ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
Office of The Consumer Protection Board
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-05-05)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่120 ชั้น 5 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี297,769,700 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • ทรงศิริ จุมพล, รักษาการเลขาธิการ
  • ว่าง, รองเลขาธิการ
  • ว่าง, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. (อังกฤษ: Office of The Consumer Protection Board : OCPB) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ปัจจุบันมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารบี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

ใน พ.ศ. 2512 สมาคมผู้บริโภคของประเทศต่างๆ ได้เข้ามาชักชวนให้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้นในประเทศไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขึ้นคณะหนึ่งโดยมีพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งเริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519 และยุติการดำเนินการในเวลาต่อมา

ในรัฐบาลของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นอีกครั้ง โดยมอบหมายให้นาย สมภพ โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการจนนำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เป็นผลให้เกิด "คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค" อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายรัฐมนตรี พ.ศ. 2522 ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[2] จึงถือกำเนิด สคบ. ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ แทน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการนอกจากนี้ยังกำหนดให้โอนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจากสำนักนายกรัฐมนตรีมาอยู่ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีโดยตรง

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

[แก้]

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน มีรายชื่อดังต่อไปนี้

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่งปัจจุบัน ตำแหน่งในคณะกรรมการ หมายเหตุ
ตำแหน่งหลัก ภาค
1 จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี (แพทองธาร ชินวัตร) ให้ปฏิบัติหน้าที่แทน[3]
2 ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการโดยตำแหน่ง
3 ประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4 ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม
5 ศ.(พิเศษ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
6 วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
7 อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
8 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
9 ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
10 ชาตรี สุวรรณิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาการ
11 ไชยา ยิ้มวิไล
12 พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
13 พล.อ.ต.อิทธพร คณะเจริญ
14 ชูเนตร ศรีเสาวชาต ภาคประชาชน
15 ว่าที่ ร.ต.ถวัลย์ รุยาพร
16 ประวิทย์ จิตนราพงศ์ ภาคผู้ประกอบธุรกิจ
17 มนรัฐ ผดุงสิทธิ์
18 ทรงศิริ จุมพล รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขานุการ
19 ไม่ทราบ ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ช่วยเลขานุการ
20

หน่วยงานภายใน

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แบ่งหน่วยงานภายใน ดังนี้[4]

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมายและคดี
  • กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
  • กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
  • กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
  • กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
  • กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  • สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2522ราชกิจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนพิเศษ 105ก วันที่ 1 กรกฎาคม 2522
  3. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๑๔/๒๕๖๗" (PDF). สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. 16 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/029/1.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]