ข้ามไปเนื้อหา

ตระกูลฟูจิวาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลฟูจิวาระ
แคว้นที่ปกครองแคว้นยามาโตะ
เชื้อสายตระกูลนางาโทมิ
ผู้นำคนแรกฟุจิวะระ โนะ คะมะตะริ
ก่อตั้งค.ศ. 668
ตระกูลย่อยฮกเกะ (ฟุจิวะระ)
ตระกูลฟุจิวะระ

เจ้าชายมาสะฮิโตะ คุโจ (ประมุขตระกูล)


ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ (ญี่ปุ่น: 藤原氏โรมาจิFujiwara) เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี

ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี ค.ศ. 1947 โดยสมาชิกในตระกูลทั้งหมดแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ส่งผลให้การปกครองและระบบศักดินาสิ้นสุดลง

ที่มาของตระกูลฟูจิวาระ - ยุคสมัยนาระ

[แก้]

ตระกูลฟูจิวาระ เริ่มต้นโดย ฟูจิวาระ โนะ คามาตาริ ซึ่งได้ทำการการปฏิรูปไทกะ จึงได้รับพระราชทาน นามสกุล ว่า ฟูจิวาระ จากจักรพรรดิเท็นจิ ฟูจิวาระ โนะ ฟูฮิโตะ บุตรชายของ คามาตาริ ได้ยกบุตรสาวให้ จักรพรรดิมมมุ เป็นพระจักรพรรดินี โอรสของพระองค์คือ เจ้าชายโอบิโตะ ซึ่งภายหลังเป็น จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะได้ยกบุตรสาวอีกคนหนึ่งให้กับ จักรพรรดิโชมุ ฟูฮิโตะมีทายาทเป็นชาย 4 คน คือ ฟูจิวาระ โนะ มูชิมาโระ, ฟูจิวาระ โนะ ฟูซาซากิ, ฟูจิวาระ โนะ อูมาไก และ ฟูจิวาระโนะ มาโระ ซึ่งแตกออกมาเป็น 4 ตระกูลย่อยคือ นังเกะ, ฮกเกะ, ชิกิเกะ และ เคียวเกะ ตระกูลฮกเกะ ได้ปกครองพื้นที่ทางเหนือและได้สืบทอดตระกูลฟูจิวาระต่อไป

ยุคเรืองอำนาจ - สมัยเฮอังตอนต้น - ตอนกลาง

[แก้]

ในยุคสมัยเฮอัง ตระกูลฟูจิวาระสายฮกเกะ สืบทอดอำนาจต่อมา โดยได้รับตำแหน่งเป็น เซ็สโช (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงพระเยาว์) คัมปากุ (ผู้สำเร็จราชการเมื่อจักรพรรดิทรงเจริญพระชนมพรรษาแล้ว) สมาชิกตระกูลฟูจิวาระผูกขาดสองตำแหน่งนี้ตลอดยุคเฮอัง เชื้อสายของฟูจิวาระถูกจับให้อภิเษกสมรสกับ จักรพรรดิ ส่งผลให้จักรพรรดิส่วนใหญ่ในสมัยเฮอัง เป็นเชื้อสายของตระกูลฟูจิวาระ ส่งผลให้อำนาจของตระกูลนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบจะเป็นผู้ปกครองประเทศ โชเอ็งแทบทั้งหมดเป็นของตระกูลฟูจิวาระ อย่างไรก็ตามอำนาจของตระกูลฟูจิวาระเสื่อมลงเมื่อมีตระกูลซามูไร เข้ามามีอำนาจจนกระทั่ง มินาโมโตะ โยริโตโมะ สถาปนาตนเองเป็นโชกุนแห่งคามากูระ ส่งผลให้อำนาจของราชสำนักและตระกูลฟูจิวาระลดลงไป อย่างไรก็ตามตระกูลฟูจิวาระยังคงสืบทอดตำแหน่งต่อไป และมีเชื้อสายกับจักรพรรดิอยู่

สู่จุดแตกหัก และ การเสื่อมของอำนาจ

[แก้]

หลังจากตระกูลฟูจิวาระผูกขาดตำแหน่งเซ็สโช กับ คัมปากุ แล้ว ยังได้เป็นเจ้าของที่ดินเกือบทั้งญี่ปุ่น ว่าได้ว่าเป็นตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ตระกูลฟูจิวาระสามารถเปลี่ยนองค์รัชทายาท และจักรพรรดิได้ทำตามอำเภอใจ ส่งผลให้พวกเขามีอำนาจมากขึ้น ส่งผลให้พระราชบัญญัติของพระจักรพรรดิพังทลาย การเมืองมีแต่การฉ้อราชบังหลวงของตระกูลฟูจิวาระ อีกทั้งตระกูลฟูจิวาระยังซื้อขายตำแหน่งขุนนางโดยการติดสินบนพวกเขา ส่งผลให้พวกเขารวยมากขึ้น ๆ จนกระทั่งมีทรัพย์สินมากกว่าท้องพระคลังของประเทศ และทำตัวดั่งเป็นจักรพรรดิ พวกเขาควบคุมจักรพรรดิเป็นเวลานานจนกระทั่ง ถึงการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิโกะ-ซันโจ ได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่าง จักรพรรดิโกซันโจ และ ขุนนางตระกูลฟูจิวาระ โดยจักรพรรดิโกะ-ซันโจมีพระประสงค์จะฟื้นฟู อำนาจของจักรพรรดิอีกครั้ง จักรพรรดิโกะ-ซันโจ ร่วมมือกับ ตระกูลไทระ และตระกูลมินาโมโตะ ได้เกิดสงครามขึ้นในสมัยของ ฟูจิวาระ โนะ โยรินางะ ซึ่งเกิดการแตกแยกทั้งในราชสำนัก และตระฟูลฟูจิวาระเอง รวมถึงตระกูลมินาโมโตะ และ ตระกูลไทระเองด้วย จนท้ายที่สุด ตระกูลฟูจิวาระแพ้สงคราม อำนาจของตระกูลเสื่อมลงมาก จนในที่สุดทายาทรุ่นหลังของตระกูลฟูจิวาระ ได้เปลี่ยนจากการฝักใฝ่การเมืองเป็นการเน้นที่ศิลปะ การแต่งกลอน และการวาดภาพแทน

ล่มสลาย

[แก้]

สี่สิบปีหลังจากการเสียชีวิตของ ฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ บุตรชายของเขาไม่สามารถควบคุมอำนาจไว้ได้ รวมทั้งฟูจิวาระ โนะ โยรินางะ ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ไม่ได้สืบทอดมาจากตระกูลฟูจิวาระนับจากจักรพรรดิยูดะ ได้ขึ้นครองราชย์ อำนาจของตระกูลฟูจิวาระอ่อนแอลงอย่างมาก ฟูจิวาระ โนะ โยรินางะได้ร่วมมือกันขุนนางหลาย ๆ ฝ่าย เมื่อพยายามกำจัดตระกูลฟูจิวาระให้หมดไป จากราชสำนัก และตำแหน่งผู้สำเร็จราชการอีกด้วย จนในที่สุดอำนาจของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไป และได้มีตระกูลนักรบใหม่เข้ามาแทนที่คือ ตระกูลไทระ ส่งผลให้ตระกูลฟูจิวาระที่เรื่องอำนาจมากว่า 500 ปี ล่มสลายลงในเวลาเพียง 40 ปี หลังจากการล่มสลายของอำนาจพวกเขาได้หันมาใส่ใจด้านศิลปะการแต่งกลอนแทนการเมือง

หลังการล่มสลาย

[แก้]

ตระกูลฟูจิวาระได้หันมาใส่ใจในเรื่องศิลปะ โดยยังคงความเป็นตระกูลขุนนางอยู่ แต่อย่างไรก็ตามอำนาจของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไปแล้ว เจ้าหญิงของราชวงศ์จักรพรรดิโดยส่วนใหญ่ได้รับการอภิเษกสมรสกับ ทายาทตระกูลฟูจิวาระเรื่อยมาจนถึง สมัยเฮเซ โดยเจ้าหญิงคนสุดท้ายที่อภิเษกสมรสกับตระกูลฟูจิวาระคือ อดีตเจ้าฟ้าหญิงทากะ ทากัตสึกาซะ ธิดาองค์ที่ 3 ในจักรพรรดิโชวะ

ตระกูลฟูจิวาระในยุคใหม่ - ปัจจุบัน

[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบศักดินาของตระกูลฟูจิวาระได้หมดไป โดยยังเหลือไว้เพียงยศ "ฟูจิวาระ โนะ" เท่านั้น ภายหลังนี้ตระกูลฟูจิวาระมีศักดิ์เป็นเพียงพระญาติของจักรพรรดิธรรมดา ไม่ได้มีอำนาจใด ๆ อีก โดย เชื้อสายตระกูล ฟูจิวาระ คนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งเซ็สโชและคัมปากุ คือ นิโจ นาริยูกิ เซ็สโช และ คัมปากุ คนสุดท้ายของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของตระกูลฟูจิวาระในสายย่อยนั่นเอง หลังการปฏิรูปเมจิ เชื้อสายของตระกูลนี้ทั้งหมดได้รับยศเป็นเจ้าชาย และสิ้นสุดยศเจ้าชายเมื่อทหารอเมริกันปกครองญี่ปุ่น ในปัจจุบันตระกูลฟูจิวาระบางส่วนเป็นยากูซะ และมีบางส่วนเป็นผู้มีอำนาจและอิทธิพลทางธุรกิจอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแตกไปกว่า 20 สายย่อย โดยมีสายใหญ่ ๆ ดังนี้

แม้จะแยกออกมาเป็นตระกูลเล็ก ๆ มากมาย แต่พวกเขาก็ยังคงความเป็นตระกูลญาติกัน เนื่องจากมีการสมรสระหว่างแต่ละตระกูลอยู่ตลอดเวลา และแต่ละตระกูลก็ล้วนอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิหรือเจ้าชาย เจ้าหญิง ตลอดด้วยเช่นกัน

ผู้สืบทอดของฟูจิวาระในปัจจุบันมีอยู่มาก เช่น ฟูจิวาระ ทัตสึยะ, เรียวซูเกะ ฟูจิวาระ, แฮร์รี ฟูจิวาระ, เคจิ ฟูจิวาระ, มาซาฮิโกะ ฟูจิวาระ, โนริกะ ฟูจิวาระ, โยชิอากิ ฟูจิวาระ, ยูกะ ฟูจิวาระ, ยากูโมะ ฟูจิวาระ, มายูกะ ฟูจิวาระ, ริงโงะ ฟูจิวาระ ที่เป็นผู้ที่ถือนามสกุลดังกล่าวตามสายหลัก และ นามสกุลฟูจิวาระอีกอื่น ๆ มากในสายผสม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]