เท็งงุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การาสุเทนกุ)
ประติมากรรมเท็งงุ

เท็งงุ (ญี่ปุ่น: 天狗โรมาจิTengu; "สุนัขฟ้า, สุนัขสวรรค์") เป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานของญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าเท็งงุมีภาพลักษณ์ของปีศาจร้ายและมักจะสร้างพายุเข้าโจมตีผู้คนเสมอๆ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกพายุถล่มบ่อยครั้ง เท็งงุเป็นข้ารับใช้ของไดเทนกุซึ่งมักปรากฏภาพของไดเทนกุที่ล้อมรอบไปด้วยเท็งงุ บางความเชื่อนั้นเชื่อว่าเท็งงุไม่ได้เป็นผีร้าย ทั้งยังเป็นปีศาจที่รักสงบและสุภาพ แต่การกระทำร้ายๆนั้นเป็นเพราะเท็งงุต้องทำตามคำสั่งของไดเทนกุ

ความเชื่อ[แก้]

ลักษณะ[แก้]

ตามความเชื่อแล้ว เท็งงุมีแต่เพศผู้ จะอาศัยอยู่ในป่าลึก เป็นผีที่คาดเดาไม่ได้ ตามเรื่องเล่ามักจะพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยาก บางครั้งมันจะลักพาตัวเด็กๆไปทิ้งไว้ในป่าแล้วเฝ้ามองเด็กที่หลงทางอยู่ในป่า แต่บางเรื่องเล่าผู้คนก็บอกว่าเมื่อใดที่หลงป่า ให้ขอร้องให้เท็งงุช่วยแล้วมันจะนำทางออกจากป่าให้ได้ เท็งงุยังชอบปล่อยข่าวลือ สร้างความวุ่นวายให้มนุษย์ แต่บางคนกลับเชื่อว่าเท็งงุชอบสงคราม อีกทั้งมันยังเชื่อว่ามนุษย์ไม่ควรมีอำนาจมากเกินไป เหตุการณ์การประท้วงหรือสงครามในสมัยก่อนจึงมักโทษว่าเป็นฝีมือของเท็งงุที่ปล่อยข่าวลือ

เท็งงุสามารถเรียกพายุได้ เชี่ยวชาญมนต์มายา และวิชาแปลงกาย มีพละกำลังมากทั้งยังเจนจัดการรบ เป็นสมุนที่พึ่งพาได้ของไดเทนกุซึ่งเป็นเทนกุที่มีลำดับชั้นสูงกว่า ลักษณะของเท็งงุคล้ายกับมนุษย์นก ซึ่งมักไปไหนมาไหนด้วยการบิน แต่ว่าไดเทนกุจะใช้วิธีเคลื่อนย้ายในพริบตา มากกว่าการบินถ้าเป็นระยะทางสั้นๆ

นิสัย[แก้]

เท็งงุชื่นชมผู้กล้าที่กล้าต่อกรกับผู้นำทรราชย์ เท็งงุจะช่วยเหลือเหล่าผู้กล้า ให้สามารถสู้เพื่อความยุติธรรมได้ จึงมีคนเชื่อว่าการที่ชื่อเสียงของเท็งงุเสียหาย เป็นเพราะเหล่าผู้นำทรราชย์ที่สูญเสียอำนาจใส่ความเท็งงุ ดังนั้นแม้ว่าในยุคปัจจุบันมนุษย์จึงมีความยำเกรงเท็งงุ บางครั้งถึงกับเรียกว่าเป็น เทพพยาบาท เมื่อใดที่มนุษย์ล่มหลงในอำนาจ หรือผิดคำสาบาน เท็งงุจะออกมาจากเขาแล้วทำลายผู้นั้นให้สิ้น

ตำนาน[แก้]

ตำนานที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเท็งงุ คือ เรื่องราวของ มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ (Minamoto no Yoshitsune) ซึ่งเดิมชื่อว่าอุชิวากะมารุ เป็นลูกชายของ โยริโทโมะซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ถูกลอบสังหาร แต่อุชิวากะมารุได้รับการไว้ชีวิต อุชิวากะมารุจึงออกบวช และเร้นกายอยู่ในวัดแถบหุบเขาคุรามะ มีอยู่วันหนึ่ง อุชิวากะมารุได้ไปพบกับเท็งงุเข้า เท็งงุรู้สึกถูกชะตากับอุชิวากะมารุ จึงสอนเพลงดาบให้ จนอุชิวากะมารุเป็นนักดาบที่เก่งกาจ และสามารถรวบรวมกองกำลัง ชิงอำนาจกลับคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ และได้เป็น มินาโมโตะ โน โยชิซึเนะ

ในภาพยนตร์เรื่อง จูมง นกสามขาเป็นสัญลักษณ์ของจูมง และเนื่องจากว่านกสามขากับเท็งงุมีลักษณะที่คล้ายกัน ซึ่งภาพลักษณ์ของเท็งงุไม่ค่อยดีนัก ทำให้ธิดาเทพยองมีอึนที่มองเห็นการมาของนกสามขาทำนายผิดพลาดไป คิดว่าจูมงจะเป็นกาลกีณีกับแคว้นพูยอ ต้องหาทางกำจัดเสีย ซึ่งธิดาเทพลืมไปว่าเท็งงุยังมีนิสัยชอบช่วยเหลือผู้กล้า ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับผู้นำทรราชย์ ภายหลังธิดาเทพยองมีอึน จึงนับถือเท็งงุเป็นเทพคุ้มครอง

นกสามขาที่มีลักษณะคล้ายกับเท็งงุก็คืออีกาสามขา ยะตะกะระสุ (八咫烏) ซึ่งเป็นนกประจำตัวของเทพีสุริยาอะมะเตะระสุและเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นในปัจจุบัน

มีเรื่องเล่าหนึ่งเล่าว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งที่สายตาย่ำแย่มาก เล็งอะไรไม่เคยแม่นยำเลย แต่ถูกเท็งงุเข้าสิง และในฝันเท็งงุได้สอนวิชาดาบให้กับเด็กผู้หญิงคนนั้น จนเธอกลายเป็นนักดาบที่ร้ายกาจและมีชื่อเสียง บางข่าวลือก็เล่าว่า เหล่าชิโนบิหรือนินจา คือเหล่าผู้ที่ได้รับการฝึกฝนวิชาจากเท็งงุ

อ้างอิง[แก้]