กฤช สังขทรัพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤช สังขทรัพย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 5 กันยายน พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 พฤษภาคม พ.ศ. 2472
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 กันยายน พ.ศ. 2524 (52 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคชาติไทย
คู่สมรสนางสมบูรณ์ สังขทรัพย์
อาชีพตำรวจ, นักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกรมตำรวจ
ประจำการพ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2519
ยศ พันตำรวจเอก

พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 2 สมัย เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524

ประวัติ[แก้]

พ.ต.อ. กฤช สังขทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์[1]เป็นบุตรของ จ่าสิบตำรวจ ฟ้อน และ นางสงวน สังขทรัพย์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์, ชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

พ.ต.อ.กฤช สังขทรัพย์ สมรสกับนางสมบูรณ์ สังขทรัพย์ มีบุตร-ธิดา 5 คน โดยบุตรคนกลางคือ ทศพล สังขทรัพย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 7 สมัย ในขณะที่ลูกสะใภ้ นางพัฒนา สังขทรัพย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยหนึ่งสมัย

การทำงาน[แก้]

พ.ต.อ. กฤช เริ่มรับราชการด้วยการเป็นพลตำรวจ ที่ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2490 และเจริญหน้าที่ในการรับราชการตำรวจ จนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งสำคัญ ทั้ง ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย, จังหวัดเพชรบุรี และ จังหวัดกำแพงเพชร ก่อนที่จะลาออกจากราชการ ใน พ.ศ. 2519

งานการเมือง[แก้]

พ.ต.อ.กฤช เริ่มเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาการปฏิรูปปกครองแผ่นดิน ในช่วง พ.ศ. 2519 ถึง 2520 และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2520 ถึง 2522 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เลย สมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522

ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[2] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524 ในขณะที่พันตำรวจเอกกฤช และคณะเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการหลวงอ่างขาง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เกิดเหตุการณ์เครื่องเฮลิคอปเตอร์เกิดขัดข้องจนตกในหุบเขา ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุที่ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 5 กันยายน 2524. โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 2524
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  3. กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, 2549, ISBN 974-323-889-1
  4. "Thai Air Accidents (1980 to 1989)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๙๔ ง หน้า ๔๒๓๒, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๕๐๒, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๑๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘