พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาศรยุทธเสนี
(กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ถัดไปพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานพฤฒสภา
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าวิลาศ โอสถานนท์
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[a]
แบบประเภทที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 [1] – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
สมาชิกพฤฒสภา
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
กระแส

5 เมษายน พ.ศ. 2431
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต11 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (74 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคกสิกร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
ยศ พลเรือตรี
บังคับบัญชากรมสรรพาวุธทหารเรือ

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) (5 เมษายน พ.ศ. 2431 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2505) เป็นผู้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพฤฒสภาหลายสมัย และได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นทั้งประธานรัฐสภาไทย ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย และประธานพฤฒสภา

ประวัติ[แก้]

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2431[2] มีชื่อเดิมว่า “กระแส” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ประวาหะนาวิน” ในขณะดำรงตำแหน่งนายเรือเอก ราชองครักษ์เวร รั้งตำแหน่งหัวหน้ากองตอปิโด กรมสรรพาวุธ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 [3]

ประวัติการศึกษา[แก้]

-โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

-โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย(ปากคลองตลาด)​

- โรงเรียนนายเรือ

ประวัติการทำงาน[แก้]

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกรมยุทธศึกษา ได้สวมเสื้อยศเสมอนายเรือตรีผู้ช่วย รับพระราชทานเงินเดือนอัตรานายเรือตรีผู้ช่วยชั้น 3 และเงินค่าวิชาชีพพิเศษประเภทที่ 2 สังกัดกรมบัญชาการเรือกลและป้อม ตามคำสั่งของกรมทหารเรือที่ 192/4273 ลงวันที่ 12 ตุลาคม ร.ศ. 127​ ซึ่งนับเป็นนายทหารเรือรุ่นที่ 3 ที่สามารถนำเรือไปในทะเลลึกได้[4] และมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการตามลำดับดังนี้

  • 2453 ผู้บังคับการกองแผนที่ทะเล
  • 2 มิถุนายน 2467 – 31 พฤษภาคม 2470 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 - เจ้ากรมยุทธศาสตร์ทหารเรือ[5]
  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ผู้แทนราษฎรชั่วคราว
  • 11 มกราคม พ.ศ. 2475 - เจ้ากรมเจ้าท่า[6]
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
  • 2 กันยายน พ.ศ. 2475 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2476 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 - อธิบดีกรมเจ้าท่า[7]
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2479 ได้โอนไปเป็นข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวงเศรษฐการ[8]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ประธานกรรมการควบคุมและจัดกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกในภาวะคับขัน
  • 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สมาชิกพฤฒสภา
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา

บทบาททางการเมือง[แก้]

ภายหลังจากที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ “คณะราษฎร” ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผู้แทนคณะราษฎรประกอบด้วย พลเรือตรี ศรยุทธเสนี, พันเอก พะยาฤทธิอัคเนย์, พันเอก พระยาทรงสุรเดช, พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ, พันตรี หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี, นายประยูร ณ บางช้าง ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อกราบบังคมทูลขอพระกรุณาอภัยในการกระทำของคณะราษฎร และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม พุทธศักราช 2475 และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมเพียงฉบับเดียว ส่วนร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม พุทธศักราช 2475 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยทรงพระอักษรต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว”[9] ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 กำหนดให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับนี้จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง[10] โดยพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวในครั้งนี้ด้วย[11]

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2[12] รองประธานสภาผู้แทนราษฎร[13] และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่ขอลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเจ็บป่วย[14] ต่อมาพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการในคณะรัฐมนตรี ชุดที่ 6 ซึ่งมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี[15] ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง[16]

24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภา[17] และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 และตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[18]

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นพรรคหนึ่งใช้ชื่อว่า “พรรคกสิกร” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2490 แต่ต่อมาได้ยกเลิกพรรคการเมืองไปเนื่องจากเกิดการรัฐประหารขึ้นในปี พ.ศ. 2494 ซึ่งได้มีการประกาศยกเลิกกลุ่มการเมือง และห้ามมีการชุมนุมทางการเมือง[19]

บั้นปลายชีวิต[แก้]

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริอายุ 74 ปี 67 วัน[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “72 ปี รัฐสภาไทย”, (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร), 2547, หน้า 102.
  3. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๖ (หน้า ๒๓๗)
  4. ชมรมศิษย์เก่านักเรียนนายเรือสัมพันธ์, “ตำนานโรงเรียนนายเรือและนักเรียนนายเรือ”, (ออนไลน์) www.exnavalcadet.com. (5 พฤศจิกายน 2552).
  5. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  6. ประกาศ ตั้งเจ้ากรม กรมเจ้าท่า
  7. ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมเจ้าท่า และอธิบดีกรมการประมง
  8. ข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวงเศรษฐการ
  9. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, “การเมือง การปกครองไทย : พ.ศ. 1762-2500”, (กรุงเทพฯ : เสมาธรรม), 2549, หน้า 486-490.
  10. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 49, 27 มิถุนายน 2475, หน้า 166-179.
  11. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49, 17 กรกฎาคม 2475, หน้า 1338-1342.
  12. พระราชกฤษฎีกาตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 พุทธศักราช 2476, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 50, 9 ธันวาคม 2476, หน้า 816-821.
  13. ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 49, 25 กันยายน 2475, หน้า 2169.
  14. ประกาศ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรลาออกและตั้งใหม่, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 50, 18 มีนาคม 2476, หน้า 1005.
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 51, 24 กันยายน 2477, หน้า 648-650.
  16. พระบรมราชโองการ ประกาสตั้งประธานสภาผู้แทนราสดร, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 60 ตอนที่ 38, 13 กรกดาคม 2486, หน้า 1145-1146.
  17. กนก วงษ์ตระหง่าน, “คู่มือการเมืองไทย : 2475-2525 ข้อมูลพื้นฐานทางการเมืองไทย”, (กรุงเทพฯ : ประชาชน (แผนกการพิมพ์)), 2526, หน้า 169.
  18. รัฐสภา, “รัฐสภา. 67 ปี สมาชิกรัฐสภาไทย พ.ศ. 2475 - 2542”. (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร), 2542, หน้า 79.
  19. กนก วงษ์ตระหง่าน, “คู่มือการเมืองไทย : 2475 - 2525 ข้อมูลพื้นฐานทางการเมืองไทย”, (กรุงเทพฯ : ประชาชน (แผนกการพิมพ์)), 2526, หน้า 284.
  20. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “72 ปี รัฐสภาไทย”, (กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร), 2547, หน้า 102.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, (ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 8) เล่ม 57, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483, หน้า 1897.
  22. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3030 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2483
  23. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3443)
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3439)
  25. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 หน้า 2396 วันที่ 10 มกราคม 2457

บรรณานุกรม[แก้]

  • กนก วงษ์ตระหง่าน. คู่มือการเมืองไทย : 2475 - 2525 ข้อมูลพื้นฐานทางการเมืองไทย. (กรุงเทพฯ : ประชาชน (แผนกการพิมพ์)). 2526.
  • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2500. (กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว). 2549.
  • นคร พจนวรพงษ์ และอุกฤษ พจนวรพงษ์. ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย. (กรุงเทพฯ : ขวัญนคร). 2549.
  • รัฐสภา. 67 ปี สมาชิกรัฐสภาไทย พ.ศ. 2475 - 2542. (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2542.
ก่อนหน้า พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ถัดไป
พันตรี วิลาศ โอสถานนท์
ประธานวุฒิสภา
(31 สิงหาคม พ.ศ. 24898 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน