ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{{{B
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
{{ระวังสับสน|คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ}}
{{Infobox Organization
| name = คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
| image = คสช.jpg
| caption = พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] อ่านประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติในช่วงเย็นวันที่ [[22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2557]]
| type = [[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง]]
| headquarters = กองบัญชาการกองทัพบก<br/>เดิม กองบังคับการ [[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]]
| location =
| membership =
| language =
| leader_title = หัวหน้า
| leader_name = พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
| main_organ =
| key_people =
* พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] <small> (รองหัวหน้า) </small>
* พลเอก [[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] <small> (รองหัวหน้า) </small>
* พลเรือเอก [[ณรงค์ พิพัฒนาศัย]]<small> (รองหัวหน้า) </small>
* พลอากาศเอก [[ประจิน จั่นตอง]] <small> (รองหัวหน้า) </small>
* พลตำรวจเอก [[อดุลย์ แสงสิงแก้ว]] <small> (รองหัวหน้า) </small>
* พลเอก [[เฉลิมชัย สิทธิสาท]] <small> (เลขาธิการ) </small>
* พลเอก [[สสิน ทองภักดี]] <small> (รองเลขาธิการ) </small>
* พลเอก [[ณัฐพล นาคพาณิชย์]] <small> (ผู้ช่วยเลขาธิการ) </small>
| budget =
| website = {{facebook|PeaceandOrderMaintainingCommand|คสช.}}
}}
{{การเมืองไทย}}

'''คณะรัฐประหาร'''ในนาม'''คณะรักษาความสงบแห่งชาติ''' หรือ '''คสช.''' ({{lang-en|National Council for Peace and Order (NCPO)}} เดิมใช้ชื่อ National Peace and Order Maintaining Council (NPOMC) ) เป็น[[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง]] โดย[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557|รัฐประหาร]]ยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศ[[กฎอัยการศึก]]ทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้ง[[กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย]] (กอ.รส.) ได้สองวัน และมีพลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]เป็นหัวหน้าคณะ อย่างไรก็ตามโครงสร้างของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 จนถึงปัจจุบัน
คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังเป็นคณะที่ออกประกาศคำสั่งมากที่สุดตั้งแต่มีการรัฐประหารในประเทศไทย นอกจากประกาศและคำสั่ง คสช.แล้วยังมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งของ พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]อีกด้วย คณะรัฐประหารคณะนี้ครองอำนาจเป็นระยะเวลายาวนานเป็นอันดับ 3 รองจาก จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] จอมพล[[ถนอม กิตติขจร]]<ref>[https://www.prachatai.com/journal/2018/05/77049 4 ปีรัฐประหาร: การเมืองและกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย 99.99%]</ref>


== สาเหตุ ==
== สาเหตุ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:23, 26 กันยายน 2561

{{{{B

สาเหตุ

วันที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ขึ้นมา เรียกประชุมผู้แทนรัฐบาล, วุฒิสภา, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, นปช. และ กปปส. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทหารแจกใบปลิวให้ประชาชนที่สัญจรย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อหาระบุเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า[1]

  1. มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย
  2. การใช้อำนาจการปกครองที่กระทำอยู่เดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทำผิดของกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกต่อไป
  3. แนวทางการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถ้าเลือกตั้งต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้ อาจเกิดปัญหาความวุ่นวายไม่จบสิ้น
  4. การชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางความคิด และการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้
  5. ปัญหาทุจริต มีคดีความจำนวนมากอยู่ในชั้นศาล และยังรอกระบวนการยุติธรรมตัดสิน
  6. การบังคับใช้กฎหมายปกติต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ทำให้เกิดความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง ความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะแกนนำที่มีความผิด ตามกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การยุยงปลุกปั่นแนวร่วมของฝ่ายตน ให้พร้อมที่จะกระทำการใด ๆ ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง
  7. การบริหารราชการแผ่นดินในห้วงที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และก่อปัญหาความเดือดร้อนต่อประชาชนทุกระดับจนถึงรากหญ้า
  8. มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 112 ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ
  9. การปลุกระดมมวลชนที่มุ่งเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทวีความรุนแรงและเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
  10. ปรากฏชัดว่ามีการจัดตั้งและใช้กองกำลังติดอาวุธรวมถึงการตระเวนอาวุธสงครามจำนวนมาก เพื่อปฏิบัติการอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามของตน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกองทัพจะยอมให้เกิดขึ้นในประเทศชาติไม่ได้โดยเด็ดขาด

การได้รับความยอมรับ

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 ที่รัฐธรรมนูญได้รับคณะแนนเสียงยอมรับมากถึง 61.35% และในขณะนั้นได้มีการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ[2] การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 จึงมีความเป็นอิสระในการลงคะแนน

ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยได้รับการพิจารณา การปรับสถานะภาพ การค้างาช้างผิดกฎหมายของไทย ดีขึ้น จากสถานะน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง เป็นสถานะน่ากังวลลำดับรอง[3]

ในปี พ.ศ. 2560 ที่ประชุมใหญ่สมาชิกกลุ่มต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิกมีมติให้ ประเทศไทยจะไม่ถูกกำหนดอยู่ในรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านฟอกเงิน[4] และ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ได้ประกาศถอดประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน[5] รวมถึงมีการเปิดเผยรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว โดยธนาคารโลกได้สะท้อนว่าประเทศไทยอยู่ในระดับที่พ้นจากความยากจนมาแล้ว[6]

ในปี พ.ศ. 2561 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นของไตรมาสแรก ปี พ.ศ. 2561 สูงสุดในรอบ 5 ปี [7] การปรับสถานะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยดีขึ้นในรอบ 10 ปีจากบัญชีที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เป็นบัญชีจับตา[8]นอกจากนั้นการส่งออกไทยไตรมาสแรกของปี 2561 นั้นได้เติบโตสูงสุดในรอบ 7 ปี[9]รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ปรับอันดับการค้ามนุษย์ของไทยจากเทียร์ 2 ที่ต้องจับตา เป็น เทียร์ 2[10] ด้านคณะกรรมาธิการยุโรปยังคงสถานะใบเหลืองในเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมายโดยไม่เลื่อนสถานะประเทศไทยลงสู่ใบแดง[11]

คณะรัฐประหารจึงได้รับการยอมรับจากนักธุรกิจภายในประเทศ[12]เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น

การต่อต้าน

สาเหตุของการที่คณะรัฐประหารไม่ได้รับความยอมรับประเด็นหลักคือเรื่องการตั้งข้อหา การดำเนินคดีความ การจับกุมและละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งคณะรัฐประหารได้สั่งให้บุคคลไปรายงานตัวจำนวนมากและหลายคดีดำเนินคดีในศาลทหาร

นอกจากนั้นยางพารานั้นต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2558[13] ชาวเกษตรกรจึงได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก จึงก่อให้เกิดความพยายามประท้วงขึ้นหลายครั้ง[14] แต่กลับถูกทหารจับกุมเข้าค่ายปรับทัศนคติ[15] ซึ่งเป็นเหตุผลหลักทำให้ชาวสวนยางพาราหรือชาวใต้ เริ่มไม่พอใจคณะรัฐประหารชุดนี้ นอกจากนี้ยังพบว่าคณะรัฐประหารที่ อ้างความชอบธรรมในการปราบปรามการทุจริตในเมืองไทยกลับกลายเป็นผู้ต้องสงสัยว่าทุจริต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทุจริตอุทยานราชภักดิ์[16] การแต่งตั้งหลานชายตัวเองเข้ารับราชการทหารโดยไม่ผ่านการสอบหรือการเรียนโรงเรียนนายร้อย[17] การตั้งบริษัทส่วนตัวในค่ายทหาร[18] เหตุการณ์ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)สามารถไม่เข้าร่วมประชุมได้อย่างไม่จำกัดและยังได้รับเงินเดือนอยู่โดยไม่ถูกลงโทษใด ๆ[19] การเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนที่รัฐฮาวาย[20] การไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินนาฬิกาก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรี ของพลเอกประวิตร[21]

อีกทั้งบุคคลใน องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีที่มาจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ซึ่งทำให้ประชาชนสงสัยในความเป็นกลางของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[22]ตุลาการศาลปกครองสูงสุด[23] เนื่องจากที่มานั้นได้รับการอนุมัติตำแหน่งโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ซึ่งสมาชิกสภาดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นกลาง เนื่องจากมีทหารเป็นจำนวนมากในสภา

ในเดือน กรกฎาคมุ พ.ศ. 2561 สำนักงานประกันสังคมรายงานตัวเลขผู้ว่างงานในระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและพนักงานมหาวิทยาลัยว่ามากถึง 169418 คน สูงสุดตั้งแต่ เดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ด้วยสาเหตุที่ไม่แน่ชัด[24]

อย่างไรก็ตามมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะรัฐประหารครั้งใหญ่ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 แต่รัฐบาลนั้นมีอำนาจเบ็ดเสร็จตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งมาตรา 279 ได้รับรองประกาศคำสั่งต่างๆ ของคณะรัฐประหารว่าเป็นกฎหมายของบ้านเมือง

องค์กรที่ประกาศต่อต้านคณะรัฐประหารได้แก่ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง คณะนิติราษฎร์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือยกเลิกประกาศ[25] คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ

การประท้วงและการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์

  1. 26 พฤษภาคม 2557 การประท้วงของกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร[26]
  2. 22 พฤษภาคม 2561 การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง[27]
  3. 28 พฤษภาคม 2561 กิจกรรมกินมาม่าซ้อมอดอยากรอเลือกตั้ง[28]

โครงสร้าง

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ผู้บัญชาการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเอก ดร.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หน้าที่ เป็นหน่วยงานในระดับนโยบาย มีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ /ศูนย์ติดตามสถานการณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ผู้บัญชาการ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หน้าที่ รับผิดชอบหน่วยงาน / ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน / ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในโครงสร้างดังกล่าวนี้รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.)
ผู้บัญชาการ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท กู้เกียรติ ศรีนาคา แม่ทัพภาคที่ 1 (กกล.รส.ทภ.1)
พลโท ธรากร ธรรมวินทร แม่ทัพภาคที่ 2 (กกล.รส.ทภ.2)
พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 (กกล.รส.ทภ.3)
พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 (กกล.รส.ทภ.4)
หน้าที่ ควบคุมกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทั้ง 4 กองทัพภาค กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 1–4 (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นควบคุมทางยุทธการ)
ฝ่ายความมั่นคง
ผู้บัญชาการ พลเอก ดร.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
พลเอก อักษรา เกิดผล รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
หน้าที่ ควบคุม 3 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ผู้บัญชาการ ว่าง หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
หน้าที่ ควบคุม 1 กระทรวง 3 หน่วย ได้แก่
ฝ่ายเศรษฐกิจ
ผู้บัญชาการ พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ[29]
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
หน้าที่ ควบคุม 8 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายสังคมจิตวิทยา
ผู้บัญชาการ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
หน้าที่ ควบคุม 7 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายกิจการพิเศษ
ผู้บัญชาการ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
พลเอก สุชาติ หนองบัว รองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
หน้าที่ ควบคุม 20 หน่วยงาน ได้แก่
หน่วยงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ผู้บัญชาการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หน้าที่ ควบคุม 6 หน่วยงาน ได้แก่
กลุ่มงานขับเคลื่อนการบริหารแผ่นดิน
ผู้อำนวยการ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้อำนวยการ
[30]
กลุ่มงานขับเคลื่อนภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย
ผู้บัญชาการ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้อำนวยการ
[31]

ค่าตอบแทน

วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีการออกกฎหมายกำหนดเงินเดือนและประโยชน์ทางการเงินอื่นแก่สมาชิก คสช. พลเอกประยุทธ์ได้รวม 125,590 บาทต่อเดือน ขณะที่สมาชิก คสช. คนอื่นได้รับรวม 119,920 บาทต่อเดือน ประโยชน์เหล่านี้เพิ่มเติมจากประโยชน์ที่ได้รับจากตำแหน่งในกองทัพ[32]

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เงินประจำตำแหน่งเพิ่มเป็น 175,590 บาท (เพิ่มขึ้น 50,000 บาท) ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 174,420 บาท (เพิ่มขึ้น 54,500 บาท) [33]

มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ พลเอก สลิน ทองภักดี แต่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แก่ พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ เพียงบุคคลเดียวในส่วนของพลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เนื่องจากเกษียณอายุราชการ

ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการแต่งตั้งเสนาธิการทหารบก เป็น ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ [34]โดยให้เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งดังกล่าวเป็น พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์

คณะกรรมการที่ยังปฏิบัติงานอยู่

คณะกรรมการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 6 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 30 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) 2 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 4 คณะ มีจำนวนทั้งหมด 45 คณะ

คณะอนุกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติจำนวน 8 คณะ ได้แก่

  1. คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 173/2557[35]
  2. คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 175/2557[36]
  3. คณะอนุกรรมการจัดทำบัญชีข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 176/2557[37]
  4. คณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 177/2557[38]
  5. คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 74/2557[39]
  6. คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 106/2557[40]
  7. คณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อยตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 116/2557[41]
  8. คณะอนุกรรมการการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2560[42]

ศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 51/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ พลเอก สกล ชื่นตระกูล เป็นหัวหน้าฝ่ายติดตามและประสานงาน สถานที่ในการปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในกองบัญชาการกองทัพบกและตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล[43]พล.ต.วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการ ประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ พันเอก วินธัย สุวารี เป็นโฆษกในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แบ่งส่วนงานเป็นส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อยและส่วนงานการบริหารราชการ[44]โดยปัจจุบัน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ) มีผู้ปฏิบัติงานดังนี้

พลโท อยุทธ์ ศรีวิเศษ หัวหน้าฝ่ายกำลังพล ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลโท วรเกียรติ รัตนานนท์ หัวหน้าฝ่ายข่าว ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลโท ชนาวุธ บุตรกินรี หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลโท ชัยมนตรี โพธิ์ทอง หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลโท สมศักดิ์ สมรักษ์ หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลโท กิตติทัศน์ เปี่ยมสุวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลตรี ปัณณทัต กาญจนะวสิต หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

พลตรี วรพจน์ เร้าเสถียร หัวหน้าคณะทำงานติดตามสื่อ ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติในปัจจุบัน

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2560 แต่งตั้งผู้ดำรงตำหน่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[45]

คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 1 /2559 แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น 8 ราย[46] ดังรายนามต่อไปนี้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๙ โดยได้ให้พลเอกนพดล อินทปัญญารับตำแหน่งเลขานุการของคณะที่ปรึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเหลือคณะที่ปรึกษา 7 ราย ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป[47]

ผู้ปฏิบัติงานดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2561 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[48] ,คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[49]และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2560 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[50]

ที่ปรึกษาประจำผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2561 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[52],คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [53]และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2560 เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[54]

อ้างอิง

  1. คสช.แจกใบปลิว 10 เหตุผลทำรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  2. รณรงค์’7 เหตุผลไม่รับร่างฯ’
  3. http://www.nationtv.tv/main/content/378518360/
  4. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/766309
  5. https://brandinside.asia/icao-abort-red-flag-thailand/
  6. https://www.posttoday.com/finance/news/529300
  7. สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาสแรกโต 4.8% สูงสุดรอบ 5 ปี
  8. เฮลั่น!สหรัฐถอดไทยจากบัญชีต้องจับตามองละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  9. ยอดส่งออกไทย Q1 มูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี ตลาดส่งออกโตทั้งอินเดีย เอเชียใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS
  10. https://prachatai.com/journal/2018/06/77621
  11. https://www.prachachat.net/economy/news-159812
  12. ภาคเอกชนพอใจผลงาน คสช.ตลอดระยะเวลา 4 ปี
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  14. ม็อบสวนยางบุก ก.เกษตรฯ วางพวงหรีด จี้ปลดบอร์ด กยท.
  15. ทหารอุ้มแกนนำสวนยางตรัง-พัทลุง เข้าค่ายปรับทัศนคติ หลังพบแผนบุกกรุง
  16. เปิดเส้นทางเงินพันล้าน “อุทยานราชภักดิ์” พบ ทบ. โชว์รายการใช้จ่ายไม่ถึงครึ่ง – มีชื่อผู้บริจาค 468 ล้านบาท
  17. บิ๊กตู่ป้องหลานชายไม่ผิด ท้าฟ้องศาล-ยันตั้งกันทุกปี ฉุน ต้องเปลี่ยนนามสกุลไหม (คลิป)
  18. "ทภ.3 "รับ"ลูกชายบิ๊กติ๊ก"จดทะเบียนตั้งบริษัทในค่ายทหาร ชี้กำลังอยู่ระหว่างย้ายที่อยู่บริษัทไปบ้านใหม่ แต่มาเ ระบุไม่ผิดระเบียบ แต่ไม่เหมาะสม
  19. ผลสอบ 7 สนช. โดดประชุมไม่ผิด สนช.ออกข้อบังคับใหม่ ขาดลงมติได้ไม่จำกัด
  20. ทัวร์ป้อม20ล. สตง.การันตีไม่เว่อร์ เสิร์ฟคาเวียร์จริง-เมนูปกติ ยันไร้ชื่อนักข่าว-เอกชนดัง
  21. เรียง 25 นาฬิกา ‘พล.อ.ประวิตร’ สิ่งของบนข้อมือบิ๊กป้อมมูลค่ารวมเฉียด 40 ล.บาท
  22. "นครินทร์"เป็นตุลาการศาลรธน.
  23. มติสนช.เห็นชอบ14ตุลาการศาลปค.สูงสุด
  24. https://prachatai.com/journal/2018/08/78395?ref=internal_update_title
  25. https://ilaw.or.th/10000sign
  26. คสช.ส่งทหารเจรจาผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ฯ
  27. 4 ปีรัฐประหาร : "คนอยากเลือกตั้ง" นัดบุกทำเนียบ
  28. ตร. นำ 'เพนกวิน-พริษฐ์' ลงบันทึกประจำวัน หลังยืนกินมาม่าซ้อมอดอยากรอเลือกตั้ง
  29. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ)ที่ 84/58 เรื่องให้เจ้าหน้าที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  30. http://www.thairath.co.th/content/530331
  31. http://www.thairath.co.th/content/530331
  32. "เปิดบัญชีอัตราเงินตอบแทน "หัวหน้า คสช. - สนช. - สปช."". Isra News. 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-02. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  33. "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  34. https://www.rtarf.mi.th/pdf/ratchakitcha_2560.pdf
  35. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/11.PDF
  36. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/13.PDF
  37. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/15.PDF
  38. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
  39. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/125/4.PDF
  40. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/144/12.PDF
  41. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/3.PDF
  42. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/086/7.PDF
  43. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/106/2.PDF
  44. http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-annouce34-2557.pdf
  45. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/232/16.PDF
  46. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/009/18.PDF
  47. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๙ เรื่อง เปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๓ ง พิเศษ หน้า ๒๐
  48. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/104/32.PDF
  49. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/261/21.PDF
  50. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/302/9.PDF
  51. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/B/009/1.PDF
  52. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/104/32.PDF
  53. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/261/21.PDF
  54. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/302/9.PDF
  55. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/295/33.PDF
  56. งดสอนและสอนชดเชย วิชากฎหมายปกครองเยอรมัน (LW630) โดย อ.ดร.คนันท์ ชัยชนะ

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถัดไป
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(คมช.) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน)
-