ใหม่ ศิรินวกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใหม่ ศิรินวกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 29 เมษายน พ.ศ. 2531
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชุมพล ศิลปอาชา
ก่อนหน้าปิยะณัฐ วัชราภรณ์
ถัดไปไสว พัฒโน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้า
ถัดไป
  • มีชัย วีระไวทยะ
  • สายสุรี จุติกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มีนาคม พ.ศ. 2482
อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
เสียชีวิต16 กันยายน พ.ศ. 2536 (54 ปี)
คู่สมรสประภาวรรณ ศิรินวกุล
บุตร4 คน

ใหม่ ศิรินวกุล (15 มีนาคม พ.ศ. 2482 – 16 กันยายน พ.ศ. 2536) นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมัย

ประวัติ[แก้]

ใหม่ ศิรินวกุล เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2481 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2482) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [1]

ใหม่ ศิรินวกุล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2536 สิริอายุรวม 54 ปี

งานการเมือง[แก้]

ใหม่ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2525 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535

ใหม่ ศิรินวกุล ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 15 ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[2] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ใหม่ ศิรินวกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2525 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒ สิงหาคม ๒๕๑๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒