ภาษาญ้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาไทญ้อ)
ภาษาญ้อ
ศัพท์ "ไทญ้อ" เขียนด้วยอักษรลายตัย
ภูมิภาคภาคอีสาน, ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง, ประเทศเวียดนาม
ชาติพันธุ์ชาวญ้อ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (60,000 อ้างถึง1990 - 1995 census)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนโกว๊กหงือ, ไทย, ลายตัย
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
tyj – Tai Do
nyw – Tai Nyaw

ภาษาญ้อ (Nyaw) หรือ ภาษาไทญ้อ (Tai Yo/Tai Nyaw) หรือ ภาษาไทแมน (Tai Mène) หรือ ภาษาย้อ[4] เป็นภาษากลุ่มไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความใกล้ชิดกับภาษาไทเปาในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Tai Do และ Tai Quy Chau[5] เดิมเคยเขียนเป็นอักษรไทญ้อ แต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว[1] ภาษานี้พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533) โดยในปัจจุบันพบได้ที่จังหวัดสกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ปราจีนบุรี และสระบุรี พบได้มากที่อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอเมืองสกลนคร อำเภออรัญประเทศ เป็นต้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนเหนือของแขวงหลวงพระบาง และแขวงคำม่วนประเทศลาว

ภาษาญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Tai Do ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Tai Nyaw ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Chamberlain (1991), p. 119
  3. Pittayawat Pittayaporn [พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์] (2009). The Phonology of Proto-Tai. PhD dissertation, Department of Linguistics, Cornell University. p. 318.
  4. "หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าไทญ้อบ้านโพน | CBT Thailand". cbt.
  5. [1]

อ่านเพิ่ม[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]