยะเวลาที่เป็นพิธีกร หมายเหตุ
ปัญญา นิรันดร์กุล 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533 10 เดือน 11 วัน
วัชระ ปานเอี่ยม ซูโม่เจี๊ยบ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533 - 25 เมษายน พ.ศ. 2535 1 ปี 8 เดือน
เสกสรรค์ ชัยเจริญ หนุ่มเสก 16 พฤษภาคม - 12 กันยายน พ.ศ. 2535 3 เดือน 27 วัน เป็นพิธีกรที่อยู่ได้สั้นที่สุด
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา หนุ่มหม่ำ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 11 ปี 8 เดือน 15 วัน (ช่วงแรกใช้ชื่อว่า หนุ่มหม่ำ เพื่อให้คล้องจองกับ หนุ่มเสก)
เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับซูโม่กิ๊ก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 หม่ำ จ๊กมก ได้กลับเข้ามาในรายการเวทีทองอีกครั้งในฐานะผู้เข้าแข่งขันในยุคซิกซ์ทีนและยุคเวทีทอง เวทีเธอ
หม่ำ จ๊กมก
เกียรติ กิจเจริญ ซูโม่กิ๊ก 19 กันยายน พ.ศ. 2535 - 31 มกราคม พ.ศ. 2547 11 ปี 4 เดือน 11 วัน เป็นพิธีกรที่อยู่ได้นานที่สุดคู่กับหม่ำ ในช่วงที่ซูโม่กิ๊กรับหน้าที่เป็นพิธีกร เขายังรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ของรายการด้วย
แอนดี้ เขมพิมุก แอนดี้ DRAGON FIVE 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 13 มกราคม พ.ศ. 2550 2 ปี 11 เดือน 6 วัน
ภูมิใจ ตั้งสง่า DJ ภูมิ
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค เสนาหอย 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 3 ปี 5 เดือน 20 วัน
ผดุง ทรงแสง แจ๊ส ชวนชื่น 10 มกราคม พ.ศ. 2559 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 6 ปี 1 เดือน 3 วัน
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา อุล ตลกหกฉาก 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 2 ปี 7 เดือน 6 วัน

ช่วงต่าง ๆ ของรายการ[แก้]

ช่วงต่าง ๆ ของรายการเวทีทอง จะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรายการและปีที่ออกอากาศ ดังนี้

ชื่อช่วง ช่วงปี หมายเหตุ
ช่วงที่ 1
โชว์ความสามารถ 2532 - 2533
สกัดดาวรุ่ง 2533 - 2535
ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก) 2536 - 2550
2559 - 2565
ช่วงที่ 2
โชว์ความสามารถ ช่วงที่ 2 2532 - 2533
หาดาวทอง (คำปริศนา) 2533 - 2545
พาดหัวข่าว 2545 - 2547
หาดาวทอง (คำปริศนา) 2547 - 2550
2559 - 2565
ข้อความปริศนา
รอบตกรอบ (หาดาวเทียม) 2533 - 2535
กล่องทองคำ (1 บาท / 5 บาท) 2535 - 2539
สะสมทอง 2539 - 2550
ช่วงที่ 3 (รอบ JACKPOT,Bonus)
ช่วงชิงชนะเลิศ 2532 - 2533
ชั่งทอง 2533 - 2545
2562 - 2565
เปิดแผ่นป้ายชิงทอง 2545 - 2550
กล่องทองคำปริศนา 2559 - 2562

รางวัล[แก้]

การดัดแปลง[แก้]

รายการ "เวทีทอง" มีการดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน เวทีทอง เวทีเธอ ON MOBILE เป็นวีดีโอเกมสำหรับโทรศัพท์อัจฉริยะ สร้างโดย Ammonite Studio ซึ่งจะเป็นการนำเกมที่ใช้ในช่วงภาพปริศนาของรายการเวทีทอง นำมาทำเป็นระบบหลักของเกมในแอปพลิเคชันนี้ โดยที่ผู้เล่นสามารถตอบได้ทั้งสองทาง คือ พิมพ์คำตอบและใช้ไมค์โครโฟนในตัวโทรศัพท์เพื่อบอกคำตอบ และสามารถใช้ไอเท็มในเกมช่วยเหลือได้ แอปพลิเคชันนี้เปิดบริการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. WorkpointOfficial (29 ธันวาคม 2558). เวทีทอง เวทีเธอ Teaser 1. Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite AV media}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "เสนาหอย - แจ๊ส ชวนชื่น นั่งแท่นพิธีกรเกมโชว์ในตำนาน[เวทีทอง เวทีเธอ Workpoint 23 การันตีความสนุก". Dara.Truelife.com. 7 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-19. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ผังรายการเดือนมกราคม 2559". Workpointtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "จวก'เวทีทอง' ภาษาไทยอ่อน". News.Sanook.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. admin (5 มกราคม 2559). "ช่องเวิร์คพอยท์ ส่งเกมโชว์ "เวทีทอง เวทีเธอ" ลงจอ เริ่ม 10 ม.ค.นี้". Zoomzogzag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  7. Thaiware (1 ตุลาคม 2559). "เวทีทอง (App เกม เวทีทอง ตอบคำถามภาพปริศนาคำใบ้)". Thaiware.com. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]