ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ระบบสุริยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก้ไข  

สถานีย่อย:ระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต

แก้ไข  

บทความยอดเยี่ยม

ภาพถ่ายสีของดาวพลูโตจากยานนิวฮอไรซันส์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
ภาพถ่ายสีของดาวพลูโตจากยานนิวฮอไรซันส์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ดาวพลูโต (อังกฤษ: Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี พ.ศ. 2557 ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 5.5 ชั่วโมง ถึงจะไปถึงดาวพลูโตที่ระยะทางเฉลี่ย (39.5 หน่วยดาราศาสตร์) (อ่านต่อ...)


แก้ไข  

ภาพยอดเยี่ยม

ดาวหางเฮล-บอปป์ 29-03-1997
ดาวหางเฮล-บอปป์ 29-03-1997
ที่มา: ฟิลิปป์ ซัลซ์เกเบอร์

ดาวหางเฮล-บอปป์ ขณะกำลังผ่านท้องฟ้าที่เมืองอิสเตรีย ประเทศโครเอเชีย ในภาพนี้มีดาราจักรแอนโดรเมดาปรากฎรวมอยู่ทางด้านล่างขวาของภาพด้วย ซึ่งสามารถเห็นได้ลางๆ ดาวหางดวงนี้ถูกบันทึกไว้ว่าสามารถเห็นได้ยาวนานถึง 18 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2354 ถึงสองเท่า เมื่อดาวหางดวงนี้มาถึงตำแหน่งที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะกลายเป็นเทหวัตถุที่สว่างเป็นอันดับสองบนท้องฟ้า รองจากซิริอุส

แก้ไข  

รู้หรือไม่...



แก้ไข  

ในข่าว

แก้ไข  
แก้ไข  

หมวดหมู่หลัก

แก้ไข  

โครงการวิกิที่เกี่ยวข้อง

แก้ไข  

หัวข้อหลัก

ดวงอาทิตย์ดาวพุธดาวศุกร์ดวงจันทร์โลกดาวอังคารโฟบอสและไดมอสซีรีสแถบดาวเคราะห์น้อยดาวพฤหัสบดีดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ดาวบริวารของดาวเสาร์ดาวยูเรนัสดาวบริวารของดาวยูเรนัสดาวเนปจูนดาวบริวารของดาวเนปจูนดาวพลูโตดาวบริวารของดาวพลูโตเฮาเมอาดาวบริวารของเฮาเมอามาคีมาคีแถบไคเปอร์อีริสดิสโนเมียแถบหินกระจายเมฆฮิลล์เมฆออร์ต

ระบบสุริยะ: ดาวเคราะห์ (นิยาม ˑ ความอยู่อาศัยได้ ˑ ดาวเคราะห์หิน ˑ ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ˑ วงแหวน) ˑ ดาวเคราะห์แคระ (พลูทอยด์) ˑ ดาวบริวาร ˑ การสำรวจ ˑ การตั้งถื่นฐาน ˑ เส้นเวลาการค้นพบ

ดวงอาทิตย์: จุดดับ ˑ ลมสุริยะ ˑ เปลวสุริยะ ˑ สุริยุปราคา
ดาวพุธ: ธรณีวิทยา ˑ การสำรวจ (มาริเนอร์ 10 ˑ เมสเซนเจอร์ ˑ เบพีโคลัมโบ) ˑ การผ่านหน้า
ดาวศุกร์: ธรณีวิทยา ˑ ชั้นบรรยากาศ ˑ การสำรวจ (เวเนรา ˑ มาริเนอร์ 2/5/10 ˑ ไพโอเนียร์ ˑ เวกา 1/2 ˑ แมกเจลเลน ˑ วีนัสเอ็กซ์เพรสส์) ˑ การผ่านหน้า
โลก: ประวัติ ˑ ธรณีวิทยา ˑ ภูมิศาสตร์ ˑ ชั้นบรรยากาศ ˑ การหมุน
ดวงจันทร์: ธรณีวิทยา ˑ ดวงจันทร์วิทยา ˑ ชั้นบรรยากาศ ˑ การสำรวจ (ลูนา ˑ อะพอลโล 8/11) ˑ วงโคจร ˑ จันทรุปราคา
แก้ไข  

คุณ ทำได้

ดาวเสาร์ขณะที่กำลังบังดวงอาทิตย์
ดาวเสาร์ขณะที่กำลังบังดวงอาทิตย์

เป้าหมาย...

ขยาย...

เข้าร่วม...

ความต้องการของโครงการวิกิระบบสุริยะ