อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,501 ไร่) [1]
เสาเฉลียง[แก้]
เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ โดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียส ชั้นบน (ซึ่งแข็งกว่า) และหินทรายยุคจูแรสซิก ชั้นล่าง (ซึ่งอ่อนกว่า) ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปี จนเกิด "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ซึ่งเป็นแรงกดทับ และแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อ เสาเฉลียง แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหิน
ผาชะนะได[แก้]
ผาชะนะได เป็นสถานที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย ที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นคำนวณเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตั้งอยู่ในป่าดงนาทาม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพิกัดภูมิศาสตร์ที่ ละติจูด 15 องศา 37 ลิปดา 3.5 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 120 องศา 38 ลิปดา 16 พิลิปดา ตะวันออก
รูปภาพ[แก้]
-
จุดชมวิวริมโขง
ผาชะนะได เป็นหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งเป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขต ไทย - ลาว เบื้องหน้าเป็นภูเขาแดนลาว ที่สลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาวนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอก เหนือลำน้ำโขง และด้วยเหตุที่เป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรก การรายงานข่าวของสำนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เอาเป็นจุดรายงานดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศ ผาชะนะได จะมีความหมายว่า การลงชื่อด้วยฝ่ามือ (ชะนะ เป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นโบราณว่า ซะนาม แปลว่าการลงชื่อ ส่วน คำว่าได แปลว่า มือ หรือ ฝ่ามือ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานจากสถานที่ใกล้เคียง เช่น ถ้ำฝ่ามือแดง โหง่นแต้ม)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Potter (2023-04-02). "อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใคร ในสยาม". PEPOT Journey บันทึกการเดินทาง แนะนำ และรีวิวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.ecotourweb.com/Thaiversion/Isan/konggeim_1.htm
- https://web.archive.org/web/20081212163952/http://www.geocities.com/kritkani/natam.htm
- [Review รีวิวอุทยานแห่งชาติผาแต้ม]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 15°24′00″N 105°31′00″E / 15.4°N 105.516667°E