ทำนอง สิงคาลวณิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทำนอง สิงคาลวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เสียชีวิต17 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
คู่สมรสตระการ สิงคาลวณิช

ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2527)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรคนแรก (ผู้ก่อตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร)[2]

ประวัติ[แก้]

ทำนอง สิงคาลวณิช เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรหลวงบำรุงราชนิยม (สูญ สิงคาลวณิช) และนางเทียบ บำรุงราชนิยม มีพี่น้อง 9 คน

ทำนอง สิงคาลวณิช สมรสกับนางตระการ สิงคาลวณิช (สกุลเดิม มิลินทสูต) บุตรของพระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูต) และคุณหญิงชิต โภชากร มีบุตร 3 คน

ทำนอง สิงคาลวณิช ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์)

การทำงาน[แก้]

ทำนอง สิงคาลวณิช รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรคนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2518[3] จนกระทั่งได้รับการยกย่องโดยการสร้างอนุสาวรีย์บริเวณหน้ากรมส่งเสริมการเกษตร[4]

ทำนอง เป็นอาจารย์พิเศษในการจัดทำเอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[5]

ทำนอง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช ม.ว.ม., ป.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2527. กรุงเทพ : บริษัทบพิธการพิมพ์. 2527.
  2. งานสถาปนาครบรอบ 52 ปี กรมส่งเสริมการเกษตร
  3. สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมการเกษตร
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  5. เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร เล่ม 1 : หน่วยที่ 1-7
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๘๑, ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑