เพิ่มพูน ชิดชอบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพิ่มพูน ชิดชอบ
เพิ่มพูน ในปี พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 239 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีช่วยสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
ก่อนหน้าตรีนุช เทียนทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน)
บุพการี
ญาติเนวิน ชิดชอบ (พี่ชาย)
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (น้องชาย)
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาชีพตำรวจ
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นอุ้ม
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกรมตำรวจ- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2527–2564
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น อุ้ม[1] เป็นตำรวจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2503[2] ที่ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของ ชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา กับ นางละออง ชิดชอบ เป็นพี่ชายของศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นน้องชายของ เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ นางอุษณีย์ ชิดชอบ อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบเนติบัณฑิตจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)

การทำงาน[แก้]

ราชการตำรวจ[แก้]

พล.ต.อ.เพิ่มพูน เริ่มทำงานในอาชีพตำรวจที่สำนักงานเลขานุการ กรมตำรวจ และได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 2 จเรตำรวจ ในช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง กทม. ก่อนขยับตำแหน่งเรื่อนมาจนได้มารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2564 พล.ต.อ.เพิ่มพูน เกษียณอายุราชการตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน เป็นที่รู้จักของสังคมจากกรณีที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา ในข้อหาเมาแล้วขับ ซึ่งส่งผลให้เขาขับรถชนดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ จนเสียชีวิต​ โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ลงนามแทน ผบ.ตร. ในการไม่เห็นแย้ง ทำให้คดียุติลงทันที[3]

การเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2566 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็น 1 ใน 3 อดีตข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว (อีก 2 คน คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง)[4]

ในวันที่ 19 ม.ค. พ.ศ. 2567 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้ให้การต้อนรับนายคิม เช พง เอกอัครทูตประเทศเกาหลีเหนือ และแลกเปลี่ยนประเด็นทางการศึกษา ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์ในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ [5]

ผมเองเชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีนอกจากจะมีผู้คนที่มีวินัยแล้ว ยังสามารถรักษาวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมไว้ หากมีโอกาส หวังว่าจะได้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เพื่อศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมรวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา

— พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บิ๊กอุ้ม ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.ลำลาอายุราชการ". สยามรัฐ. 1 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ลำดับอาวุโสข้าราชการตำรวจระดับ ผบช" (PDF). โรงพยาบาลตำรวจ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.
  3. ประวัติ “พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ” จากเส้นทางสีกากี สู่ “รมว.ศึกษาธิการ”
  4. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  5. [https://prachatai.com/journal/2024/02/107960 เพจกระทรวงลบโพสต์หลังทัวร์ลง ข่าว รมว.ศึกษาฯไทยพบทูตเกาหลีเหนือ หยอดหวังไปเยือนศึกษาเรียนรู้บ้านเขา | ประชาไท Prachatai.com
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗๗, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๒, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า เพิ่มพูน ชิดชอบ ถัดไป
ตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ