โจเซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โจะเซ)
ภาพหน้าปกซีรีส์มังงะโจเซ โคเรชุสซันดนโทะโคอิ!! [ja] อัตชีวประวัติที่บันทึกการตั้งครรภ์ของผู้เขียนตอนอายุ 43 ปี โดยโมโตโกะ ฟูจิตะ

มังงะโจเซ (ญี่ปุ่น: 女性漫画 โรมาจิ: Josei Manga) รู้จักกันในชื่อ เลดีส์คอมิกส์ (; ญี่ปุ่น: レディースコミック อังกฤษ: Ladies Comics) และในชื่อย่อว่า เรดิโกมิ (ญี่ปุ่น: レディコミโรมาจิredikomi) เป็นคำเรียกกลุ่มการ์ตูนญี่ปุ่นที่ก่อกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในความหมายเฉพาะ โจเซ สื่อถึงมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับโชโจะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิงและวัยรุ่นหญิงตอนปลาย[a] แต่ในเชิงปฏิบัติ การแยกระหว่าง โชโจะ กับ โจเซ มักคลุมเครือ

การ์ตูนแนวโจเซส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่เพศหญิงในญี่ปุ่น แต่ก็มีบ้างเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเรียนมัธยม สไตล์การวาดภาพคล้ายกับการ์ตูนแนวโชโจะ แต่ตาไม่หวานและเป็นประกายเท่า และภาพโดยรวมดูเหมือนจริงมากขึ้น การ์ตูนโจเซจะเล่าเรื่องและมีมุมมองของความรักอย่างสมจริงสมจริงและบางครั้งก็มีเซ็กส์เป็นองค์ประกอบของเรื่อง ผิดกับความรักในการ์ตูนโชโจะซึ่งมักเป็นความรักในอุดมคติในวัยเรียน การ์ตูนโจะเซอีกกลุ่มหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย คล้าย ๆ กับการ์ตูนแนวยาโออิ โดยการ์ตูนเหล่านั้นจะมีเนื้อหาสมจริงสมจังกว่าโดยเน้นเรื่องความเป็นจริงในชีวิตเป็นหลัก

ศัพท์มูล[แก้]

มีบางคำที่ใช้สื่อถึงมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่:

เลดีส์คอมิก (ญี่ปุ่น
レディースコミック)
ศัพท์แรกที่ใช้ระบุกลุ่มมังงะ[1] ถือเป็นคำแบบ วาเซ-เอโงะ ที่ "สตรี" จะเข้าใจเป็นคำพ้องของ "ผู้หญิง" ซึ่งบ่งบอกถึงการเน้นผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่[2] ต่อมาคำนี้ได้รับความหมายเชิงลบในคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องมากมีการเชื่อมโยงกับมังงะลามและคุณภาพต่ำ ถึงแม้ว่าความเชื่อมโยงนี้เสื่อมสลายในคริสต์ทศวรรษ 2000[1][3] คำย่อสำหรับเลดีส์คอมิคือ เรดิโกมิ (ญี่ปุ่น: レディコミโรมาจิredikomi) และในประเทศญี่ปุ่น คำย่อนี้เป็นศัพท์ที่ใช้งานมากที่สุดสำหรับหมวดหมู่มังงะนี้[4][5]
ยังเลดีส์ (อังกฤษ
Young ladies; ญี่ปุ่น: ヤングレディース )
ศัพท์ทาง วาเซ-เอโงะ ที่ระบุหมวดหมู่ตรงกลางระหว่างมังงะสำหรับผู้ใหญ่กับมังงะโชโจะ[6]
มังงะโจเซ (ญี่ปุ่น
女性漫画)
คิดค้นโดยนักวิจารณ์และนักวิชาการในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อแยกมังงะทั้งหมดที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่จากมังงะโชโจะ[3] แม้ว่าผู้ชมฝั่งญี่ปุ่นไม่ค่อยนิยมใช้คำนี้[7] แต่ผู้ชมฝั่งตะวันตกใช้คำนี้กันโดยทั่วไป[8]

หมายเหตุ[แก้]

  1. เทียบกับผู้ชายเป็นเซเน็ง (ผู้ชายวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นชายตอนปลาย) และโชเน็ง (วัยรุ่นชายและเด็กผู้ชาย)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ito 2011, p. 12.
  2. Ito 2011, p. 11.
  3. 3.0 3.1 Thorn, Rachel. "What Shôjo Manga Are and Are Not: A Quick Guide for the Confused". Matt-Thorn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 10, 2022.
  4. ดูหนัง18+
  5. Ito 2002, p. 69.
  6. Ogi 2003, p. 792.
  7. Ogi 2003, p. 791.
  8. Pham 2010, p. 81.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Clements, Jonathan (2010). "Living Happily Never After in Women's Manga". ใน Steiff, Josef; Barkman, Adam (บ.ก.). Manga & Philosophy. Open Court. ISBN 978-0812696790.
  • Jones, Gretchen (2003). "'Ladies' Comics': Japan's Not-So-Underground Market in Pornography for Women". US-Japan Women's Journal English Supplement. 22: 3–30.
  • Jones, Gretchen (2005). "Bad Girls Like to Watch: Writing and Reading Ladies' Comics". ใน Miller, Laura; Bardsley, Jan (บ.ก.). Bad Girls of Japan. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1403969477.