สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมวิทยาศาสตร์

สารานุกรมวิทยาศาสตร์ในวิกิพีเดียไทย เป็นสารานุกรมรวบรวมเรื่องราวในด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบสถานีย่อย กล่าวคือเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นในภาษาไทย ข้อมูลในสารานุกรมวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูลเสรี อนุญาตให้แจกจ่าย ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดได้เสรีตามเงื่อนไขเอกสารเสรีของกนู โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดูเพิ่ม...

ภาพคัดเลือก
กระแสน้ำหลังจากเรือเฟอร์รีผ่านบริเวณประเทศเดนมาร์ก


บทความแนะนำ
Ribbon diagram of the catalytically perfect เอนไซม์TIM.

เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo ("en:leaven" หรือ "en:yeast")

เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปรกติ (malfunction) เช่น การผ่าเหล่า (mutation) การผลิตมากเกินไป (overproduction) ผลิตน้อยเกินไป (underproduction) และการขาดหายไป (deletion) ดังนั้นการขาดเอนไซม์ที่สำคัญอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ การผ่าเหล่าอาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างบางส่วนของเอนไซม์ หรืออาจเป็นบางส่วนของโปรตีน เช่น ไพรมารี สตรักเจอร์ (primary structure) ,เซกคอนดารี่ สตรักเจอร์ (secondary structure) ,เทอร์เทียรี่ สตรักเจอร์ (tertiary structure) ,ควอเทียรี่ สตรักเจอร์ (quaternary structure)

ตัวอย่างเช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) เกิดจากการงานบกพร่องของ เอนไซม์ฟีนิลอะลานีน ไฮดรอกซิเลส (phenylalanine hydroxylase) ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสะลายตัวของฟีนิลอะลานีนเป็นผลให้เกิดการสะสมฟีนิลอะลานีนมากและจะแสดงออกมาใน ความผิดปรกติทางจิต (mental retardation) ดูเพิ่ม...


หัวข้อที่สำคัญ

คณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น · แคลคูลัส · จำนวน · ตรรกศาสตร์ · ตรีโกณมิติ · ทฤษฎีกราฟ · พีชคณิต · เรขาคณิต · สถิติศาสตร์

เคมี : เคมีฟิสิกส์ · เคมีวิเคราะห์ · เคมีอนินทรีย์ · เคมีอินทรีย์ · ชีวเคมี · ตารางธาตุ · พันธะเคมี · วัสดุศาสตร์ · อะตอม · อุณหเคมี

ชีววิทยา : จุลชีววิทยา · นิเวศวิทยา · บรรพชีวินวิทยา · ปรสิตวิทยา · พฤกษศาสตร์ · พันธุศาสตร์ · โภชนาการ · สัตววิทยา · อณูชีววิทยา · อนุกรมวิธาน

ฟิสิกส์: กลศาสตร์ · พลศาสตร์ · พลังงาน · ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ · ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ทฤษฎีสัมพัทธภาพ · อุณหพลศาสตร์

ดาราศาสตร์: เอกภพ · ดาราจักร · ระบบสุริยะ · ดาวฤกษ์ · ดาวเคราะห์ · ดาวเคราะห์น้อย · สุริยุปราคา · ดวงอาทิตย์ · ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · การสำรวจอวกาศ

วิทยาศาสตร์โลก: นิเวศวิทยา · ภูมิศาสตร์ · ธรณีวิทยา · ธรณีสัณฐานวิทยา · วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ไฟ · น้ำ · ปรากฏการณ์โลกร้อน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : เกษตรกรรม · นาโนเทคโนโลยี · นิติวิทยาศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · วิศวกรรมศาสตร์ · เทคโนโลยี · โทรคมนาคม · สถาปัตยกรรม · สารสนเทศ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ : ทันตกรรม · พยาบาล · แพทยศาสตร์ · เภสัชกรรม · สาธารณสุข · สัตวแพทยศาสตร์ · ระบาดวิทยา

คอมพิวเตอร์ : อินเทอร์เน็ต · อีเมล · เครือข่าย · วิทยาการคอมพิวเตอร์ · ซอฟต์แวร์เสรี · ไวรัสคอมพิวเตอร์

รู้ไหมว่า...
คุณช่วยเราได้

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมในสารานุกรมวิทยาศาสตร์ได้ อย่าลังเล!

"วิทยาศาสตร์" ในโครงการอื่น
วิกิพจนานุกรม
หาความหมาย
วิกิคำคม
คำคม
วิกิตำรา
หนังสือ
วิกิซอร์ซ
ค้นแหล่งเอกสาร
วิกิข่าว
เนื้อหาข่าว
คอมมอนส์
ภาพและสื่อ


หมวดหมู่

สถานีย่อยอื่น