ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (สิงหาคม 2019) |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | |
---|---|
แบบโลโก้ที่ 1 สัญลักษณ์รายการแบบที่ 1 (4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545) | |
ประเภท | เกมโชว์ |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เสนอโดย | ปัญญา นิรันดร์กุล มยุรา เศวตศิลา แก๊งสามช่า |
ผู้ประพันธ์ ดนตรีท้องเรื่อง | ประภาส ชลศรานนท์ สุรชัย บุญแต่ง |
ดนตรีเปิด | เพลง ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า โดย ธนพร แวกประยูร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอ กรุงเทพ |
ความยาวตอน | 120 นาที |
การแพร่ภาพ | |
เครือข่าย/ช่อง | ช่อง 3 กด 33 (4 มีนาคม – 30 กันยายน พ.ศ. 2541) TV5 HD1 (7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545) |
การออกอากาศแรก | 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 |
เรต | ไม่มีการจัดระดับ |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | |
---|---|
![]() สัญลักษณ์รายการแบบที่ 2 (4 กันยายน พ.ศ. 2545 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551) | |
ประเภท | เกมโชว์ |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมกับ มีเดีย ออฟ มีเดียส์ (พ.ศ. 2549 - 2552) |
เสนอโดย | ปัญญา นิรันดร์กุล มยุรา เศวตศิลา แก๊งสามช่า |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอ กรุงเทพ (พ.ศ. 2545 - 2549) เวิร์คพอยท์ สตูดิโอ (พ.ศ. 2549 - 2551) |
ความยาวตอน | 110 นาที |
การแพร่ภาพ | |
เครือข่าย/ช่อง | TV5 HD1 (พ.ศ. 2545 - 2548) ช่อง 7 HD (พ.ศ. 2549 - 2551) |
การออกอากาศแรก | 4 กันยายน พ.ศ. 2545 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 |
แหล่งข้อมูลอื่น | |
เว็บไซต์ | |
เรต | รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี (พ.ศ. 2549 - 2551) |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า | |
---|---|
![]() สัญลักษณ์รายการแบบที่ 3 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554) | |
ประเภท | เกมโชว์ |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เสนอโดย | ปัญญา นิรันดร์กุล มยุรา เศวตศิลา แก๊งสามช่า |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | เวิร์คพอยท์ สตูดิโอ |
ความยาวตอน | 110 นาที |
การแพร่ภาพ | |
เครือข่าย/ช่อง | [ช่อง 7 HD]] |
การออกอากาศแรก | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 |
แหล่งข้อมูลอื่น | |
เว็บไซต์ | |
เรต | รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชมที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 3 กด 33 เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง TV5 HD1 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง ช่อง 7 HD อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชื่อที่เรียกใช้ในรายการจะเหลือแค่คำว่า ชิงร้อยชิงล้าน เท่านั้น และในปี พ.ศ. 2555 ได้ย้ายกลับไป ช่อง 3 กด 33 อีกครั้ง ในชื่อใหม่ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ พร้อมทั้งฉากใหม่และวันเวลาใหม่ ในเวลา 15.00 น. - 17.00 น.
ในปี พ.ศ. 2541 - 2545 ทางรายการได้แต่งคำขวัญให้คล้องกับกระแสในช่วงนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้นำคำขวัญ " เที่ยวเมืองไทย ปลอดภัยทุกที่ " มาแสดงที่ด้านล่าง หลังจากที่ไตเติ้ลเริ่มรายการใกล้จะจบลง แต่ได้ใช้เพียงระยะสั้น ๆ
ในปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2560 ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ได้นำกลับมาฉายอีกครั้งทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ (เฉพาะช่วงละคร 3 ช่า, ช่วง 3 ช่าท้าประลอง, ช่วงใครหนอ และช่วง 3 ช่าพามาโชว์ ในปี พ.ศ. 2545 - 2554 เท่านั้น ภายหลังเหลือแต่ช่วงละคร กับช่วงแข่งเกม 3 ช่า ในปี พ.ศ. 2553 - 2554 เท่านั้น)
เนื้อหา
- 1 ประวัติ
- 2 ระยะเวลาออกอากาศ
- 3 ละครสามช่า
- 4 เกมในรายการ
- 5 รอบสะสมเงินรางวัล
- 6 รอบตัดสิน
- 7 รอบสุดท้าย
- 8 ผู้เข้าแข่งขัน
- 9 เพลงประกอบ
- 10 ฉาก
- 11 รายชื่อตอนละครสามช่า
- 12 การผลิตวีซีดี
- 13 กระแสตอบรับของรายการ
- 14 อ้างอิง
ประวัติ[แก้]
หลังจาก ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม จบลง ชิงร้อยชิงล้าน จึงเปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่มาเป็น ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า โดยเปลี่ยนฉากใหม่ให้ใหญ่และอลังการขึ้นและเพิ่มรูปแบบรายการให้เป็นรูปแบบใหม่พร้อมเปิดตัวกลุ่มตลกในชื่อ แก๊งสามช่า พร้อมเพิ่มโชว์ในรายการให้อารมณ์เหมือนดูโชว์สดด้วย
โดยรูปแบบรายการของช่วงแรก ในปี พ.ศ. 2541 ได้แนวคิดมาจากการแสดงคาบาเรต์โชว์และสีสันของลาส เวกัสในประเทศสหรัฐอเมริกา และรูปแบบที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ได้ปรับเปลี่ยนแนวโชว์จริง ๆ และเพิ่มโรงละครแก๊งสามช่า เพื่อความสนุกสนานต่อผู้ชม โดยชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า เป็นชื่อที่ถูกใช้ยาวนานมากที่สุด รวมระยะเวลามากกว่า 10 ปี ของรายการโทรทัศน์เกมโชว์ในประเทศไทย
ตั้งแต่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หม่ำ จ๊กมก เป็นพิธีกรแทน ปัญญา นิรันดร์กุล ในกรณีที่ปัญญาติดภารกิจและงานต่าง ๆ จนไม่สามารถมาดำเนินรายการได้ โดยภายหลังในปี พ.ศ. 2552 ทางรายการจะเชิญพิธีกรรับเชิญมาแทน อาทิ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์, พิษณุ นิ่มสกุล และ ธนา สุทธิกมล
ระยะเวลาออกอากาศ[แก้]
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วัน | เวลา | ช่วงระหว่าง |
---|---|---|---|
ช่อง 3 กด 33 | พุธ | 22:00 - 24:00 น. | 4 มีนาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2541 |
TV5 HD1 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 | ||
พ.ศ. 2543 - 2544 | |||
พ.ศ. 2544 - 2545 | |||
พ.ศ. 2545 - 2547 | |||
พ.ศ. 2547 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | |||
ช่อง 7 HD | 11 มกราคม พ.ศ. 2549 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551 | ||
6 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551 | |||
อังคาร | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 26 เมษายน พ.ศ. 2554 | ||
3 พฤษภาคม - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | |||
1 พฤศจิกายน - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 |
- วันอังคาร ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นเทปรายการปกติเพียงครั้งเดียวที่ออกอากาศตอนกลางวัน ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันปิยมหาราช) โดยใช้ชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า วันหยุด ออกอากาศเวลา 13:00 น.
- ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จะขยับออกอากาศให้ชมกันเร็วขึ้นเป็นเวลา 22:20 น. (ออกอากาศเฉพาะในช่วงที่มีเหตุการณ์มหาวิกฤติอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554)
ละครสามช่า[แก้]
ละครสามช่าเป็นการแสดงละครเวทีโดยแก๊งสามช่า ความยาวประมาณ 30 นาที ตอนแรกออกอากาศวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 ซึ่งในปี พ.ศ. 2542 เป็นเพียงละครสั้นเวลา 3 - 5 นาที เพื่อปูเรื่องสำหรับผู้กล้าประจำสัปดาห์เท่านั้น และตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นละครยาวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งละครสามช่าตอนแรก คือ การล้อเลียนรายการ เกมแก้จน และต่อมาก็มีศิลปินดารารับเชิญในแต่ละสัปดาห์ หรือ เว้นสัปดาห์มาร่วมแสดงกับแก๊ง 3 ช่าถือว่าเป็นครั้งแรก ชิงร้อยชิงล้าน ที่มีการเชื้อเชิญดารารับเชิญมาร่วมแสดงกับแก๊ง 3 ช่า โดยละคร 3 ช่าตอนแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงฉาก (4 กันยายน พ.ศ. 2545) คือตอน ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย
เกมในรายการ[แก้]
ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรกเริ่ม (ตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 20 มกราคม พ.ศ. 2542), ยุคกลาง (27 มกราคม พ.ศ. 2542 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551) และยุคสุดท้าย (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ อย่างไรก็ดี เกมในยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก นั้น ยังมีลักษณะมาจากชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในยุคกลาง แต่ภายหลังได้มีการดัดแปลงไปตามสมควร
ยุคแรก : 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 20 มกราคม พ.ศ. 2542[แก้]
ทายดาราปริศนา[แก้]
ในเกมนี้เป็นการทายดารารับเชิญ ซึ่งยังคงรูปแบบเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยเกมทายดารา จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 ยังจำได้ไหม จะเป็นการทายภาพดาราปริศนาของดารารับเชิญโดยในภาพนี้จะเป็นการปกปิดใบหน้าบางส่วนของดารารับเชิญ
รอบที่ 2 เสียงของใคร จะเป็นการทายเสียงและเงาของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้มีพัฒนามาจากเกมทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) เป็น 3 ภาพ 3 ช่วงเวลา
รอบที่ 3 ขอสักครั้ง จะเป็นการทายดารารับเชิญจากภาพวีทีอาร์ โดยที่ผู้เข้าแข่งขันนั้นไม่สามารถเห็นหน้าของดารารับเชิญชัด ๆ ได้ ดารารับเชิญนั้นจะทำแบบไม่เห็นหน้าหรือบังหน้าเอาไว้ด้วย เห็นได้แต่ด้านหลังดารารับเชิญเท่านั้น
ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีม มีโอกาสเขียนในกระดานคำตอบได้ 3 ครั้งเท่านั้น หลังจากนั้น จะเฉลยว่าดารารับเชิญคนนี้คือใคร โดยการเชิญดารารับเชิญปริศนาในรอบนั้น ๆ ออกมาเปิดตัวด้วยการร้องเพลง เพื่อเป็นการเฉลยคำตอบ โดยที่ ถ้าผู้เข้าแข่งขันทีมไหน ตอบถูกในแต่ละรอบ ก็จะได้คะแนนไปด้วย โดยการทายชื่อ จะได้รอบละ 5 คะแนน ถือว่าในรอบนี้มีคะแนนเต็มถึง 15 คะแนน หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดารารับเชิญเกี่ยวกับความเป็นมาและเรื่องราวต่างหลังจากนั้น ยังมีแก๊งสามช่ามาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยดาราปริศนาที่มารายการเป็นท่านแรก คือ พล ตัณฑเสถียร
จริงหรือไม่ (แก๊งสามช่า)[แก้]
เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยจะมี ผู้กล้า ซึ่งอาจเป็นบุคคลจากทางบ้าน หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ มาแสดงโชว์สาธิตให้ดูในรายการ จากนั้น จะมีการท้าแก๊งสามช่าว่า แก๊งสามช่าสามารถโชว์แสดงอย่างที่ผู้กล้ามาโชว์สาธิตในรายการได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ จะให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ทีมเป็นผู้ตอบ หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะทำการสาธิตโชว์แบบเดียวกันกับผู้กล้า เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าทำได้แบบผู้กล้าหรือไม่ ถ้าทำได้แสดงว่าจริง แต่ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าไม่จริง (ในช่วงแรกแก๊งสามช่าจะเฉลยก่อน แล้วค่อยลองทำ ต่อมาให้แก๊งสามช่าทำแบบเดียวกับผู้กล้า) ทั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันทีมใดที่ทายคำตอบถูกต้อง จะได้รับ 10 คะแนนไปในรอบนี้
ผู้กล้าที่มาท้าแก๊งสามช่าเป็นคนแรกคือ Mr. Direk Ruth นักมายากลชาวอังกฤษ ท้าแก๊งสามช่าเล่นกล่องล่องหน
จริงหรือไม่ (ผู้เข้าแข่งขัน)[แก้]
เกมนี้ เป็นเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบปกติที่รู้จักกันดี โดยนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันในเกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย มาใช้เป็นคำถามในรอบนี้ ในยุคชะช่ะช่านี้จะมีการเปรยโดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมในช่วงเบรกแรกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามอีกทีมที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้ 10 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดจะไม่ได้คะแนน
ทั้งนี้ คำถามในเกมจริงหรือไม่ในยุคนี้จะถูกลดเหลือ 2 ข้อ จากเดิม 3 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบเพียงแค่คำถามของทีมตรงข้ามเท่านั้น และให้ทายว่าเรื่องคนนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้น ๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่าง ๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมี หม่ำ จ๊กมก, เท่ง เถิดเทิง และ หนู เชิญยิ้ม (ภายหลังเปลี่ยนเป็น โหน่ง ชะชะช่า มาแทน) มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยการล้อเลียนดารารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องในช่วงนั้น ๆ
ยุคกลาง : 27 มกราคม พ.ศ. 2542 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2551[แก้]
ทำได้หรือไม่ได้[แก้]
เกมนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับจริงหรือไม่ในรูปแบบก่อนหน้านี้ ทว่ามีลักษณะเป็นเกมการแข่งขันมากขึ้น ต่างจากเดิมที่เป็นเพียงการแสดงตามแบบแผนเดียวกันกับผู้กล้า ทั้งนี้ จะมีเกมการแข่งขันเกมหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดกติกาแตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับว่าผู้กล้าในสัปดาห์นั้น จะทำการแข่งขันเกี่ยวกับเรื่องใด) โดยผู้กล้าในสัปดาห์นั้นจะเป็นผู้แข่งขันเกมดังกล่าวก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้น แก๊งสามช่าจะต้องเล่นเกมในรูปแบบเดียวกันข้างต้น แต่จะมีการต่อรองเกิดขึ้น เพื่อให้แก๊งสามช่ามีโอกาสในการเล่นเกมสำเร็จเพิ่มมากขึ้น (เช่น การต่อเวลา, ต่อจำนวนคนที่แข่งขัน, ต่อผลของการเล่นเกม เช่น เกมเตะฟุตบอล จากเดิมต้องเตะ 5 ลูก อาจเหลือแค่ 3 ลูกเป็นต้น) ทั้งนี้ แก๊งสามช่าจะมีโอกาสเล่นเกมดังกล่าวได้ทั้งหมด 2 ครั้ง ซึ่งแต่เดิม ผู้เข้าแข่งขันจะเป็นหม่ำ และเท่ง โดยทั้งสองคนจะแข่งขันกันคนละ 1 รอบ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นรอบของหม่ำ และรอบของเท่ง แต่ภายหลังเกมทั้ง 2 รอบ ไม่จำเป็นจะต้องแข่งโดยหม่ำ และเท่งเท่านั้น เพราะบางเกมอาจต้องใช้ผู้เข้าแข่งขันเป็นคู่ หรือแก๊งสามช่าทุกคนเลยก็ได้
เกมทำได้หรือไม่ได้นี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มาร่วมรายการจะต้องทายว่าแก๊งสามช่าจะทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ หากแก๊งสามช่าเล่นเกมดังกล่าวสำเร็จเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นในรอบแรก หรือรอบที่สอง จะถือว่าแก๊งสามช่าทำได้โดยทันที แต่ในทางตรงกันข้าม หากแก๊งสามช่าเล่นเกมไม่สำเร็จทั้งสองรอบ จะถือว่าทำไม่ได้นั่นเอง ซึ่งตรงนี้ หากผู้เข้าแข่งขันคนใดทายถูกต้องก็จะได้ 1 คะแนนไปในรอบนี้ โดยเกมแรกของรอบทำได้หรือไม่ได้คือ การแข่งขันการสลับขวดเป๊ปซี่ระหว่างขวดเปล่ากับขวดบรรจุน้ำอัดลมที่อยู่ในลังพลาสติก
เกมทำได้หรือไม่ได้ ถูกใช้มาโดยตลอดเกือบ 10 ปี แม้ว่าชิงร้อยชิงล้านจะอยู่ในช่วงของทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม ก็ยังคงมีเกมนี้อยู่เช่นเดิม จนกระทั่งชิงร้อยชิงล้านเริ่มมีรูปแบบของเกม ใครทำได้ เกิดขึ้น เกมทำได้หรือไม่ได้จึงค่อย ๆ เริ่มหายไป จนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เกมนี้จึงถูกยกเลิกไปโดยสมบูรณ์ (สำหรับเกมใครทำได้ดูที่ เกมในรายการยุคสุดท้าย)
เกมทำได้หรือไม่ได้ในยุคแรก ยังไม่มีผู้สนับสนุน เริ่มมีผู้สนับสนุนตั้งแต่ 9 มกราคม พ.ศ. 2545 (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ลีโอเบียร์ (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่ 9 มกราคม จนถึง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ต่อมาเป็นไทเบียร์ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 จนถึง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ลีโอเบียร์ (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 และไม่มีผู้สนับสนุนไปพักหนึ่งในปลายปี พ.ศ. 2549 และกลับมามีผู้สนับสนุนอีกครั้งคือ โซดาสิงห์ ตั้งแต่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ลีโอเบียร์ (ครั้งที่ 3) กลับมาเป็นผู้สนับสนุนในรอบเกมอีกจนถึง พ.ศ. 2553
ทายดาราสามช่ารับเชิญ[แก้]
ในเกมนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องทายภาพวาดของหมอ - ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ ทันตแพทย์ และนักวาดภาพการ์ตูนล้อเลียน ซึ่งจะมาวาดภาพล้อเลียนของดาราที่จะมาเป็นสามช่ารับเชิญประจำสัปดาห์นั้น ๆ โดยในเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายว่าภาพที่หมอทวีวัฒน์ได้วาดนี้ เป็นภาพของใคร โดยหมอทวีวัฒน์จะไม่วาดภาพทั้งหมดในคราวเดียว แต่เมื่อวาดไปได้ส่วนหนึ่ง พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันแย่งกันกดไฟ(ช่วงแรกปุ่มมีสี่ปุ่มจะอยู่บนแท่นของผู้เข้าแข่งขันคล้ายกับรายการเกมแก้จน ต่อมาจะเป็นแท่นสองปุ่มใช้ค้อนทุบ)ตอบคำถามก่อน ถ้าใครกดไฟติด คนนั้นจะได้สิทธิ์ในการตอบคำถาม หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบ โดยการให้คนนั้น ๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลง ถ้าคนนั้นๆ ปรากฏตัวออกมาร้องเพลงแล้ว เป็นดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป นั่นหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นตอบถูก และจะได้คะแนนไป แต่ถ้าคนนั้น ๆ ปรากฏตัวออกมาแล้วไม่ใช่ดารารับเชิญที่ผู้เข้าแข่งขันตอบไป แก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็น หม่ำ,เท่ง หรือโหน่ง ก็จะออกมาร้องเพลง ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าแข่งขันนั้นตอบผิด จะไม่ได้คะแนนไป ทั้งนี้ ถ้าตอบผิด หมอทิววัฒน์จะทำการวาดภาพต่อและเกมจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจะทายภาพสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวได้ถูกต้อง ซึ่งเกมทายดาราสามช่ารับเชิญนี้ จะมีทั้งหมด 3 คน (หรือ 3 ข้อ) นั่นเอง ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันคนไหนสามารถตอบคำถามจากภาพปริศนาได้ครบ 3 ข้อ จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาทจากผู้สนับสนุนด้วย (ผู้สนับสนุนในการแจกรางวัลพิเศษคือ วีคเอนท์ทัวร์ (พ.ศ. 2542) รางวัลพิเศษคือ ตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวนครเซี่ยงไฮ้ ไปโรงภาพยนตร์ และชมศาลซือกง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ลีโอเบียร์ ซึ่งมอบรางวัลพิเศษ คือ เงิน 100,000 บาท (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึงประมาณปี พ.ศ. 2544)) ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกการแจก 100,000 บาทไป โดยสามช่ารับเชิญ 3 ท่านแรก ที่มารายการคือ แดนนี่ ศรีภิญโญ รัญญา ศิยานนท์ และ สินิทรา บุญยศักดิ์
เกมนี้ เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เขาเป็นใครหนอ" ซึ่งมาจากการที่แดนเซอร์ของรายการจะร้องเพลงประกอบกับการที่หมอทิววัฒน์กำลังวาดภาพอยู่ แต่ในระยะหลัง ๆ หมอทิววัฒน์จะไม่เริ่มวาดภาพในรายการโดยทันที แต่จะวาดไว้ส่วนหนึ่งก่อนเริ่มรายการ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทายภาพที่หมอวาดไว้ก่อนแล้วก่อน ถ้าหากไม่มีใครทายถูก หมอจึงจะเริ่มวาดในส่วนที่เหลือต่อไป (เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2544)
มีข้อสังเกตประการหนึ่งในเกมนี้คือ หากผู้เข้าแข่งขันทายสามช่ารับเชิญถูกต้อง เมื่อสามช่ารับเชิญคนดังกล่าวออกมา ประตูใหญ่และประตูเล็กของฉากจะถูกเปิดออกทั้งหมด แต่ถ้าหากทายผิด และเป็นแก๊งสามช่าที่ออกมา ประตูเล็กจะถูกเปิดเพียงประตูเดียว ยกเว้นในช่วงแรกๆ ถ้าทายผิด ประตูเล็กจะถูกเปิดเพียงประตูเดียว และมีดรายไอซ์พ่นออกมาด้วย
ใครกันหนอ[แก้]
ในเกมนี้ พิธีกรจะบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของสามช่ารับเชิญคนใดคนหนึ่งให้ผู้ชม และผู้เข้าแข่งขันได้ทราบก่อน จากนั้นจะถามว่าเรื่องที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ สามช่ารับเชิญคนใดเป็นเจ้าของเรื่อง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบว่าใครเป็นเจ้าของเรื่อง จากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยให้สามช่ารับเชิญทั้งสามคนนั้นออกมายืนด้านหน้าโพเดียม แล้วใครที่เป็นเจ้าของเรื่องให้ลงมาจากโดมแก๊งสามช่า (โพเดียมสามช่ารับเชิญจะอยู่ภายใต้โดมแก๊งสามช่า) ทั้งนี้ หากสามช่ารับเชิญใครคนใดคนหนึ่งลงมาจากโดมแก๊งสามช่า เขาผู้นั้นคือเจ้าของเรื่องดังกล่าว และถือเป็นคำตอบที่ถูกต้องนั่นเอง สำหรับผู้เข้าแข่งขันคนใดก็ตามที่ตอบถูกจะได้คะแนนไปในรอบนี้ คำถามละ 1 คะแนน หลังจากนั้น สามช่ารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องจะได้มาเล่าเรื่องที่เป็นประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเล่าจบ พิธีกรจะเชิญแก๊งสามช่าออกมาสร้างสีสัน โดยการแสดงโชว์ตลกเพื่อความสนุกสนานนั่นเอง
โดยในยุคแรกของเกมนี้จะถามคำถามทั้งหมด 3 ข้อ ก่อนที่จะลดเหลือเพียงแค่ 2 ข้อ ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อมีการยกเลิกเกมจริงหรือไม่ (แต่เป็นการถามช่วงละข้อ จากเดิมเป็นการถามทั้งสามข้อในช่วงเดียว) นอกจากนี้ในช่วงแรกมีกติกาพิเศษคือ หากสามช่ารับเชิญทั้ง 3 คน สามารถทำให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คน ตอบผิดทั้งหมดก็จะมีเงินรางวัลพิเศษให้ในรอบนี้ 60,000 บาท [1]
และเมื่อมีการยกเลิกเกมทายดาราสามช่ารับเชิญไป ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สามช่ารับเชิญจะมาจากการเปิดตัวโดยพิธีกรซึ่งเป็นผู้แนะนำ โดยการเปิดตัวจะมีรูปแบบเดียวกันกับในเกมทายดาราสามช่ารับเชิญ คือการออกมาร้องเพลงนั่นเอง และโดยเฉพาะในข้อที่ 2 ของเกม (ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2552)ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับผี และวิญญาณของดาราเจ้าของเรื่อง ซึ่งรูปแบบเกมจะเป็นเช่นเดียวกันกับข้อแรก โดยเจ้าของเรื่องก็จะเป็นผู้มาเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับผีและวิญญาณว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจะมีแก๊งสามช่า (หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง) ออกมาด้วยเพื่อสร้างความตกใจให้กับในห้องส่งและผู้ชมทางบ้าน ต่อมา นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2552 นั้น หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะวิเคราะห์เรื่องประสบการณ์น่ากลัวของดาราเจ้าของเรื่องว่าน่ากลัวขนาดไหนพร้อมกับบอกด้วยว่าจะให้รางวัลกี่กะโหลกแก่ดาราเจ้าของเรื่องนั้น ซึ่งรางวัลจะเป็นถ้วยรูปหัวกะโหลกเล็กๆแต่ต่างจำนวนกัน โดยขึ้นอยู่กับความน่ากลัวของเนื้อหา เช่น ความน่ากลัวอยู่ในระดับปานกลางจะให้ 3 กะโหลก ความน่ากลัวอยู่ในระดับเสียวสันหลังจะได้ 4 กะโหลก และความน่ากลัวระดับขวัญผวาจะได้ 5 กะโหลก ซึ่งถ้วย 5 กะโหลกถือเป็นคะแนนสูงสุด แต่ส่วนใหญ่ หม่ำ,เท่ง และ โหน่ง จะให้รางวัลแค่ 4 กะโหลก แต่ในบางครั้ง แก๊งสามช่า มอบหลอดไฟซิลวาเนียเป็นของขวัญ เพื่อสำหรับคนกลัวผีอีกด้วย ซึ่งในรอบนี้ถ้าตอบถูกก็จะได้รับข้อละ 1 คะแนน
เกมใครกันหนอนี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2544 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แม้จะอยู่ในช่วงของชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊กก็ตาม จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2552
จริงหรือไม่สามช่ารับเชิญ (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544)[แก้]
สำหรับในเกมนี้ยังคงคล้ายคลึงกับเกมจริงหรือไม่ในรูปแบบที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนเป็นการทายเรื่องราวของสามช่ารับเชิญ และปรับลดลงมาเหลือเพียงข้อเดียว โดยการตั้งคำถามจะขึ้นต้นด้วยหนึ่งในสามช่ารับเชิญแล้วตามด้วยคำถาม (ตัวอย่างเช่น "จริงหรือไม่ ที่คุณโน๊ตเคยขับรถชนเสาไฟฟ้าขาด 2 ท่อนมาแล้ว") ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกจะได้คะแนนในรอบนี้ไป 3 คะแนน และกติกาพิเศษ หากสามช่ารับเชิญทั้ง 3 คน สามารถทำให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คน ตอบผิดทั้งหมดก็จะได้เงินรางวัลพิเศษในรอบนี้ 30,000 บาท [1]
สำหรับเกมนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2544
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554[แก้]
จับคู่แก๊งสามช่า[แก้]
เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากพัฒนาจากเกมใครทำได้ จากยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก คือ ผู้เข้าแข่งขันจะได้มาร่วมแข่งขันกับแก๊งสามช่าด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงผู้ทายเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแก๊งสามช่าคนใดคนหนึ่ง จากนั้นก็จะมาร่วมเล่นเกมพร้อมๆกันกับแก๊งสามช่า โดยทีมของใครที่สามารถทำสถิติคะแนนจากการแข่งขันได้มากที่สุด หรือมีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันในทีมนั้นจะได้คะแนนไป แต่หากมีทีมมากกว่าหนึ่งทีมที่มีผลการแข่งขันดีที่สุด ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในทีมดังกล่าวทั้งสองทีม หรือสามทีมจะได้รับคะแนนไป ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะได้คะแนนหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับว่าทีมของตนจะมีผลการแข่งขันดีที่สุดหรือไม่นั่นเอง
แต่ในเทปวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแก๊งสามช่า 1 คน จาก 4 คน คือ หม่ำ, เท่ง, โหน่งและตุ๊กกี้ เมื่อผู้เข้าแข่งขันเลือกแก๊งสามช่าครบแล้ว สมาชิกแก๊งสามช่าคนใดที่ไม่ถูกเลือกจะต้องช่วยเล่นให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ทีม (หมายความว่า แก๊งสามช่าคนที่ไม่ถูกเลือกนั้นจะต้องเล่นถึง 3 รอบ หรือเป็นตัวช่วยนั่นเอง)
ใครกันหนอ[แก้]
เกมใครกันหนอนี้ เป็นเกมเดียวกันกับที่เคยเล่นในชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า และเล่นอยู่จนถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยในยุคนี้จะมีคำถามแค่ข้อเดียวเท่านั้น (ก่อนหน้านี้จะมีคำถาม 2 ข้อ)
ชิงร้อยฯ โชว์/สามช่า พามาโชว์[แก้]
เกมชิงร้อยฯ โชว์ เป็นการแสดงโชว์ของแปลกหรือสิ่งที่น่าสนใจในรายการ แต่ในบางสัปดาห์จะมีแขกรับเชิญ โดยอาจเป็นการทายแขกรับเชิญจากคำใบ้ของแก๊งสามช่า หรืออาจให้แขกรับเชิญท้าแก๊งสามช่าแข่งเกมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแขกรับเชิญคนนั้นๆ โดยคำถามในแต่ละสัปดาห์นั้นอาจมีตัวเลือกให้ตอบหรือไม่มีตัวเลือกให้ตอบก็ได้ โดยผู้ที่ตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะไม่ได้คะแนน
ขุดขื้นมาฮา[แก้]
เกมขุดขึ้นมาฮา เป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของรายการ โดยจะเป็นการถามว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวกับแก๊งสามช่าคนไหน หรือเกี่ยวกับสิ่งของอะไร ซึ่งเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรายการตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2546 และล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่สนุกสนานทั้งสิ้น ให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบบนลงกระดานและเปิดแผ่นป้ายเฉลยคำตอบ ถ้าตอบถูกรับ 1 คะแนน ตอบผิดจะไม่ได้คะแนน เกมนี้เริ่มใช้ในรายการตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จนถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ท้าคนชนคลิป[แก้]
เกมท้าคนชนคลิป เป็นเกมใหม่ที่เกิดขึ้นแทนที่เกมชิงร้อยฯ โชว์ โดยเป็นการนำคลิปความสามารถแปลกๆจากทั่วทุกมุมโลกมาให้ได้ชมกัน หลังจากนั้นจะเชิญผู้ที่มีความสามารถเช่นเดียวกับในคลิปที่เป็นคนไทยมาแสดงความสามารถ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการท้าเกิดขึ้น โดยการท้านั้นพิธีกรจะกำหนดกติกาสำหรับท้าผู้ที่เชิญมา และผู้ที่ถูกท้าจะต้องทำให้ได้ตามคำท้าของพิธีกร สำหรับผู้เข้าแข่งขันจะมีหน้าที่ทายว่าผู้ที่เชิญมาจะทำได้ตามคำท้าหรือไม่ ถ้าทายถูกจะได้รับ 1 คะแนน เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ถูกใจให้ร้อย[แก้]
ถูกใจให้ร้อย ถือเป็นช่วงใหม่ของรายการซึ่งแทนที่ขุดขึ้นมาฮา โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านมาแสดงความสามารถที่คิดว่าสามารถทำให้ผู้ชมถูกใจได้ โดยการตัดสินนั้น ผู้ชมจะมีปุ่มกดอยู่ในมือแล้ว หากพึงพอใจโชว์ที่แสดง ก็สามารถก็ปุ่มนั้นได้ โดยผลคะแนนที่ได้จะวัดเป็น 10 ระดับ โดยระดับสูงสุดจะเรียกว่าระดับ 100 หากสามารถทำให้ผู้ชมพึงพอใจและได้รับคะแนนในระดับ 7 ขึ้นไป ก็จะได้รับถ้วยรางวัล แต่ในรอบนี้ไม่มีคะแนนสะสมใดๆ เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ว้าวก่อนนอน[แก้]
ว้าวก่อนนอน ถือเป็นช่วงใหม่ของรายการอาจจะสลับช่วงถูกใจให้ร้อยบางสัปดาห์ โดยเป็นการแสดงทดลองวิทยาศาสตร์ของเท่ง เถิดเทิง ที่นำมาเสนอในบางสัปดาห์ จนพิธีกร ดารารับเชิญ และผู้ชมในห้องส่งจนต้องร้องเสียงดัง "ว้าว" แต่ในรอบนี้ไม่มีคะแนนสะสมใดๆ
รอบสะสมเงินรางวัล[แก้]
ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า นั้นยังคงใช้รูปแบบเดียวกับชิงร้อยชิงล้าน Super Game โดยมี 2 รอบและ 2 เกมด้วยกันในยุคแรก ยุคกลาง และยุคสุดท้าย ต่อมาในยุคสุดท้ายเหลือเกมเดียวแต่สะสม 2 รอบ แต่ถูกปรับปรุงมาหลายครั้งด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย
ถังแตก[แก้]
เกมถังแตกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2549 โดยใช้รูปแบบเดียวกันกับชิงร้อยชิงล้าน Super Game ในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย ในแต่ละป้ายจะมีป้ายผู้สนับสนุนหลักในรอบถังแตกอยู่ 8 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการแจกเงิน 100,000 บาท คือตู้เซฟลีโก้ ต่อมาเป็นทเวลฟ์ พลัส (ใช้เพียงระยะสั้นๆ) ผงชูรสอายิโนะทะกะระ ตราภูเขา ผงปรุงรสรสหนึ่ง และกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และป้ายถังแตกอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 8 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลเพียง 80,000 บาทเท่านั้น ถ้าเปิดป้ายผู้สนับสนุนหลักแล้วป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีพร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาทไปด้วย (ซึ่งสถิติในการเปิดป้ายเจอผู้สนับสนุนหลักมากที่สุดคือ 6 ใบ) โดยในรอบนี้มีแจ็คพอตแตกถึง 4 ครั้ง
เหตุการณ์แจ๊กพอตแตกทั้ง 4 ครั้งในรอบถังแตก[แก้]
- ครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นทีมของ สายฟ้า เศรษฐบุตร / เต่า เชิญยิ้ม และทีมของ ภัครมัย โปตระนันท์ / คณิตกุล เนตรบุตร (แพรว คูณสามซูเปอร์แก๊ง)
- ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดย 3 ผู้เข้าแข่งขันคือ อานนท์ สายแสงจันทร์ (ปู แบล็คเฮด) , อัยย์ พรรณี และ เหลือเฟือ มกจ๊ก
- ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 โดย 3 ผู้เข้าแข่งขันคือ สุวินิต ปัญจมะวัต , แวร์ โซว และ ชาติชาย งามสรรพ์
- ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2547 โดย 3 ผู้เข้าแข่งขันคือ ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ , เมย์ เฟื่องอารมย์ และ พนมกร ตังทัตสวัสดิ์
โดยแจ๊กพอตแตกทั้ง 4 ครั้งนี้ เป็นการเปิดเจอถังแตกติดกัน 4 แผ่นป้ายทั้ง 4 ครั้ง
ในกลางปี พ.ศ. 2549 ถึงต้นปี พ.ศ. 2552 ถูกปรับเปลี่ยนโดยในเกมนี้จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัล 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้) และแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักที่มีรูปถังแตกอีก 6 แผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอผู้สนับสนุนหลักครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก ป้ายต่อไปเป็นถังแตก จะถือว่าเกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกเป็นถังแตก ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเลยในเกมนี้ เกมนี้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 (ชิงร้อยชิงล้าน Super Game) ถึงปี พ.ศ. 2552 (ในยุคชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก)
จับคู่[แก้]
เกมนี้เป็นการจับคู่กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่มาจากยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ช่วงที่ย้ายจากช่อง 7 มาช่อง 3 โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของกาแฟ 2 รส รสละ 6 แผ่นป้าย [โรบัสต้าและมิลค์กี้คอฟฟี่ (ภายหลังเป็นซูเปอร์เบลนด์)] โดยให้เลือกมา 8 แผ่นป้าย โดยจะต้องเปิดให้ได้โรบัสต้าหรือซูเปอร์เบลนด์ (มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 ของแผ่นป้ายทั้งหมด ถ้าหากจับคู่ได้ถูกต้องจะได้คู่ละ 20,000 บาท ถ้าไม่ถูกต้องจะไม่ได้เงินรางวัลใดๆ ถ้าหากจับคู่ได้โรบัสต้าหรือซูเปอร์เบลนด์ (มิลค์กี้คอฟฟี่) 3 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาททันที ถ้าหากจับคู่ได้อย่างละ 2 ใน 4 จะได้รับเงินรางวัล 80,000 บาทแต่แจ็คพอตจะไม่แตก เกมนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2541 (ใช้ต่อจากยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ช่วงที่ย้ายจากช่อง 7 มาช่อง 3) และยกเลิกในปีเดียวกัน โดยไม่มี Jackpot แตกเลย แต่เคยมีเหตุการณ์ที่เกือบแจ๊กพอตแตก เมื่อเทปวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยจับคู่ได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้า 2 คู่ เบอร์ดี้ รสซูเปอร์เบลนด์ 1 คู่ แต่คู่สุดท้ายจับคู่ไม่สำเร็จ เพราะเปิดได้เบอร์ดี้ รสโรบัสต้าและรสซูเปอร์เบลนด์อย่างละ 1 แผ่นป้าย โดยได้เงินรางวัลสะสมในรอบนี้ 60,000 บาท
ภายหลังในช่วงกลางปี พ.ศ. 2542 ก็ได้นำเกมนี้มาเล่นใหม่อีกครั้ง แต่กติกาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 แถว แถวละ 1 รส (เบอร์ดี้ตอนนั้นคือ โรบัสต้าและซุปเปอร์เบลนด์ และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักมาเป็นเครื่องดื่มนมเปรี้ยวคาลพิโก้ ซึ่งเป็นของอายิโนะโมะโต๊ะเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นรูปนมเปรี้ยวกระป๋องรสส้มกับรสองุ่น) โดยจะมี 12 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปกระป๋องของแต่ละรส ซึ่งจะมี 6 แผ่นป้ายต่อรสชาติ โดยให้เลือก 8 แผ่นป้าย โดยจะต้องวางบนแถวบน 4 แผ่นป้าย แถวล่างอีก 4 แผ่นป้าย ถ้าหากจับคู่ตรงกับรสชาติจะได้รับเงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าไม่ตรงกันจะไม่ได้รางวัล ถ้าหากจับคู่ได้ทั้งหมดครบ 8 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัล 1,000,000 บาททันที เกมนี้ใช้เล่นตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2542 ถึง กลางปี พ.ศ. 2544 ซึ่งในรอบนี้มีแจ๊กพอตแตก 1 ครั้ง คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
สลับตำแหน่ง[แก้]
เกมนี้เป็นการวางสลับตำแหน่งของกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในเกมนี้ ในเกมนี้จะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 รส รสละ 6 รูป (ในขณะนั้นคือรสโรบัสต้ากับซุปเปอร์เบลนด์ ส่วนในปี 2542 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโลโก้เบอร์ดี้และคาลพิโก้) โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยให้เลือกแผ่นป้ายมา 8 แผ่นป้าย โดยถ้าป้ายแรกเป็นกาแฟกระป๋องรสอะไร ป้ายต่อไปต้องสลับไปเป็นอีกรสหนึ่งเท่านั้น ถ้าสลับกับป้ายก่อนหน้านั้นจะได้เงินรางวัลสะสมป้ายละ 5,000 บาท ถ้าซ้ำกับป้ายก่อนหน้านั้นจะไม่ได้รางวัล แต่ถ้าสลับกันครบทุกป้าย จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ช่วงที่ย้ายไปช่อง 5
ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้ปรับกติกาเล็กน้อยและเปลี่ยนผู้สนับสนุนเป็นเครื่องดื่มเป๊ปซี่(โดยรสพิเศษที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกมาในขณะนั้นคือ เป๊ปซี่ ไฟร์&ไอซ์) โดยส่วนบนจะมีแผ่นป้ายรสไฟร์และไอซ์ อย่างละ 3 แผ่นป้าย และมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายรสไฟร์ 6 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายรสไอซ์ 6 แผ่นป้าย โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และเปิดให้สลับรสก่อนหน้านี้ในส่วนบน(เช่น ไฟร์-ไอซ์ และ ไอซ์-ไฟร์) ถ้าสลับกับป้ายรสชาติก่อนหน้านั้นจะได้รับเงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดซ้ำคู่กันจะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสม ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดสลับกันครบ 6 แผ่นป้าย ทั้ง 2 รสชาติ จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท
ต่อชิ้นส่วน[แก้]
เกมนี้เริ่มใช้เมื่อกลางปี พ.ศ. 2544 ถึงต้นปี พ.ศ. 2550 เป็นการวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนของกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ และต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ โดยจะมีรูปกาแฟกระป๋อง 2 รสชาติ (โรบัสต้าและซุปเปอร์เบลนด์) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (บน,กลาง,ล่าง) ส่วนละ 2 แผ่นป้ายต่อ 1 รสชาติ ผู้แข่งขันต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนของรายการทั้งหมด 6 แผ่นป้ายมาวางตามตำแหน่งของกาแฟกระป๋องแต่ละรสชาติ หากถูกรสชาติและถูกตำแหน่ง จะได้รับตำแหน่งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากไม่ถูกตำแหน่ง ไม่ถูกรสชาติ ถูกรสชาติ ไม่ถูกตำแหน่ง หรือถูกตำแหน่งแต่ไม่ถูกรสชาติ จะไม่ได้เงินรางวัลใดๆ หากวางตำแหน่งได้ถูกต้อง 1 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท และถ้าหากวางตำแหน่งได้ถูกต้องทั้ง 2 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 (เมื่อเปลี่ยนฉากใหม่) มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยรูปกาแฟกระป๋องยังแบ่งเป็น 2 กระป๋องเช่นเดิม แต่จะมีเพียงแค่ 2 ส่วน (บน,ล่าง) ส่วนละ 3 แผ่นป้ายต่อ 1 รสชาติ โดยต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการมา 4 แผ่นป้าย และเปิดให้เป็นชิ้นส่วนบนและชิ้นส่วนล่างของกาแฟกระป๋องตรงตำแหน่งกันจะได้เงินรางวัล 5,000 บาทแต่เปิดป้ายเจอชิ้นส่วนบนหรือส่วนล่างแต่ไม่ตรงกันจะไม่มีเงินรางวัลอย่างใด ทั้งนี้ถ้าวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ชิ้นส่วนบนและชิ้นส่วนล่างของกาแฟกระป๋องตรงกัน 1 กระป๋องรสชาติ จะได้เงินรางวัล 100,000 บาท แต่ถ้าวางตำแหน่งตรงกันทั้ง 2 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2546 (เมื่อเหลือเพียง 1 รสชาติ คือรสโรบัสต้าเท่านั้น) จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาอีกครั้ง โดยจะมีรูปกาแฟกระป๋องรสโรบัสต้าส่วนบนทั้งหมด 6 กระป๋อง แบ่งเป็น 2 แถว แถวละ 3 กระป๋อง และมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย โดยแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนบน 6 แผ่นป้าย และชิ้นส่วนล่าง 6 แผ่นป้าย โดยจะต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และเปิดให้เป็นชิ้นส่วนล่างของกาแฟกระป๋องเท่านั้น ถ้าเปิดได้ชิ้นส่วนล่าง 1 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสมกระป๋องละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดได้เป็นชิ้นส่วนบนจะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสม ทั้งนี้ถ้าสามารถวางตำแหน่งจิ๊กซอว์ของกระป๋องถูกต้องได้ 1 แถว หรือ 3 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท แต่ถ้าสามารถวางตำแหน่งของกระป๋องได้ถูกต้องทั้ง 2 แถว หรือ ถูกทั้งหมด 6 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 (เมื่อย้ายมาช่อง 7) ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนเป็นเครื่องดื่มเป๊ปซี่ โดยมีรูปเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ 6 กระป๋องส่วนบน และมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายโดยแบ่งเป็นชิ้นส่วนบน 6 แผ่นป้าย และชิ้นส่วนล่าง 6 แผ่นป้ายตามรสที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกมาในขณะนั้น (รสพิเศษที่ผู้ผลิตได้ผลิตออกมาในขณะนั้นคือ เป๊ปซี่ ลาเต้ ต่อมาเป็น เป๊ปซี่ โกลด์) โดยให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และเปิดให้เป็นชิ้นส่วนล่างของเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ ถ้าเปิดได้เป็นชิ้นส่วนล่างจะได้รับเงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดได้เป็นชิ้นส่วนบนจะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสม ทั้งนี้ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายชิ้นส่วนล่างของเครื่องดื่มกระป๋องเป๊ปซี่ครบ 6 กระป๋อง จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท
พรานทะเลพรานเท่ง[แก้]
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2550 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นจับคู่เหมือน โดยผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งยี่ห้อพรานทะเลเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลและเป็นผู้สนับสนุนหลักในเกมนี้ โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีรูปผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งพรานทะเล 6 ชนิด ชนิดละ 2 แผ่นป้าย โดยเปิดป้ายให้ได้ผลิตภัณท์อาหารแช่แข็งพรานทะเลที่ตรงกับที่กำหนดไว้ จะได้เงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าไม่ตรงกันจะไม่ได้เงินรางวัลเลย แต่ถ้าจับคู่ตรงกับที่กำหนดไว้ครบทั้ง 6 ชนิด จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาททันที ภายหลังได้เปลี่ยนกติกาใหม่โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายพรานทะเลอยู่ 6 แผ่นป้ายและป้ายพรานเท่งอยู่ 6 แผ่นป้าย โดยเปิดป้ายให้ได้ป้ายพรานทะเล จะได้เงินรางวัลสะสม 5,000 บาท แต่ถ้าเปิดเจอป้ายพรานเท่ง จะไม่ได้เงินรางวัลเลย แต่ถ้าเปิดเจอป้ายพรานทะเลครบ 6 ป้าย จะได้เงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาททันที เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2550 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2551
ลุ้นยิ้มลุ้นโชค[แก้]
เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก และทดแทนเกมถังแตกที่เลิกใช้ไป โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีรูปใบหน้าของเหล่าสมาชิกแก๊งสามช่าทั้ง 3 ได้แก่ หม่ำ, เท่ง และ โหน่ง ในอิริยาบถยิ้ม และเศร้า โดยแผ่นป้ายรูปหน้ายิ้ม และหน้าเศร้าจะมีอย่างละ 6 แผ่นป้ายด้วยกัน หากเปิดป้ายได้ใบหน้าของสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มจะได้เงินรางวัลสะสม 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดเป็นรูปสมาชิกแก๊งสามช่าที่เศร้าเกมจะหยุดลงทันทีแม้จะเปิดเป็นแผ่นป้ายแรกก็ตาม ทั้งนี้ หากสามารถเปิดป้ายสมาชิกแก๊งสามช่าที่ยิ้มได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท เกมลุ้นยิ้มลุ้นโชคได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เป่ายิ้งฉุบ[แก้]
เกมนี้ เป็นเกมที่มาจากชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ กระทิงแดง ต่อมา กาแฟสำเร็จรูปเบอร์ดี้) ซึ่งมีหมายเลข 1-6 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1 ผลิตภัณฑ์ (เบอร์ดี้ ไอซ์คอฟฟี่ และเบอร์ดี้ ทรีอินวัน) ทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นมือรูปค้อน 4 แผ่นป้าย, มือรูปกระดาษ 4 แผ่นป้าย และมือรูปกรรไกร 4 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการมา 6 แผ่นป้าย และวางในตำแหน่งที่ได้จัดไว้ จากนั้นจะต้องเปิดแผ่นป้ายให้ได้รูปมือสัญลักษณ์ที่สามารถชนะแผ่นป้ายรูปมือที่ติดไว้ด้านบนได้ โดยอ้างอิงจากกติกาของเกมเป่ายิ้งฉุบ (เช่นหากแผ่นป้ายด้านบนเป็นค้อน แผ่นป้ายล่างต้องเปิดให้ได้กระดาษ เป็นต้น) ถ้าหากสามารถเปิดแผ่นป้ายแล้วชนะแผ่นป้ายด้านบนได้ จะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากผลออกมาเสมอ (เปิดแผ่นป้ายได้เหมือนกับด้านบน) หรือผลออกมาแพ้ก็จะไม่ได้เงินรางวัลสะสม หากสามารถเป่ายิ้งฉุบชนะได้ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท เกมเป่ายิ้งฉุบได้ยุติลงในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับเกมลุ้นยิ้มลุ้นโชค
ตู้มหาสมบัติ[แก้]
เกมนี้ เป็นการจับฉลากเงินในตู้ลม กติกาคือมีฉลากราคาตั้งแต่มูลค่า 20 บาท / 50 บาท / 100 บาท / 500 บาท และ 1,000 บาท ชนิดละ 100 ใบ อยู่ในตู้ลม ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนส่งตัวแทน 1 คนในการจับฉลากราคาให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 30 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วนำมานับฉลากราคาที่จับมาและเป็นเงินรางวัลสะสม โดยจะทำการสะสมรางวัลในเกมนี้ 2 รอบเหมือนกับเปิดแผ่นป้ายสะสมเงินรางวัลที่ผ่านมา (โดยเฉลี่ยผู้เข้าแข่งขันจะทำได้ประมาณ5,000บาท ถึง 20,000บาทต่อรอบ)
รอบตัดสิน[แก้]
ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot
เปิดป้ายคะแนน(ชิงบ๊วย)[แก้]
มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักในรอบนั้นที่มีเลข 1-12 12 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักคือเป๊ปซี่ (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 และปลายปี พ.ศ. 2547) เครื่องดื่มเกเตอเรด (พ.ศ. 2546 - กลางปี พ.ศ. 2547) โบตันมินต์บอล (พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550) แอทแทค อีซี่ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551) และป๊อป ซีเคร็ท (พ.ศ. 2551) ต่อมาตั้งแต่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้เปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของคุณปัญญา,คุณมยุรา และคุณหม่ำ โดยแผ่นป้ายปัญญาหรือป้ายมยุรามีค่า 10 คะแนน (แต่ในกรณีที่เปิดแผ่นป้ายเดียว ป้ายมยุราจะสามารถชนะป้ายปัญญา) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันทีเช่นเดียวกัน) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่, ทายดาราปริศนา (ยุคที่ 1) ทำได้หรือไม่ได้, ทายสามช่ารับเชิญ, ใครกันหนอ (ยุคที่ 2 และ 3) ด้วย โดยในช่วงปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมมากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับทีมที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ทีมนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2542 ที่มีผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เปิด 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่คะแนนน้อยกว่าลงมา ไม่ว่าจะเท่ากันหรือไม่ก็ตาม จะได้เปิดคนละ 1 แผ่นป้าย แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเท่ากันทั้งสามคนจะได้เปิดคนละ 1 แผ่นป้าย
และในปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2552 (จนถึงยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) ได้ถูกปรับเปลี่ยนเล็กน้อยโดยมีหลักการดังต่อไปนี้
- กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้เล่นที่มีคะแนนมากกว่ามีสิทธิ์เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เล่นที่มีคะแนนน้อยกว่าได้เลือก 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ถือว่าตกรอบโดยอัตโนมัติ
- กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยกว่าสองคนดังกล่าว ถือว่าตกรอบเช่นกัน
- กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่เหลือ จะได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย
- กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เลือกคนละ 1 แผ่นป้ายทุกคน
สำหรับการเล่นเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ผู้ที่เปิดได้ 2 ป้ายจะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัลโดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ต่อมาเป็นซอสหอยนางรมตรา แม่ครัว) ทว่าในทางปฏิบัติ การจะได้สิทธิ์ลุ้นเงินรางวัล 100,000 บาทได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักในข้อที่ 1 และข้อ 3 ซึ่งได้กล่าวมาไว้ข้างต้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา จะไม่มีการให้เงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาทในกรณีที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุราอีก โดยให้ถือว่าผู้ที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุรานั้นเข้ารอบสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติแทน
ประตูหม่ำนำโชค[แก้]
เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯ โชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้
- กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
- กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำและตุ๊กกี้ ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
- กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง,โหน่ง และตุ๊กกี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
- กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอหม่ำ จะได้รับช่อดอกไม้แสดงความยินดีจากคุณหม่ำที่สามารถผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆอาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน
เกมนี้ มีพัฒนาการมาจาก "ประตูหม่ำ ประตูหมื่น" และ “ชิงบ๊วย” จาก ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret และ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ในปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 อย่างไรก็ดี เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หม่ำ จ๊กมก เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกมใหม่มาเป็นประตูสามช่ามหาสมบัติแทน
ประตูสามช่ามหาสมบัติ[แก้]
เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯโชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้
- กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
- กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติและแก๊งสามช่า อย่างละ 1 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
- กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 3 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
- กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอกล่องมหาสมบัติ จะได้ผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆ อาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน
รอบสุดท้าย[แก้]
เดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 - เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[แก้]
มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายเลข 0 6 แผ่นป้าย มีเงินรางวัล 10,000 บาท และป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์ง่วนเชียงในปี 2541 ต่อมาเปลี่ยนเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ในปีเดียวกันจนเปลี่ยนกติกา) โดยในการเปิดแผ่นป้าย จะมี 3 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักที่มีตัวเลข 20,000 กำกับ (ช่วงแรกเป็นรูปหม่ำ จ๊กมกยิ้มพร้อมเลข 20,000) ซึ่งมีเงินรางวัล 20,000 บาท แต่อีก 3 ป้ายเป็นป้ายเปล่า (ช่วงแรกเป็นรูปหม่ำ จ๊กมกหน้าบึ้ง) ถือว่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้าย 0 ครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่ง 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมส่งมานั่นเอง(ช่วงแรกให้ทางดาราปริศนาเป็นผู้จับ ต่อมาเมื่อเปลี่ยนผู้สนับสนุนใหม่เป็นผลิตภัณฑ์มาม่า ได้ให้ตัวแทนผู้เข้าแข่งขันจับชิ้นส่วนแทน) แต่ถ้าหากเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักหรือหม่ำครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเพียงฝ่ายเดียว ส่วนผู้โชคดีทางบ้านก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติเช่นเดียวกับยุค ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ต่อมาถูกปรับเปลี่ยนเป็นได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาททั้ง 2 รูปแบบ แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 ชิ้นส่วน เมื่อจบการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันท่านใดเข้ารอบแจ็คพอดผู้โชคดีทางบ้านรับไปเลยเงินรางวัล 1,000,000 บาท ส่วนอีก 2 ท่านที่เหลืออาจจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทหรือผลิตภัณฑ์มาม่าไปรับประทานฟรี 1 ปีแล้วแต่ยุค
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - กลางปี พ.ศ. 2552[แก้]
ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือการเปิดป้ายกติกาเช่นเดียวกับรูปแบบแรกของปี 2536 แต่เงินรางวัลไม่เหมือนกัน มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ต่อมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารตราแม่ครัวฉลากทอง) 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีป้ายเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท และแผ่นป้ายเลข 0 มี 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าซึ่งไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการนั่นเอง แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาคนละ 1 ชิ้นส่วน เมื่อจบการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันท่านใดเข้ารอบแจ็คพอดผู้โชคดีทางบ้านรับไปเลยเงินรางวัล 1,000,000 บาท ส่วนอีก 2 ท่านที่เหลืออาจจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทหรือผลิตภัณฑ์มาม่าไปรับประทานฟรี 1 ปีแล้วแต่ยุค
โดยผู้พิชิตแจ๊คพอตคนแรกและคนเดียว คือ บอล เชิญยิ้ม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549
เปิดป้ายโลกยิ้ม[แก้]
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2552 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-6 2 แถว แถวละ 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี พ.ศ. 2552 คือ ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ พานาโซนิค) โดยมีแผ่นป้ายรูปโลกยิ้ม 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายเลข 0 มี 6 แผ่นป้าย เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายโลกยิ้มได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน
ผ้าขาว-แบคทีเรีย[แก้]
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2552 - กลางปี พ.ศ. 2553 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-12 (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553 คือ ผงซักฟอก แอทแทค อีซี่) โดยมีแผ่นป้ายรูปเสื้อสีขาว 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายรูปแบคทีเรีย 3 หัว 6 แผ่นป้าย (รูปแบคทีเรียจะเป็นใบหน้าของแก๊งค์สามช่า หม่ำ/เท่ง/โหน่งอยู่ในร่างเดียวกัน) เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายรูปเสื้อสีขาวได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน
เปิดป้ายปัญญา-มยุรา[แก้]
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 - ปลายปี พ.ศ. 2554 ได้ปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ คือมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักทั้งหมด 12 แผ่นป้ายที่มีหมายเลข 1-12 (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554 คือ คาโอ) โดยมีแผ่นป้ายรูปใบหน้าของพิธีกรรายการ 6 แผ่นป้าย โดยในการเปิดแผ่นป้าย จะมีป้ายปัญญา 3 แผ่นป้าย และป้ายมยุรา 3 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัล 10,000 บาท และแผ่นป้ายรูปใบหน้าสมาชิกแก๊งสามช่า 6 แผ่นป้าย (หม่ำ/เท่ง/โหน่ง/ตุ๊กกี้/ส้มเช้ง/พัน คนละ 1 แผ่นป้าย) เป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายรูปพิธีกรได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท อย่างไรก็ดี ในยุคนี้ไม่มี Jackpot แตกเลยเช่นกัน
ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]
ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่านั้นจะมีทีมละ 2 ทีมด้วยกันโดยแต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนด้วยกัน (รูปแบบคล้ายคลึงกับ ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret) โดยตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 ถึง 20 มกราคม พ.ศ. 2542 ตั้งแต่ภายหลังถูกปรับเปลี่ยนเป็น 3 คนต่อสัปดาห์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะไม่เหมือนกัน ในกรณีที่ทางรายการจะเชิญดารานักแสดงชาย 2 คนและหญิง 1 คน ในสัปดาห์ต่อไปจะเชิญดารานักแสดงหญิง 2 คนและดารานักแสดงชาย 1 คน สลับกันสัปดาห์เว้นสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2542 ถึงช่วงปัจจุบัน โดยผู้แข่งขันที่เป็นคู่ 2 คู่แรกที่ได้มาแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง/เมทนี บูรณศิริ และ นาตาชา เปลี่ยนวิถี/ธัญญา สื่อสันติสุข ส่วนผู้แข่งขันที่เป็นยุค 3 คนต่อสัปดาห์ ผู้แข่งขัน 3 คนแรกที่ได้มาแข่งขันในรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า คือ สมชาย เข็มกลัด,ดารณีนุช โพธิปิติ และ โน้ต เชิญยิ้ม
เทปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นเทปที่มีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิงล้วนทั้ง 3 คน ต่างจากเทปอื่นที่ผ่านมา
เพลงประกอบ[แก้]
เพลงนี้เป็นเพลงที่คุณ ธนพร แวกประยูร ร่วมร้องบทเพลงที่มีชื่อว่า “ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า”
ฉาก[แก้]
ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า มีฉากที่ค่อนข้างใหญ่และแปลกไปจากเดิม มีความเป็นโชว์มากขึ้นกว่าชิงร้อยชิงล้านยุคก่อน โดยฉากแบบแรกได้รับอิทธิพลมาจากเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนฉากไปเป็นรูปแบบศิลปะคล้ายตะวันออกกลาง มีส่วนประกอบ ดังนี้
- อุโมงค์รูปหัวสิงโต ถือเป็นสัญลักษณ์เด่นประจำรายการชิงร้อยชิงล้าน โดยหัวสิงโตนั้นมีอยู่สองรูปแบบ
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่ 1 เป็นรูปหัวสิงโตตัวเมียสีเหลืองทอง (คล้ายโลโก้รายการ ซึ่งหัวสิงโตรูปแบบนี้คล้ายกับอุโมงค์ทางเข้าออกรูปสิงโตตัวผู้หมอบบริเวณด้านหน้าโรงแรม MGM GRAND ที่เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ดวงตาสิงโตเป็นสีเขียว ประตูอุโมงค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อยู่ใต้คางของหัวสิงโต มีสองประตู ประตูทางด้านขวา มีไฟกะพริบคำว่า Cha ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประตูที่ปิดอุโมงค์ไว้ ส่วนประตูทางด้านซ้ายจะเป็นประตูเงา สำหรับให้ดาราปริศนาอยู่ทางด้านหลัง และส่องไฟจากทางด้านหลังเป็นเงาของดาราปริศนาออกมา (ใช้ในรอบดาราปริศนา) ใช้ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคแรก (4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545) ส่วนประตูเงาใช้มาจนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่ 2 ได้พัฒนามาจากหัวสิงโตรูปแบบแรก และการใช้งานก็เหมือนหัวสิงโตรูปแบบแรก แต่ต่างกันที่รูปทรงที่เปลี่ยนไปคือเป็นรูปสิงโตตัวผู้อ้าปาก (คล้ายกับสิงโตในโลโก้ของบริษัทผลิตภาพยนตร์ MGM ในประเทศสหรัฐอเมริกา) สีเหลืองทอง ดวงตาสีแดง มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ปาก ลวดลายประดับสิงโตแบบตะวันออกกลาง พื้นหลังเป็นครึ่งวงกลมสีแดง มีรูปดอกไม้เล็กๆสีเหลือง หลายดอกประดับ (พ.ศ. 2545 - ปลายปี พ.ศ. 2546 มีพื้นหลังมีสีน้ำตาล มีรูปหัวสิงโตเล็กๆ) มีประตูสองประตูทรงหกเหลี่ยมอยู่ในปากสิงโต ประตูแรกเป็นรูปโลโก้รายการมีไฟกระพริบ พื้นหลังสีแดง (ตอนแรกมีแค่รูปหัวสิงโต มีไฟกระพริบบนพื้นหลังสีดำ) เป็นประตูหลักที่ใช้ปิดอุโมงค์ และประตูที่สองจะเป็นรูปต่างๆที่สอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ (ในรอบสามช่ารับเชิญ) และการแข่งขันในรอบแข่งเกม (ในรอบทำได้หรือไม่ได้) (ใช้ตั้งแต่ 4 กันยายน พ.ศ. 2545 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554) และหัวสิงโตรูปแบบนี้ได้มีการใช้ในชิงร้อยชิงล้าน ยุคต่อมาจนถึงปัจจุบันแต่ได้มีการตกแต่งประดับดวงไฟต่างๆไว้ที่หัวสิงโต และไม่มีประตูกับฉากหลัง
อุโมงค์สิงโตทั้งสองแบบ สามารถเปิดแยกเป็นสองส่วนได้ สำหรับให้ดาราสามช่ารับเชิญออกมาจากหลังฉาก และหลังฉากสิงโตจะมีรูปโลโก้รายการประดับไฟ และมีบันไดประดับ 2 บันไดอยู่บริเวณโลโก้อีกด้วย
- โดมหมุนรูปแก๊งสามช่า เป็นลักษณะฉากประตูรูปแก๊งค์สามช่า 3 รูป พื้นวงกลม สามารถหมุนเปิดได้โดยจะหมุนไปทางด้านขวา ใช้หมุนเปิดฉากละครสามช่า(ตอนใกล้จะจบละคร) (ฉากรองในช่วงต่างๆ)หรือจะเป็นช่วงแข่งเกม(จุดเริ่มต้นหรือเส้นชัย) ยาวไปจนรอบสามช่ารับเชิญ สำหรับให้สามช่ารับเชิญไปยืนตรงนั้น
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่ 1 มีทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
- แบบแรก เป็นพื้นวงกลม มีรูปแก๊งค์สามช่าคือหนู (สีแดง อยู่ด้านซ้าย) หม่ำ (สีเขียว อยู่ตรงกลาง) และเท่ง (สีน้ำเงิน อยู่ด้านขวา) มีไฟกระพริบประดับระหว่างรูป หลังประตูรูปแก๊งค์สามช่าจะเป็นแถบสีเขียวและขาวสลับกัน และเพิ่มโลโก้รายการ (หัวสิงโต) ไว้ประตูตรงกลางหลังรูปของหม่ำ ใช้ตั้งแต่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2541
- แบบที่สอง คล้ายกับแบบแรกแต่ต่อมาหนู เชิญยิ้มได้ออกจากแก๊งค์สามช่า รูปของหนูจึงแทนที่ด้วยโลโก้รายการแทน ใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541 - 1 กันยายน พ.ศ. 2542
- แบบที่สาม คล้ายกับแบบแรกแต่ได้เพิ่มรางขั้นวงกลมหมุน ซึ่งจะอยู่ในแนวเดียวกับรูปแก๊งค์สามช่า และพื้นวงกลมสำหรับตั้งวางฉากต่างๆ มีประตูรูปแก๊งค์สามช่าคือหม่ำ (สีเขียว อยู่ตรงกลาง) เท่ง (สีแดง อยู่ด้านซ้าย) และโหน่ง (สีน้ำเงิน อยู่ด้านขวา) มีไฟกระพริบระหว่างรูป หลังประตูดังกล่าวจะมีแถบสีเขียวและขาวสลับกัน และเพิ่มโลโก้รายการ (หัวสิงโต) ไว้ประตูตรงกลางหลังรูปของหม่ำ ใช้ตั้งแต่ 8 กันยายน พ.ศ. 2542 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่ 1 มีทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ยุคที่ 2 ได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่คือ รูปแก๊งสามช่าแต่ละคน(หม่ำ เท่ง โหน่ง)มีการเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าใหม่และท่าทางที่ตลกขบขัน และในเวลาต่อมาได้มีการสลับรูปเท่งกับโหน่งส่วนรูปหม่ำอยู่ที่เดิม มีส่วนที่ยื่นออกมาขั้นแต่รูปไว้ หลังประตูรูปแก๊งค์สามช่าจะเป็นลวดลาย สไตล์ตะวันออกกลาง พื้นวงกลมมีสีน้ำตาล มีลวดลายประดับตรงรางขั้นวงกลมหมุน ใช้ตั้งแต่ 4 กันยายน พ.ศ. 2545 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554
- ฉาก 3 ช่า เธียเตอร์ เป็นฉากที่ใช้บังสำหรับฉากละคร เมื่อพอถึงช่วงละคร ฉากนี้จะถูกยกขึ้นแล้วเข้าสู่ฉากละคร ให้ในชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ยุคที่ 2 มีทั้งหมด 3 รูปคือ
- แบบแรก สีน้ำตาล มีโลโก้สิงโตแก๊ง 3 ช่า 5 รูป ขนาดเท่ากัน (พ.ศ. 2545)
- แบบที่สอง สีกากี มีโลโก้สิงโตแก๊ง 3 ช่า 3 รูป ขนาดเล็ก 2 รูป ขนาดใหญ่ 1 รูป (ตั้งแต่ ธ.ค. 2545 - พ.ศ. 2549 มีทั้งแบบไม่มีสีกับมีสี)
- แบบที่สาม มีกระจกจกสีดำทึบและมีม่านสีแดงอยู่บริเวณริม ๆ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552)
- เวทีสามช่าแบนด์
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่1 - วงดนตรีจะอยู่ฝั่งขวาติดกับโดมแก๊งสามช่า
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ยุคที่2 - วงดนตรีจะอยู่ฝั่งซ้ายติดกับฉากและแท่นโพเดียมผู้เข้าแข่งขัน
รายชื่อตอนละครสามช่า[แก้]
ยุค 1[แก้]
ปี 2542[แก้]
- ละคร 3 ช่า ปี 2542 - ปี 2543 ไม่มีการตั้งชื่อละคร 3 ช่า จึงตั้งชื่อละครจากฉาก สถานที่ และเนื้อหาของละคร 3 ช่าตอนนั้น ๆ
ปี 2543[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
5 มกราคม 2543 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาข้ามสหัสวรรษ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
12 มกราคม 2543 | ปีเตอร์แพน | |
19 มกราคม 2543 | 0077 | |
26 มกราคม 2543 | ทะเลรัก | |
2 กุมภาพันธ์ 2543 | ปีใหม่เอย | |
9 กุมภาพันธ์ 2543 | ศึกอัศวินชิงรักหักสวาท | เอ็นดู วงศ์คำเหลา (ภรรยาคุณหม่ำ) , มาลา พงษ์สุวรรณ (ภรรยาคุณเท่ง) (ครั้งที่ 1) , ชุติมา เอี่ยมสุข (ภรรยาคุณโหน่ง) |
16 กุมภาพันธ์ 2543 | เปาปุ้นจิ้น | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
23 กุมภาพันธ์ 2543 | ขุนศึก | |
1 มีนาคม 2543 | ด.ช.ทองคำ มาครับ | |
8 มีนาคม 2543 | ขวานฟ้าหน้าดำ | |
15 มีนาคม 2543 | ไปรษณีย์รัก | |
22 มีนาคม 2543 | ท่าเรือรอนาง | |
29 มีนาคม 2543 | เกมจารชน | |
5 เมษายน 2543 | เกลียดคนจน | |
12 เมษายน 2543 | สวัสดีวันสงกรานต์ | |
19 เมษายน 2543 | ค่าย รด. | |
26 เมษายน 2543 | นักโทษแหกคุก | |
3 พฤษภาคม 2543 | ทาร์ซาน | |
10 พฤษภาคม 2543 | นางพญาผมขาว | |
17 พฤษภาคม 2543 | มรดกรักฟักทอง | |
24 พฤษภาคม 2543 | เปิดเทอมแล้วเพื่อน | |
31 พฤษภาคม 2543 | ไม่มีทราบชื่อเรื่อง | |
7 มิถุนายน 2543 | ลิเก 3 ช่า ตอน พญาหญิงจิงเกอร์เบลล์ | ส้มเช้ง สามช่า (ปรากฏตัวครั้งแรกในนาม ส้มโอ) |
14 มิถุนายน 2543 | เจ้าชายผมทอง | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
21 มิถุนายน 2543 | ผู้ใหญ่ลี | |
28 มิถุนายน 2543 | ไม่ทราบชื่อตอน | |
5 กรกฎาคม 2543 | ศิษย์จอมยุทธ์ | |
12 กรกฎาคม 2543 | ไม่ทราบชื่อตอน | |
19 กรกฎาคม 2543 | ศึกชิงแชมป์หมู่บ้าน | |
26 กรกฎาคม 2543 | โดราเอม่อน | |
2 สิงหาคม 2543 | มังกรหยก | |
9 สิงหาคม 2543 | เสือดำจอมโจรพ่อลูกอ่อน | |
16 สิงหาคม 2543 | ไอ้หนุ่มหมึกเมา | |
23 สิงหาคม 2543 | ไม่ทราบชื่อเรื่อง | |
30 สิงหาคม 2543 | 3 ช่าคาเฟ่ หักเหลี่ยมเล่ห์ฮา | |
6 กันยายน 2543 | ผมชื่อนายวินิตค่ะ | |
13 กันยายน 2543 | ไอ้หนุ่มลิเกเสภา | |
20 กันยายน 2543 | คู่กรงคู่กรรม | |
27 กันยายน 2543 | ฝ่าสมรภูมินรก | |
4 ตุลาคม 2543 | ฟ้าทะลายโจร (รักซ้อน/ซ่อนเงื่อน/เพื่อนทรยศ) | |
11 ตุลาคม 2543 | มนต์ขลังไสย์ศาสตร์ | |
18 ตุลาคม 2543 | เจ้าสัวน้อย | |
25 ตุลาคม 2543 | บ้านทรายทองคำ | |
1 พฤศจิกายน 2543 | โรงเรียนของเราน่าอยู่ | เป็นตอนแรกที่มีการบอกชื่อละครให้เห็นผ่านหน้าจอทีวี |
8 พฤศจิกายน 2543 | ข้ามาทวงหนี้ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
15 พฤศจิกายน 2543 | กระทงหลงทาง | |
22 พฤศจิกายน 2543 | รักเกิดในตลาดสด | |
29 พฤศจิกายน 2543 | คัมภีร์จากศาล | ในรอบเกม มีการใช้ตัวจับเวลารูปแบบใหม่ |
6 ธันวาคม 2543 | โจรป่า..ป้า..ป๊า | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
13 ธันวาคม 2543 | ผมไม่อยากแต่งงาน | มาลา พงษ์สุวรรณ (ภรรยาคุณเท่ง) (ครั้งที่ 2) |
20 ธันวาคม 2543 | ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
27 ธันวาคม 2543 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า มหกรรมฮาสะท้านปี |
ปี 2544[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
3 มกราคม 2544 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาสะท้านปี | เป็นเทปเปิดศักราชปีใหม่ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการนำเทปเก่าๆที่ออกอากาศตลอดทั้งปี 2543 เอามาให้ชมกันอีกครั้ง |
10 มกราคม 2544 | ตามล่าซาฟิน | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
17 มกราคม 2544 | ปลาบู่ดอง | |
24 มกราคม 2544 | มังกรหมัดสิงโต | |
31 มกราคม 2544 | วิชาภาษาไทย ตอน ศึกชิงนางสีดา | |
7 กุมภาพันธ์ 2544 | ศึกโจรสลัดสุดขอบฟ้า | |
14 กุมภาพันธ์ 2544 | งูเก็งกองสองพันปี | |
21 กุมภาพันธ์ 2544 | อาลีบาบา ตอน ขุนโจรใจทมิฬ | |
28 กุมภาพันธ์ 2544 | อิคคิวซัง ตอน เณรน้อยด้อยปัญญา | |
7 มีนาคม 2544 | นายฮ้อยทะมึน | |
14 มีนาคม 2544 | หวีด สยอง ต้องสับ !! SCREAM SCARY...CUTS | |
21 มีนาคม 2544 | แสนแสบ แสบที่สุดเลย | |
28 มีนาคม 2544 | คมพยาบาท อิจฉา ริษยา ตบตี ฯลฯ | |
4 เมษายน 2544 | ลูกธาตุ 4 ตรา กิเลน | |
11 เมษายน 2544 | กระบี่ไร้ของทาน | |
18 เมษายน 2544 | สามช่า ฮาระเบิดเถิดเทิง | |
25 เมษายน 2544 | มือปีน/โลก/พระจันทร์เสี้ยว | ดามพ์ ดัสกร (ครั้งที่ 1) |
2 พฤษภาคม 2544 | ลิเก 3 ช่า ตอน ข้างหลังป๊าบ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
9 พฤษภาคม 2544 | สามช่า...ผ่าตะวันตก | |
16 พฤษภาคม 2544 | หักเหลี่ยมซามูไร (หน้าหัก) | มาลา พงษ์สุวรรณ (ภรรยาคุณเท่ง) (ครั้งที่ 3) |
23 พฤษภาคม 2544 | โนราห์ ชะชะช่า | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
30 พฤษภาคม 2544 | เจ้าพ่อ...เขวี้ยงไห | |
6 มิถุนายน 2544 | โรบินฮู้ด ทูตแห่งความตลก | |
13 มิถุนายน 2544 | แก้วหน้าม้า...ตามหารัก | |
20 มิถุนายน 2544 | ศึกสายสะดือ | |
27 มิถุนายน 2544 | ทองตะกายแสด | |
4 กรกฎาคม 2544 | ทายาท อดสู | |
11 กรกฎาคม 2544 | เพลินฮาเด้อ | |
18 กรกฎาคม 2544 | เพชรตัดเพชร | |
25 กรกฎาคม 2544 | ผาแดงนางไอ่ | |
1 สิงหาคม 2544 | ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนแสนงอน | |
8 สิงหาคม 2544 | ปลัดใหม่ใจเพชร | |
15 สิงหาคม 2544 | อัศวินโต๊ะกลวง | |
22 สิงหาคม 2544 | ปลาร้ากับสมหวัง | |
29 สิงหาคม 2544 | ผู้ชนะสิบทิศ | |
5 กันยายน 2544 | ชู้รัก...เฮม่า | ดามพ์ ดัสกร (ครั้งที่ 2) , ฤทธิ์ ลือชา |
12 กันยายน 2544 | ไอ้หนุ่มกังฟู ตอน นักสู้ยโส(ธร) | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
19 กันยายน 2544 | ขุมทรัพย์แม่น้ำโขง | |
26 กันยายน 2544 | มัมมี่...ยูเทิร์น | |
3 ตุลาคม 2544 | ปลาร้ากับสมหวัง | ชุติมา เอี่ยมสุข (ภรรยาคุณโหน่ง) (ครั้งที่ 2) |
10 ตุลาคม 2544 | จัน ดารา | |
17 ตุลาคม 2544 | รจนาเลือกคู่ | |
23 ตุลาคม 2544 | ตะเภาแก้ว ตะเภาทอง 1 | |
31 ตุลาคม 2544 | ใหญ่ฟัดกันเอง | |
7 พฤศจิกายน 2544 | ขุมทรัพย์อาปาเช่ | |
14 พฤศจิกายน 2544 | หม่ำ...กีสข่าน | |
21 พฤศจิกายน 2544 | ขวัญเรียม | |
28 พฤศจิกายน 2544 | ทุ่งกุลาร้องไห้ ฉบับสามช่า | |
5 ธันวาคม 2544 | ทาร์ซาน | |
12 ธันวาคม 2544 | อินทรีย์ทอง | |
19 ธันวาคม 2544 | สอง...สามก๊ก | |
26 ธันวาคม 2544 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมความฮาตลอดปี 2001 |
- ^ ในเทปนี้เป็นชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ภาคปกติเพียงเทปเดียว ที่มีการออกอากาศในช่วงเวลากลางวัน และเป็นเทปแรกที่ออกอากาศในวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันปิยมหาราช) และนำมารีรันอีกครั้งในวันที่ 24 ตุลาคม 2544 เวลา 13:00 น. ทางช่อง 5
ปี 2545[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
2 มกราคม 2545 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ที่สุดฮาเปิดปีม้า | เป็นเทปเปิดศักราชปีใหม่ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการนำไฮไลท์เด็ดๆที่ออกอากาศตลอดทั้งปี 2544 เอามาให้ชมกันอีกครั้ง |
9 มกราคม 2545 | ผีไม่ถึงบาท | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
16 มกราคม 2545 | ทอง..ฮ้า | |
23 มกราคม 2545 | มนต์รักทรานซิสเตอร์ | |
30 มกราคม 2545 | พริ้ง คนดอนเมือง | |
6 กุมภาพันธ์ 2545 | เม็กซิกัน..อันตราย | |
13 กุมภาพันธ์ 2545 | เดชคัมภีร์เทวดา | |
20 กุมภาพันธ์ 2545 | กากี | |
27 กุมภาพันธ์ 2545 | คนทรงเจ้า | |
6 มีนาคม 2545 | ขุนช้าง ขุนแผน | |
13 มีนาคม 2545 | สุสานคนเป็น...เป็น | |
20 มีนาคม 2545 | ลูกอีสาน | |
27 มีนาคม 2545 | พยัคฆ์ยี่เก | |
3 เมษายน 2545 | ช้างเพื่อนแก้ว | |
10 เมษายน 2545 | โก๋ข้างคาเฟ่ | |
17 เมษายน 2545 | มรดกผี | |
24 เมษายน 2545 | 5 โครม | |
1 พฤษภาคม 2545 | 7 ประจัญบาน | |
8 พฤษภาคม 2545 | พระลอกินไก่ | |
15 พฤษภาคม 2545 | ศึกพญาแถน | |
22 พฤษภาคม 2545 | ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า | |
29 พฤษภาคม 2545 | ลูกชายกำนัน | |
5 มิถุนายน 2545 | เจ้าหญิงผมหอม | |
12 มิถุนายน 2545 | บ่วงบรรจถรณ์ | |
19 มิถุนายน 2545 | เถียนหนีหนี้ | |
26 มิถุนายน 2545 | ยากูเศร้า | |
3 กรกฎาคม 2545 | หนีสุดชีวิต | |
10 กรกฎาคม 2545 | ดาวพระศุกร์ | |
17 กรกฎาคม 2545 | เจมส์ บอนด์ 000 | |
24 กรกฎาคม 2545 | หักเหลี่ยมปางไม้เดือด | |
31 กรกฎาคม 2545 | อารมณ์ อาเขย อาพาธ | |
7 สิงหาคม 2545 | ครูนอกบ้าน | |
14 สิงหาคม 2545 | เฮฮา...คาเฟ่ | |
21 สิงหาคม 2545 | เลือดสุ ๑,๐๐๐ | |
28 สิงหาคม 2545 1 | หมั่นโถวผจญมารโรตี |
- ^ ในเทปนี้เป็นเทปสุดท้ายของชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ซีซั่น 1 และได้สัปดาห์ถัดมาจึงกลายเป็นชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ซีซั่น 2
ยุค 2[แก้]
ปี 2545[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
4 กันยายน 2545 | ร้อยเล่ห์ เสน่ห์ร้าย | ชุติมา เอี่ยมสุข (ภรรยาคุณโหน่ง) (ครั้งที่ 3) |
11 กันยายน 2545 | เงิน เงิน เงิน ไม่มีทอง | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
18 กันยายน 2545 | แวมไพร์หลงเมือง | |
25 กันยายน 2545 | ไม่ทราบชื่อเรื่อง | |
2 ตุลาคม 2545 | ฟ้าต่ำ แผ่นดินต่ำ | |
9 ตุลาคม 2545 | ศึกล้างเลือด ผู้ใหญ่ตุ่น | |
16 ตุลาคม 2545 | ลิเกเงินร้อย | |
23 ตุลาคม 2545 | ไกรทองแดง | |
30 ตุลาคม 2545 | อัศวิน มาวิน มอเตอร์ไซค์วิน | |
6 พฤศจิกายน 2545 | ไฮ่โหยหวน คัมภีร์ของเจ้ารึเปล่า ? | |
13 พฤศจิกายน 2545 | แดร็คคูล่าปะทะหมอผีบ้านทุ่ง | |
20 พฤศจิกายน 2545 | รัก 3 ช่า เรา 3 คน | |
27 พฤศจิกายน 2545 | เต่านินจาท้ารัก | |
4 ธันวาคม 2545 | ขังแปล๊ก...แปลก | |
11 ธันวาคม 2545 | เสือ สิงห์ กระทิง 3 ช่า | |
18 ธันวาคม 2545 | จันทโคบวก ลบ คูณ หาร | |
25 ธันวาคม 2545 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน แจกทองล้นฟ้า แจกฮาล้นจอ |
ปี 2546[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
1 มกราคม 2546 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า...ฮาพันธุ์แท้ | |
8 มกราคม 2546 | รอยไถ...ใคร | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
15 มกราคม 2546 | ไอ้หนุ่มซินตึ้ง | |
22 มกราคม 2546 | ตี๋ใหญ่... | |
29 มกราคม 2546 | องค์บาก | |
5 กุมภาพันธ์ 2546 | 007 Die Every Day | |
12 กุมภาพันธ์ 2546 | พันธุ์ร็อกหน้าย่น | |
19 กุมภาพันธ์ 2546 | เพลิงมยุรา | |
26 กุมภาพันธ์ 2546 | ฮีโร่...(โหล่) HERO | |
5 มีนาคม 2546 | มนต์รักอสูร | |
12 มีนาคม 2546 | ตะเกียงวิเศษ | |
19 มีนาคม 2546 | หมู๋บ้านผีปอบ | |
26 มีนาคม 2546 | ช้างเพื่อนแก้ว | |
2 เมษายน 2546 | สิงห์เหนือ เสืออีสาน | |
9 เมษายน 2546 | ยอพระกลิ่น | |
16 เมษายน 2546 | F3 ฮักใสขุ่นหัวใจวุ่นวาย | |
23 เมษายน 2546 | หมอลำซัมเหมา | |
30 เมษายน 2546 | โหดหวีดสยอง | |
7 พฤษภาคม 2546 | ศึกเมืองแป | |
14 พฤษภาคม 2546 | อุ้ยเสี่ยวป้อ | |
21 พฤษภาคม 2546 | บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม | |
28 พฤษภาคม 2546 | นักเลงเทวดา | |
4 มิถุนายน 2546 | แอบ..คนข้างบ้าน | |
11 มิถุนายน 2546 | เชลยรักนอนนอกบ้าน | |
18 มิถุนายน 2546 | นินจาฮาโตเละ | |
25 มิถุนายน 2546 | The Matrix | |
2 กรกฎาคม 2546 | เพชรพระอุมา | |
9 กรกฎาคม 2546 | เจ้าพ่อปักกิ่ง... กำสรวล | |
16 กรกฎาคม 2546 | นะ หน้าทอง | |
23 กรกฎาคม 2546 | ธรณีกำสรวล | |
30 กรกฎาคม 2546 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาอบอุ่นต้อนรับวันแม่ | |
6 สิงหาคม 2546 | มือปืนพ่อติดลูก | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
13 สิงหาคม 2546 | ไอ้ฝาง ร.ฟ.ท. | |
20 สิงหาคม 2546 | นางโชว์ | |
27 สิงหาคม 2546 | ระเบิดเถิดเทิง | |
3 กันยายน 2546 | ผีหลังคา | |
10 กันยายน 2546 | มหา ปะ ผุ อุด | |
17 กันยายน 2546 | เทวดาตกสวรรค์ | |
24 กันยายน 2546 | โคกคูนตระกูลไข่ | |
1 ตุลาคม 2546 | ตีแสกดั้ง | |
8 ตุลาคม 2546 | ใหญ่ฟัดเล็ก ไม่ฟัดใหญ่ | |
15 ตุลาคม 2546 | ขุนสึก...หรอ | |
22 ตุลาคม 2546 | แฟนฉัน | |
29 ตุลาคม 2546 | ศึกมองโกล | |
5 พฤศจิกายน 2546 | สิงห์สลาตัน | |
12 พฤศจิกายน 2546 | คนดีผีคุ้ม | |
19 พฤศจิกายน 2546 | ไอ้หนุ่มตังเก | |
26 พฤศจิกายน 2546 | เลือดขัดกันเอง | |
3 ธันวาคม 2546 | ทองเนื้อเศร้า | |
10 ธันวาคม 2546 | โลหิตเป็นสาย | |
17 ธันวาคม 2546 | ฮวงจุ้ย ฟ้า ดิน คนลิขิต | |
24 ธันวาคม 2546 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า Cha Cha Cha Haary Christmas & Haapy New Year 2004 | |
31 ธันวาคม 2546 | ไม่มีการออกอากาศ เนื่องจากมีการถ่ายทอดสดเคาท์ดาวน์เข้าสู่ศักราชใหม่ ปี 2547 |
ปี 2547[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
7 มกราคม 2547 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมฮาตลอดปี 2003 | |
14 มกราคม 2547 | ปืนดุวิญญาณเดือด | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
21 มกราคม 2547 | บอดี้การ์ดหน้าแตก | |
28 มกราคม 2547 | สืบจากกบ | |
4 กุมภาพันธ์ 2547 | ไอ้หนุ่มหมัดเมา | |
11 กุมภาพันธ์ 2547 | เมือง...รับรอง | |
18 กุมภาพันธ์ 2547 | ลิเกเรเกตุง | |
25 กุมภาพันธ์ 2547 | แผ่นดินของใคร | |
3 มีนาคม 2547 | ล่าขุมทรัพย์ตระกูลเดือด | |
10 มีนาคม 2547 | ซามูไรคนสุดท้อง | |
17 มีนาคม 2547 | โคกคูนตระกูลคุก | |
24 มีนาคม 2547 | ป่าช้าแตก | |
31 มีนาคม 2547 | ไอ้หัก | |
7 เมษายน 2547 | โหมโลง | |
14 เมษายน 2547 | ตี๋ซ่อมแอร์ | |
21 เมษายน 2547 | ตีลังกาท้าฝัน | |
28 เมษายน 2547 | เดชคำภีร์ กู้หนี้ยืมสิ้น | |
5 พฤษภาคม 2547 | ลูกอีสาน | |
12 พฤษภาคม 2547 | 102 ปิดยโสฯ ปล้น | |
19 พฤษภาคม 2547 | ใคร ๆ ก็ไม่รัก | |
26 พฤษภาคม 2547 | แผนซ้อนแผน ซ้อนแผน ซ้อนแผน ปล้น! | |
2 มิถุนายน 2547 | สุขาเดือด | |
9 มิถุนายน 2547 | คนเล่น(ขาย)ของ | ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน (ปรากฏตัวครั้งแรก) |
16 มิถุนายน 2547 | Kill Bill | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
23 มิถุนายน 2547 | ตู๊ | |
30 มิถุนายน 2547 | ไม่ทราบชื่อตอน | |
7 กรกฎาคม 2547 | แฮร์รี่ พอเถอะ! | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
14 กรกฎาคม 2547 | เพชรตัดเพชร | |
21 กรกฎาคม 2547 | The Letter จดหมายหล่น | |
28 กรกฎาคม 2547 | ไม่ทราบชื่อตอน | |
4 สิงหาคม 2547 | กระเซิงรักจากเซี่ยงไฮ้ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
11 สิงหาคม 2547 | แม่ | |
18 สิงหาคม 2547 | หมอเจ็บ | |
25 สิงหาคม 2547 | เกิดมาทำไม? | |
1 กันยายน 2547 | อำพรางรักจากสวรรค์ | |
8 กันยายน 2547 | เพื่อนรักหักดั้งเพื่อน | |
15 กันยายน 2547 | ฟอมาลีนแมน | |
22 กันยายน 2547 | ยัยตัวร้ายกับนายซากศพ | |
29 กันยายน 2547 | ภูตพิศวาส | |
6 ตุลาคม 2547 | สายล่อฟ้า | |
13 ตุลาคม 2547 | ล่าขุมทรัพย์น้ำตาลยังหวานอยู่ | |
20 ตุลาคม 2547 | เก่งไม่เก่งไม่เสี่ยว | |
27 ตุลาคม 2547 | สิงห์เหนือ เสืออีสาน | |
3 พฤศจิกายน 2547 | มนต์รักหมอลำสกรัมลิเก | |
10 พฤศจิกายน 2547 | ตำนานรักทัชมาฮาล | |
17 พฤศจิกายน 2547 | ความลับในไหปลาแดก | |
24 พฤศจิกายน 2547 | จอมดาบเหล็กน้ำพี้ | |
1 ธันวาคม 2547 | คนพันธุ์หวย | |
8 ธันวาคม 2547 | เฮโหล คาราโอเกะ | |
15 ธันวาคม 2547 | เจ้าพ่อตลาดหุ้น | |
22 ธันวาคม 2547 | คริสต์มาส คิดซะมั่ง | |
29 ธันวาคม 2547 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน แจกทอง 100 ล้านทั่วไทย |
ปี 2548[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
5 มกราคม 2548 | ไม่มีการออกอากาศ | |
12 มกราคม 2548 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมฮารับปี 2548[ต้องการอ้างอิง] | |
19 มกราคม 2548 | ดอกบัวขิง | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
26 มกราคม 2548 | ยอดมวยไทยสะท้านโลก | |
2 กุมภาพันธ์ 2548 | จดหมายลูกโซ่ | |
9 กุมภาพันธ์ 2548 | The Gangster | |
16 กุมภาพันธ์ 2548 | หนูอยากเป็นดารา | |
23 กุมภาพันธ์ 2548 | วิญญาณสาวพยาบาท | |
2 มีนาคม 2548 | รอยรักอินเทอร์เน็ต | |
9 มีนาคม 2548 | ศึกโชกุน ตอน ปีศาจแมว | |
16 มีนาคม 2548 | จอมโจรรัตติกาล | พัน พลุแตก (ปรากฏตัวครั้งแรก) |
23 มีนาคม 2548 | บุปผาราเมง | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
30 มีนาคม 2548 | หาดรัก หักเหลี่ยม | |
6 เมษายน 2548 | ศึกชิงมรดกทายาทตระกูลเหว่ย | |
13 เมษายน 2548 | วัยคะนอง ฉลองสงกรานต์ | |
20 เมษายน 2548 | ตามล่าไอ้หน้าหล่อ | |
27 เมษายน 2548 | ไอ้มดแดง ตอน ถล่มปีศาจดาวอังคาร | |
4 พฤษภาคม 2548 | สวัสดีน้องใหม่ หัวใจกุ๊กกิ๊ก | |
11 พฤษภาคม 2548 | สู้เพื่อแม่ | |
18 พฤษภาคม 2548 | วิญญาณ ความรัก นักเต้น | |
25 พฤษภาคม 2548 | 2 ทรชน ปล้นเสี่ยง้วน | |
1 มิถุนายน 2548 | สำรวจรักนักเดินป่า | |
8 มิถุนายน 2548 | ปาปารัสซี แอบถ่ายเพราะรักเธอ | |
15 มิถุนายน 2548 | มรสุมสวาทชาติสมิง | |
22 มิถุนายน 2548 | 500 แรงม้าท้ารักเธอ | |
29 มิถุนายน 2548 | ศึกสังเวียนเดือด | |
6 กรกฎาคม 2548 | MR. Shusak แค้นรักจากบ้านนอก | |
13 กรกฎาคม 2548 | ซากรักสมรภูมิ เดอะมิวสิคัล | |
20 กรกฎาคม 2548 | 55.55 ดีเจจ๋า มารักกัน | |
27 กรกฎาคม 2548 | กำเนิดขวานฟ้าหน้าดำ | |
3 สิงหาคม 2548 | 2...3 ฝั่งคลอง | |
10 สิงหาคม 2548 | แม่จ๋า | |
17 สิงหาคม 2548 | คำสั่งฆ่า ฆาตกร สกปรก | |
24 สิงหาคม 2548 | มาเฟียมา..แว้วว... | |
31 สิงหาคม 2548 | นินจา ฮาล่ะสิ | |
7 กันยายน 2548 | ต้มยำแหยม กุ้งยโสธร | |
14 กันยายน 2548 | อภินิหาร ระฆัง ทะลุมิติ | |
21 กันยายน 2548 | นางทาสแท้ | |
28 กันยายน 2548 | ยากูซ่าใจร้าย กับ ลูกผู้ชายไอคีโด้ | |
5 ตุลาคม 2548 | สะใภ้ทอร์นาโด | |
12 ตุลาคม 2548 | ทุ่งกุลาสีเลือด | |
19 ตุลาคม 2548 | ลำซิ่ง แข่งรถ แข่งรัก ฮักนางเด้อ | |
26 ตุลาคม 2548 | ชั่ว 7 ที ดี 7 หน คนฝึกรวย | |
2 พฤศจิกายน 2548 | ซินเดอเรลล่า กับ คนแคระทั้งเจ็ด | |
9 พฤศจิกายน 2548 | พวกเรารักกันคืนวันพระจันทร์เต็มดวง | |
16 พฤศจิกายน 2548 | กระทงน้อย ลอยไป ลอยมา | |
23 พฤศจิกายน 2548 | หนามรัก ในสนามรบ | |
30 พฤศจิกายน 2548 | กีตาร์เทพ 14 สาย หายใจเป็นเธอ | |
7 ธันวาคม 2548 | จอมมารสีชมพู | |
14 ธันวาคม 2548 | ความรักของหนึ่งนิด | |
21 ธันวาคม 2548 | งานบุญ กานดา หรรษา ปีใหม่ | |
28 ธันวาคม 2548 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ขุมทรัพย์ฮา ชะช่ะช่า |
ยุค 3[แก้]
ตั้งแต่ยุคที่ 3 เป็นต้นมา ได้ย้ายมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ปี 2549[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
11 มกราคม 2549 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ปาร์ตี้ชะช่ะช่า ฮาทะลุ(ปี)จอ | |
18 มกราคม 2549 | คนดีขี้คุก | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
25 มกราคม 2549 | พรสุรี เธอผู้พลิกชะตาฟ้า | |
1 กุมภาพันธ์ 2549 | 7 เสน่หา | |
8 กุมภาพันธ์ 2549 | ซูเปอร์แมน 2006 | |
15 กุมภาพันธ์ 2549 | คิงคองน้อย หลงเมือง | |
22 กุมภาพันธ์ 2549 | กระสือสะอื้น | |
1 มีนาคม 2549 | หอรักนักศึกษา | |
8 มีนาคม 2549 | ศึกมวยปล้ำระห่ำโลก | |
15 มีนาคม 2549 | โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง | |
22 มีนาคม 2549 | ชอลิ้วเฮียงถล่มเมืองภารตะ | |
29 มีนาคม 2549 | แคนลำโค้ง | |
5 เมษายน 2549 | คืนชีพโจรสลัดสยองแค้น | |
12 เมษายน 2549 | สงกรานต์นี้ไม่กลับบ้านนอกหรือ? | |
19 เมษายน 2549 | สืบจากอู่ | |
26 เมษายน 2549 | พงษ์ศักดิ์ยอดนักสืบสมองเพชร | |
3 พฤษภาคม 2549 | ด๊อกเตอร์เลิฟโคลนนิ่งรัก | |
10 พฤษภาคม 2549 | 4 จตุรเทพ รวมพลัง พิทักษ์ซอย 7 | |
17 พฤษภาคม 2549 | วิญญาณรัก นักมายากล | |
24 พฤษภาคม 2549 | ปีหนึ่งน้องใหม่ใสป่ะ | |
31 พฤษภาคม 2549 | พี่เหยินน้อย ยอดดาวยิง | |
7 มิถุนายน 2549 | เหม็นสาบคนรวย | |
14 มิถุนายน 2549 | เอ็มไอที + งูเก็งกอง | |
21 มิถุนายน 2549 | เกาะเฮ ทะเลฮา | |
28 มิถุนายน 2549 | จอมโจรสติแตก | |
5 กรกฎาคม 2549 | สวนสนุกกระตุกขวัญ | |
12 กรกฎาคม 2549 | ขอบอกรักเธอก่อนเจอชาติหน้า | |
19 กรกฎาคม 2549 | ล่าฆ่า 555 ซาฮาร่า | |
26 กรกฎาคม 2549 | เหล็กไหล ไหลเข้า ไหลออก | |
2 สิงหาคม 2549 | พระเอกยอดกตัญญู | |
9 สิงหาคม 2549 | เกาะกายติดหนึบ | |
16 สิงหาคม 2549 | กีกี้...ขอเป็นพระเอกบ้างได้ไหม | |
23 สิงหาคม 2549 | หมู 3 ชั้น | |
30 สิงหาคม 2549 | ตามล่ายากูซ่าริมแดง | |
6 กันยายน 2549 | รอยแค้นข้ามยุทธภพ | |
13 กันยายน 2549 | ล้างแค้นที่คาเฟ่ | |
20 กันยายน 2549 | ไอ้เส็ง...เอ็งเป็นใคร | |
27 กันยายน 2549 | วิวาห์หกตกแล้วเจ็บ | |
4 ตุลาคม 2549 | เลี้ยงรุ่น...วุ่นจัง | |
11 ตุลาคม 2549 | หลงป่า | |
18 ตุลาคม 2549 | เรา รด. รอแต่เรื่องรัก | |
25 ตุลาคม 2549 | แฟชั่น...กรี้ด! | |
1 พฤศจิกายน 2549 | เรารักกันที่สุวรรณภูมิ | |
8 พฤศจิกายน 2549 | บ้านพักนี้ไม่มีผีนะ | |
15 พฤศจิกายน 2549 | ทำไมเธอรักฉันถึงเพียงนี้ | |
22 พฤศจิกายน 2549 | 3 สิงห์ ทะเลทราย | |
29 พฤศจิกายน 2549 | ตามล่าฆาตกรสอนเต้น | |
6 ธันวาคม 2549 | หิมะเดือดเลือดท่วมทุ่ง | |
13 ธันวาคม 2549 | 2006 ตี๋ใหญ่ คืนชีพ | |
20 ธันวาคม 2549 | 007 เด็ด 000 | |
27 ธันวาคม 2549 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน แจกทองมหึมา แจกฮามโหฬาร |
ปี 2550[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
3 มกราคม 2550 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อย ชิงร้อยล้าน | |
10 มกราคม 2550 | วันเด็กปีนี้ ใครทำดี ให้ 4 ดาว | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
17 มกราคม 2550 | มนต์รักนักเพลง | |
24 มกราคม 2550 | หมัดซ้ายเพื่อพ่อตา หมัดขวาเพื่อเธอ | |
31 มกราคม 2550 | ผู้กองยอดรัก ม๊าก..มาก | |
7 กุมภาพันธ์ 2550 | ขุนศึกธนูฤทธิ์ จอมราชันย์ไม่มีวันตาย | |
14 กุมภาพันธ์ 2550 | พิษรักแรงหวงกลลวงฝ่ายมาร | |
21 กุมภาพันธ์ 2550 | สงคราม ตามล่า พิซซ่า นินจาเต่า | |
28 กุมภาพันธ์ 2550 | บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม ภาค 7 (The Bodyguard Episode 7) | |
7 มีนาคม 2550 | สองเกลอตะลุยอวกาศ ตอน ฝ่าวิกฤตวันโลกไร้น้ำ | |
14 มีนาคม 2550 | มรดกรัก หักดังกร๊อบ | |
21 มีนาคม 2550 | พ่อปู่ลิงกัง โถ่ถังก็ยังเชื่อ | |
28 มีนาคม 2550 | เงิน เหงิ่น เงิ้น เงิ๊น เหงิน The Musical พ.ศ. 2477 | |
4 เมษายน 2550 | ตราบสิ้นลมรักหนุ่มนักบิน | |
11 เมษายน 2550 | สงกรานต์นี้ทำดีกันเถอะ | |
18 เมษายน 2550 | เรียกข้าว่า วาจาประกาศิต | |
25 เมษายน 2550 | เพลงรักริมฝั่งลำน้ำโขง | |
2 พฤษภาคม 2550 | พรสุรี เธอเปลี่ยนไป | |
9 พฤษภาคม 2550 | สไปเดอร์แมน ภาค 7 (Spider-man Episode 7) | |
16 พฤษภาคม 2550 | สิงโตคู่ สู้เพื่อรัก | |
23 พฤษภาคม 2550 | ดี เลว รวย สวยเลือกได้ | |
30 พฤษภาคม 2550 | ไม่มีการออกอากาศ | |
6 มิถุนายน 2550 | เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
13 มิถุนายน 2550 | ฝ่ามือราชสีห์คำราม | Wigald Boning (Mr. Boning) |
20 มิถุนายน 2550 | มหกรรมละคร ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
27 มิถุนายน 2550 | ผีเพี้ยนโฮเต็ลเพี้ยน | |
4 กรกฎาคม 2550 | ฉันเป็นคุณชายหรือนายกระจอก | |
11 กรกฎาคม 2550 | ลูกผู้ชายหัวใจง๊องแง๊ง | |
18 กรกฎาคม 2550 | นักสืบหัวเห็ด หัวเป็ด หัวไก่ | |
25 กรกฎาคม 2550 | Michael Jackson Where are you? | |
1 สิงหาคม 2550 | พระทินวงศ์หลงทิศ | |
8 สิงหาคม 2550 | เสนาะ เซาะตลิ่ง จอมโจรขมังเวทย์ | |
15 สิงหาคม 2550 | กีตาร์รัก หักเหลี่ยมเพชร | |
22 สิงหาคม 2550 | บรูซ ลี...ล้างแค้นให้ข้าด้วย | |
29 สิงหาคม 2550 | เหตุเกิดที่คอนเสิร์ตเพลงรักริมฝั่งโขง | โจอี้ กาน่า (ครั้งที่ 1) |
5 กันยายน 2550 | บันทึกลับ...ใต้ทะเลลึก | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
12 กันยายน 2550 | ชุมพร | |
19 กันยายน 2550 | ละเลงรัก...เพลงสุพรรณ | |
26 กันยายน 2550 | ฤทธิ์ดาบซามูไรซามูไรใจดีจัง | สุคนธวา เกิดนิมิตร (ใหม่) |
3 ตุลาคม 2550 | ใครก็ได้ช่วยโลกด้วย | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
10 ตุลาคม 2550 | สตาร์ วอร์ส Episode 7 x 7 | |
17 ตุลาคม 2550 | เสือปืนไว หัวใจเหมียว ๆ | |
24 ตุลาคม 2550 | แผนซ้อนแผน ซ้อนแผน ซ้อนแผนปล้น | |
31 ตุลาคม 2550 | ฮาโลวีน...พวกเราไม่กลัวผี!! | |
7 พฤศจิกายน 2550 | ศึกมวยลุมพีนี เวทีนี้เพื่อเธอ[ต้องการอ้างอิง] | |
14 พฤศจิกายน 2550 | ชาละวัน ฉันไม่ใช่อย่างที่เธอคิด | |
21 พฤศจิกายน 2550 | ลอย..ลอยกระทง[ต้องการอ้างอิง] | |
28 พฤศจิกายน 2550 | เจ้าข้าเอ๊ย ทาร์ซานมาแล้ว | |
5 ธันวาคม 2550 | ลิเกขุนแผน แสนเจ็บปวด | |
12 ธันวาคม 2550 | เกาเหลาเครื่องในไม่ใส่เลือด | |
19 ธันวาคม 2550 | Santa Claus...See Tou Again | |
26 ธันวาคม 2550 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมฮาสีสันปี 2550 |
ปี 2551[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | หมายเหตุ/ดารารับเชิญ |
---|---|---|
2 มกราคม 2551 | งดออกอากาศ เนื่องจากออกอากาศวันเดียวกับวันสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ | |
9 มกราคม 2551 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน บันทึกแห่งความทรงจำ | |
16 มกราคม 2551 | ||
23 มกราคม 2551 | หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม | ด.ช.พัทธดนย์ เกลี้ยงจันทร์ (น้องเดียว จากรายการ เกมทศกัณฐ์เด็ก) |
30 มกราคม 2551 | ทหารเสือ สิงห์ กระทิง ไม่มีแรด | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
6 กุมภาพันธ์ 2551 1 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เปิดทศวรรษฮา ปี 51 | |
13 กุมภาพันธ์ 2551 | จิตรกรหนุ่มบันลือโลก | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
20 กุมภาพันธ์ 2551 | ฉากสุดท้าย 4 สหายคาเฟ่ | |
27 กุมภาพันธ์ 2551 | สงครามเอวต่ำ กระหน่ำขาเดฟ | ท๊อฟฟี่ 3.50 บาท (ปรากฏตัวครั้งแรก) |
5 มีนาคม 2551 | โกโก้ รสช็อกโกแลต | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
12 มีนาคม 2551 | ผจญภัยใต้อุโมงค์ | |
19 มีนาคม 2551 | ทายาท ระนาด ราชบัลลังก์ | |
26 มีนาคม 2551 2 | หลานปู่ กู้อีจู้ |
- ^ ในเทปนี้วางแผนจะออกอากาศวันที่ 2 มกราคม 2551 [2]แต่ต้องเปลี่ยนเทปที่จะออกอากาศเนื่องจากถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเลื่อนมาออกอากาศในวันดังกล่าวแต่เนื่องจากอยู่ในช่วงถวายความอาลัยและบันทึกเทปก่อนวันที่ 2 มกราคม 2551 ทางรายการจึงปรับโทนสีหน้าจอรายการตั้งแต่เทปวันที่ 16 มกราคม - 27 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 7 เทป
- ^ ในเทปนี้เป็นเทปสุดท้ายของชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ซีซั่น 3 และได้สัปดาห์ถัดมาจึงกลายเป็น ชิงร้อยชิงล้าน 20th Century Tuck
ยุค 4[แก้]
ปี 2552[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | ดารารับเชิญ |
---|---|---|
12 พฤษภาคม 2552 | ไอ แอม ซีซาร์ เกียรติยศยอดนักสู้ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
19 พฤษภาคม 2552 | ไอ้หมัดทะลวงใส้ หนอนทราย กาแลคซี่ | โจอี้ กาน่า (ครั้งที่ 2) |
26 พฤษภาคม 2552 | คนเหล็ก 4 | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
2 มิถุนายน 2552 | 3 เสือเหลือขอ The Good The Bad And The Ugly | |
9 มิถุนายน 2552 | ดราก้อนบอล ฮ.นกฮูก | |
16 มิถุนายน 2552 | ปาฏิหารย์ตำนานรักเขย่าโลก ดัง..กริ๊ง..กริ๊ง | |
23 มิถุนายน 2552 | วงค์เกาเหลา ตระกูลรักตระกูลเลือด | |
30 มิถุนายน 2552 | มนต์รักลูกทุ่ง 3 ช่า | |
7 กรกฎาคม 2552 | ฤทธิ์ดาบพระจันทร์เสี้ยว ล้างบัญชีแค้นมรณะ | |
14 กรกฎาคม 2552 | อาบูคาริโต้ ป่าอาถรรพ์ในคืนตะวันไร้เงา | |
21 กรกฎาคม 2552 | พลิกแผนฆ่า คานิวัล 0.07 | |
28 กรกฎาคม 2552 | 6:78 ตายไม่ได้เกิด เกิดไม่อยากตาย | |
4 สิงหาคม 2552 | เกอิชา 2009 | |
11 สิงหาคม 2552 | จุ้นจ้าน เตี้ย อ้วน ฉุ | จีจ้า ญาณิน |
18 สิงหาคม 2552 | มหากาพย์ สงคราม ความรัก นักดนตรี | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
25 สิงหาคม 2552 | ชาละวัน ทู ทรี ใจพี่อยู่ที่เธอ | |
1 กันยายน 2552 | โรมิโอ + จูเลียต | |
8 กันยายน 2552 | ขบวนการ 3 ช่า เรนเจอร์ | |
15 กันยายน 2552 | ซินเดอเรลล่า ฝันข้าใครอย่าแตะ | |
22 กันยายน 2552 | The Fast & The Serious เร็ว แรง นรก ชัด ๆ | |
29 กันยายน 2552 | เทพบุตรลุ่มน้ำโขง | |
6 ตุลาคม 2552 | อาลาดิน น้ำ ลม ไฟ กับตะเกียงวิเศษ | |
13 ตุลาคม 2552 | ยุทธการเดือด ชำระเลือด เชือดนารี | |
20 ตุลาคม 2552 | มหาลัยสยอง ฉลองฮาโลวีน | |
27 ตุลาคม 2552 | ยอดเหยินเฉือนโคตรเหลี่ยม | |
3 พฤศจิกายน 2552 | ใครรักฉัน ฉันรักเธอ เธอรักใคร ณ ยอดดอย | |
10 พฤศจิกายน 2552 | 2012 วันสิ้นโลก | |
17 พฤศจิกายน 2552 | New Moon รัตติกาลนี้ สีเลือดอมชมพู | |
24 พฤศจิกายน 2552 | The Karate Kick จะเตะใครไม่สะใจเท่าเตะแก | |
1 ธันวาคม 2552 | แหยมยโสโอหังกำลัง 2 | |
8 ธันวาคม 2552 | 2 สหาย ร็อกแอนด์โรล | |
15 ธันวาคม 2552 | คริสต์มาสนี้มีแต่เรา เหงาเหลือเกินนะ เธอเอ๋ย | |
22 ธันวาคม 2552 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมความฮาปี 2552 | |
29 ธันวาคม 2552 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน รวมความฮาส่งท้ายปี |
ปี 2553[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | ดารารับเชิญ |
---|---|---|
5 มกราคม 2553 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ต้อนรับปีขาล | |
12 มกราคม 2553 | The Lion King ลูกผู้ชายสายพันธุ์สิงห์ | ยังไม่มีดารารับเชิญอย่างเป็นทางการ |
19 มกราคม 2553 | สารวัตรยี่เกโอเคนะครับ | |
26 มกราคม 2553 | เจมส์บอนด์ พยัคฆ์ไหล่ 007 | |
2 กุมภาพันธ์ 2553 | เด็กจะดังรั้งไม่อยู่ จุ๊กกรู้ จุ๊กกรู้ | |
9 กุมภาพันธ์ 2553 | มนต์รักแดนปลาดิบ กิ๊บ ๆ กิ้ว | |
16 กุมภาพันธ์ 2553 | สังข์ทอง ตอน หักเหลี่ยมนางรจนา | สุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) |
23 กุมภาพันธ์ 2553 | ก๊วนผีป่วน กวนคาเฟ่ | รพีภัทร เอกพันธ์กุล (น้ำ) 1 อชิตะ สิกขมานา (อิม) (ครั้งที่ 1) 1 |
2 มีนาคม 2553 | ศึกสปาตันวันเพ็ญ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 1) |
9 มีนาคม 2553 | ไซอิ๋ว 2553 ช่า | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 2) |
16 มีนาคม 2553 | จอมโจรซ่า บ้าบิ่น (ชิ้นละบาท) | ตรีชฎา เพชรรัตน์ (ปอย) |
23 มีนาคม 2553 | ท.ทหาร ฉุกละหุก | สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์ (ปีใหม่) |
30 มีนาคม 2553 | สามช่า เจ็ดสิบล้อ | มัม ลาโคนิคส์ (มัม) |
ุ6 เมษายน 2553 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาหน้าร้อน | |
13 เมษายน 2553 | สงกรานต์ซ่า ล่าสีลม | วสันต์ อุตตมะโยธิน (โหน่ง) |
20 เมษายน 2553 | ขุนช้างขุนแผนแสนสะท้าน | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 3) |
27 เมษายน 2553 | อินทรีทอง ผยองเดช | กรุง ศรีวิไล (กรุง) |
4 พฤษภาคม 2553 | องค์ลำบาก 3 | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง (เอก) |
11 พฤษภาคม 2553 | ผาแดงนางไอ่ ใครผิดใครถูก | นาตาลี เดวิส (นาตาลี) |
18 พฤษภาคม 2553 | หน้ากากเสือภาค 7 | สุวัฒน์ กลิ่นเกษร (น้าติง) |
25 พฤษภาคม 2553 | ตะวันยอแสง แยงตา ระยิบระยับ วับวาว | พิจิตตรา กฤติกุล (เจี๊ยบ) (ครั้งที่ 1) |
1 มิถุนายน 2553 | วงษ์คำเหลา THE BEGINNING | สหรัถ สังคปรีชา (ก้อง) |
8 มิถุนายน 2553 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาพักร้อน | |
15 มิถุนายน 2553 | แม่มดใจร้าย กับ สโนว้าย!!!ใจแตก | มาช่า วัฒนพานิช |
22 มิถุนายน 2553 | The Karate Kid กลับมาแว้ว | ชาลี ไตรรัตน์ (แน๊ท) |
29 มิถุนายน 2553 | เปิดตำนานยอดนักเตะ ฟุตบอลโลก | ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (ตุ๊ก) โจอี้ กาน่า (ครั้งที่ 3) |
6 กรกฎาคม 2553 | พ่อจ๋า แม่จ๋า หนูอยากเป็นอาราเล่ | เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ (แจ๊ค แฟนฉัน) |
13 กรกฎาคม 2553 | นางทาส ตอน อีเย็นกระอัก | วรัทยา นิลคูหา (จุ๋ย) |
20 กรกฎาคม 2553 | เจ้าหญิงขายกบสยบเจ้าชายเขียด | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 4) |
27 กรกฎาคม 2553 | นักสืบเฉลยศักด์ ปะทะ จอมโจรพันหน้า | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 5) |
3 สิงหาคม 2553 | เสือโหน่ง จอมโจรอมตะ | ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ (ต๊อก) |
10 สิงหาคม 2553 | สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่าLove | อคัมย์สิริ สุวรรณศุข (จั๊กจั่น) |
17 สิงหาคม 2553 | สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก รัก รัก | พิจิตตรา กฤติกุล (เจี๊ยบ) (ครั้งที่ 2) |
24 สิงหาคม 2553 | ล้างเลือด ไอ้หนุ่มนางรอง | กัญญณัช เอี่ยมสุข (นก) (ภรรยาของคุณโหน่ง ชะชะช่า) |
31 สิงหาคม 2553 | พระอภัยมณี ที่ Love | อชิตะ สิกขมานา (อิม) (ครั้งที่ 2) |
7 กันยายน 2553 | ผีชีวะ 4 สงครามบ้าล่าพันธุ์เชื้อโรค | เกศริน เอกธวัชกุล (นุ้ย) |
14 กันยายน 2553 | โหด/เลว/ดี/พี่/เพื่อน/น้อง | เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ |
21 กันยายน 2553 | เจาะจิ๋นซี หาเวลา | พิษณุ นิ่มสกุล (บอย AF) |
28 กันยายน 2553 | นักเลงหัวไม้ กับบ้านไร่เถิดเทิง | ธนา สุทธิกมล (ออย) |
5 ตุลาคม 2553 | มือปืนนิรนาม ตามล่าคุณธรรม | ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ (รัน) |
12 ตุลาคม 2553 | พิชิตอาทิตย์ใต้บาดาล | รุ่งระวี บริจินดากุล (โอ๋) |
19 ตุลาคม 2553 | นักสู้พันธุ์ข้าวเหนียวดำ | วงศกร ปรมัตถากร (นิว) |
26 ตุลาคม 2553 | ไกรทอง 2010 | เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ (จิ๊ก) |
2 พฤศจิกายน 2553 | ผีน้ำนอง จะครองสระ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 6) |
9 พฤศจิกายน 2553 | Cha Cha Cha Contest เวทีนี้ต้องมีเธอ | นวพล ภูวดล 2 (อู๋) |
16 พฤศจิกายน 2553 | สลับหน้า ล่าล้างนรก | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 7) |
23 พฤศจิกายน 2553 | ลอยกระทง หลงทาง หลงเธอ | เขตต์ ฐานทัพ (เขต) |
30 พฤศจิกายน 2553 | กังฟู สู้ยิบตา | ศุภักษร ไชยมงคล (กระแต) |
7 ธันวาคม 2553 | งานแต่งชุลมุน วุ่นรักอลเวง | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 8) |
14 ธันวาคม 2553 | สะระแหน่ ไม่แคร์ผี | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 9) |
21 ธันวาคม 2553 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาทะลุหิมะ | |
28 ธันวาคม 2553 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮาลีวูด |
- โน้ต
- ^ รพีภัทร เอกพันธ์กุล และ อชิตะ สิกขมานา เป็นนักแสดงรับเชิญและร่วมเป็นผู้เข้าแข่งขันด้วย
- ^ ในเทปนี้ นวพล ภูวดล เป็นนักแสดงรับเชิญและร่วมเป็นผู้เข้าแข่งขันด้วย
ปี 2554[แก้]
วันที่ออกอากาศ | ชื่อตอน | ดารารับเชิญ |
---|---|---|
4 มกราคม 2554 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้าน ฮากันเถาะ | |
11 มกราคม 2554 | เด็กเอ๋ยเด็กดี สามัคคีกันเถอะ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 10) |
18 มกราคม 2554 | ตำนานรักภารตะ ทาสหัวใจเหนือแผ่นดิน | พรทิพย์ สกิดใจ (เอ๋)1 |
25 มกราคม 2554 | คนกลางคืน ยามเธอตื่นฉันนอน ยามเธอนอนฉันก็ยังนอน | ยิ่งยง ยอดบัวงาม |
1 กุมภาพันธ์ 2554 | เท่ง โหน่ง จีวรหาย | สมชาย เข็มกลัด (เต๋า) อมีนา พินิจ (โม) |
8 กุมภาพันธุ์ 2554 | วิทยะ - สัตว์ - ประหลาด | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 12) |
15 กุมภาพันธ์ 2554 | สัญญารัก โรงแรมผีสิง | กพล ทองพลับ (ป๋อง) |
22 กุมภาพันธ์ 2554 | 7777777 งวดนี้พี่ขอ | พัสวีพิชญ์ ศรณ์อัครภา (แจ๋ว) |
1 มีนาคม 2554 | ปลวกโพรโทซัว รักมันเหียกมาก | อภิญญา สกุลเจริญสุข (สายป่าน) ทิสานาฏ ศรศึก (นาว) |
8 มีนาคม 2554 | คุณปู่ซู่ซ่า ปาทั้งก้า ปาทั้งกี้ | เจเน็ต เขียว (เจเน็ต)2 |
15 มีนาคม 2554 | ทะเล พู่กัน ฉันและเธอ | น้องไข่เล็ก (ลิง)3 |
22 มีนาคม 2554 | ขบวนการขจัดคราบซากซกมก | สุเทพ สีใส (สุเทพ)4 |
29 มีนาคม 2554 | ฮาศาสตราจารย์ | ธนฉัตร ตุลยฉัตร (อาร์ตี้) พัสกร พลบูรณ์ (ใบเฟิร์น) อินทิพร แต้มสุขิน (แม็คซิน) |
5 เมษายน 2554 | บักแมน เจ้าเพื่อนยาก | น้องภู , น้องภีม , น้องเคนโด จากรายการหนูน้อย กู้อีจู้ น้องกล้า กลมกล่อม (ลูกชายของคุณพัน พลุแตก) |
12 เมษายน 2554 | สามช่า Invensian พยายามจะทำสงครามล้างโลก | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 13) |
19 เมษายน 2554 | สัญญาณไหนจะสู้สัญญาณรัก ฮักนะ ฮักนะ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 14) |
26 เมษายน 2554 | จั๊กกะแร้ | จีจ้า ญาณิน (ครั้งที่ 2) |
3 พฤษภาคม 2554 | สงครามเท้าไฟ หัวใจติดเธอ | บริบูรณ์ จันทร์เรือง (ตั๊ก) |
10 พฤษภาคม 2554 | หมัดร้าย ร่ายรัก | อ.บุญเลิศ |
17 พฤษภาคม 25545 | มรกต มนตรายาง | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 15) |
24 พฤษภาคม 2554 | ยากูซ่ากลับใจ | น้องสายรุ้ง วงศ์ธนาศิริกุล |
31 พฤษภาคม 2554 | ฉันและเธอ เดินตามฝัน เจอกันที่คาเฟ่ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 16) |
7 มิถุนายน 2554 | ยามเมื่อลมพัดหวน ชวนเรามารักกัน | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 17) |
14 มิถุนายน 2554 | ตี๋อยากใหญ่ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 18) |
21 มิถุนายน 2554 | หม่ำกับใหม่ อยากโดนแต่ไม่อยากโดน | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 19) |
28 มิถุนายน 2554 | เท้าไฟ เรือบิน รถเมล์ ลิเก และชาวคณะ | น้องกล้า กลมกล่อม (ลูกชายของคุณพัน พลุแตก) (ครั้งที่ 2) |
5 กรกฎาคม 2554 | ความรักรสหวาน หวานในงานวัด festival | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 20) |
12 กรกฎาคม 2554 | ยังมีเฮ รักใส ๆ หัวใจโทรม ๆ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 21) |
19 กรกฎาคม 2554 | ไม่เด่นไม่ดัง จะไม่หันหลังกลับไป | เปาวลี พรพิมล (เปา) |
26 กรกฎาคม 2554 | ไอ้หนุ่มมัดเมา กะอีสาวเต้าฮวย | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 22) |
2 สิงหาคม 2554 | ผีกัด กัดกับผี ภาค 7 | ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร (ดีเจนุ้ย) |
9 สิงหาคม 2554 | ดาบเจ็ดสี ผอบหนึ่งแสน | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 23) |
16 สิงหาคม 2554 | ทองชุบภาค 7 | สมจิตร จงจอหอ (สมจิตร) |
23 สิงหาคม 2554 | จอมปลัดปราบผี | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 24) |
30 สิงหาคม 2554 | ผู้ชายฮ่า ผู้หญิงฮะ | สิตางศุ์ ปุณภพ (ปาย) |
6 กันยายน 2554 | กีต้าร์เทพเสพวิญญาณ | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 25) |
13 กันยายน 2554 | ช่างกลคนดี ขอตีกันครั้งสุดท้าย | ไม่มีดารารับเชิญ (ครั้งที่ 26) |
20 กันยายน 2554 | บ้านผีปอบ 2012 สยอง สยอง สยอง ๆ | ณัฐนี สิทธิสมาน (หน่อย) เบญจณัฏฐ์ อักษรนันทน์ (จิ๊บ) |
27 กันยายน 2554 | คู่กรรม ตอน อังศุมารินสิ้นรัก | แอริณ ยุกตะทัต (แอริน) |
4 ตุลาคม 2554 | ตุ๊กกี้ ตุ๊กกี้ เมื่อโลกนี้มีเพียงเธอ | บอล เชิญยิ้ม |
11 ตุลาคม 2554 | 30+ ปลวก ON SALE | อารักษ์ อมรศุภศิริ (เป้) เอ เชิญยิ้ม |
18 ตุลาคม 25546 | นางพญาผมขาว ปะทะ นางพญาผมร่วง | คริส หอวัง (คริส) ต๋อง ชวนชื่น |
25 ตุลาคม 2554 | 3 ช่า FC แมชต์นี้ต้องมีเธอ | อิคคิว พีระพล (ดีเจอิคคิว) อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล (กรีน) |
1 พฤศจิกายน 2554 | เทปพิเศษชื่อรายการว่า ชิงร้อยชิงล้านประมวลภาพความฮา เนื่องจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วม ปี 2554 | |
8 พฤศจิกายน 2554 | ||
15 พฤศจิกายน 2554 | ||
22 พฤศจิกายน 2554 | ||
29 พฤศจิกายน 2554 | ||
6 ธันวาคม 2554 | ||
13 ธันวาคม 2554 | ||
20 ธันวาคม 2554 | ||
27 ธันวาคม 25547 |
- โน้ต
- ^ ในเทปนี้ เอ๋ พรทิพย์ เป็นนักแสดงรับเชิญและร่วมเป็นผู้เข้าแข่งขันด้วย
- ^ ในเทปนี้ เจเน็ต เขียว เป็นนักแสดงรับเชิญและร่วมเป็นผู้เข้าแข่งขันด้วย
- ^ เป็นเทปเดียวในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ที่มีดารารับเชิญเป็นสัตว์
- ^ ในเทปนี้ สุเทพ สีใส เป็นนักแสดงรับเชิญและร่วมเป็นผู้เข้าแข่งขันด้วย
- ^ ในเทปนี้ จิ๊บ ปกฉัตร เป็นผู้เข้าแข่งขันในรายการคนแรกและคนเดียวที่เปิดแผ่นป้ายปัญญา-มยุราแถวบนทั้งหมดในรอบ Jackpot โดยจิ๊บเปิดแผ่นป้ายหมายเลข 1 ถึง 6 ปรากฏว่า จิ๊บเปิดเจอปัญญา-มยุราทั้งหมด 4 แผ่นป้าย
- ^ ในเทปนี้ โหน่ง ชะชะช่า ไม่ได้ปรากฏตัวในรายการเนื่องจากติดภารกิจ จึงมีนักแสงรับเชิญหลายคนในเทปนี้
- ^ เทปนี้เป็นเทปสุดท้ายของรายการชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day
การผลิตวีซีดี[แก้]
ในชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ได้มีวีซีดีโดยส่วนมากจะเป็นละครของแก๊งสามช่าและแข่งท้าผู้กล้าด้วยโดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์ในช่วงแรกคือ บริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยจะมีละครแก๊งสามช่าอยู่ 2 ตอนและแข่งท้าผู้กล้ามีอยู่ 1 ตอนปัจจุบันผู้ที่ถือลิขสิทธิ์คือ บริษัท พี.เอ็ม. เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ส่วนผู้จัดจำหน่ายเป็นของ บริษัท อีวีเอส เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด โดยเพิ่มช่วงท้าแข่งผู้กล้าอีก 1 ตอน
กระแสตอบรับของรายการ[แก้]
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง สุดยอดความนิยมของวัยรุ่น ตั้งแต่วันที่ 17-19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเก็บข้อมูลจากวัยรุ่น อายุ 13-21 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,016 คน พบว่า รายการโทรทัศน์ที่นิยมดูมากที่สุด 5 อันดับแรก อันดับที่ 1 คือรายการชิงร้อยชิงล้าน (ช่อง 7 สี) ร้อยละ 20.3 [3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 เวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (16 สิงหาคม 2543). "ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha". Workpoint.ksc.net. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. line feed character in
|title=
at position 15 (help) - ↑ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า รวมความฮาปี 2550
- ↑ โจ๋กรุงเทใจ “ชิงร้อยชิงล้าน-คลื่นซี้ด” สุดยอดความนิยม
ก่อนหน้า | ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชิงร้อยชิงล้าน Super Game | ![]() |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า (4 มีนาคม 2541 - 26 มีนาคม 2551) |
![]() |
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก |
ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก | ![]() |
ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า (5 พฤษภาคม 2552 - 27 ธันวาคม 2554) |
![]() |
ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day |
|
- CS1 errors: invisible characters
- บทความที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ from สิงหาคม 2019
- บทความทั้งหมดที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ
- ชิงร้อยชิงล้าน
- เกมโชว์ไทย
- รายการโทรทัศน์ไทย
- รายการโทรทัศน์ในอดีต
- รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2541
- รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2551
- รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2552
- รายการโทรทัศน์ที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2554
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3
- รายการโทรทัศน์ช่อง 5
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7
- เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์