หัวท้ายตายก่อน
หัวท้ายตายก่อน | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ |
พิธีกร | เกียรติ กิจเจริญ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 4 |
จำนวนตอน | 201 (ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | พิลาวัลย์ บัวงาม |
ผู้อำนวยการสร้าง | อรวรรณ ศิลป์เศวตร์ อุทุมพร เข็มทอง |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอเวิร์คพอยท์ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 75–85 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ โมชั่นคอนเทนต์กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 11 มกราคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
หัวท้ายตายก่อน (อังกฤษ: First and Last Thailand) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องพยายามแข่งขันกันเพื่อไม่ให้ถูกกำจัดออกในฐานะ "หัว" และ "ท้าย" ในเกมต่าง ๆ จำนวน 4 เกม และคนสุดท้ายที่อยู่ในตำแหน่ง "กลาง" ในทุกรอบ จะได้รับของรางวัลที่ตนเลือกไว้ โดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ Motion Content Group ซื้อลิขสิทธิ์จากบีบีซี เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของสหราชอาณาจักร นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดย กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 20:05 - 21:30 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564
หัวท้ายตายก่อนเป็นรายการที่สร้างปรากฏการณ์รายการเกมโชว์ที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้งของช่องเวิร์คพอยท์ มีเรตติ้งในระดับสูงในแต่ละตอน และเกม จำนวนลับ นับให้ถูก ยังถูกพูดถึงในส่วนของโจทย์เพลงประจำสัปดาห์อย่างกว้างขวาง[1]
รูปแบบรายการ
[แก้]รอบปกติ
[แก้]ในการแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีดารานักแสดงมาเป็นผู้เข้าแข่งขันจำนวนครั้งละ 9 คน เพื่อแข่งขันกันในเกมจำนวนครั้งละ 4 เกม ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนไปในการคัดผู้เข้าแข่งขันแต่ละรอบในทุก ๆ สัปดาห์ โดยในแต่ละรอบ ผู้เข้าแข่งขันต้องพยายามแข่งขันด้วยการ "เดาใจ" ทั้งตนเองและคนอื่น ๆ[2] รวมถึงใช้การตัดสินใจ การวางแผน และดวง ที่จะต้องวิเคราะห์ คิด และจัดอันดับ เพื่อให้เป็นผู้เข้าแข่งขันที่ชนะเกมในตำแหน่ง "คนกลาง" โดยเมื่อแข่งขันในแต่ละเกมเสร็จสิ้นลง ผู้เข้าแข่งขัน 2 คน แบ่งเป็นอันดับแรก หรือ "หัวแถว" 1 คน และอันดับสุดท้าย หรือ "ท้ายแถว" 1 คน ในแต่ละเกมจะถูกคัดออก (ทางรายการจะใช้คำว่า "ตาย" ตามชื่อรายการ) และจะถูกส่งไปนั่งที่เก้าอี้ข้างเวทีเพื่อดูและวิเคราะห์การแข่งขันในเกมถัดไปของผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ หรือในบางเกมอาจใช้ผู้ที่ตกรอบให้ร่วมเล่นเกมหรือปั่นป่วนผู้แข่งขันที่เหลือได้ เพราะพิธีกรอาจบอกกติกาให้ทราบก่อนผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่เสมอ โดยหลังจากแข่งขันครบ 4 รอบแล้ว ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนที่ชนะทั้ง 4 เกม ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่ง "คนกลาง" จะเป็นผู้ชนะประจำสัปดาห์
ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 มีการปรับรูปแบบรายการ และเปลี่ยนชื่อเป็น หัวท้ายตายก่อน 3×3 โดยยังคงรูปแบบกติกาเหมือนแบบปกติ แต่ปรับปรุงเกมการแข่งขัน โดยแข่งขันเป็นทีม ทีมละ 3 คน และเพิ่มเกมการแข่งขันทั้งหมดเป็น 5 เกม โดยทีมใดอยู่อันดับที่ 2 (ทีมอันดับกลาง) ในแต่ละเกม จะได้ 1 คะแนน ส่วนทีมหัวและทีมท้ายจะไม่ได้คะแนน และทุกคนจะเล่นครบ 5 เกม ทีมที่ได้คะแนนครบ 3 คะแนนก่อน จะเป็นทีมที่ชนะ และผ่านเข้าสู่รอบแจ็คพอต[3][4][5] อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้ได้รับกระแสตอบรับในทางลบ จึงใช้เพียงจำนวน 8 เทป จนถึงวันที่ 21 มีนาคม และกลับไปใช้รูปแบบแรกตามกระแสคำเรียกร้องตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม
รอบแจ็คพอต
[แก้]ในช่วงท้ายรายการ จะให้ผู้ชนะประจำสัปดาห์เลือกของรางวัลจากผู้ที่ตกรอบ โดยมีรางวัลใหญ่ที่สุดจำนวน 1 ชิ้น และตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการปรับรูปแบบรอบแจ็คพอต โดยมีแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย พิธีกรจะให้ผู้ชนะจับสลากหาผู้ที่ตกรอบขึ้นมารับรางวัลร่วมกับตน จากนั้นจะใบ้ของรางวัลในแต่ละแผ่นป้ายซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับของรางวัลใหญ่ และให้ผู้ชนะเลือก 2 แผ่นป้าย โดยให้ตนเอง 1 รางวัล และผู้ที่ถูกจับสลากขึ้นมาอีก 1 รางวัล
ส่วนรอบแจ็คพอตของรูปแบบ 3×3 จะมีแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายเหมือนเดิม แต่ทีมที่แพ้ทั้ง 2 ทีม จะทำการหยิบแผ่นป้ายออก ทีมละ 1 ป้าย รวมเป็น 2 ป้าย และให้ทีมที่ชนะเลือกแผ่นป้ายที่เหลือ
ส่วนรอบแจ็คพอตหลังจากกลับมาใช้รูปแบบปกติตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 มีการปรับเล็กน้อย โดยผู้ชนะจะสามารถจับสลากหาผู้ที่ตกรอบขึ้นมารับรางวัลร่วมกับตนได้ 2 คน และผู้ชนะจะต้องเลือกของรางวัลจำนวน 3 แผ่นป้าย, ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน เพิ่มแผ่นป้ายเป็น 7 แผ่นป้าย และตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้ชนะจะเลือกของรางวัลให้ตนเองก่อน หากเลือกแล้วได้รับของรางวัลใหญ่ เกมจะจบทันที แต่หากเลือกแล้วไม่ได้รับของรางวัลใหญ่ จะต้องจับสลากหาผู้ที่ตกรอบขึ้นมาอีก 1 คน แล้วเลือกแผ่นป้ายของรางวัลให้คนดังกล่าว
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]การตอบรับ
[แก้]รายการมีผู้ชมและการพูดถึงรายการนี้จำนวนมาก ส่งผลให้มีเรตติ้งในการรับชมสดทางช่องเวิร์คพอยท์เป็นอย่างดีในการออกอากาศหลายตอน[6] นอกจากนี้ ยังมีการรับชมรายการย้อนหลังในยูทูบเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสคลิปในส่วนมาแรงในหลายตอน และเกมที่ทำให้รายการนี้โด่งดัง นั้นก็คือ จำนวนลับ นับให้ถูก ซึ่งเป็นกระแสพูดถึงเกี่ยวกับโจทย์เพลงประจำสัปดาห์ที่ติดหู[1] และ สายด่วนชวนตาย ที่ทำให้ผู้ชมคอยลุ้นกับการรอสายทุกรอบอย่างตื่นเต้นไม่แพ้ผู้เข้าแข่งขัน[7]
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2565 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 13 | เกมโชว์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2566 | นาคราชอวอร์ด | รายการเกมโชว์ยอดเยี่ยมแห่งปี | ชนะ | [8] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ""หัวท้ายตายก่อน" กระแสฟีเวอร์ "ซาร่า โฮเลอร์" ขอคัมแบคหวังเข้าชิงรอบแจ็คพอต!". สนุก.คอม. 1 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024.
ช่วงเกม "จำนวนลับนับให้ถูก" ที่นำเอาสิ่งของ ชื่อคน สรรพนามต่าง ๆ มาแต่งเป็นเพลงจนติดหู แล้วให้ดูและทายว่า มีจำนวนมากสุด หรือน้อยสุดเท่าไหร่? ถือได้ว่าเป็นเกมฮิตสุดฮอตตอนนี้เลยก็ว่าได้
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บันเทิง - 'ป๋ากิ๊ก'ชวนสนุกเกมโชว์ลุ้นเดาใจ". ข่าวสด. 2021-01-10. สืบค้นเมื่อ 2021-01-31.
- ↑ ""หัวท้ายตายก่อน" First And Last Thailand เริ่ม วันจันทร์ที่ 11 ม.ค. นี้". นิวส์พลัส. 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-31.
- ↑ ""หัวท้ายตายก่อน" แมร่ง! โคตรสนุกเลย". เขวี้ยงรีโมท. 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-31 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "หัวท้ายตายก่อน ความลงตัวของเกมโชว์ยุคใหม่". พันทิป.คอม. 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-31.
- ↑ TV Digital Watch (2021-02-16). "น่าจับตา "หัวท้ายตายก่อน" รายการใหม่เรียกเรตติ้ง จากเวิร์คพอยท์". สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
- ↑ ทรูไอดี (2021-02-17). "มาแรงทุกEP! หัวท้ายตายก่อน เกมโชว์สุดฮอต ความสนุกที่เกิดจากการเดาใจ!". สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
- ↑ "ช่องเวิร์คพอยท์ รายการดี พิธีกรเก่ง เดินหน้าคว้ารางวัล "หัวท้ายตายก่อน" เกมโชว์ยอดเยี่ยมแห่งปี รางวัล "นาคราชอวอร์ด" ครั้งที่ 6". เวิร์คพอยท์. 28 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2024.