หาญ ลีนานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หาญ ลีนานนท์
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526
ก่อนหน้าจวน วรรณรัตน์
ถัดไปวันชัย จิตต์จำนงค์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าณรงค์ วงศ์วรรณ
ถัดไปพล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2467
จังหวัดสตูล ประเทศสยาม
เสียชีวิต11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (93 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
ประชาชน
ชาติไทย
คู่สมรสประภา ลีนานนท์

พลเอก หาญ ลีนานนท์ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2467 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตนักการเมืองผู้มีบทบาทอย่างมากในพื้นที่ภาคใต้

ประวัติ[แก้]

พลเอก หาญ ลีนานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2467 ที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นบุตรของขุนด่านลีนานนท์ และนางนิตย์ ลีนานนท์ (นามสกุลเดิม: รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) จบการศึกษาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย,โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และโรงเรียนนายร้อยทหารบก (ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก, พล.อ. เทียนชัย ศิริสัมพันธ์)

พล.อ. หาญ สมรสกับนางประภา (สกุลเดิม: นัยนานนท์) บุตรีของรองอำมาตย์เอกหลวงวิจิตรสารบรรณ เจียม นัยนานนท์ กับนางชั้น นัยนานนท์ มีบุตรด้วยกันสองคนชื่อนางสุโรจนา ลีนานนท์ ศรีอักษร และ พ.ต.อ. อาชวาคม ลีนานนท์ (59 ปี)

การศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

พลเอกหาญ เมื่อครั้งยังอยู่ในยศ พลโท เป็นหนึ่งในผู้ร่วมร่างคำสั่ง 66/2523 อันเป็นนโยบายสำคัญในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกับ พล.ต. ชวลิต ยงใจยุทธ และประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ในรัฐบาลชุดที่มี พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นเจ้าของนโยบาย "ใต้ร่มเย็น" อีกด้วย ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524-30 กันยายน พ.ศ. 2526 นับเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 คนที่ 4 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[1]

การเมือง[แก้]

เมื่อภายหลังปลดเกษียณแล้ว พลเอกหาญ ได้เข้าสู่การเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขต 2 และเขต 9 กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2529 และเป็นผู้สนับสนุนชนะ รุ่งแสง สมาชิกของพรรคลงรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย [2]

ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - 2531

จากนั้นในปี พ.ศ. 2531 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาชน ในพื้นที่เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนที่พรรคจะถูกยุบ และโอนไปสังกัดพรรคชาติไทย[3] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2534[4]

และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จังหวัดสตูล ระหว่างปี พ.ศ. 2543-พ.ศ. 2549[5] [6][7]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พลเอก หาญ ลีลานนท์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สิริอายุ 93 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญราชการสงครามเกาหลี

อ้างอิง[แก้]

  1. ร่วมร่างคำสั่ง 66/2523
  2. เมื่อนายแบงก์อยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.[ลิงก์เสีย]
  3. "รายชื่อสมาชิกรัฐสภาไทย 2517-2537" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. "พลเอกหาญ ลีลานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  6. พลเอกหาญ ลีลานนท์
  7. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดสตูล (พลเอก หาญ ลีลานนท์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๒๑๐, ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๑๙๕, ๖ เมษายน ๒๕๒๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๓ กันยายน ๒๕๑๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  17. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 71 ตอนที่ 13 หน้า 578, 16 กุมภาพันธ์ 2497