ผู้ใช้:Mafuyu
เนื้อหา: | Mafuyu project • Anime • The Melancholy of Suzumiya Haruhi • Complete articles • Template • Minor edit • Major edit • Incomplete articles • Data base • Contact User • Experiment • OS-Tan • Anime portal • Mafuyu article |
---|
โปรแกรมที่ใช้
|
|
ความเห็นส่วนตัว
|
โัครงการอนิเมะที่ทำไว้อย่างดี ถูกลบทิ้งอย่างน่าเสียดาย แต่ว่าเำพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา จึงตัดสินใจปล่อยทิ้งไปละกัน เพราะช่วงที่เราไม่ได้เข้ามา อาจมีการปรับเปลี่ยนโยบายการใช้ภาำพใหม่.....
เท่านั้นไม่พอ งานที่ทำค้างไว้ที่กระบะทรายยังหายหมดอีกตั้งหาก แต่พูดไปก็เท่านั้น ตราบเท่าที่ตอนสร้างบทความไม่มีคนมารบกวนก็น่าจะพอแล้วละ
By the way this link contain count edit of Mafuyu
Mafuyu Project |
---|
Troll? • Lolicon |
โทรลล์ หมายถึง ผู้ที่มีความพยายามที่จะขัดขวางการใช้งานบนวิกิพีเดียของนักเขียน ผู้ดูแลระบบ ผู้พัฒนา รวมไปถึงบุคคลอื่นๆ ที่พยายามสร้างสรรค์บทความเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย พฤติกรรมโทรลล์ถือว่าเป็นการละเมิดกฎอย่างร้ายแรง ในการใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการตัดสินว่าบทความของผู้อื่นไม่ดีอย่างไม่เป็นกลาง (เพราะการตัดสินเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด กับวิกิพีเดีย เมื่อนักเขียนคนหนึ่งประเมินอย่างเด็ดขาด ว่าบทความนี้ไม่ดี ในขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ ส่วนมาก เห็นว่าการด่วนตัดสินเช่นนั้นเป็นการรุนแรงเกินไป)
พฤติกรรมโทรลล์ไม่จัดว่าอยู่ในระดับเดียวกับการก่อกวน แต่การก่อกวนบางอย่างอาจถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์ การก่อกวน หมายถึง ผู้ใช้ที่ชื่นชอบในการทำให้หน้าเว็บเสียหาย ดูถูกผู้ใช้และสมาชิกนักเขียนคนอื่นๆ ไปทั่ว หรือลงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวในทางมิชอบ แต่พฤติกรรมโทรลล์จะหมายถึง ผู้ที่จู่โจมวัฒนธรรมในบางจุดที่อ่อนแอของสังคมอื่น หรือพยายามทำให้ผู้อื่นรู้สึกเสียใจผ่านทางระบบเครือข่าย ยังมีรูปแบบหลายอย่างของผู้ที่ก่อกวน ที่ไม่นับว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์ อย่างเช่น ขโมยบทความ จู่โจมด้วยความเห็นที่เอนเอียง บิดเบือน ผู้ใช้ที่ไม่สุภาพ ไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
พื้นฐานความคิดของพวกโทรลล์นี้ จะไม่สนใจการตอบสนองของนักเขียนคนอื่นๆ ต่อบทความของตน ซึ่งแตกต่างกับสมาชิกนักเขียนทั่วไปคนอื่นๆ บนวิกิพีเดียที่จะตอบสนองต่อความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความแม่นยำ ความครอบคลุมของเนื้อหา และคุณภาพอื่นๆ ของบทความ ถ้าพวกโทรลล์ไม่ตอบสนองต่อบทความที่ไม่ถูกต้อง ก็ยากที่จะบ่งบอกได้ว่าพวกใดเป็นพวก โทรลล์
คำจำกัดความของพฤติกรรมโทรลล์
แนวคิดที่จะให้คำจำกัดความของพฤติกรรมโทรลล์เป็นไปอย่างง่ายๆ โดยธรรมชาติพวกโทรลล์มักจะทำให้ความหมายผิดเพี้ยน หรือใช้ความพยายามอันหนึ่งอันใดในทางที่ทำลาย ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งตามมาด้วยความเห็นที่ว่า อะไรคือโทรลล์ และพวกโทรลล์ทำอะไร แต่เป็นไปไม่ได้ ที่จะระบุว่าพฤติกรรมในทางที่ไม่สร้างสรรค์ บนวิกิพีเดียทุกอย่างเป็นพฤติกรรมโทรลล์ ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีหน่วยงานที่มาทำการตรวจสอบพวกโทรลล์โดยเฉพาะ
พฤติกรรมโทรลล์ จะมีเจตนาร้ายอย่างชัดแจ้ง ในความพยายามที่จะขัดขวางการพัฒนาบทความบนวิกิพีเดีย
- ความดื้อรั้นหัวแข็ง ไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- ความเห็นที่ขัดแย้ง ไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- อคติที่มีต่อนักเขียน หรือพยายามที่จะปกป้องบทความอย่างแข็งกร้าว ไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- ตั้งชื่อ โหวต หรือขอให้ทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยสำคัญผิด ไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- ความพยายามก่อกวนด้วยโปรแกรมที่ เป็นพฤติกรรมโทรลล์
พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้สมาชิกผู้อื่น มีความต้องการที่จะให้มีการลงโทษพวกโทรลล์ ซึ่งการลงโทษเหล่านี้ ไม่มีวิธีดำเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งโดยชัดเจน จึงต้องพึงระลึกไว้เสมอ ก่อนที่จะทำการกล่าวหาใครว่ามีพฤติกรรมโทรลล์
เมื่อคุณพยายามตัดสินคนใดคนหนึ่งว่ามีพฤติกรรมโทรลล์ ต้องสันนิษฐานไว้เบื้องต้นก่อนว่า พวกเขานั้นสมาชิกนักเขียนวิกิพีเดียปกติ
อธิบายที่ข้อผิดพลาดให้พวกเขาเข้าใจอย่างสุภาพ และมีเหตุผล ชี้ให้เห็นถึงข้อตกลงบนวิกิพีเดีย รูปแบบมาตรฐานและสิ่งที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางการอภิปราย
อย่าเพิ่งสรุปว่าพวกเขามีพฤติกรรมโทรลล์ จนกว่าพวกเขาจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถ หรือไม่ประสงค์ที่จะรับฟังเหตุผล
หรือแสดงความเป็นกลางระหว่างสมาชิกนักเขียนคนอื่น และถึงแม้ว่าจะเป็นในกรณีนั้น ก็ให้เงียบไว้ดีกว่า แล้วให้สมาชิกโดยรวมบนวิกิพีเดียตัดสิน
จะดีกว่ากล่าวหาว่าใครเป็นพวกโทรลล์ ซึ่งมีแต่จะสร้างความสับสนให้มากขึ้น ให้จำให้ขึ้นใจว่า "อย่ากัดผู้มาใหม่"
รูปของพฤติกรรมโทรลล์
นี่เป็นเพียงตัวอย่างพฤติกรรมโทรลล์ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ขัดขวางผู้อื่น ด้วยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ จะไม่นับว่าเป็นพวกโทรลล์ พฤติกรรมโทรลล์นั้น สำคัญที่เจตนา
การเตือนบทความ
รูปแบบตัวอย่างของพฤติกรรมโทรลล์
- ตั้งใจใส่ความในบทความ
- ส่งข้อความที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความขัดแย้ง
โดยบทความที่ให้ร้ายมักจะมาจากนักเขียนที่มีวิสัยทัศน์แคบ หรือนักเขียนที่มีความเห็นตรงกันข้าม และเชื่อโดยสนิทใจว่าบทความที่ตนไม่เห็นด้วยมาจากพวกโทรลล์ อย่างไรก็ตามผู้นั้นก็ไม่ได้อภิปรายกับสมาชิกท่านอื่น แต่กลับยืนกรานความเห็นของตนฝ่ายเดียว โดยไม่มีการผ่อนผัน
ไม่ใช่ทุกบทความที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในการอภิปรายจะเป็นโทรลล์ คำจำกัดความของพฤติกรรมโทรลล์ในกรณีนี้ ไม่ใช่ในเรื่องเนื้อหาบทความ แต่เป็นพฤติกรรมในการอภิปรายบทความ ปฏิเสธหลักฐานจากการค้นคว้า สืบค้นอ้างอิง ความเห็นที่เป็นกลางจากการอภิปราย และการประนีประนอม สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในระหว่างตั้งใจพัฒนาบทความ บางครั้งอาจถูกผู้อื่นมองว่ามีพฤติกรรมโทรลล์ก็เป็นได้ ผู้ที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นพวกโทรลล์ อาจปฏิเสธที่จะประนีประนอม ในกรณีนี้การประนีประนอม อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด
บทความเพิ่มเติมที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บทความเสริมบางอย่างสร้างขึ้น และอัปโหลดภาพขึ้นไปด้วยจุดประสงค์ที่ไม่สร้างสรรค์ ต่อนักอ่านหรือสมาชิกนักเขียนท่านอื่นๆ อย่างเช่น รูปที่ถือว่า ไม่เหมาะสม กรณีนี้จะถือเป็นการก่อกวนมากกว่า
- ถ้าใจความของบทความเสริมเห็นได้ชัดว่ามีเจตนาร้าย แต่พยายามทำกลมกลืนกับบทความหลัก ในกรณีจะถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
เทคนิคที่เป็นที่โปรดปรานของพวกโทรลล์
- ติดป้ายว่าบทความนี้เป็นบทความที่สมควรลบทิ้ง ทั้งที่เห็นได้ชัดว่าบทความดังกล่าวเป็นบทความสารานุกรมถูกต้อง
- เสนอบทความที่ไม่สมบูรณ์เป็นบทความยอดเยี่ยม แล้วใส่รายชื่อแหล่งอ้างอิงที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่น่าเชื่อถือมาเสริม
- เสนอตัวเป็นผู้ดูแล ทั้งที่เห็นได้ชัดว่ายังไม่ถึงเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ ที่ต้องการสำหรับการเสนอตัว
- พยายามแก้ไขบทความที่ถูกต้องตามหลักวิกิพีเดียอยู่แล้ว และใส่ป้ายคำเตือนสุดท้ายเรื่องการก่อกวน กับผู้ใช้ทั่วไปท่านอื่นอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่เราจะพิจารณาว่าสิ่งใดเห็นได้ชัดหรือสิ่งใดไม่น่าชื่อถือ เราจะหมายถึงทุกคนพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของเจตนาที่ดี และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน แต่ระวังในบางครั้ง บางสิ่งที่อาจเห็นได้ชัดในสายตาของคุณ อาจเป็นสิ่งที่ยังคลุมเครือในสายตาคนอื่น และการกล่าวหาว่านักเขียนท่านอื่นเป็นพวกโทรลล์ เพราะเพียงแค่เขาไม่เห็นด้วยกับคุณ จะทำให้เกิดความขัดแย้ง และเป็นผลเสียต่อวิกิพีเดียอย่างมาก
- โดยทั่วไปแม้ว่าพฤติกรรมของบางคน จะเป็นการละเมิดข้อตกลงบนวิกิพีเดีย แต่อาจเป็นเพียงว่าผู้นั้นไม่ได้ใส่ใจที่จะอ่านข้อตกลงก่อน พยายามชี้ให้เห็นถึงข้อตกลงพื้นฐานบนวิกิพีเดีย แล้วดูการตอบสนอง ถ้าเขายอมรับหรือพยายามเสนอข้อตกลงใหม่ ที่พอรับฟังได้ อาจไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- แต่ถ้าพวกเขาประกาศว่าข้อตกลงนี้ไม่ถูกต้อง โดยไม่พยายามที่จะให้เหตุผลสนับสนุน หรือปฏิเสธข้อตกลงเอาดื้อๆ อาจถือว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
ให้จำไว้เสมอว่า วิกิพีเดียไม่ใช่เรื่องขาวกับดำ บางครั้งจึงเป็นการยากที่จะให้ผู้ใช้หน้าใหม่เข้าใจ ระบบข้อตกลงที่ซับซ้อนที่วิกิพีเดียใช้ บางครั้งทางออกที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ใช้หน้าใหม่ไปดูที่หน้าข้อตกลง ที่สมาชิกท่านอื่นที่มีความคุ้นเคยกับวิกิพีเดียมากกว่า จะให้คำแนะนำได้
คำถามไร้สาระ
อีกรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมโทรลล์ คือ ถามคำถามที่เห็นคำตอบอยู่แล้วชัดๆ บ่อยๆ ถ้าผู้ใช้ใดเริ่มตั้งคำถามประเภทนี้ คุณอาจแนะนำให้เขาไปดูที่โต๊ะช่วยเหลือ แต่ถ้ายังไม่เป็นผล ให้พยายามอธิบายอย่างสุภาพว่าคุณเองก็อยากจะช่วย แต่ยุ่งเกินกว่าจะมาตอบคำถามพวกนี้
แต่ถ้าพวกนั้นเริ่มบ่นว่า คุณไม่ยอมช่วยเหลือเลย ทั้งที่คุณพยายามเต็มที่แล้ว ในกรณีนี้อาจมีความเป็นไปได้ว่าพวกที่ตั้งคำถามไร้สาระนี้ เป็นพวกโทรลล์ หรือไม่ก็อาจจะเป็นเพียงพวกขี้เกียจ หรือสับสนอย่างแรง สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราคือ ต้องใจเย็นไว้ก่อน ระลึกไว้เสมอว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ให้แสดงความเป็นมิตรและความรู้ที่เป็นประโยชน์จะดีกว่า ถึงแม้ว่าพวกนี้จะไม่หยุดตั้งคำถาม อาจจะเป็นการดีกว่าถ้าคุณไม่ต้องไปสนใจแล้วหันไปทำอย่างอื่นซักพัก หลังจากที่คุณได้พยายามให้ความช่วยเหลือมาแล้วครั้งหนึ่ง
โทรลล์หัวหมอ
แนวคิดหลักของพฤติกรรมโทรลล์ คือขัดขวาง สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดอย่างหนึ่งคือ พวกโทรลล์ที่ค้นพบวิธีขัดขวางรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้ละเมิดข้อตกลง
ซึ่งไม่ว่าคุณจะให้คำนิยามที่ดีแค่ไหนในพฤติกรรมโทรลล์ ยังไงๆ ก็ยังมีช่องว่างอยู่ดี
- ถ้าเมื่อใดเข้าในกรณีนี้ ผู้ใช้คนนั้นยังคงขัดขวางอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีความสุภาพ ไม่อภิปราย ไม่มีความเป็นกลาง หรือความพยายามที่จะแก้ปัญหาอย่างสันติก็นับได้ว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
- เมื่อเกิดความขัดแย้งประเภทนี้ พวกนี้มักจะเขียนหยิบยกกฎมาให้ดู ทั้ที่ในใจกลับแฝงเจตนาร้าย ซึ่งหลายครั้งในกรณีเช่นนี้ จะนับว่าเป็นพฤติกรรมโทรลล์
โลลิคอน (ญี่ปุ่น: ロリコン; โรมาจิ: rorikon) เป็นศัพท์สแลงมาจากคำว่า โลลิต้าคอมเพล็กซ์ (Lolita complex) ประโยคนี้อ้างอิงมาจากหนังสือชื่อ โลลิต้า ของ วาลดิเมียร์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายที่อายุสูงกว่ามาก มีความรู้สึกเสน่หากับเด็กผู้หญิงอายุเพียง 12 ปี ในประเทศญี่ปุ่นคำๆนี้จะใช้แทนพฤติกรรม ของผู้ที่มีอายุสูงกว่ามาก ที่มีความรู้สึกเสน่หา หรือมีความรู้สึกส่วนตัวเป็นพิเศษ กับเด็กที่อายุราวๆ 10-20 ปี หรือต่ำกว่านั้นในบางกรณี ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น คำนี้มักหมายถึงประเภทของการ์ตูน หรือ อะนิเมะ ซึ่งตัวละครที่เป็นเด็กผู้หญิง จะสามารถแสดงออกถึงท่าทางที่เซ็กซี่เกินวัย
พวกโลลิคอน มักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกที่ส่งเสริมการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก และในหลายประเทศ มีความพยายาม ที่จะออกบทบัญญัติกำหนด ความผิดของพฤติกรรมโลลิคอน ว่าเป็นความผิดต่อเด็ก ซึ่งหมายรวมไปถึงรูปภาพ วิดีโอ วัตถุหรือพฤติกรรมอันหนึ่งอันใด
ที่แสดงให้เห็นว่าละเมิดทางเพศ อย่างร้ายแรงต่อเด็ก แต่ฝ่ายโลลิคอนก็โต้แย้งว่า การที่ตัดสินว่าผู้มีพฤติกรรมโลลิคอน เป็นความผิดร้ายแรงนั้น เป็นการสรุปที่อ่อนด้อยทางความคิด เพราะฝ่ายโลลิคอนเองมีเสรีภาพ ที่จะแสดงออกทางความคิด หรือพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิด ความเสียหาย
การปิดกั้นสิ่งเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อเด็กเสียมากกว่า อันเนื่องมาจากผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตประเภทเพโดฟิเลีย (pedophilia) นี้ถูกปิดกั้นแม้พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศผ่านทางการวาดเขียนการ์ตูน หรือเกมส์แอนิเมชัน
เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2006 มาตรการป้องกันหนังสืออันตราย ได้ถูกผลักดันให้มีผลบังคับใช้โดยโอซากะ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องโชโจ มังงะ โดยถ้ามังงะหรือนิตยสารใด ถูกจัดว่าเป็นหนังสืออันตราย ต้องระบุเรทให้ชัดเจน ว่าผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ภายหลังได้มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับคดีคอรัปชั่น ภายในนิตยสาร Shogakukan's Shojo Comic ซึ่งนิตยสารโชโจคอมมิค เริ่มสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ปี 1968 และจัดพิมพ์ 250000 ฉบับทุกๆ 2 สัปดาห์ ซึ่งกรณีบรรณาธิการนิตยสารโชโจคอมมิคตกเป็นข่าวถูกไล่ออก เพราะทำบัญชีเบิกจ่ายเงินอันเป็นเท็จ ครั้งละราวๆ 100000 เยน ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2003 ถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2006 คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านเยน ภายหลังจากไล่ออกแล้ว บรรณาธิการคนนั้นต้องชดใช้ เงินที่ทุจริตไปทั้งหมด แต่ทางฝ่ายสำนักพิมพ์ไม่ดำเนินคดีเอาผิด เพราะเขารับสารภาพตั้งแต่ เมื่อครั้งถูกสงสัย และถูกเรียกตัวไปสอบสวนภายในสำนักงาน ซึ่งฝ่ายสำนักพิมพ์ให้ความสนใจที่จะ ปรับปรุงระบบการทำงาน และตรวจสอบมากกว่าที่จะมุ่งเอาผิด
อย่างไรก็ตามบรรณาธิการคนนั้น ถูกสังคมภายนอกบางส่วนหมายหัวว่าเป็นอาชญากรระดับ A เพราะว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้าง นิตยสารสื่อลามกในรูปแบบโชโจคอมมิค ซึ่งทางฝ่ายผู้ผลิตก็ออกมาโต้แย้งว่า ทางเรามีเสรีภาพที่จะแสดงออก แต่จากรูปคดีแสดงให้เห็นว่า ทางฝ่ายบุคลากรในสำนักงานบางส่วนขาดจริยธรรม
ในช่วงปลายปี 2006 ได้มีกลุ่มที่ต่อต้านโลลิคอน มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้มีการระงับสื่อทุกชนิดที่เข้าข่ายโลลิคอน โดยเสนอรายงานที่มีใจความว่า 30% ของมังงะสำหรับผู้ใหญ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ หรือล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก ซึ่งแม้แต่วัยรุ่นที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็สามารถเข้าถึงสื่อพวกนี้ได้ โดยการสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต และในปีเดียวกันนี้เอง นิตยสารยูยู (Yu Yu Journal) ได้สร้างสรรค์บทความหลายคอลัมภ์ให้กับ อาซาอี ชิมบุน (Asahi Shimbun) และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง และบทความดังกล่าวยังไปปรากฏที่โชโจคอมมิค ซึ่งบรรณาธิการสูงสุดของของโชโจคอมมิคกล่าวว่า
ความรักและความรู้สึกเสน่หา เป็นส่วนประกอบสำคัญของโชโจมังงะ และมันเป็นไปไม่ได้ ที่จะเอากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศแยกออกมา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความรัก Love affair is a big theme in today's shojo manga. It's impossible to completely take out descriptions of sexual activity - that's just the result of love and affection.
นิตยสารโชโจคอมมิคจากสำนักพิมพ์โชกุคุเค็น (Shogakukan) เป็นสำนักพิพม์ยักษ์ใหญ่ และเป็นหนึ่งในแกนนำหลักของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นสำนักพิมพ์ที่พิมพ์ สื่อการเรียนการสอนหลายอย่างของประเทศญี่ปุ่น โชโจคอมมิคไม่ใช่นิตยสาร X-rate แต่ก็ใกล้เคียงมากที่จะเรียกได้ว่า เป็นนิตยสารลามก ซึ่งทางสำนักพิมพ์โชกุคุเค็นเอง ก็สามารถเจาะกลุ่มตลาดสำคัญ ซึ่งนักอ่านส่วนใหญ่เป็นเป็นเด็กประถมและมัธยมต้น และเป็นผู้หญิงถึง 40.2% จากการสำรวจ คิดเป็นประมาณ 120000 หรืออาจจะมากกว่านั้น จากยอดการพิมพ์จำหน่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300000 ฉบับ จะเป็นกลุ่มนักอ่านเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีถึง 26%
ภายหลังจากนั้นมีเหตุการณ์ในวันที่ 29 มีนาคม ปี 2007 นักการเมืองที่ชื่อ เซโกะ โนดะ (Seiko Noda) ซึ่งเป็นบุคคลที่กลุ่มโลลิคอนและโอตาคุหมายหัวไว้ เพราะว่านักการเมืองคนนี้ได้นำประเด็นเรื่อง การประชุมสัมมนาญี่ปุ่น-สวีเดน เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันการผลิตสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก และได้แสดงจุดยืนที่ว่าสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก รวมไปถึงมังงะและอะนิเมะ ต้องห้ามผลิตและทำลายให้หมด ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากในวงกว้าง ทำให้เซโกะ โนดะถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องบนกระดานสนทนา 2ch ซึ่งเป็นกระดานสนทนาที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่ญี่ปุ่น
จากการที่กลุ่มโลลิคอนและโอตาคุที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับเสรีภาพในการแสดงออกและผลิตสื่อต่างๆ โดยไม่ปิดกั้นอย่างเด็ดขาด ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ธุรกิจมังงะ เกมสาวน้อย และอะนิเมะพัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจในวงการนี้ทำรายได้มหาศาล และสร้างอาชีพให้กับชาวญี่ปุ่น ในทางกลับกันก็เป็นการสร้างปัญหาสังคมไม่น้อย ถ้ามองจากมุมมองของชาวต่างชาติ ที่แทบจะไม่ยอมรับให้มีการผลิตเกมสาวน้อย ได้อย่างประเทศญี่ปุ่นเลย
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้ อย่างเช่น จิตรกร (illustrator) นักพากย์ (seiyuu) รวมไปถึงโดจินชิ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงาน เกี่ยวกับอะนิเมะของนักวาดนิรนาม ซึ่งมักจะนำตัวละครที่ดังๆ มาแต่งเรื่องและวาดใหม่และขายกันโดยทั่วไป ซึ่งในมุมมองของชาวต่างชาติ จะเห็นได้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน แต่ในสังคนญี่ปุ่นนักวาดโดจินกลับได้รับการยอมรับ และไม่ได้มีการกวาดล้างแต่อย่างใด
การแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างผู้ผลิตเกมสาวน้อย เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องของเหล่าโลลิคอนและโอตาคุ ทำให้อาชีพ illustrator อยู่รอดได้ ถ้าเนื้อเรื่องและตัวละครใดที่เริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมา สามารถจับจิตใจของเหล่าโลลิคอนและโอตาคุได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะได้สร้างเป็นอะนิเมะ หรือเกมสาวน้อยตามมาทันที อีกทั้งนักพากย์ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับดารา นักร้อง นักแสดง ถ้าอะนิเมะเรื่องใดมีชื่อเสียง นักพากย์คนนั้นก็จะมีชื่อเสียงตามไปด้วย อีกทั้งยังจะมีงานอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นถ่ายแบบ โฆษณา หรือแม้กระทั่งเป็นนักร้อง ทำให้อาชีพนักพากย์เป็นที่ใฝ่ฝัน ของใครหลายคนในประเทศญี่ปุ่น
โฮริเอะ ยูอิ (Horie Yui) เป็นนักพากย์ที่โดดเด่นคนหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงจากการพากษ์เป็น นารุเซะงาว่า นารุ นางเอกจากอะนิเมะเรื่องบ้านพักอลเวง หลังจากนั้นก็มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องในอะนิเมะหลายเรื่องที่โด่งดัง อย่างเช่น คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ! ราชันย์แห่งภูติ
คำๆ นี้เป็นคำที่ใข้เรียกลักษณะตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะ ที่จะเป็นรูปร่างคน แต่มีหูแมวอยู่บนหัว อาจจะมีหางหรือไม่มีก็ได้ จากการผสมผสานระหว่างคนกับแมว มีความหมายแฝงคือ แมวเป็นสัตว์ที่ขี้อ้อน ชอบเอาใจเจ้านาย เนโกะมิมิก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ตัวละครที่นอกจากจะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของเหล่าโลลิคอนแล้ว การเพิ่มเนโกะมิมิเข้าไป ยิ่งเป็นการเพิ่มเอกลักษณ์ และเสน่ห์เข้าไปในตัว ทำให้ตัวละครนั้นเป็นที่จดจำได้ ดิจิคารัตเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่เหล่าโอตาคุและโลลิคอนชื่นชอบมาก
เนโกะมิมิที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งคือ มาสค็อตของบร็อกโคลิ (ฺBroccoli) บริษัทอนิเมชั่นครบวงจร ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตซอร์ฟแวรเกม การ์ดเกม จนกระทั่งพัฒนาเป็นร้านที่ชื่อว่าเกมส์เมอร์ขึ้นมา เริ่มจากย่านการค้าอากิฮาบาระ และเติบโตจนขยายสาขาไปทั่วญี่ปุ่น ทั้งยังไปเปิดสาขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ตัวละครที่ชื่อ เดจิโกะ เป็นตัวละครจากอะนิเมะเรื่อง ดิจิคารัต (Di Gi Charat) ซึ่งออกแบบโดยโคเกะดอนโบะ ดิจิการัตเป็นการผสมผสานระหว่าง โลลิ เมด และหูแมวเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเนโกะมิมิในที่สุด ชุดเมดนั้นมีความหมายแฝงถึงการเชื่อฟังเจ้านายแบบไม่มีข้อแม้ ดังนั้นเมื่อทั้ง 3 อย่างนี้ได้ถูกรวมเข้าด้วยกัน ตัวละครนี้จึงมีเสน่ห์โดดเด่นมากกว่าตัวละครธรรมดา
ปัจจุบันนี้จะเห็นเนโกะมิมิได้ทั่วไป ตามเว็บไซต์ต่างๆ แม้แต่การแต่งคอสเพลย์ ยังนิยมแต่งเป็นเนโกะมิมิด้วย สำหรับวิกิพีเดีย มาสค็อตที่ชื่อว่า วิกิพีตัง ก็มีเวอร์ชันที่เป็นเนโกะมิมิเช่นกัน
Anime Rank |
---|
• The Melancholy of Suzumiya Haruhi • OS-Tan • Anime portal |
การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นคำเรียกหนังสือการ์ตูนและภาพยนตร์การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มเข้ามามีบทบาทภายในประเทศไทยครั้งแรก ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2525 นับเป็นสื่อที่อยู่คู่กับสังคมไทยสมัยปัจจุบันมานาน และมีอิทธิพลต่อคนไทยอย่างสูงกลุ่มหนึ่ง การ์ตูนญี่ปุ่นเป็นสื่อที่มีความหลากหลาย มีหลากหลายแนวเช่นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซเน็น การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโจะเซ การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็นและการ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชโจะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายมากมาย ตั้งแต่เด็กปฐมวัยจนถึงผู้ใหญ่วัยกลางคน ในปัจจุบันการ์ตูนญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินท้องถิ่นสร้างสรรค์การ์ตูนที่มีรูปแบบคล้ายกันออกมามากมาย ปัจจุบัน มีบทความเกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหมด 585 บทความ ในวิกิพีเดียภาษาไทย |
|