พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระประกาศสหกรณ์
(สดับ วีรเธียร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าวิบูลย์ ธรรมบุตร
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่ากระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 9 กันยายน พ.ศ. 2507
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้ามุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปแสวง เสนาณรงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2507 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสุรจิต จารุเศรนี
ถัดไปหม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 9 กันยายน พ.ศ. 2507
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปหม่อมหลวงชูชาติ กำภู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มีนาคม พ.ศ. 2439
เมืองราชบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต1 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (81 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงอุดมพร ประกาศสหกรณ์

อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) (22 มีนาคม พ.ศ. 2439 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2474 มีตำแหน่งเป็นสารวัตรใหญ่สหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์[1] เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติม พ.ศ. 2477 ฉบับที่ 3 ยกฐานะทบวงเกษตราธิการเป็น กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระประกาศสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 จนถึง พ.ศ. 2485[2] จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตราธิการ[3]

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พระประกาศสหกรณ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ในรัฐบาลพลโท ถนอม กิตติขจร[4] และดำรงตำแหน่งต่อมาจนถึงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[5] ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเพิ่มอีกสองตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม[6] ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี[7] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในรัฐบาลพลเอก ถนอม กิตติขจร วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2507 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512[8]

พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521[9]

ครอบครัว[แก้]

พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) สมรสกับคุณหญิงอุดมพร ประกาศสหกรณ์ (อุดมพร วีรเธียร) สกุลเดิม พิมพะสิงห์ มีบุตร-ธิดา 3 คน

  1. อาจารย์สันทิศ วีรเธียร อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. นางภัทรา วสันตสิงห์
  3. รศ.ลักษมี ศาสตระรุจิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
  2. ทำเนียบนายทะเบียนสหกรณ์
  3. "ประวัติกรมส่งเสริมสหกรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 28 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  8. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  9. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอน ๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๕๑๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๕๙, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๓, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗