อำเภอสังขละบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสังขละบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sangkhla Buri
สะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญ
สะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญ
คำขวัญ: 
สะพานไม้ ด่านเจดีย์ นทีสามประสบ มรดกทุ่งใหญ่ ไทยกะเหรี่ยงรามัญ สารพันธรรมชาติ อภิวาทหลวงพ่ออุตตมะ เมืองสังขละชายแดน สุดแคว้นตะวันตก
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอสังขละบุรี
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอสังขละบุรี
พิกัด: 15°9′21″N 98°27′13″E / 15.15583°N 98.45361°E / 15.15583; 98.45361
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,349.4 ตร.กม. (1,293.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด51,654 คน
 • ความหนาแน่น15.42 คน/ตร.กม. (39.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71240
รหัสภูมิศาสตร์7108
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สังขละบุรี [สัง-ขฺละ-บุ-รี][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดมากเป็นอันดับ 2 รองจากอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และยังเป็น 1 ใน 5 อำเภอของจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศพม่า โดยมีจุดผ่านแดนเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ที่ ด่านเจดีย์สามองค์ เพียงจุดเดียว โดยทางด้านทิศเหนือของอำเภอยังอยู่ในพื้นที่ของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ซึ่งเป็นผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสังขละบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

อำเภอสังขละบุรี ในอดีตคราวพม่ากวาดต้อนเชลยชาวกรุงศรีอยุธยาไปพม่ามีชื่อว่า สงขลา ปรากฏใน ตำรายกทัพ สำรวจคราวเตรียมรบพม่าในรัชกาลที่ 2 ความว่า "...แต่สาบสบถึงสงขลา ๔๐๐ เส้น แต่สงขลาถึงด่านพระเจดีย์สามองค์ ๓๕๐ เส้น รวมระยะทางแต่เมืองไทรโยคถึงพระเจดีย์สามองค์ ๒๘๑๕ เส้น…"[2] หรือเดิมเรียกว่า "สังเคลียะ" ซึ่งเป็นภาษาพม่า และ "สังคละ" เป็นภาษาเรียกของชนพื้นเมืองเดิม มีความหมายว่า การผสมผสานคละเคล้าของคนต่างชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

ตามประวัติศาสตร์อำเภอสังขละบุรี เป็นเมืองหน้าด่าน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า เนื่องด้วยอำเภอมีที่ตั้งอยู่ชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตแดนประเทศพม่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นทหารฝ่ายพม่า มักยกทัพเข้ามาโจมตีเพื่อรุกรานประเทศไทย ฝ่ายพม่าจะใช้เส้นทางผ่านเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ของอำเภอ จึงเกิดประวัติศาสตร์มากมายในปี พ.ศ. 2438 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอชื่อ "อำเภอวังกะ" ต่อมาได้ยุบอำเภอวังกะเป็นกิ่งอำเภออีกหลายครั้ง จนปี พ.ศ. 2482 มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี และยกฐานะเป็นอำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2508[3]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสังขละบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หนองลู (Nong Lu) 10 หมู่บ้าน
2. ปรังเผล (Prangphle) 4 หมู่บ้าน
3. ไล่โว่ (Laiwo) 6 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสังขละบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 55.
  2. ศานติ ภักดีคำ. ขุนหลวงหาวัด กษัตริย์ผู้เสียสละราชย์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2561. 168 หน้า. หน้า 100. ISBN 978-974-021-612-4
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (59 ก): 565–569. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508