ชาตอุดม ติตถะสิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม 2562
ราชองครักษ์พิเศษ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ถัดไปพลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์
ประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม พ.ศ. 2559[1] – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559[2]
(0 ปี 50 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสผศ.ดร.คุณหญิง วรรณวิภา ติตถะสิริ
บุพการี
  • พลโท อุดม ติตถะสิริ (บิดา)
  • แพทย์หญิง นันทา ติตถะสิริ (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
กระทรวงกลาโหม
ประจำการพ.ศ. 2520 - 2558
ยศ พลเอก

พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ราชองครักษ์พิเศษ[3]อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[4] อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[5] และรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557[6] กรรมการศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ อดีตรองเสนาธิการทหารบก, อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5,[7] อดีตปลัดบัญชีทหารบก[8] อดีตประธานกรรมการคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ

ประวัติ[แก้]

พลเอกชาตอุดม ติตถะสิริ มีชื่อเล่นว่า ตั๋น เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2499 [9]เป็นบุตรคนที่ 2 ของพลโท อุดม กับ พญ.นันทา ติตถะศิริ มีพี่น้อง 2 คน สมรสกับผศ.ดร.วรรณวิภา ติตถะสิริ[10]ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

การศึกษา[แก้]

พลเอกชาตอุดมจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26)[11] รุ่นเดียวกับ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชาเป็นรุ่นน้องพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

การทำงาน[แก้]

พลเอกชาตอุดม ติตถะสิริ เคยดำรงตำแหน่งปลัดบัญชีกองทัพบก, รองเสนาธิการทหารบก, กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5,ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ยังเป็นรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็นพลเอก และได้รับแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558[12] เป็นกรรมการการบินไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณกลาโหม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
  2. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 70/2559
  3. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  4. ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
  5. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ[ลิงก์เสีย] ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  6. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557
  7. ร่วมแสดงความยินดีกับ พล.ท.ชาตอุดม ติตถะสิริ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5[ลิงก์เสีย]
  8. "นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย กองทัพบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02.
  9. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล[ลิงก์เสีย] ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  10. "สมาคมแม่บ้านทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02.
  11. ทำเนียบสมาชิก จปร.26[ลิงก์เสีย]
  12. ได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็นพลเอก และได้รับแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๔, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓