ข้ามไปเนื้อหา

ธรรมบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางกาภาพพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ศิลปะทิเบต เชื่อว่าทรงเป็นธรรมบาล

ธรรมบาล (สันสกฤต: धर्मपाल,; ทิเบต: ཆོས་སྐྱོང་ (ไวลี: chos skyong), จีน: 達磨波羅, 護法神, 護法鬼神, 諸天鬼神, 護法龍天, 諸天善神, ญี่ปุ่น: 達磨波羅, 護法善神, 護法神, 諸天善神, 諸天鬼神, 諸天善神諸大眷屬[1]) เป็นเทพโกรธวิฆนันตกะในศาสนาพุทธ ควาหมายของธรรมปาละคือ "ผู้ปกป้องธรรม" หรืออาจแปลเป็น "ผู้ปกป้องกฎ" (ธรรมแปลว่ากฎ) ธรรมปาละแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ ผู้พิทักษ์ทางโลก และผู้พิทักษ์ทางปัญญา มีเพียงแบบหลังเท่านั้นที่เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งบรรลุแล้ว[2]

ในธรรมเนียมมหายานและตันตระ[3] โดยทั่วไปแสดงประติมานวิทยาของธรรมบาลในรูปที่มีความดุร้ายและโกรธเกรี้ยว ซึ่งมีไว้เพื่อแสดงเจตจำนงในการปกปักษ์ศาสนิกชนและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป ธรรมบาลจัดเป็นหนึ่งใน อัษฏคัตยะ (อมนุษย์แปดจำพวก) ซึ่งที่เหลือคือครุฑ, เทวดา, นาค, ยักษ์, คนธรรพ์ อสูร, กินนร และ มโหราคะ[3]

ส่วนในประติมานวิทยาของวัชรยานและทางกา ธรรมบาลมีลักษณะน่ากลัว มีหลายหัว หลายมือ หลายเท้า, มีผิวกายน้ำเงิน ดำ หรือแดง มีเขี้ยว และแสดงออกอย่างดุร้าย ทั้งนี้ความดุร้ายนี้แสดงออกเพื่อประโยชน์ของศาสนิกชนทั้งนั้น

ปรากฏหลักฐานการบูชาธรรมบาลในธรรมเนียมทิเบตย้อนไปถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 「梵天帝釋二大天王 日本國中大小神祇 諸天善神 諸大眷屬」(般若心經奉讚文
  2. https://www.himalayanart.org/search/set.cfm?setID=2404 Buddhist Protectors, Wisdom Deities: Dharmapalas at Himalayan Art Resource
  3. 3.0 3.1 3.2 Robert E. Buswell Jr.; Donald S. Lopez Jr. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. pp. 249–250. ISBN 978-1-4008-4805-8.