Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่
Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ | |
---|---|
![]() | |
ประเภท | เกมโชว์ตอบปัญหาวิชาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา |
พัฒนาโดย | บางจาก คอร์ปอเรชั่น |
พิธีกร | กันต์ กันตถาวร (ฤดูกาลที่ 1) รอประกาศ (ฤดูกาลที่ 2) |
แสดงนำ |
|
บรรยายโดย | กฤษกร เดชฉ่ำ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 1 |
จำนวนตอน | 15 |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | เวิร์คพอยท์สตูดิโอ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 90 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 3 เมษายน 2567 – 10 กรกฎาคม 2567 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ (อังกฤษ: STEM WAR[1]) เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเกมโชว์แข่งขันตอบปัญหาเชิงวิชาการตามแนวทางสเตมศึกษาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่าง ๆ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การสนับสนุนจาก บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร (ในฤดูกาลที่ 1) มีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด (อ.ยอ) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ (อ.ปอ) ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 20.05 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 ต่อจากรายการ เพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)[2]
รูปแบบรายการ
[แก้]ทางรายการได้คัดเลือกโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 16 โรงเรียน ที่มีความสามารถในการตอบปัญหาเชิงวิชาการตามแนวทางสเตมศึกษา (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) เข้ามาในรายการ (ในฤดูกาลที่ 2 คัดเลือกด้วยการ Audition จาก 36 โรงเรียน) โดยประกบคู่ด้วยการจับสลาก และแข่งขันแบบแพ้คัดออกทุก ๆ สัปดาห์ ทั้งหมด 4 รอบ คือ รอบแรก, รอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ แบ่งออกเป็นเกมต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบ ดังนี้
เกมที่ 1: Speedy Quiz
[แก้]เกมนี้จะเป็นเกมเดียวที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถสะสมค่าพลัง (Energy) ได้ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องตอบคำถามรายบุคคล ไม่สามารถปรึกษากันในทีมได้ โดยมีคำถามทั้งหมด 8 ข้อ ข้อละ 3 ตัวเลือก ต้องตอบให้ถูกภายใน 3 วินาทีหลังจากเปิดเผยครบ 3 ตัวเลือก หากตอบถูกจะได้รับค่าพลัง 1 หน่วยพลัง ต่อ 1 คน และหากทุกคนในทีมตอบถูกในข้อนั้น (Perfect Score) จะได้รับค่าพลังพิเศษอีก 1 หน่วยพลัง เป็น 5 หน่วยพลัง และค่าพลังที่แต่ละทีมจะได้รับมากที่สุด คือ 40 หน่วยพลัง
ในรอบก่อนรองชนะเลิศ มีการปรับรูปแบบเกมเล็กน้อย โดย 4 ข้อแรก ยังคงเล่นเหมือนรอบแรกทุกประการ แต่ทีมที่ทำ Perfect Score ได้ จะมีสิทธิ์เลือกกล่องสุ่มในรอบที่ 2 เพิ่ม 1 กล่อง/ครั้ง และใน 4 ข้อสุดท้าย ทั้ง 2 โรงเรียนจะต้องส่งตัวแทนออกมาตอบคำถามเพียงข้อละ 1 คน และห้ามส่งซ้ำกันในแต่ละข้อ หากทีมใดทีมหนึ่งตอบคำถามถูก จะได้รับค่าพลัง 5 หน่วยพลัง แต่หากตอบถูกทั้ง 2 ทีม จะได้รับค่าพลังทีมละ 3 หน่วยพลัง[3]
ในรอบรองชนะเลิศ มีการเพิ่มบัตร (Card) จำนวน 10 ใบ ซึ่งตรงกลางมีรูปภาพที่เกี่ยวกับคำถาม ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมสลับกันเลือกบัตรทีมละ 4 ใบ รวม 8 ใบ โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบก่อนจะได้สิทธิ์เลือกก่อน และยังคงมีการส่งตัวแทน 1 คนตอบคำถาม 4 ข้อสุดท้ายเช่นเดิม
ในรอบชิงชนะเลิศ มีการปรับรูปแบบเกมใหม่ทั้งหมด โดยเพิ่มจำนวนคำถามจาก 8 ข้อ เป็น 10 ข้อ และผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมซึ่งเพิ่มจาก 4 คน เป็น 5 คน สามารถปรึกษากันได้ทุกข้อ และสามารถกดปุ่มตอบได้ทุกเมื่อแม้พิธีกรยังอ่านตัวเลือกไม่จบ หลังกดปุ่มแล้วจะมีเวลาตอบคำถามเพียง 3 วินาที หากตอบถูกจะได้รับ 5 หน่วยพลังทันที แต่หากตอบผิดหรือตอบไม่ทัน จะหมดสิทธิ์ตอบคำถามในข้อนั้น ๆ และหากทีมตรงข้ามตอบถูก จะได้รับ 3 หน่วยพลัง
เกมที่ 2
[แก้]ตั้งแต่เกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้เครื่องมือจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ซึ่งมีผู้ดูแล (Lab Boy) คือ อำพล ขวัญพัก (ครูกาแฟ) มาช่วยหาคำตอบได้ แบ่งออกเป็น 3 เกมตามรอบ ดังนี้
Scene Analysis
[แก้]เกมนี้ใช้ในรอบแรกและรอบก่อนรองชนะเลิศ โดยจำลองเหตุการณ์สมมุติที่เปลี่ยนแปลงในทุกสัปดาห์ ทั้ง 2 ทีมจะต้องใช้หลักการสเตมศึกษามาใช้สืบหาความจริงให้ถูกต้อง โดยมีคำถามทั้ง 2 ชุดที่แตกต่างกัน (ในเหตุการณ์สมมุติเดียวกัน) ทีมที่มีค่าพลังมากกว่าจะได้เลือกชุดคำถามก่อน เกมนี้จะเริ่มใช้ค่าพลังที่สะสมมาจากเกมแรก โดยจะลดลง 1 หน่วยพลัง/นาที หากตอบคำถามผิดจะถูกหักครั้งละ 5 หน่วยพลัง และหากค่าพลังของทีมตนเองเหลือ 0 หรือน้อยกว่า (ไม่ว่าจากการตอบผิดจนค่าพลังถูกหักจนเหลือ 0 หรือน้อยกว่า หรือปล่อยให้ค่าพลังถูกหักจนหมด) ถือว่าทีมนั้นไขปริศนาไม่สำเร็จและสิ้นสุดการเล่นในคำถามของทีมตัวเองทันที (แต่จะยังได้เล่นเกมที่ 3 ด้วยค่าพลัง 0 หน่วยพลัง)
ในรอบก่อนรองชนะเลิศ มีการเพิ่มกล่องสุ่ม จำนวน 10 กล่อง[3] โดยทั้ง 2 ทีม สามารถเปิดกล่องฟรีได้ก่อน 1 กล่อง และได้สิทธิ์เปิดกล่องเพิ่มอีก 1 กล่องต่อจำนวนครั้งที่ทำ Perfect Score ในเกม Speedy Quiz โดยของทั้งหมดในกล่องสุ่มมีดังนี้
- เพิ่ม 2/3 หน่วยพลัง (อย่างละ 1 กล่อง รวม 2 กล่อง)
- Search ฟรี 2 นาที (2 กล่อง, ใช้ตอนไหนก็ได้)
- เรียกสมาชิกคนที่ 5 ลงมาช่วยได้ 2 นาที (3 กล่อง, ใช้ตอนไหนก็ได้)
- ซื้อของฟรี 1 ชิ้นในเกมที่ 3 (1 กล่อง)
- ซื้อของ 1 แถม 1 ในเกมที่ 3 (1 กล่อง)
- สิ่งของระดับ Secret (1 กล่อง)
- จำกัดบริเวณคู่แข่งได้ 1 คนตลอดเกม (ใช้ตอนไหนก็ได้)
- ห้ามคู่แข่ง 1 คนพูดตลอดเกม (ใช้ตอนไหนก็ได้)
- ห้ามคู่แข่ง 1 คนใช้มือตลอดเกม (ใช้ตอนไหนก็ได้)
2 Minutes Challenge
[แก้]เกมนี้ใช้ในรอบรองชนะเลิศ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันสะสมค่าพลังเพิ่ม ทั้ง 2 ทีมจะต้องตอบคำถาม 6 ข้อ จากทั้งหมด 8 ข้อ โดยก่อนเริ่มตอบคำถาม จะมีบัตรตัวช่วย 8 ใบ ให้ทั้ง 2 ทีมสุ่มหยิบทีมละ 3 ใบ โดยแต่ละทีมจะไม่เห็นบัตรตัวช่วยของทีมตรงข้าม โดยบัตรตัวช่วยทั้งหมด มีดังนี้
- เรียกสมาชิกคนที่ 5 ลงมาช่วยได้ตลอดข้อ (มี 4 ใบ, ใช้ข้อไหนก็ได้)
- เปลี่ยนคำถาม (ใช้ได้ในข้อของตนเท่านั้น)
- สะท้อนคำถามกลับ (ใช้ได้ในกรณีทีมตรงข้ามโยนคำถามเท่านั้น)
- ลดเวลาคิดฝ่ายตรงข้าม 30 วินาที (ใช้ข้อไหนก็ได้)
- เพิ่มเวลาคิด 30 วินาที (ใช้ข้อไหนก็ได้)
หลังจากได้บัตรตัวช่วยแล้ว ทีมที่มีค่าพลังมากกว่าจะได้เลือกคำถามก่อน ซึ่งคำถามที่ได้จะยังไม่สมบูรณ์ หลังจากนั้นจะต้องตัดสินใจว่าจะเล่นเองหรือโยนให้ทีมตรงข้ามเล่น หลังจากนั้นพิธีกรจะอ่านคำถามเต็ม เมื่ออ่านจบแล้ว จะมีเวลา 3 วินาที ในการตัดสินใจเลือกใช้หรือไม่ใช้ตัวช่วยในข้อนั้น ๆ หลังจากนั้นจะมีเวลาหาคำตอบ 2 นาที เมื่อหมดเวลา ทีมที่เล่นคำถามนั้น ๆ จะต้องตอบทันที หากตอบผิด ทีมตรงข้ามจะสามารถขโมยคำถามมาตอบได้ โดยในแต่ละข้อมีค่าพลังดังนี้
- หากทีมที่ได้คำถามเลือกเล่นเอง แล้วตอบถูก จะได้รับค่าพลัง 5 หน่วยพลัง แต่หากตอบผิดแล้วทีมตรงข้ามตอบถูก จะได้รับค่าพลัง 3 หน่วยพลัง
- หากทีมที่ได้คำถามเลือกโยน แล้วทีมตรงข้ามตอบถูก จะได้รับค่าพลัง 5 หน่วยพลัง แต่หากตอบผิด ทีมที่โยนคำถามจะได้รับค่าพลัง 3 หน่วยพลังทันที และหากตอบถูกอีก จะได้รับค่าพลังเพิ่มอีก 3 หน่วยพลัง รวมเป็น 6 หน่วยพลัง
3 Minutes Challenge
[แก้]เกมนี้ใช้ในรอบชิงชนะเลิศ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันสะสมค่าพลังเพิ่ม ทั้ง 2 ทีมจะต้องตอบคำถามจำนวน 5 ข้อ โดยมีเวลาหาคำตอบ 3 นาที ซึ่งระหว่างหาคำตอบในแต่ละข้อ เวลาจะนับถอยหลังเรื่อย ๆ และค่าพลังจะลดลงตามจำนวนเวลาที่ใช้ไป ตั้งแต่ 10 -> 7 -> 5 -> 3 -> 1 หน่วยพลัง ตามลำดับ หากตอบถูก จะได้รับค่าพลังตามจำนวนเวลาที่ตอบได้ แต่หากตอบผิด จะหมดสิทธิ์ตอบคำถามในข้อนั้น ๆ แต่ทีมตรงข้ามยังสามารถตอบคำถามได้ภายในเวลาตามค่าพลังที่เหลือ
เกมที่ 3: Final Battle
[แก้]เกมนี้ใช้ในรอบแรก รอบก่อนรองชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ โดยทั้ง 2 ทีมจะได้ตอบคำถามในโจทย์เดียวกันพร้อมกันทั้งทีม หลังจากพิธีกรอ่านคำถามจบแล้ว ในบางตอน อาจารย์ที่ปรึกษาจะมอบสูตรการคำนวณเป็นตัวช่วยให้ทั้ง 2 ทีม หลังจากนั้น
- ในรอบแรก จะมีการประมูล (Bid Battle) สิ่งของ 3 ชิ้นที่เกี่ยวกับโจทย์ โดยใช้ค่าพลังที่เหลือเป็นตัวประมูล (แต่ในกรณีที่มีเพียงทีมเดียวที่มีค่าพลังเหลืออยู่ ของทั้ง 3 ชิ้นจะเป็นของทีมที่มีค่าพลังโดยอัตโนมัติ) หลังจากประมูลแล้ว ทั้ง 2 ทีมจะได้หาคำตอบ โดยสามารถใช้เครื่องมือจากห้องปฏิบัติการได้ตลอดการไขปริศนา รวมถึงการจ่ายครั้งละ 5 หน่วยพลัง เพื่อใช้ตัวช่วยพิเศษ "Search" โดยการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมครั้งละ 1 นาที
- ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ไม่มีการประมูล ทั้ง 2 ทีมจะได้หาคำตอบทันที ซึ่งค่าพลังที่เหลือจะใช้สำหรับจ่ายค่าสินค้าในห้องปฏิบัติการตามราคาของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่แต่ละทีมต้องการ รวมถึงการซื้อกล่องสุ่มในราคากล่องละ 3 หน่วยพลัง
- ในรอบรองชนะเลิศ เป็นการผนวกรวมกับเกม Scene Analysis โดยจำลองเหตุการณ์สมมุติ ทั้ง 2 ทีมจะต้องใช้หลักการสเตมศึกษามาใช้สืบหาความจริงให้ถูกต้อง และจะมีการใช้ค่าพลังตามที่สะสมมาใน 2 เกมแรก ดังนี้
- การจ่ายค่าสินค้าในห้องปฏิบัติการตามราคาของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่แต่ละทีมต้องการ
- เรียกสมาชิกคนที่ 5 ลงมาช่วยได้ตลอดเกม 10 หน่วยพลัง
- Search 2 นาที ครั้งละ 5 หน่วยพลัง
- การสอบถามนักแสดงในเหตุการณ์สมมุติ 1 หน่วยพลัง/คำถาม
หากทีมใดได้คำตอบแล้วสามารถกดปุ่มเพื่อตอบคำถามได้ทุกเมื่อ เมื่อมีการกดปุ่ม ทีมตรงข้ามจะต้องหยุดหาคำตอบ หากตอบผิด เกมจะดำเนินต่อ และจะต้องคิดหาคำตอบใหม่ แต่ยังได้สิทธิ์ตอบใหม่ได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะมีทีมที่กดปุ่มและตอบคำถามถูก ทีมที่ตอบคำถามถูกก่อนจะเป็นทีมผู้ชนะประจำสัปดาห์ทันที ได้ผ่านเข้ารอบต่อไป และได้เล่นในเกม Escape Room เพื่อรับทุนการศึกษาเป็นรางวัลพิเศษ
เกมที่ 4: Escape Room
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมผู้ชนะประจำสัปดาห์ จะต้องเข้าไปถอดรหัส 4 หลัก เพื่อออกมาจากห้อง Escape Room ซึ่งมีธีมที่เปลี่ยนแปลงในทุกสัปดาห์ให้สำเร็จ โดยไม่ได้ยินเสียงของพิธีกรและอาจารย์ที่อยู่ด้านนอก ซึ่งระยะเวลาที่ทั้งทีมสามารถใช้ได้ในเกมนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนค่าพลังที่เหลืออยู่ทั้งหมด (แต่จะได้เพิ่มอีก 5 หน่วยพลังก่อนเริ่มภารกิจ Escape Room) และจะถูกหัก 1 หน่วยพลัง/นาที ทั้งนี้ สามารถกดรหัสผ่านได้เรื่อย ๆ โดยไม่ถูกลงโทษใด ๆ ทั้งสิ้น จนกว่าค่าพลังจะหมด แต่จะมีระดับความยากมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามรอบที่ลึกขึ้น หากสามารถถอดรหัสได้ทันเวลา จะได้รับรางวัลพิเศษเป็นทุนการศึกษาจากบางจาก คอร์ปอเรชั่น ดังนี้
- รอบแรก = 20,000 บาท
- รอบก่อนรองชนะเลิศ = 50,000 บาท
- รอบรองชนะเลิศ = 100,000 บาท
ในรอบชิงชนะเลิศ มีการปรับรูปแบบเกมใหม่ทั้งหมด โดยทั้ง 2 ทีมจะต้องใช้ค่าพลังที่เหลืออยู่ซื้อสินค้าในห้องปฏิบัติการตามราคาของอุปกรณ์แต่ละชิ้นให้ครบทั้งหมด ซึ่งทีมที่มีค่าพลังน้อยกว่าจะให้เก็บตัวก่อน และให้ทีมที่มีค่าพลังมากกว่าไปเลือกซื้อสินค้าก่อนเพื่อความยุติธรรม จากนั้นทั้ง 2 ทีมจะต้องเข้าไปเล่นเกมในห้อง Escape Room พร้อมกัน ซึ่งในรอบนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ห้อง ที่มีรูปแบบเดียวกัน โดยไขรหัส 5 กล่อง เพื่อให้ได้จิกซอว์ 5 ชิ้นสำหรับตีความเป็นรหัส 4 ตัว โดยไม่จำกัดเวลาแบบรอบก่อน ๆ แต่จำกัดจำนวนสิทธิ์ในการกดรหัสที่ 3 ครั้ง หากกดผิดครบ 3 ครั้ง ระบบคอมพิวเตอร์จะล็อก ทีมนั้นจะไม่สามารถกดรหัสได้จนกว่าจะครบ 5 นาที ทีมที่ถอดรหัสได้สำเร็จก่อนจะเป็นทีมที่ชนะเลิศประจำฤดูกาลนั้น ๆ ทันที ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนการศึกษา 1,000,000 บาท จากบางจาก คอร์ปอเรชั่น ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 500,000 บาท จากบางจาก คอร์ปอเรชั่น เช่นกัน[4]
Mini Game
[แก้]เป็นเกมพิเศษสำหรับให้ผู้เข้าแข่งขันสะสมค่าพลังเพิ่ม โดยจะกำหนดตัวเลข 4 ตัว และผู้เข้าแข่งขันใช้สัญลักษณ์ได้เพียง + - * / () เท่านั้น ในการสร้างสมการที่มีคำตอบเป็น 24 ให้ได้มากที่สุด โดยจะได้รับ 1 หน่วยพลัง/1 สมการที่ถูกต้อง โดยมีเวลา 2 นาที เกมนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ทางรายการประเมินว่ามีทีมที่มีค่าพลังไม่เพียงพอที่จะเล่นต่อในเกมต่อไปได้อย่างน้อย 1 ทีม และสามารถเกิดขึ้นได้เพียง 1 ครั้งต่อ 1 แมทช์เท่านั้น
การแข่งขัน
[แก้]รอบแรก
[แก้]หมายเหตุ:
รอบก่อนรองชนะเลิศ
[แก้]ตอน | สาย | ทีมที่เข้าแข่งขัน | ค่าพลัง (Energy) |
กล่องสุ่ม | ทีมที่ชนะ | Escape Room | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อทีม | โรงเรียน | จังหวัด | เริ่ม | จบ | ชื่อทีม | โรงเรียน | จังหวัด | ธีม | รหัส | ผล | |||
Ep.9 | B[3] | ดาวบดินทร | โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | กรุงเทพมหานคร | 19 | 8 |
|
M-WITTY | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | จังหวัดนครปฐม | เวทีหมอลำ | 8105 | ![]() |
M-WITTY | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | จังหวัดนครปฐม | 24 | 0[ก] |
| ||||||||
Ep.10 | C | ROSA HYBRID | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | กรุงเทพมหานคร | 22 | 0[ก] |
|
ROSA HYBRID | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | กรุงเทพมหานคร | ป้ายรถเมล์ | 8105 | ![]() |
SAMSEN STEM SQUAD | โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย | กรุงเทพมหานคร | 19 | 4 |
| ||||||||
Ep.11 | D | BM SCI JUNIOR | โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช | จังหวัดอุบลราชธานี | 17 | 7 |
|
BM SCI JUNIOR | โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช | จังหวัดอุบลราชธานี | กราฟิตี | 8105 | ![]() |
KUSOLOGY | โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | กรุงเทพมหานคร | 23 | 0 |
| ||||||||
Ep.12 | A | TRIAMMO SAPIENS | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | กรุงเทพมหานคร | 17 | 4 |
|
KVISTEMATIC | โรงเรียนกำเนิดวิทย์ | จังหวัดระยอง | ร้านกาแฟ ซูโดกุ |
5555 | ![]() |
KVISTEMATIC | โรงเรียนกำเนิดวิทย์ | จังหวัดระยอง | 32 | 8 |
|
หมายเหตุ:
- ตัวเอน คือ สิ่งของที่ได้จากการซื้อกล่องสุ่มในรอบ Final Battle
- ตัวหนา คือ สิ่งของในกล่องสุ่มที่เป็นระดับ Secret
รอบรองชนะเลิศ
[แก้]ตอน | ทีมที่เข้าแข่งขัน | ค่าพลัง (Energy) |
ตัวช่วย | ทีมที่ชนะ | Escape Room | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อทีม | โรงเรียน | จังหวัด | สาย | เริ่ม | จบ | ชื่อทีม | โรงเรียน | จังหวัด | ธีม | รหัส | ผล | ||
Ep.13 | M-WITTY | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | จังหวัดนครปฐม | B | 47 | 7 |
|
M-WITTY | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | จังหวัดนครปฐม | ห้องใต้ติน ราก |
4212 | ![]() |
BM SCI JUNIOR | โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช | จังหวัดอุบลราชธานี | D | 36 | 6 |
| |||||||
Ep.14 | ROSA HYBRID | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | กรุงเทพมหานคร | C | 32 | 6 |
|
KVISTEMATIC | โรงเรียนกำเนิดวิทย์ | จังหวัดระยอง | ผี | 7143 | ![]() |
KVISTEMATIC | โรงเรียนกำเนิดวิทย์ | จังหวัดระยอง | A | 40 | 0[ก] |
|
หมายเหตุ:
- ตัวเอน คือ ตัวช่วยในรอบ Final Battle
- สีแดง คือ ตัวช่วยที่ไม่ได้ใช้
- ↑ ได้รับเพิ่ม 5 หน่วยพลังสำหรับเล่นในรอบ Escape Room
ตอน | ทีมที่เข้าแข่งขัน | ค่าพลัง (Energy) |
Escape Room | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อทีม | โรงเรียน | จังหวัด | สาย | ธีม | รหัส | ผล | ||
Ep.15 | M-WITTY | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | จังหวัดนครปฐม | B | 21 | รามเกียรติ์ | 1808 | ![]() |
KVISTEMATIC | โรงเรียนกำเนิดวิทย์ | จังหวัดระยอง | A | 40 | ![]() |
รางวัล
[แก้]รางวัลในประเทศ
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2568 | Pantip Television Awards ครั้งที่ 4 | รายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม | ชนะ | |
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 16 | เกมโชว์และการแข่งขันยอดเยี่ยม | รอผล |
รางวัลระดับนานาชาติ
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2567 | 29th Asian Television Awards (ATA) | Best Quiz or Game Programme | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Asian Academy Creative Awards 2024 (AAA) | Best Game or Quiz Programme | National Winner และ เสนอชื่อเข้าชิง |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "STEM WAR | Workpoint". สืบค้นเมื่อ 2025-04-21.
- ↑ "บางจากฯ ก้าวสู่ทศวรรษที่5 "ส่งต่อความสุขไม่สิ้นสุด" ประเดิมด้วย "Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่" ควิซโชว์ชิงถ้วยพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 11 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ ประเดิมศึกรอบ 8 ทีมสุดท้าย สาย B". แนวหน้า. 27 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "กลุ่มบางจากปิดซีซั่นแรก"Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ฯ" "มหิดลวิทยานุสรณ์"ชนะเลิศรับถ้วยพระราชทานฯ-ทุนการศึกษา1ล้านบาท". ผู้จัดการออนไลน์. 11 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2024.