อภิชาติ หาลำเจียก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิชาติ หาลำเจียก
อภิชาติ(ขวามือ) สมัยเป็นพิธีกรคู่แรกให้กับ รายการมาตามนัด ร่วมกับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
อภิชาติ(ขวามือ) สมัยเป็นพิธีกรคู่แรกให้กับ
รายการมาตามนัด ร่วมกับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
อภิชาติ หาลำเจียก
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เสียชีวิต15 กันยายน พ.ศ. 2551 (54 ปี)
โรงพยาบาลกลาง กทม.
อาชีพพิธีกร, นักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2523 - 2551
ผลงานเด่นหมออุทิศ ใน นวลฉวี (2528)
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2538 - ศยามล
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

อภิชาติ หาลำเจียก (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 - 15 กันยายน พ.ศ. 2551) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม และพรรคสามัคคีธรรม อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์

ประวัติ[แก้]

บิดาชื่อ พันโทวิเชียร หาลำเจียก มารดาชื่อ นางยุพยงค์ หาลำเจียก มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เรียนจบจากโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบก (โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี) และปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วงการบันเทิง[แก้]

อภิชาติ หาลำเจียก เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นพิธีกร รายการมาตามนัด คู่กับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ทางช่อง 5 และได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง นวลฉวี รับบทเป็นแพทย์ที่ฆ่าภรรยาตัวเอง คู่กับสินจัย หงษ์ไทย ในปี พ.ศ. 2528 และแสดงคู่กันมาอีกหลายเรื่อง เช่น หย่าเพราะมีชู้ (2528) แสงสูรย์ (2529) น้ำเซาะทราย (2529) ฉันรักผัวเขา (2530) และได้กำกับภาพยนตร์ พร้อมทั้งแสดงในเรื่อง ศยามล ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานเรื่องสุดท้าย คือ ละครโทรทัศน์เรื่อง สงครามนางฟ้า (2551) ทางช่อง 5

การเมือง[แก้]

ในระยะหลัง อภิชาติ หันมาทำงานการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงย้ายไปลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้เข้าร่วมกับณรงค์ วงศ์วรรณ จัดตั้งพรรคสามัคคีธรรม และรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[1] อีกทั้งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 และมีบทบาทสำคัญในพรรคสามัคคีธรรม รวมถึงการสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร รวมทั้งรับหน้าที่รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] ต่อมาหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงหันมาลงสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในนามกลุ่มมดงาน

จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ได้ลาออกจากพรรค และร่วมขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาจึงได้หันมาร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ ในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

อภิชาติ หาลำเจียก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 อายุ 54 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • นวลฉวี (2528) รับบท หมออุทิศ ราชเดช
  • เนื้อคู่ (2528)
  • เพื่อแผ่นดินไทย (2528)
  • แม่ (2528)
  • หย่าเพราะมีชู้ (2528) รับบท ผู้พันยุทธ
  • คุณหญิงตราตั้ง (2528)
  • พลฯ ทองดีใจซื่อ (2528)
  • เขยเต็กกอ (2529)
  • สะแกกรัง (2529)
  • ขออยู่ถึงพรุ่งนี้ (2529)
  • ไปไม่ถึงดวงดาว (2529)
  • น้ำเซาะทราย (2529) รับบท ภีม
  • ลูกรักของแม่ (2529) รับบท พ่อของเธอ
  • แสงสูรย์ (2529)
  • สะใภ้ (2529) รับบท ชาติ
  • ระบำผี (2529)
  • สองคนสองคม (2529) รับบท ตำรวจ
  • วัลลี (2529) รับบท พ่อของเธอ
  • ฉันรักผัวเขา (2530) รับบท สิงหา
  • สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530) รับบท วรุตม์
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • มือปราบภูธร (2530) รับบท ตำรวจ
  • รอยเสือ (2530)
  • คาวน้ำผึ้ง (2530)
  • เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530) รับบท หมอ
  • เมียคนใหม่ (2530) รับบท ไกรสร
  • สารวัตรเถื่อน (2530)
  • แว่นวิเศษ (2530)
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • ตำนานรักภูพาน (2531) รับบท ภูพาน
  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531) รับบท คู่หมั้น
  • ราชสีห์หน้าเซ่อ (2531)
  • อุบัติโหด (2531)
  • รักด้วยชีวิต (2531)
  • เรือมนุษย์ (2531) รับบท เพลา
  • แม่จ๋าแม่ (2531)
  • เหยื่ออารมณ์ (2531) รับบท สมฤทธิ์
  • หนองบัวแดง (2531)
  • เพชรตาแมว (2532) รับบท ชัย
  • ดิฉันไร่เสน่หา (2532) รับบท พุกธร
  • รักข้างแรม (2532)
  • โกย (2532)
  • ผีแม่ม่าย 2 (2533) รับบท หมอ (รับเชิญ)
  • แม่ลาวเลือด (2533) รับบท ศิริวรรณ
  • เรฟูจี หนีนรกเจอนรก (2535) รับบท หมอ
  • สมองกลคนอัจฉริยะ (2536)
  • ฉากสุดท้ายของทัดทรวง (2538) รับบท พ่อของราธ
  • ศยามล (2538)

กำกับภาพยนตร์[แก้]

  • ศยามล (2538)

ละคร[แก้]

ละครที่ไม่ได้ออกอากาศ[แก้]

  • คฤหาสน์จักรรัตน์ (2530) (ช่อง 7)

พิธีกร[แก้]

  • มาตามนัด ช่อง 5
  • ช้อปแชมป์ ช่อง 3


เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]