วัดชัยชนะสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับวัดในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร สำหรับวัดอื่นที่ใช้ชื่อเดียวกัน ดูที่ วัดชัยชนะสงคราม (แก้ความกำกวม)
วัดชัยชนะสงคราม
Park 'n' Pray. (9725073169).jpg
พระอุโบสถ วัดชัยชนะสงคราม
Map
ชื่อสามัญวัดชัยชนะสงคราม
ที่ตั้ง83 ถนนมหาจักร แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรีสามัญ
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระราชวิริยสุนทร (ยิน วรกิจโจ)
กิจกรรมเทศนาธรรม ทุกวันพระ
เว็บไซต์https://th-th.facebook.com/WadChaychnaSngkhramPhraXaramHlwng/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดชัยชนะสงคราม เดิมชื่อ "วัดตึก" สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่คลองถม ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

วัดไทยในกรุงเทพฯ ที่ตั้งกันตามความหมายที่แสดงถึงการมีชัยนั้น มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง อย่างวัดที่มีผู้คนนิยมไปกราบไหว้เพื่อขอให้พระอำนวยพรให้ตนมีชัยและชนะต่ออริราชศัตรูอย่างที่วัดชนะสงคราม ตรงบางลำพูก็ดี หรือแม้แต่จะเป็นวัดชัยชนะสงคราม ที่อยู่ไม่ไกลจากสะพานเหล็กก็ดี ทั้ง 2 วันต่างก็มีผู้คนนิยมมากราบไหว้บูชาเสริมสิริมงคลแก่ตัวเองทั้งสิ้น และแม้ว่าวัดทั้ง 2 วัดที่เอ่ยอ้างมาในข้างต้น จะได้เป็นวัดที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จอันเนื่องมาจากชื่อวัด และประวัติอันดั้งเดิมก็ตาม แต่วัดที่อยู่ตรงบางลำพูกลับเป็นวัดที่มีศักดิ์สูงกว่า ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ผู้ก่อสร้างวัดนั้น เป็นถึงผู้ที่มีฐานันดรที่จะสืบทอดแผ่นดินต่อจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเลยทีเดียว แต่ที่วัดตรงเขตป้อมปราบฯ นั้น ผู้สร้างดำรงยศเป็นเจ้าพระยา ดังนั้นวัดที่เจ้าพระยาสร้างจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเพียงอารามหลวงชั้นตรีอารามหลวงชั้นตรีอย่าง

ประวัติ[แก้]

วัดชัยชนะสงครามนั้น เจ้าพระยา บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ซึ่งเป็นเสนาบดี ที่แกล้วกล้าในการสงครามเป็นอย่างยิ่ง และด้วยความสามารถอันหาใครเสมอเหมือนนี้ ทำให้เจ้าพระยา บดินทร์เดชานั้นเป็นที่โปรดปรานใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น ถึงขนาดได้รับคำยกย่องว่าเป็นขุนศึกคู่พระไทยในรัชกาลที่ 3 เลยทีเดียว เมื่ออยู่ครั้งหนึ่งที่ไทยมีศึกสงครามกับญวนที่รบรากันมากว่า 14 ปี กว่าจะได้รับชัยชนะ และเมื่อจอมทัพอย่างเจ้าพระยา บดินทร์เดชาได้กรำศึกจนชนะแล้ว จึงได้ปรารถนาที่จะสร้างอนุสรณ์แห่งชัยชนะในการศึกครั้งนั้น เจ้าพระยาบดินทร์ฯ จึงได้อุทิศที่ดิน และบ้านที่รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานให้มาใช้เป็นวัด แล้วจึงตั้งชื่อตามเจตนรมย์เดิมว่า วัด ชัยชนะสงคราม และเมื่อสร้างเสร็จ และมีการทำ สังฆกรรมแล้ว วัดนี้ก็มิได้มีการทูลถวายให้เป็นวัดหลวง วัดนี้จึงได้เป็นวัดราษฎร์มานานจนกระทั่งถึง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงองค์ปัจจุบัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดนี้นอกจากจะมีความพิเศษที่ความเป็นมาอันหมายถึงชัยชนะแล้ว แต่ความพิเศษอีกประการคือชื่อเล่นๆ ที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า กุฏิ ที่ล้วนแล้วแต่ สร้างเป็นอาคารคอนกรีต อันเป็นวิธีการปลูกสร้างที่ใหม่ และแปลกสำหรับคนสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และชาวบ้านในแถบนั้นก็ยังคงเรียก วัด ชัยชนะสงครามนี้ว่า วัด ตึกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน[1]

เสนาสนะ-ถาวรวัตถุในวัด[แก้]

วัดชัยชนะสงคราม

วัด ตึก นั้น เป็นเพราะวัดนี้มีสิ่งปลูกสร้างโดยส่วนใหญ่ อันได้แก่

  • อุโบสถ
  • เจดีย์
  • ศาลาการเปรียญ
  • กุฏิ ที่สร้างสร้างด้วยปูนซีเมนและมีตรางด้วยไม้บางส่วน[2]

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดอรุณราชวรารามมีเจ้าอาวาสสืบลำดับมา ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 - ? ?
2 - ? ?
3 พระราชวิริยสุนทร(ยิน วรกิจโจ) พ.ศ. 2540 ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมการศาสนา. (2527). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
  2. ซูบารุโย (2013-03-06). "ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดชนะสงคราม และ วัดชัยชนะสงคราม". เด็กดีดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′41″N 100°30′20″E / 13.744774°N 100.505636°E / 13.744774; 100.505636